สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
ชื่อราชวงศ์กษัตริย์สมัยกรุงศรีอยุทธยา ล้วนเพิ่งถูกกำหนดขึ้นมาในสมัยหลังเพื่อให้สะดวกต่อการแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์ โดยเป็นการนำกรอบการตั้งชื่อราชวงศ์ หรือ ราชตระกูล แบบตะวันตกมาใช้ครับ
รัฐโบราณในประเทศไทย เช่น ล้านนา อยุทธยา และรัตนโกสินทร์ตอนต้น ฯลฯ ไม่มีหลักฐานแนวคิดการตั้งชื่อราชวงศ์ตะวันตกที่กำหนดชื่อราชตระกูลชัดเจน แบบ House of Tudor หรือ House of Windsor ฯลฯ
กษัตริย์ในภูมิภาคอุษาคเนย์หลายแห่งนับว่าตนเองเป็น “สุริยวงศ์” โดยอ้างอิงตามคติพราหมณ์-ฮินดูในชมพูทวีปที่ถือว่า “สุริยวงศ์” (Suryavaṃśa) หรือ ราชวงศ์พระอาทิตย์ (Solar dynasty) เป็นหนึ่งในราชวงศ์หลักของวรรณะกษัตริย์ พระรามแห่งอโยธยาก็เป็นเชื้อสาย "สุริยวงศ์" กษัตริย์อยุทธยาที่รับชื่อพระนครมาจากอโยธยาในอินเดีย และถือว่าตนเป็น "รามาธิบดี" (รามผู้เป็นใหญ่) จึงอ้างคติความเป็น "สุริยวงศ์" เช่นเดียวกันเพื่อใช้บ่งบอกถึงสภาวะความเป็นกษัตริย์ และสืบทอดคติต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์
มีตัวอย่างเช่น พระราชพงศาวดารกล่าวถึงสมเด็จพระนเรศตอนขึ้นครองราชย์ว่า "เสด็จขึ้นผ่านพิภพมไหศวรรยาธิปัตย์ถวัลราชปรเวณี สืบสันตติศรีสุริยวงศ์"
“ราชวงศ์” ตามแนวคิดแบบไทยโบราณเป็นการระบุว่าสืบเชื้อสายมาจากผู้ใด ปรากฏตัวอย่างในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยา กล่าวถึงพระบิดาและพระมารดาของสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชว่า “บิดาเป็นพระราชวงศ์พระร่วง มารดาไซร้ได้เป็นพระราชวงศ์แห่งสมเด็จพระชัยราชาธิราชเจ้า”
คำว่า “พระราชวงศ์พระร่วง” ไม่ได้หมายความว่ามีราชวงศ์หรือราชตระกูลชื่อ “พระร่วง” ตามแนวคิดราชวงศ์แบบตะวันตก เพียงแต่ระบุว่าพระบิดาของสมเด็จพระมหาธรรมราชาทรงเป็นเชื้อสายของ “พระร่วง” หรือกษัตริย์รัฐสุโขทัย เช่นเดียวกับที่ระบุว่าพระมารดาเป็นเชื้อสายของสมเด็จพระชัยราชาธิราช
ในหลักฐานสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เช่น “พระธรรมเทศนาพระราชพงษาวดารสังเขป” ที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงพระนิพนธ์เพื่อเทศนาถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในวโรกาสเสด็จขึ้นถวัลยราชสมบัติใน พ.ศ. 2394 ได้แบ่งราชวงศ์กษัตริย์กรุงศรีอยุทธยาโดยอ้างอิงตามหลักการสืบเชื้อสาย ดังนี้
- กษัตริย์ที่ “สืบราชวงษ์สมเดจ์พระรามาธิบดีอู่ทอง” มีทั้งหมด 20 พระองค์ นับตั้งแต่สมเด็จพระรามาธิบดีมาจนถึงสมเด็จพระศรีเสาวภาคโดยเว้นขุนวรวงศาธิราช
มีข้อสังเกตคือทั้ง 20 พระองค์นี้ไม่ได้พิจารณาจากวงศ์ข้างบิดาเท่านั้น บางองค์สืบวงศ์ข้างพระมารดาหรือเกี่ยวดองผ่านการอภิเษกสมรส ก็นับเป็นราชวงศ์เดียวกันได้
- เมื่อพระเจ้าทรงธรรมแย่งราชสมบัติจากพระศรีเสาวภาค จึง “ผลัดพระวงษ์ใหม่” สืบราชวงศ์ต่อมาถึงรัชกาลสมเด็จพระอาทิตยวงศ์ (เพราะพงศาวดารให้ภาพว่าพระเจ้าทรงธรรมเป็นคนนอกราชวงศ์ที่มาชิงราชสมบัติ แต่ปัจจุบันพบหลักฐานว่าพระเจ้าทรงธรรมเป็นโอรสของสมเด็จพระเอกาทศรถ)
- เมื่อพระเจ้าปราสาททองครองราชย์สืบต่อจากพระอาทิตยวงศ์ จึงผลัดพระวงศ์ใหม่อีก สืบเชื้อสายมาจนเสียกรุงศรีอยุทธยา โดยเว้นสมเด็จพระเพทราชา รวมกษัตริย์ใน “ราชวงษสมเดจ์พระเจ้าปราสาททอง” 9 พระองค์ โดยอ้างอิงตามพระราชพงศาวดารที่ระบุว่าพระเจ้าเสือเป็นโอรสลับของสมเด็จพระนารายณ์
จะเห็นได้ว่าแนวคิดการนับราชวงศ์ในสมัยรัตนโกสินทร์ต้นรัชกาลที่ 4 ยังไม่มีการกำหนดชื่อราชวงศ์แบบตะวันตก มีเพียงระบุว่าสืบเชื้อสายมาจากกษัตริย์พระองค์ใด เช่น “ราชวงษ์สมเดจ์พระรามาธิบดีอู่ทอง” หรือ “ราชวงษ์สมเดจ์พระเจ้าปราสาททอง” ไม่ได้แบ่งแยกเชื้อสายข้างบิดาหรือมารดา ขอให้มีความเกี่ยวพันเป็นเครือญาติกันก็นับเป็นราชวงศ์เดียวกันได้
จนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 จึงปรากฏการตั้งชื่อราชวงศ์และการแบ่งราชวงศ์เป็นข้างบิดาและมารดาตามแนวคิดแบบตะวันตก ปรากฏใน “พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงวิจารณ์เรื่องพระราชพงศาวดารกับเรื่องประเพณีการตั้งพระมหาอุปราช” ยังทรงแบ่งราชวงศ์ตามแบบที่สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตทรงแบ่งไว้ แต่มีการตั้งชื่อราชวงศ์ต่างๆ ดังนี้
- ราชวงศ์สมเด็จพระรามาธิบดีมาจนถึงสมเด็จพระมหินทราธิราช เรียกว่า “บรมราชวงศ์เชียงราย” (เว้นขุนวรวงศาธิราช)
- ราชวงศ์ของสมเด็จพระมหาธรรมราชามาจนถึงสมเด็จพระศรีเสาวภาค เรียกว่า “บรมราชวงศ์เชียงรายสุโขทัย”
- ราชวงศ์ของพระเจ้าทรงธรรมถึงสมเด็จพระอาทิตยวงศ์ เรียกว่า “บรมราชวงศ์ทรงธรรม”
- ราชวงศ์พระเจ้าปราสาททองมาจนเสียกรุง เรียกว่า "บรมราชวงศ์ปราสาททอง" (เว้นสมเด็จพระเพทราชา)
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ปรากฏใน “ศักราชรัชกาลครั้งกรุงศรีอยุธยาตามที่สอบใหม่” พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้แบ่งราชวงศ์กษัตริย์อยุทธยาใหม่เป็น 5 ราชวงศ์ ได้แก่ เชียงราย สุวรรณภูมิ์ ศุโขไทย ปราสาททอง บ้านพลูหลวง
ต่อมาสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงเสนอให้เรียกราชวงศ์เชียงรายว่า “ราชวงศ์อู่ทอง” แทน
ราชวงศ์ทั้ง 5 จึงถูกเรียกว่าราชวงศ์อู่ทอง สุพรรณภูมิ สุโขทัย ปราสาททอง บ้านพลูหลวง ในประวัติศาสตร์กระแสหลักจนถึงปัจจุบัน
ชื่อ “ราชวงศ์บ้านพลูหลวง” สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงตั้งขึ้นสำหรับราชวงศ์ของสมเด็จพระเพทราชา โดยทรงอธิบายว่า “หนังสือพระราชพงษาวดารว่าสมเด็จพระเพทราชาเปนชาวบ้านพลูหลวง จึงเรียกราชวงษ์บ้านพลูหลวง”
นอกจากนี้ทรงเปลี่ยนพระมหากษัตริย์ตั้งแต่สมเด็จพระเจ้าเสือมาจนเสียกรุงซึ่งเคยถูกจัดอยู่ในราชวงศ์ปราสาททอง มาอยู่ราชวงศ์บ้านพลูหลวงทั้งหมด เพราะเมื่อตรวจสอบหลักฐานร่วมสมัยแล้ว ไม่ทรงเชื่อว่าสมเด็จพระเจ้าเสือเป็นพระโอรสลับของสมเด็จพระนารายณ์ตามที่พระราชพงศาวดารสมัยรัตนโกสินทร์กล่าวอ้าง
“สมเด็จพระเจ้าเสือนี้ หนังสือพระราชพงษาวดารนับในราชวงษ์ปราสาททองด้วยยอมรับว่าเปนราชโอรสลับของสมเด็จพระนารายน์มหาราช ผู้ศึกษาโบราณคดีชั้นหลังได้ตรวจดูจดหมายเหตุครั้งสมเด็จพระนารายน์ แลพิเคราะห์เรื่องราวซึ่งปรากฏในครั้งนั้น ไม่มีเหตุอันใดที่ควรเชื่อว่าอยู่ในราชวงษ์ปราสาททอง ข้าพเจ้าเห็นควรนับในราชวงษ์บ้านพลูหลวงตลอดมาทุกพระองค์จนสิ้นกรุงเก่า”
การกำหนดชื่อราชวงศ์ของนักประวัติศาสตร์แบบในปัจจุบันจึงเป็นเพียงสิ่งที่สมมติขึ้นเท่านั้น ไม่เคยพบหลักฐานการใช้งานจริงในสมัยกรุงศรีอยุทธยา
คำว่า "ราชวงศ์บ้านพลูหลวง" เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 และไม่เคยปรากฏในหลักฐานลายลักษณ์อักษรสมัยกรุงศรีอยุทธยาแม้แต่ชิ้นเดียวครับ
ไม่มี “ราชวงศ์บ้านพลูหลวง” ในสมัยกรุงเก่า
https://www.facebook.com/WipakHistory/photos/a.1050804244983045/2624515254278595/?type=3
รัฐโบราณในประเทศไทย เช่น ล้านนา อยุทธยา และรัตนโกสินทร์ตอนต้น ฯลฯ ไม่มีหลักฐานแนวคิดการตั้งชื่อราชวงศ์ตะวันตกที่กำหนดชื่อราชตระกูลชัดเจน แบบ House of Tudor หรือ House of Windsor ฯลฯ
กษัตริย์ในภูมิภาคอุษาคเนย์หลายแห่งนับว่าตนเองเป็น “สุริยวงศ์” โดยอ้างอิงตามคติพราหมณ์-ฮินดูในชมพูทวีปที่ถือว่า “สุริยวงศ์” (Suryavaṃśa) หรือ ราชวงศ์พระอาทิตย์ (Solar dynasty) เป็นหนึ่งในราชวงศ์หลักของวรรณะกษัตริย์ พระรามแห่งอโยธยาก็เป็นเชื้อสาย "สุริยวงศ์" กษัตริย์อยุทธยาที่รับชื่อพระนครมาจากอโยธยาในอินเดีย และถือว่าตนเป็น "รามาธิบดี" (รามผู้เป็นใหญ่) จึงอ้างคติความเป็น "สุริยวงศ์" เช่นเดียวกันเพื่อใช้บ่งบอกถึงสภาวะความเป็นกษัตริย์ และสืบทอดคติต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์
มีตัวอย่างเช่น พระราชพงศาวดารกล่าวถึงสมเด็จพระนเรศตอนขึ้นครองราชย์ว่า "เสด็จขึ้นผ่านพิภพมไหศวรรยาธิปัตย์ถวัลราชปรเวณี สืบสันตติศรีสุริยวงศ์"
“ราชวงศ์” ตามแนวคิดแบบไทยโบราณเป็นการระบุว่าสืบเชื้อสายมาจากผู้ใด ปรากฏตัวอย่างในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยา กล่าวถึงพระบิดาและพระมารดาของสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชว่า “บิดาเป็นพระราชวงศ์พระร่วง มารดาไซร้ได้เป็นพระราชวงศ์แห่งสมเด็จพระชัยราชาธิราชเจ้า”
คำว่า “พระราชวงศ์พระร่วง” ไม่ได้หมายความว่ามีราชวงศ์หรือราชตระกูลชื่อ “พระร่วง” ตามแนวคิดราชวงศ์แบบตะวันตก เพียงแต่ระบุว่าพระบิดาของสมเด็จพระมหาธรรมราชาทรงเป็นเชื้อสายของ “พระร่วง” หรือกษัตริย์รัฐสุโขทัย เช่นเดียวกับที่ระบุว่าพระมารดาเป็นเชื้อสายของสมเด็จพระชัยราชาธิราช
ในหลักฐานสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เช่น “พระธรรมเทศนาพระราชพงษาวดารสังเขป” ที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงพระนิพนธ์เพื่อเทศนาถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในวโรกาสเสด็จขึ้นถวัลยราชสมบัติใน พ.ศ. 2394 ได้แบ่งราชวงศ์กษัตริย์กรุงศรีอยุทธยาโดยอ้างอิงตามหลักการสืบเชื้อสาย ดังนี้
- กษัตริย์ที่ “สืบราชวงษ์สมเดจ์พระรามาธิบดีอู่ทอง” มีทั้งหมด 20 พระองค์ นับตั้งแต่สมเด็จพระรามาธิบดีมาจนถึงสมเด็จพระศรีเสาวภาคโดยเว้นขุนวรวงศาธิราช
มีข้อสังเกตคือทั้ง 20 พระองค์นี้ไม่ได้พิจารณาจากวงศ์ข้างบิดาเท่านั้น บางองค์สืบวงศ์ข้างพระมารดาหรือเกี่ยวดองผ่านการอภิเษกสมรส ก็นับเป็นราชวงศ์เดียวกันได้
- เมื่อพระเจ้าทรงธรรมแย่งราชสมบัติจากพระศรีเสาวภาค จึง “ผลัดพระวงษ์ใหม่” สืบราชวงศ์ต่อมาถึงรัชกาลสมเด็จพระอาทิตยวงศ์ (เพราะพงศาวดารให้ภาพว่าพระเจ้าทรงธรรมเป็นคนนอกราชวงศ์ที่มาชิงราชสมบัติ แต่ปัจจุบันพบหลักฐานว่าพระเจ้าทรงธรรมเป็นโอรสของสมเด็จพระเอกาทศรถ)
- เมื่อพระเจ้าปราสาททองครองราชย์สืบต่อจากพระอาทิตยวงศ์ จึงผลัดพระวงศ์ใหม่อีก สืบเชื้อสายมาจนเสียกรุงศรีอยุทธยา โดยเว้นสมเด็จพระเพทราชา รวมกษัตริย์ใน “ราชวงษสมเดจ์พระเจ้าปราสาททอง” 9 พระองค์ โดยอ้างอิงตามพระราชพงศาวดารที่ระบุว่าพระเจ้าเสือเป็นโอรสลับของสมเด็จพระนารายณ์
จะเห็นได้ว่าแนวคิดการนับราชวงศ์ในสมัยรัตนโกสินทร์ต้นรัชกาลที่ 4 ยังไม่มีการกำหนดชื่อราชวงศ์แบบตะวันตก มีเพียงระบุว่าสืบเชื้อสายมาจากกษัตริย์พระองค์ใด เช่น “ราชวงษ์สมเดจ์พระรามาธิบดีอู่ทอง” หรือ “ราชวงษ์สมเดจ์พระเจ้าปราสาททอง” ไม่ได้แบ่งแยกเชื้อสายข้างบิดาหรือมารดา ขอให้มีความเกี่ยวพันเป็นเครือญาติกันก็นับเป็นราชวงศ์เดียวกันได้
จนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 จึงปรากฏการตั้งชื่อราชวงศ์และการแบ่งราชวงศ์เป็นข้างบิดาและมารดาตามแนวคิดแบบตะวันตก ปรากฏใน “พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงวิจารณ์เรื่องพระราชพงศาวดารกับเรื่องประเพณีการตั้งพระมหาอุปราช” ยังทรงแบ่งราชวงศ์ตามแบบที่สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตทรงแบ่งไว้ แต่มีการตั้งชื่อราชวงศ์ต่างๆ ดังนี้
- ราชวงศ์สมเด็จพระรามาธิบดีมาจนถึงสมเด็จพระมหินทราธิราช เรียกว่า “บรมราชวงศ์เชียงราย” (เว้นขุนวรวงศาธิราช)
- ราชวงศ์ของสมเด็จพระมหาธรรมราชามาจนถึงสมเด็จพระศรีเสาวภาค เรียกว่า “บรมราชวงศ์เชียงรายสุโขทัย”
- ราชวงศ์ของพระเจ้าทรงธรรมถึงสมเด็จพระอาทิตยวงศ์ เรียกว่า “บรมราชวงศ์ทรงธรรม”
- ราชวงศ์พระเจ้าปราสาททองมาจนเสียกรุง เรียกว่า "บรมราชวงศ์ปราสาททอง" (เว้นสมเด็จพระเพทราชา)
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ปรากฏใน “ศักราชรัชกาลครั้งกรุงศรีอยุธยาตามที่สอบใหม่” พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้แบ่งราชวงศ์กษัตริย์อยุทธยาใหม่เป็น 5 ราชวงศ์ ได้แก่ เชียงราย สุวรรณภูมิ์ ศุโขไทย ปราสาททอง บ้านพลูหลวง
ต่อมาสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงเสนอให้เรียกราชวงศ์เชียงรายว่า “ราชวงศ์อู่ทอง” แทน
ราชวงศ์ทั้ง 5 จึงถูกเรียกว่าราชวงศ์อู่ทอง สุพรรณภูมิ สุโขทัย ปราสาททอง บ้านพลูหลวง ในประวัติศาสตร์กระแสหลักจนถึงปัจจุบัน
ชื่อ “ราชวงศ์บ้านพลูหลวง” สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงตั้งขึ้นสำหรับราชวงศ์ของสมเด็จพระเพทราชา โดยทรงอธิบายว่า “หนังสือพระราชพงษาวดารว่าสมเด็จพระเพทราชาเปนชาวบ้านพลูหลวง จึงเรียกราชวงษ์บ้านพลูหลวง”
นอกจากนี้ทรงเปลี่ยนพระมหากษัตริย์ตั้งแต่สมเด็จพระเจ้าเสือมาจนเสียกรุงซึ่งเคยถูกจัดอยู่ในราชวงศ์ปราสาททอง มาอยู่ราชวงศ์บ้านพลูหลวงทั้งหมด เพราะเมื่อตรวจสอบหลักฐานร่วมสมัยแล้ว ไม่ทรงเชื่อว่าสมเด็จพระเจ้าเสือเป็นพระโอรสลับของสมเด็จพระนารายณ์ตามที่พระราชพงศาวดารสมัยรัตนโกสินทร์กล่าวอ้าง
“สมเด็จพระเจ้าเสือนี้ หนังสือพระราชพงษาวดารนับในราชวงษ์ปราสาททองด้วยยอมรับว่าเปนราชโอรสลับของสมเด็จพระนารายน์มหาราช ผู้ศึกษาโบราณคดีชั้นหลังได้ตรวจดูจดหมายเหตุครั้งสมเด็จพระนารายน์ แลพิเคราะห์เรื่องราวซึ่งปรากฏในครั้งนั้น ไม่มีเหตุอันใดที่ควรเชื่อว่าอยู่ในราชวงษ์ปราสาททอง ข้าพเจ้าเห็นควรนับในราชวงษ์บ้านพลูหลวงตลอดมาทุกพระองค์จนสิ้นกรุงเก่า”
การกำหนดชื่อราชวงศ์ของนักประวัติศาสตร์แบบในปัจจุบันจึงเป็นเพียงสิ่งที่สมมติขึ้นเท่านั้น ไม่เคยพบหลักฐานการใช้งานจริงในสมัยกรุงศรีอยุทธยา
คำว่า "ราชวงศ์บ้านพลูหลวง" เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 และไม่เคยปรากฏในหลักฐานลายลักษณ์อักษรสมัยกรุงศรีอยุทธยาแม้แต่ชิ้นเดียวครับ
ไม่มี “ราชวงศ์บ้านพลูหลวง” ในสมัยกรุงเก่า
https://www.facebook.com/WipakHistory/photos/a.1050804244983045/2624515254278595/?type=3
ความคิดเห็นที่ 3
สำหรับที่มาของราชวงศ์จักรี เชื่อว่ามีที่มาจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงเคยมีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาจักรีในสมัยกรุงธนบุรี ก่อนจะได้เลื่อนขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก
จักรี แปลว่า ผู้มีจักร หมายถึงพระนารายณ์ที่ทรงใช้จักรเป็นอาวุธ และยังมีความหมายถึงพระมหากษัตริย์ ตามความเชื่อว่าพระมหากษัตริย์คือพระนารายณ์อวตาร จึงปรากฏการเรียกขานพระมหากษัตริย์ว่า “จักรี” ในวรรณกรรมตั้งแต่สมัยอยุทธยา จักรยังถูกใช้เป็นตราประจำแผ่นดินสำหรับประดับบนเงินพดด้วงตั้งแต่สมัยอยุทธยาเหมือนกัน
จักรี ยังเป็นทินนามตำแหน่งสมุหนายกคือเจ้าพระยาจักรีด้วย เพราะสมุหนายกถือตราจักรสำหรับใช้ประทับตราลงพระราชอาญาประหารชีวิต ทั้งนี้อำนาจการประหารชีวิตเป็นพระราชอำนาจของพระเจ้าแผ่นดินเพียงพระองค์เดียว การถือตราจักรจึงเป็นสัญลักษณ์ว่าสมุหนายกได้รับพระราชทานอำนาจการประหารชีวิตหรือจักร จากพระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นพระนารายณ์
บางแห่งอ้างว่ามีการเรียกขาน “ราชวงศ์จักรี” มาตั้งแต่สถาปนากรุง แต่ตามที่กล่าวไว้ว่าสังคมไทยสมัยโบราณยังไม่พบแนวคิดราชวงศ์แบบตะวันตก นอกจากนี้ก็ไม่ปรากฏหลักฐานสมัยรัชกาลที่ 1-4 ที่กล่าวถึง “ราชวงศ์จักรี” ตามนิยามแบบตะวันตกเลย จึงน่าเชื่อว่าแนวคิดในการตั้งชื่อราชวงศ์ว่า “จักรี” นั้นยังไม่เกิดขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
แต่ก็พบว่าคำว่า “จักรี” มีความสำคัญมากขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ เช่น ทินนามประจำตำแหน่งสมุหนายกไม่การใช้คำว่า “จักรี” อีกเลย สันนิษฐานว่าเพราะคำว่า “จักรี” มีความหมายสื่อถึงพระมหากษัตริย์และอาจจะพ้องกับบรรดาศักดิ์เดิมของปฐมราชวงศ์จึงเลิกใช้ไปเสีย (เว้นแต่ในหนังสือท้องตราหรือใบบอกหัวเมืองที่ยังคงระบุทินนามว่า ‘จักรี’ เพื่อความสะดวกในการสั่งการ เพราะคนส่วนใหญ่ทราบว่าจักรีคือตำแหน่งสมุหนายก) นอกจากนี้พบว่ามีใช้รูปจักรประดับธงเรือหลวงตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๅ
ถึงกระนั้น พบหลักฐานเพียงว่า “จักรี” ถูกนำเสนอเป็นสัญลักษณ์ของพระมหากษัตริย์เท่านั้น ยังไม่พบว่าถูกนำมาใช้เรียกขานเป็นชื่อราชวงศ์
ผู้เขียนวิเคราะห์ว่าคำว่า “จักรี” เริ่มสื่อถึงราชวงศ์ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา หลังจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงถวายพระนามพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลก่อนๆ ใหม่ให้แตกต่างกันทุกรัชกาล โดยได้ถวายพระนามพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกใหม่ว่า
“พระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ นเรศรราชวิวัฒนวงศ์ ปฐมพงศาธิราชรามาธิบดินทร พิชิตินทรวโรดม บรมนารถบพิตร พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก”
แนวคิดในการถวายพระนามใหม่ว่า “มหาจักรีบรมนารถ” ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เชื่อว่าอ้างอิงมาจากบรรดาศักดิ์ “เจ้าพระยาจักรี” ของรัชกาลที่ 1
ใกล้เคียงกับพระนามที่ตั้งถวายรัชกาลที่ 2 และ 3 ที่ดัดแปลงจากพระราชอิสริยยศเดิมก่อนขึ้นครองราชย์ โดยพระนาม “พระบาทสมเด็จพระบรมราชพงศเชษฐมเหศวรสุนทร” ของรัชกาลที่ 2 แปลงมาจากพระอิสริยยศ “กรมหลวงอิศรสุนทร” พระนาม “พระบาทสมเด็จพระปรมาทิวรเสฏฐมหาเจษฎาบดินทร” ของรัชกาลที่ 3 แปลงมาจากพระอิสริยยศ “กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์”
หากอ้างอิงแนวคิดราชวงศ์ในสมัยรัชกาลที่ 4 ที่ปรากฏใน “พระธรรมเทศนาพระราชพงษาวดารสังเขป” เป็นไปได้ว่าในเวลานั้นได้มีกล่าวถึงราชวงศ์สมัยรัตนโกสินทร์ว่าเป็นราชวงศ์ที่สืบเชื้อสายจาก “มหาจักรีบรมนารถ” ซึ่งเป็นพระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกแล้ว
นอกจากนี้ยังปรากฏว่ามีการนำคำว่า "จักรีบรมนาถ” มาประกอบในพระนามเต็มของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย ซึ่งอาจเป็นการสื่อความหมายถึงราชวงศ์ที่สืบสายจากรัชกาลที่ 1
หลังจากนั้นเป็นต้นมาจึงปรากฏว่าพระเจ้าแผ่นดินทุกรัชกาลทรงมีคำว่า “จักรี” ประกอบอยู่ในพระนามเต็มเสมอ
ในสมัยรัชกาลที่ 5 ใน “พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงวิจารณ์เรื่องพระราชพงศาวดารกับเรื่องประเพณีการตั้งพระมหาอุปราช” ที่พระราชนิพนธ์ใน พ.ศ. 2420 จึงปรากฏการเรียกพระราชวงศ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ว่า “บรมวงศ์จักรีมหากษัตริย์ศึก” เหมือนราชวงศ์กษัตริย์อยุทธยา
หลังจากนั้นปรากฏการใช้คำ “มหาจักรีบรมราชวงศ์” “พระบรมราชจักรีวงศ์” “พระบรมราชวงศ์จักรี” จนถึง “ราชวงศ์จักรี” อย่างในปัจจุบัน ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงความหมายจากการเดิมที่บ่งบอกเพียงการสืบเชื้อสายจากปฐมราชวงศ์ มาเป็นชื่อของราชวงศ์ในรูปแบบเดียวกับราชวงศ์ของชาติตะวันตกแล้ว
อ่านเพิ่มเติมที่ ราชวงศ์จักรี และแนวคิดเรื่องราชวงศ์ในสังคมรัฐโบราณ
https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/2215147841882007/?locale=th_TH
จักรี แปลว่า ผู้มีจักร หมายถึงพระนารายณ์ที่ทรงใช้จักรเป็นอาวุธ และยังมีความหมายถึงพระมหากษัตริย์ ตามความเชื่อว่าพระมหากษัตริย์คือพระนารายณ์อวตาร จึงปรากฏการเรียกขานพระมหากษัตริย์ว่า “จักรี” ในวรรณกรรมตั้งแต่สมัยอยุทธยา จักรยังถูกใช้เป็นตราประจำแผ่นดินสำหรับประดับบนเงินพดด้วงตั้งแต่สมัยอยุทธยาเหมือนกัน
จักรี ยังเป็นทินนามตำแหน่งสมุหนายกคือเจ้าพระยาจักรีด้วย เพราะสมุหนายกถือตราจักรสำหรับใช้ประทับตราลงพระราชอาญาประหารชีวิต ทั้งนี้อำนาจการประหารชีวิตเป็นพระราชอำนาจของพระเจ้าแผ่นดินเพียงพระองค์เดียว การถือตราจักรจึงเป็นสัญลักษณ์ว่าสมุหนายกได้รับพระราชทานอำนาจการประหารชีวิตหรือจักร จากพระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นพระนารายณ์
บางแห่งอ้างว่ามีการเรียกขาน “ราชวงศ์จักรี” มาตั้งแต่สถาปนากรุง แต่ตามที่กล่าวไว้ว่าสังคมไทยสมัยโบราณยังไม่พบแนวคิดราชวงศ์แบบตะวันตก นอกจากนี้ก็ไม่ปรากฏหลักฐานสมัยรัชกาลที่ 1-4 ที่กล่าวถึง “ราชวงศ์จักรี” ตามนิยามแบบตะวันตกเลย จึงน่าเชื่อว่าแนวคิดในการตั้งชื่อราชวงศ์ว่า “จักรี” นั้นยังไม่เกิดขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
แต่ก็พบว่าคำว่า “จักรี” มีความสำคัญมากขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ เช่น ทินนามประจำตำแหน่งสมุหนายกไม่การใช้คำว่า “จักรี” อีกเลย สันนิษฐานว่าเพราะคำว่า “จักรี” มีความหมายสื่อถึงพระมหากษัตริย์และอาจจะพ้องกับบรรดาศักดิ์เดิมของปฐมราชวงศ์จึงเลิกใช้ไปเสีย (เว้นแต่ในหนังสือท้องตราหรือใบบอกหัวเมืองที่ยังคงระบุทินนามว่า ‘จักรี’ เพื่อความสะดวกในการสั่งการ เพราะคนส่วนใหญ่ทราบว่าจักรีคือตำแหน่งสมุหนายก) นอกจากนี้พบว่ามีใช้รูปจักรประดับธงเรือหลวงตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๅ
ถึงกระนั้น พบหลักฐานเพียงว่า “จักรี” ถูกนำเสนอเป็นสัญลักษณ์ของพระมหากษัตริย์เท่านั้น ยังไม่พบว่าถูกนำมาใช้เรียกขานเป็นชื่อราชวงศ์
ผู้เขียนวิเคราะห์ว่าคำว่า “จักรี” เริ่มสื่อถึงราชวงศ์ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา หลังจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงถวายพระนามพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลก่อนๆ ใหม่ให้แตกต่างกันทุกรัชกาล โดยได้ถวายพระนามพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกใหม่ว่า
“พระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ นเรศรราชวิวัฒนวงศ์ ปฐมพงศาธิราชรามาธิบดินทร พิชิตินทรวโรดม บรมนารถบพิตร พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก”
แนวคิดในการถวายพระนามใหม่ว่า “มหาจักรีบรมนารถ” ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เชื่อว่าอ้างอิงมาจากบรรดาศักดิ์ “เจ้าพระยาจักรี” ของรัชกาลที่ 1
ใกล้เคียงกับพระนามที่ตั้งถวายรัชกาลที่ 2 และ 3 ที่ดัดแปลงจากพระราชอิสริยยศเดิมก่อนขึ้นครองราชย์ โดยพระนาม “พระบาทสมเด็จพระบรมราชพงศเชษฐมเหศวรสุนทร” ของรัชกาลที่ 2 แปลงมาจากพระอิสริยยศ “กรมหลวงอิศรสุนทร” พระนาม “พระบาทสมเด็จพระปรมาทิวรเสฏฐมหาเจษฎาบดินทร” ของรัชกาลที่ 3 แปลงมาจากพระอิสริยยศ “กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์”
หากอ้างอิงแนวคิดราชวงศ์ในสมัยรัชกาลที่ 4 ที่ปรากฏใน “พระธรรมเทศนาพระราชพงษาวดารสังเขป” เป็นไปได้ว่าในเวลานั้นได้มีกล่าวถึงราชวงศ์สมัยรัตนโกสินทร์ว่าเป็นราชวงศ์ที่สืบเชื้อสายจาก “มหาจักรีบรมนารถ” ซึ่งเป็นพระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกแล้ว
นอกจากนี้ยังปรากฏว่ามีการนำคำว่า "จักรีบรมนาถ” มาประกอบในพระนามเต็มของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย ซึ่งอาจเป็นการสื่อความหมายถึงราชวงศ์ที่สืบสายจากรัชกาลที่ 1
หลังจากนั้นเป็นต้นมาจึงปรากฏว่าพระเจ้าแผ่นดินทุกรัชกาลทรงมีคำว่า “จักรี” ประกอบอยู่ในพระนามเต็มเสมอ
ในสมัยรัชกาลที่ 5 ใน “พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงวิจารณ์เรื่องพระราชพงศาวดารกับเรื่องประเพณีการตั้งพระมหาอุปราช” ที่พระราชนิพนธ์ใน พ.ศ. 2420 จึงปรากฏการเรียกพระราชวงศ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ว่า “บรมวงศ์จักรีมหากษัตริย์ศึก” เหมือนราชวงศ์กษัตริย์อยุทธยา
หลังจากนั้นปรากฏการใช้คำ “มหาจักรีบรมราชวงศ์” “พระบรมราชจักรีวงศ์” “พระบรมราชวงศ์จักรี” จนถึง “ราชวงศ์จักรี” อย่างในปัจจุบัน ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงความหมายจากการเดิมที่บ่งบอกเพียงการสืบเชื้อสายจากปฐมราชวงศ์ มาเป็นชื่อของราชวงศ์ในรูปแบบเดียวกับราชวงศ์ของชาติตะวันตกแล้ว
อ่านเพิ่มเติมที่ ราชวงศ์จักรี และแนวคิดเรื่องราชวงศ์ในสังคมรัฐโบราณ
https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/2215147841882007/?locale=th_TH
แสดงความคิดเห็น
ทำไม "พ่อริด" จึงไม่รู้จัก "ราชวงศ์บ้านพลูหลวง" แล้วชื่อ "ราชวงศ์จักรี" มีมาตั้งแต่สมัยใด
ละคร เรื่อง “พรหมลิขิต” ใน EP 7 ยังอยู่ในสมัย "ขุนหลวงท้ายสระ" (สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ / สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ)
มีฉากหนึ่งตอนที่ "พุดตาน" ถาม "พ่อริด" ว่า ในยุคสมัยของ "พระเจ้าเสือ" หรือ "ขุนหลวงเสือ" อยู่ใน "ราชวงศ์บ้านพลูหลวง" ใช่หรือไม่
แต่ "พ่อริด" ซึ่งเป็นคนในยุคกรุงศรีอยุธยา กลับไม่รู้จัก "ราชวงศ์บ้านพลูหลวง" และมีการพูดถึง "ราชวงศ์จักรี"
จึงสงสัยว่า ทำไม "พ่อริด" จึงไม่รู้จัก "ราชวงศ์บ้านพลูหลวง"
แล้วชื่อ "ราชวงศ์จักรี" มีมาตั้งแต่สมัยตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ หรือว่าเพิ่งมามีขึ้นในสมัยใด