สรุปภาพรวมการเรียกใช้ "ล่ามในกระบวนการยุติธรรม" ของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ

สรุปตัวเลขการเรียกใช้ล่ามในกระบวนการยุติธรรม ของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม หลังจากอบรมรุ่น 1-2 แล้ว 114 คน และมีผู้ที่ผ่านการอบรมจริง 108 คน

ข้อมูลที่น่าสนใจถึงหลักประกันสิทธิที่สำคัญเพื่อให้บุคคลได้รับการพิจารณาคดีที่บริสุทธิ์และยุติธรรม:
• ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ และเข้ามาเป็นภาคีอนุสัญญาหลักเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ว่าด้วยกติการะหว่างประเทศ ว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights, 1966 (ICCPR)) กำหนดให้สิทธิในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา จะได้รับความช่วยเหลือจากล่ามโดยไม่คิดมูลค่า หากไม่สามารถเข้าใจหรือพูดภาษาในศาลนั้นได้
• ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 13 สิทธิในการมีทนายความในชั้นสอบสวน กำหนดให้ ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จำเลย หรือพยาน ที่ไม่สามารถพูดหรือเข้าใจภาษาไทย หรือเข้าใจเฉพาะภาษาไทยท้องถิ่น หรือภาษาถิ่น หรือภาษาต่างประเทศ หรือไม่มีล่าม ให้พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือศาลจัดหาล่ามโดยไม่ชักช้า

⚜️ผลงานที่ผ่านมาของกรมคุ้มครองสิทธิฯ ที่เกี่ยวกับงานล่ามในปี 2562⚜️
👨‍⚖️ จัดทำคำศัพท์ล่ามภาษามือ 104 คำ (เนื่องจากภาษาเป็นภาษาที่มีลิขสิทธิ์ จึงต้องมีการขอลิขสิทธิ์จากผู้ออกแบบภาษามือ)
👨‍⚖️ คู่มือล่ามในกระบวนการยุติธรรม ฉบับภาษาไทย จำนวน 439 คำ (ขณะนี้อยู่ในระหว่างการแปลเป็นภาษาอังกฤษโดยศูนย์การแปลและการล่ามเฉลิมพระเกียรติ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
👨‍⚖️ ดำเนินการจัดทำหลักสูตรการฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพล่ามในกระบวนการยุติธรรม ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
👨‍⚖️ ประชาสัมพันธ์การเข้ารับสมัครผู้เข้ารับการอบรมและเปิดรับสมัครผู้ที่สนใจเข้ารับการอบรมผ่านเฟสบุ๊กสมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทย ผลคือ มีผู้ตอบรับการเข้าอบรมจำนวนมาก โดยรับสมัครผู้ที่มีความรู้ด้านภาษาอังกฤษในระดับปานกลางขึ้นไป มีผลการทดสอบภาษาอังกฤษหรือมีประสบการณ์ในการทำล่าม
👨‍⚖️6 หน่วยงานที่จะมีการเรียกใช้ล่ามที่ผ่านการอบรมได้แก่ กรมบังคับคดี กรมคุมประพฤติ กรมราชทัณฑ์ กรมสอบสวนคดีพิเศษ กรมพินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชน และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด อย่างไรก็ตาม ในปีที่ผ่านมา:
         🎯 กรมราชทัณฑ์ มีการเรียกใช้ล่าม 7 ครั้ง
         🎯 กรมคุมประพฤติ มีการเรียกใช้ล่าม 4 ครั้ง
         🎯 กรมสอบสวนคดีพิเศษ มีการเรียกใช้ล่าม 3 ครั้ง
         🎯 และหน่วยงานอื่น ๆ อีก 36 ครั้ง

😤😭😱ปัญหาที่พบจากการใช้ล่าม😤😭😱
🎯 ล่ามทำนอกเหนือหน้าที่ เช่น ล่ามและจำเลยมีการคุยกันเป็นการส่วนตัว ในขณะที่มีการพิจารณาคดี หรืออยู่นอกการพิจารณาคดี หรืออยู่ในช่วงพัก ทั้งนี้ การกระทำดังกล่าวทำให้ถูกมองว่า ล่ามไม่มีความเป็นกลาง และทำให้เกิดคำถามถึงการทำงานแบบบริสุทธิ์และยุติธรรมเกิดขึ้น
🎯 ล่ามไม่มีคลังคำศัพท์ที่เพียงพอที่จะทำหน้าที่ล่าม ซึ่งสะท้อนว่า กระบวนการพิจารณารับสมัครเข้ามาทำงานล่ามยังไม่มีประสิทธิภาพ

หมายเหตุ: ปัญหาที่พบยังไม่เกิดกับล่ามรุ่นใหม่ที่เพิ่งอบรมไป เพราะล่ามรุ่นใหม่ยังไม่มีการเรียกใช้งาน โดยเฉพาะศาลยุติธรรมที่ยังเรียกใช้งานล่ามรุ่นเก่าอยู่

#ล่ามในกระบวนการยุติธรรม #ล่ามกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ #ล่ามศาล
https://www.facebook.com/SEAProTI/
https://www.sea-proti.com/
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่