เล็งให้สัมปทาน-เปิดสำรวจแร่เพิ่ม แลกจ่าย 4 หมื่นล้านปมปิด 'เหมืองอัครา'
https://voicetv.co.th/read/OGYGuB9kt
รมว.อุตสาหกรรม เผยเตรียมเจรจาคิงส์เกตเพื่อยื่นข้อเสนอร่วมกันหาทางออกปมเหมืองอัคราช่วงกลางเดือน พ.ย.นี้ เล็งแนวทางให้สัมปทานกับเอกชนเพิ่ม หรือ เปิดให้สำรวจแร่เพิ่มเติมแลกการจ่ายเงินกว่า 4 หมื่นล้านบาท ยันไม่เลือกแนวทางให้ประเทศเสียหาย
นาย
สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รู้เรื่องนี้ดีที่สุดพิจารณาข้อดีข้อเสียอย่างละเอียดและหาแนวทางที่ดีที่สุด เพื่อยุติในเรื่องดังกล่าว และต้องไม่ทำให้ประเทศเสียหาย โดยมองว่า หนึ่งในทางออกที่ดีที่สุด คือการเจรจากับเอกชน แต่จะต้องดำเนินการไม่ให้เกิดการเสียเปรียบ หรือ เอาเปรียบเอกชน และจะต้องเจรจาเพื่อหาทางออกร่วมกัน เช่น การให้สัมปทานกับเอกชนเพิ่มเติม หรือ การเปิดให้สำรวจแร่เพิ่มเติม
อย่างไรก็ตามแนวทางข้างต้นเอกชนจะต้องดำเนินการเป็นไปตาม พรบ.เหมืองแร่ฉบับใหม่ ซึ่งมีขั้นตอนที่เข้มงวดในการดูแลสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน โดยหากเอกชนสามารถทำตามเงื่อนไขได้ทั้งหมดก็สามารถทำได้ แต่หากเอกชนไม่สามารถทำตามเงื่อนไขตามกฎหมายได้ก็จำเป็นจะต้องยกเลิกไปเพราะรัฐบาลก็จะต้องดูแลผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนด้วย ดังนั้นในช่วงนี้ยังอยู่ระหว่างการยื่นข้อเสนอและเงื่อนไข เพราะยังมีระยะเวลาเจรจา หากสามารถตกลงกันได้ทั้ง 2 ฝ่าย ก็สามารถเลื่อนอนุญาโตตุลาการได้
นาย
สุริยะ ยังชี้แจงว่า ที่ผ่านมา บริษัท คิงส์เกต เคยได้ยื่นหนังสือเพื่อจะขอเจรจากับทางรัฐบาลมาแล้ว หากทั้ง 2 ฝ่ายพร้อมก็สามารถเจรจาเพื่อหาทางออกร่วมกันได้ โดยรัฐบาลต้องหาข้อเสนอและเงื่อนไขอย่างละเอียดและรอบคอบเพราะปัญหานี้มีความละเอียดอ่อน คาดว่าการเจรจาจะเกิดขึ้นได้ในช่วงไม่เกินกลางเดือน พ.ย.นี้
กมธ.งบ’63 เรียกเอกสารจัดซื้อกระทรวงดีอีเพียบ พบซ้ำซ้อน เน็ตประชารัฐไม่รอด โดนด้วย
https://www.matichon.co.th/politics/news_1736460
กมธ.พิจารณางบฯ เผย เตรียมตั้งอนุฯ เกลี่ยงบหลายกระทรวง พบ ‘ดีอี’ ทำงบซ้ำซ้อน พร้อมตั้งข้อสังเกต เน็ตประชารัฐ และกสทช.
เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 1 พฤศจิกายน ที่รัฐสภา เกียกกาย นาย
ภราดร ปริศนานันทกุล ส.ส.อ่างทอง พรรคภูมิใจไทย ในฐานะโฆษกกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 แถลงว่า
ทางกมธ.ได้พิจารณางบประมาณรายจ่ายของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) จำนวน 30,370 ล้านบาท โดยเป็นการพิจารณาภาพรวม และกรมที่อยู่ภายใต้กระทรวงดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ในส่วนของกระทรวงดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) นั้น ทางกมธ.พิจารณาเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยเป็นวงเงิน 6,897 ล้านบาท จำนวน 6 หน่วยงาน อาทิ สำนักปลัดกระทรวงดีอี 721 ล้านบาท กรมอุตุนิยมวิทยา 1,848 ล้านบาท คณะกรรมการดีอี 1,000 ล้านบาท เป็นต้น ทั้งนี้ การพิจารณาในชั้นกมธ.เป็นเพียงการพิจารณาในภาพรวม ส่วนจะตัด หรือเพิ่มงบประมาณในส่วนต่างๆ ทางกมธ.จะส่งเอกสารทั้งหมดให้กับอนุกมธ. ซึ่งจะตั้งขึ้นภายในสัปดาห์หน้า
ด้าน นาย
วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ ในฐานะโฆษกกมธ. เปิดเผยว่า จากผลการพิจารณาของกระทรวงดีอี พบว่า มีการใช้งบประมาณทำโครงการหลายโครงการซ้ำซ้อนกันเกี่ยวกับคราวน์เซอร์วิส และบิ๊กดาต้าร์ ซึ่งทางดีอีได้ยืนยันว่า เรื่องนี้เป็นหน้าที่หลักของกระทรวง นอกจากนี้ ยังตั้งข้อสังเกตเรื่องเน็ตประชารัฐ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงดีอี และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดยทางกมธ.ได้ขอเอกสารจัดซื้อ จัดจ้าง (ทีโออาร์) ไปแล้ว รวมทั้งโครงการดิจิตอลไทยแลนด์บิ๊กแบง ที่ของบประมาณเข้ามาถึง 125 ล้านบาท ทางกมธ.ก็ได้ขอเอกสารเช่นกัน เพื่อนำมาพิจารณาว่ามีความเหมาะสมหรือไม่
JJNY : 4in1 เล็งให้สัมปทาน แลกจ่าย4หมื่นล.ปมอัครา/กมธ.งบเรียกเอกสารดีอี/ไปอีกราย!โรงงานกระเป๋า/NIPPON STEELหยุดงาน24วัน
https://voicetv.co.th/read/OGYGuB9kt
รมว.อุตสาหกรรม เผยเตรียมเจรจาคิงส์เกตเพื่อยื่นข้อเสนอร่วมกันหาทางออกปมเหมืองอัคราช่วงกลางเดือน พ.ย.นี้ เล็งแนวทางให้สัมปทานกับเอกชนเพิ่ม หรือ เปิดให้สำรวจแร่เพิ่มเติมแลกการจ่ายเงินกว่า 4 หมื่นล้านบาท ยันไม่เลือกแนวทางให้ประเทศเสียหาย
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รู้เรื่องนี้ดีที่สุดพิจารณาข้อดีข้อเสียอย่างละเอียดและหาแนวทางที่ดีที่สุด เพื่อยุติในเรื่องดังกล่าว และต้องไม่ทำให้ประเทศเสียหาย โดยมองว่า หนึ่งในทางออกที่ดีที่สุด คือการเจรจากับเอกชน แต่จะต้องดำเนินการไม่ให้เกิดการเสียเปรียบ หรือ เอาเปรียบเอกชน และจะต้องเจรจาเพื่อหาทางออกร่วมกัน เช่น การให้สัมปทานกับเอกชนเพิ่มเติม หรือ การเปิดให้สำรวจแร่เพิ่มเติม
อย่างไรก็ตามแนวทางข้างต้นเอกชนจะต้องดำเนินการเป็นไปตาม พรบ.เหมืองแร่ฉบับใหม่ ซึ่งมีขั้นตอนที่เข้มงวดในการดูแลสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน โดยหากเอกชนสามารถทำตามเงื่อนไขได้ทั้งหมดก็สามารถทำได้ แต่หากเอกชนไม่สามารถทำตามเงื่อนไขตามกฎหมายได้ก็จำเป็นจะต้องยกเลิกไปเพราะรัฐบาลก็จะต้องดูแลผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนด้วย ดังนั้นในช่วงนี้ยังอยู่ระหว่างการยื่นข้อเสนอและเงื่อนไข เพราะยังมีระยะเวลาเจรจา หากสามารถตกลงกันได้ทั้ง 2 ฝ่าย ก็สามารถเลื่อนอนุญาโตตุลาการได้
นายสุริยะ ยังชี้แจงว่า ที่ผ่านมา บริษัท คิงส์เกต เคยได้ยื่นหนังสือเพื่อจะขอเจรจากับทางรัฐบาลมาแล้ว หากทั้ง 2 ฝ่ายพร้อมก็สามารถเจรจาเพื่อหาทางออกร่วมกันได้ โดยรัฐบาลต้องหาข้อเสนอและเงื่อนไขอย่างละเอียดและรอบคอบเพราะปัญหานี้มีความละเอียดอ่อน คาดว่าการเจรจาจะเกิดขึ้นได้ในช่วงไม่เกินกลางเดือน พ.ย.นี้
กมธ.งบ’63 เรียกเอกสารจัดซื้อกระทรวงดีอีเพียบ พบซ้ำซ้อน เน็ตประชารัฐไม่รอด โดนด้วย
https://www.matichon.co.th/politics/news_1736460
กมธ.พิจารณางบฯ เผย เตรียมตั้งอนุฯ เกลี่ยงบหลายกระทรวง พบ ‘ดีอี’ ทำงบซ้ำซ้อน พร้อมตั้งข้อสังเกต เน็ตประชารัฐ และกสทช.
เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 1 พฤศจิกายน ที่รัฐสภา เกียกกาย นายภราดร ปริศนานันทกุล ส.ส.อ่างทอง พรรคภูมิใจไทย ในฐานะโฆษกกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 แถลงว่า
ทางกมธ.ได้พิจารณางบประมาณรายจ่ายของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) จำนวน 30,370 ล้านบาท โดยเป็นการพิจารณาภาพรวม และกรมที่อยู่ภายใต้กระทรวงดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ในส่วนของกระทรวงดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) นั้น ทางกมธ.พิจารณาเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยเป็นวงเงิน 6,897 ล้านบาท จำนวน 6 หน่วยงาน อาทิ สำนักปลัดกระทรวงดีอี 721 ล้านบาท กรมอุตุนิยมวิทยา 1,848 ล้านบาท คณะกรรมการดีอี 1,000 ล้านบาท เป็นต้น ทั้งนี้ การพิจารณาในชั้นกมธ.เป็นเพียงการพิจารณาในภาพรวม ส่วนจะตัด หรือเพิ่มงบประมาณในส่วนต่างๆ ทางกมธ.จะส่งเอกสารทั้งหมดให้กับอนุกมธ. ซึ่งจะตั้งขึ้นภายในสัปดาห์หน้า
ด้าน นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ ในฐานะโฆษกกมธ. เปิดเผยว่า จากผลการพิจารณาของกระทรวงดีอี พบว่า มีการใช้งบประมาณทำโครงการหลายโครงการซ้ำซ้อนกันเกี่ยวกับคราวน์เซอร์วิส และบิ๊กดาต้าร์ ซึ่งทางดีอีได้ยืนยันว่า เรื่องนี้เป็นหน้าที่หลักของกระทรวง นอกจากนี้ ยังตั้งข้อสังเกตเรื่องเน็ตประชารัฐ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงดีอี และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดยทางกมธ.ได้ขอเอกสารจัดซื้อ จัดจ้าง (ทีโออาร์) ไปแล้ว รวมทั้งโครงการดิจิตอลไทยแลนด์บิ๊กแบง ที่ของบประมาณเข้ามาถึง 125 ล้านบาท ทางกมธ.ก็ได้ขอเอกสารเช่นกัน เพื่อนำมาพิจารณาว่ามีความเหมาะสมหรือไม่