จากกระทู้ "
EEC - จบไปแล้วกับการเซ็นสัญญาไฮสปีดเทรน 3 สนามบิน แต่ ...." อย่างที่ทุกท่านทราบกันถึงประวัติศาสตร์อันยาวนานของการรถไฟของประเทศไทย ว่า
ครั้งหนึ่งประเทศไทยเคยถือได้ว่าเป็นประเทศมหาอำนาจด้านระบบราง จากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่ทรงอยากจะป้องกันการล่าอาณานิคมของประเทศอังกฤษ และฝรั่งเศส ท่านทรงตระหนักถึงความสำคัญของการคมนาคมโดยเส้นทางรถไฟ เพราะการใช้แต่ทางเกวียนและแม่น้ำลำคลองเป็นพื้นนั้น ไม่เพียงพอแก่การบำรุงรักษาพระราชอาณาเขต จึงเห็นสมควรที่จะสร้างทางรถไฟขึ้นในประเทศเพื่อติดต่อกับมณฑลชายแดนก่อนอื่น ทั้งนี้เพื่อสะดวกแก่การปกครอง ตรวจตราป้องกันการรุกรานเป็นการเปิดภูมิประเทศให้ประชาชนพลเมือง เข้าบุกเบิกพื้นที่ รกร้างว่างเปล่า ให้เป็นประโยชน์ทางเศรษกิจของประเทศ และจะเป็นเส้นทางขนส่งผู้โดยสารและสินค้าไปมาถึงกันได้ง่ายยิ่งขึ้น เมื่อปีพ.ศ. 2430 (ที่มา : การรถไฟแห่งประเทศไทย)
เลยทำให้เห็นภาพเลยว่า อีก 5 ปีข้างหน้า รฟท.จะเปลี่ยนผ่านองค์กรครั้งสำคัญในช่วงนี้อย่างไร
จากที่ในหลายทศวรรษที่การเร่งขยายเส้นทางรถไฟสายใหม่ และขยายรถไฟทางคู่ของประเทศหยุดนิ่งอยู่ที่ 4,000 กว่ากิโลเมตรมายาวนาน แต่หลังจากที่มีการลงนามรถไฟความเร็วสูงขึ้น คาดว่าจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในองค์กรแห่งนี้
ล่าสุด นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจบริหารทรัพย์สิน การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ที่ปัจจุบันควบตำแหน่งรักษาการผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.ด้วยคำสั่งตาม ม.44 เมื่อวันที่ 16 พ.ค.2561 ถูกมอบหมายให้มารับภารกิจ "บิ๊ก เชนจ์" ครั้งนี้ เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การขนส่งทางรางของประเทศ
จาก 4,000 กิโลเมตรเดิมในอดีต กำลังจะขยับขยายเป็น 6,500 กิโลเมตร (รถไฟทางคู่ 1,000 กิโลเมตร และเส้นทางใหม่อีก 1,500 กิโลเมตร) จะเป็นการปรับเปลี่ยนครั้งสำคัญว่า การรถไฟจะเป็นอย่างไรในอนาคต
จากในอดีตที่รัฐบาลหลายชุดมุ่งแต่ทำเครือข่ายทางถนนเพิ่มขึ้น จนมาถึงรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ที่สั่งให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ทำแผนแม่บทพัฒนารถไฟ พอเปลี่ยนเป็นรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ก็พัฒนาต่อและเพิ่มรถไฟความเร็วสูง 2 ล้านล้านบาทเข้ามา และมีการพัฒนารถไฟทางคู่ พอถึงรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ให้ทำแผนพัฒนาทางคู่เพิ่มอีก 993 กิโลเมตร
สำหรับการเปลี่ยนผ่านเรื่องรถไฟฟ้า ก็ได้เห็นเพียงแต่ "รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ " เท่านั้น และในอนาคตก็จะเป็นรถไฟฟ้าสายสีแดง
ส่วนรถไฟความเร็วสูง ถือว่าเป็นสิ่งที่หล่นมาจากฟ้า ที่ได้รับมอบหมายมาจากรัฐบาล ซึ่งต้องยอมรับเลยว่ารถไฟของเรายังวิ่งด้วยเชื้อเพลิงดีเซลอยู่เลย จึงมองว่าการรถไฟฯ อาจจะต้องขยับไปที่พลังงานไฟฟ้า จึงค่อยๆ เรียนรู้ และค่อยขยับอีกขั้นก่อนไปที่ไฮสปีดเทรน
ทำให้การทำงานตอนนี้ต้องเร่งเครื่องแล้ว ในการเตรียมให้คนไทยสามารถขับไฮสปีดเทรนได้ โดยมีเวลาเรียน 2 ปี ซึ่งต้องส่งพนักงานไปฝึกอบรมที่ปักกิ่ง
สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
"ไฮสปีด-รถไฟทางคู่ 'บิ๊กเชนจ์' ของ ร.ฟ.ท."
ดังนั้น อาจจะถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยจะต้องส่งเสริมบุคลากรในระบบรางอย่างจริงจัง เพราะเพียงไม่กี่อึดใจประเทศไทยจะมีระบบรางที่จะเชื่อมต่อกันทั่วทั้งประเทศ ทั้งระบบรางเดี่ยว รางคู่ และรถไฟความเร็วสูง ยังไม่รวมถึงรถไฟฟ้าในเมือง ที่จะเชื่อมต่อกับระบบขนส่งอื่นๆ ในบริเวณใกล้เคียงได้อย่างสะดวกสบายที่สถานีกลวงบางซื่อ
สิ่งเหล่าจะเป็นการพิสูจน์ถึงฝีมือในการบริหารจัดการของการรถไฟฯ ต่อสังคมว่า
"เมื่อได้รับโอกาส และงบประมาณมหาศาลแล้ว
การรถไฟฯ จะแสดงฝีมือ ผลักดันให้โครงการต่างๆ ประสบความสำเร็จได้แค่ไหน"
EEC - อีก 5 ปีข้างหน้า รฟท.จะเปลี่ยนผ่านเป็นยังไง
ครั้งหนึ่งประเทศไทยเคยถือได้ว่าเป็นประเทศมหาอำนาจด้านระบบราง จากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่ทรงอยากจะป้องกันการล่าอาณานิคมของประเทศอังกฤษ และฝรั่งเศส ท่านทรงตระหนักถึงความสำคัญของการคมนาคมโดยเส้นทางรถไฟ เพราะการใช้แต่ทางเกวียนและแม่น้ำลำคลองเป็นพื้นนั้น ไม่เพียงพอแก่การบำรุงรักษาพระราชอาณาเขต จึงเห็นสมควรที่จะสร้างทางรถไฟขึ้นในประเทศเพื่อติดต่อกับมณฑลชายแดนก่อนอื่น ทั้งนี้เพื่อสะดวกแก่การปกครอง ตรวจตราป้องกันการรุกรานเป็นการเปิดภูมิประเทศให้ประชาชนพลเมือง เข้าบุกเบิกพื้นที่ รกร้างว่างเปล่า ให้เป็นประโยชน์ทางเศรษกิจของประเทศ และจะเป็นเส้นทางขนส่งผู้โดยสารและสินค้าไปมาถึงกันได้ง่ายยิ่งขึ้น เมื่อปีพ.ศ. 2430 (ที่มา : การรถไฟแห่งประเทศไทย)
เลยทำให้เห็นภาพเลยว่า อีก 5 ปีข้างหน้า รฟท.จะเปลี่ยนผ่านองค์กรครั้งสำคัญในช่วงนี้อย่างไร
จากที่ในหลายทศวรรษที่การเร่งขยายเส้นทางรถไฟสายใหม่ และขยายรถไฟทางคู่ของประเทศหยุดนิ่งอยู่ที่ 4,000 กว่ากิโลเมตรมายาวนาน แต่หลังจากที่มีการลงนามรถไฟความเร็วสูงขึ้น คาดว่าจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในองค์กรแห่งนี้
ล่าสุด นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจบริหารทรัพย์สิน การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ที่ปัจจุบันควบตำแหน่งรักษาการผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.ด้วยคำสั่งตาม ม.44 เมื่อวันที่ 16 พ.ค.2561 ถูกมอบหมายให้มารับภารกิจ "บิ๊ก เชนจ์" ครั้งนี้ เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การขนส่งทางรางของประเทศ
จาก 4,000 กิโลเมตรเดิมในอดีต กำลังจะขยับขยายเป็น 6,500 กิโลเมตร (รถไฟทางคู่ 1,000 กิโลเมตร และเส้นทางใหม่อีก 1,500 กิโลเมตร) จะเป็นการปรับเปลี่ยนครั้งสำคัญว่า การรถไฟจะเป็นอย่างไรในอนาคต
จากในอดีตที่รัฐบาลหลายชุดมุ่งแต่ทำเครือข่ายทางถนนเพิ่มขึ้น จนมาถึงรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ที่สั่งให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ทำแผนแม่บทพัฒนารถไฟ พอเปลี่ยนเป็นรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ก็พัฒนาต่อและเพิ่มรถไฟความเร็วสูง 2 ล้านล้านบาทเข้ามา และมีการพัฒนารถไฟทางคู่ พอถึงรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ให้ทำแผนพัฒนาทางคู่เพิ่มอีก 993 กิโลเมตร
สำหรับการเปลี่ยนผ่านเรื่องรถไฟฟ้า ก็ได้เห็นเพียงแต่ "รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ " เท่านั้น และในอนาคตก็จะเป็นรถไฟฟ้าสายสีแดง
ส่วนรถไฟความเร็วสูง ถือว่าเป็นสิ่งที่หล่นมาจากฟ้า ที่ได้รับมอบหมายมาจากรัฐบาล ซึ่งต้องยอมรับเลยว่ารถไฟของเรายังวิ่งด้วยเชื้อเพลิงดีเซลอยู่เลย จึงมองว่าการรถไฟฯ อาจจะต้องขยับไปที่พลังงานไฟฟ้า จึงค่อยๆ เรียนรู้ และค่อยขยับอีกขั้นก่อนไปที่ไฮสปีดเทรน
ทำให้การทำงานตอนนี้ต้องเร่งเครื่องแล้ว ในการเตรียมให้คนไทยสามารถขับไฮสปีดเทรนได้ โดยมีเวลาเรียน 2 ปี ซึ่งต้องส่งพนักงานไปฝึกอบรมที่ปักกิ่ง
สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ "ไฮสปีด-รถไฟทางคู่ 'บิ๊กเชนจ์' ของ ร.ฟ.ท."
ดังนั้น อาจจะถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยจะต้องส่งเสริมบุคลากรในระบบรางอย่างจริงจัง เพราะเพียงไม่กี่อึดใจประเทศไทยจะมีระบบรางที่จะเชื่อมต่อกันทั่วทั้งประเทศ ทั้งระบบรางเดี่ยว รางคู่ และรถไฟความเร็วสูง ยังไม่รวมถึงรถไฟฟ้าในเมือง ที่จะเชื่อมต่อกับระบบขนส่งอื่นๆ ในบริเวณใกล้เคียงได้อย่างสะดวกสบายที่สถานีกลวงบางซื่อ