'พท.'สอนมวย'มาดามเดียร์' อัด'จำนำข้าว'สร้างภาระรบ.'บิ๊กตู่'
https://www.dailynews.co.th/politics/737292
“มาดามเดียร์” ถูกเด็กพท.สอนมวย หลังอภิปราย อัด”โครงการรับจำนำข้าวยิ่งลักษณ์”สร้างภาระผูกพัน รบ.ประยุทธ์ ด้าน “จิรายุ” อัดข้อมูลสับสน กังขามีคนเขียนข้อมูลให้ ซัดกลับเรือดำน้ำ-บอลลูนก็สร้างหนี้ให้ประเทศ
เมื่อเวลา 19.20 น. เมื่อวันที่ 18 ต.ค. ที่รัฐสภา น.ส.
วทันยา วงษ์โอภาสี ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ได้ลุกขึ้นกล่าวอภิปรายร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ตอนหนึ่งว่า การทำงบขาดดุลของรัฐบาลอาจจะเกิดหนี้สาธารณะ โดยบางคนเปรียบเทียบว่า
รัฐบาลพล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชาว่ามีหนี้สาธารณะสูงที่สุด ภาพรวมอาจจะเป็นเช่นนั้น แต่หากดูรายละเอียดจะพบความจริงว่ารัฐบาลพล.อ.
ประยุทธ์ กับรัฐบาลน.ส.
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรนั้นปีงบประมาณ 2555 -2557 มีการกู้เงินทั้งสิ้น 950,000 ล้าน เฉลี่ย 2 ปี แต่รัฐบาลน.ส.
ยิ่งลักษณ์มีการใช้เงินกู้ปีละ 4.5 แสนล้าน ขณะที่รัฐบาลพล.อ.
ประยุทธ์ทั้งสิ้น 2.2 หมื่นล้าน แต่เบิกกู้จริงเพียง 2 ล้าน แต่เมื่อหารจากปีที่รัฐบาลพล.อ.
ประยุทธ์ได้บริหารงบประมาณตั้งแต่ปี 2558-2562 พบว่าค่าเฉลี่ยเงินกู้อยู่ที่ประมาณปีละ 408000 ล้านบาท
น.ส.
วทันยา ยังกล่าวต่อว่า เมื่อดูค่าเฉลี่ยต่อปีพบว่ามีการกู้เงินน้อยกว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์ ปีละ 38,000 ล้านบาท และหากยังจำได้ในสมัยรัฐบาลน.ส.
ยิ่งลักษณ์มี 1 โครงการที่เป็นที่กล่าวขานไปทั่วประเทศ นั่นก็คือโครงการรับจำข้าว ซึ่งขณะนั้นตัวเลขเงินกู้ไม่ได้ปรากฏในร่างงบประมาณ เพราะเป็นการกู้จากงบประมาณกึ่งการคลัง ซึ่งปัจจุบันพ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังได้มีการกำหนดเรื่องนี้ไว้ ซึ่งสมัยรัฐบาลน.ส.
ยิ่งลักษณ์มีหนี้จากโครงการจำนำข้าว 8.8 แสนล้านบาท ซึ่ง 1 ในภาระเงินกู้ที่รัฐบาลต้องจัดสรรในทุกๆ ปี ส่วนหนึ่งมาจากต้องไปชดใช้ในโครงการนี้ รวมทั้งสิ้นประมาณ 1.5 แสนล้านบาท หรือ 7.5 เปอร์เซ็นต์จากเงินกู้ทั้งหมดของรัฐบาลพล.อ.
ประยุทธ์
ต่อมา นาย
จิรายุ ห่วงทรัพย์ ส.ส.กทม.พรรคเพื่อไทย ลุกขึ้นขอใช้พาดพิงกรณีที่น.ส.
วทันยาว่า สิ่งที่น.ส.
วทันยาพูดกำลังทำให้เกิดความสับสนเกี่ยวกับเรื่องตัวเลขการจำนำข้าว ซึ่งก็ไม่รู้ใครทำตัวเลขมาให้ ไม่มีรัฐบาลไหนในโลกเขาไปแยกรายการแบบนี้ ถ้าเป็นเช่นนั้นตนบอกว่าซื้อเรือดำน้ำหมื่นกว่าล้านบาทแล้วแยกไปชำระหนี้ได้หรือไม่ หรือแม้แต่บอลลูนที่บินไม่ขึ้นถามว่าเอามาชำระหนี้ได้หรือไม่ ฉะนั้นจึงอย่าทำแบบนี้ เพราะพยายามบอกว่าเสียหายจากการจำนำข้าว แล้วนำมาหาร และพูดว่ารัฐบาลทำถูก ส่วนที่บอกว่ารัฐบาลในอดีต ประเทศไทยไม่ค่อยไปไหน เพราะชอบพูดถึงอดีต หากบอกว่ารัฐบาลชุดนี้ใช้งบประมาณ 3 ล้านล้านบาทไปทำอะไรแล้วเราเห็นด้วย ก็จะยกมือให้ แต่เมื่อพาดพิงไปถึงอดีตก็ต้องมีการชี้แจงเพราะบางเรื่องเป็นข้อเท็จ แต่บางเรื่องก็เป็นข้อจริง ส่วนที่บอกว่า 3 ปีตั้งแต่ปี 55 ถึงปี 57 มีการกู้โดยรัฐบาลที่แล้ว ตกปีละประมาณ 446,000 ล้านบาท รวมแล้ว 3 ปีกู้ไป 950,000 ล้านบาท และรัฐบาลพล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชากู้ 5 ปีตั้งแต่ปี 58-62 จำนวน 2.042 ล้านล้านบาท ซึ่ง 3 ปีกับ 5 ปีก็ไม่เหมือนกัน แล้วมาพูดตีกินแบบนี้ได้อย่างไร
ประเด็นต่อมารัฐบาลน.ส.
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เข้ามาในปี 57 เกิดน้ำท่วม ซึ่งไม่รู้ว่ารัฐบาลไหนก่อนหน้านั้นมีการแบกหนี้ต่อเนื่อง จึงต้องมีการตั้งงบประมาณขาดดุล และกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับประเทศ ดังนั้นหากยังวนอยู่กับอดีตไม่ก้าวไปข้างหน้า บ้านเมืองก็เดินไปไม่ได้ นอกจากนี้ในส่วนของวิธีคิดการชำระเงินของประเทศ สิ่งที่ไม่ได้เงินคืนคือการสร้างโรงพยาบาลโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค แต่เราได้สวัสดิการเพื่อประชาชน ถ้าบอกว่ากระทรวงสาธารณสุขของนาย
อนุทิน ชาญวีรกูล ใช้ปีหนึ่ง 5 แสนล้านบาท แต่ไม่มีรายได้คืนแล้วนำมาหาร บอกว่ารัฐบาลเป็นหนี้แบบนี้ได้หรือไม่
จึงฝากบอกไปยังซีกรัฐบาลให้ทำการเมืองแบบสร้างสรรค์ พวกเราอดทนฟังมา 2 วัน เป็นคำชี้แนะจากซีกฝ่ายค้านก็รับไว้ หากใช้การเมืองแบบเดิมไปพูดเรื่องอดีตแล้วต่อว่าต่อขานก็จะไม่จบ ทำให้นาย
ศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาฯ ที่ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุมต้องรีบตัดบท และเปิดให้ผู้อภิปรายคนอื่นได้ขึ้นอภิปรายทันที โดยน.ส.
วทันยา ไม่ได้ชี้แจงอย่างไร
จากนั้น นาย
สงคราม กิจเลิศไพโรจน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อชาติ และหัวหน้าพรรคเพื่อชาติ กล่าวอภิปรายตอนหนึ่งว่า
การทำรัฐประหารนั้นกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ หากไปดูงบประมาณรายจ่ายครั้งนี้ก็เป็นตัวชี้วัดที่สำคัญ หากมองย้อนหลังไป 5ปี คือในปี 57 จนถึงปัจจุบัน ปรากฏว่างบประมาณขาดดุล และครั้งนี้ก็มีการจัดสร้างงบประมาณขาดดุลอีกเช่นเคย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องเลวร้าย ถ้านำงบไปกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อให้ความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น
แต่ถ้าจัดงบฯ เพื่อขาดดุล แล้วไม่เกิดผลดี ตั้งงบประมาณไปซื้อรถถัง ซื้ออาวุธ ที่ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ ถือว่าเป็นการทำร้ายประเทศชาติอย่างให้อภัยไม่ได้ อย่างไรก็ตามการจัดงบประมาณครั้งนี้ก็ไม่สอดรับกับยุทธศาสตร์ที่รัฐบาลทำขึ้นมาเอง ทั้งนี้ ตั้งแต่ยึดอำนาจมายังไม่เคยได้ยินรัฐบาลบอกเลยว่าจะหารายได้มาจากไหนบ้าง ตอนนี้สินค้าเกษตรย่ำแย่ การส่งออกลดน้อยลง ทำให้ผู้ประกอบการจะผูกคอตายกันหมดแล้ว แหล่งท่องเที่ยวขึ้นป้ายประกาศขายตึก ขายบ้าน ขายคอนโดและโรงแรมกันเป็นแถว นี่คือสภาพที่แท้จริง หรือเรียกว่า เผาจริงแล้ว การท่องเที่ยวที่เป็นความหวังของประเทศก็เสื่อมทรุด นับตั้งแต่ปี 57-62 การจัดเก็บภาษีต่ำกว่าการประมาณการมาโดยตลอด
นาย
สงคราม กล่าวต่อว่า นอกจากนี้มีการจัดงบประมาณที่ไม่เป็นธรรมต่อพื้นที่ ที่ผ่านมาก็ต่อว่ารัฐบาลชุดที่ผ่านมาว่าจัดงบประมาณตามฐานคะแนนเสียง แต่วันนี้กลับทำสิ่งที่ด่าคนอื่นมากกว่าอีก รัฐบาลในฐานะผู้กำกับการใช้จ่ายเงินกลับนำงบเหล่านี้ไปให้บางจังหวัดที่เขาช่วยเหลือตัวเองได้ แต่จังหวัดที่มีความเจริญน้อยและห่างไกลกลับได้งบประมาณน้อย ซึ่งรัฐบาลควรชี้แจงและนำไปแก้ไขด้วย ขอให้รัฐบาลพิจารณางบประมาณในทางที่จะก่อให้เกดประโยชน์กับประเทศมากกว่านี้
'ช่อ' อัดรัฐดับไฟใต้ไม่ตรงจุด ปัญหาอยู่ที่วิสัยทัศน์ผู้นำ จี้ตัดงบโฆษณาชวนเชื่อ
https://www.khaosod.co.th/politics/news_2984919
‘ช่อ’ อัดรัฐดับไฟใต้ไม่ตรงจุด ปัญหาอยู่ที่วิสัยทัศน์ผู้นำ จี้ตัดงบโฆษณาชวนเชื่อ
เมื่อเวลา 18.55 น. วันที่ 18 ต.ค. ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 วันที่ 2 น.ส.พรรณิการ์ วานิช ส.ส.บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคอนาคตใหม่ อภิปรายงบประมาณด้านความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่า ความไม่สงบใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าสู่ปีที่ 16 แล้ว เป็นหนึ่งในความขัดแย้งที่นองเลือดที่สุดในโลก มีผู้เสียชีวิตกว่า 4,000 คน ประเทศชาติสูญเสียโอกาสทางเศรษฐกิจ ซึ่ง พล.อ.
ประยุทธ์ สมควรเป็นผู้เชี่ยวชาญในปัญหานี้มากที่สุด เพราะท่านเป็นนายกฯ ที่อยู่ในตำแหน่งยาวนานที่สุดในระหว่างความขัดแย้ง
“ใน 5 ปีงบประมาณที่ผ่านมา ท่านใช้งบในการจัดการปัญหาภาคใต้ไปถึง 81,924 ล้านบาท เฉลี่ยภาษีที่ประชาชนเสียไปให้รัฐบาลวันละ 56 ล้านบาท จากการฟังคำชี้แจงของนายกฯ เมื่อวานนี้ ทำให้คิดว่าปัญหาสำคัญที่ทำให้เราไม่สามารถดับไฟใต้ น่าจะอยู่ที่วิสัยทัศน์ของผู้นำประเทศ สิ่งหนึ่งที่รู้สึกติดใจจากคำชี้แจงของนายกฯ คือท่านมองว่ารากฐานของปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นเพราะประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่บิดเบือน ทำให้เกิดความไม่ไว้ใจเจ้าหน้าที่รัฐ”
น.ส.
พรรณิการ์ กล่าวต่อว่า ต้องถามว่าจากเหตุการณ์การสลายการชุมนุมที่ อ.ตากใบ เมื่อเกือบ 15 ปีที่แล้ว ซึ่งทหารตัดสินใจใช้กระสุนจริง หรือกรณีการเสียชีวิตของนายอับดุลเลาะ อีซอมูซอ ที่ออกมาจากค่ายอิงคยุทธบริหารในสภาพเจ้าชายนิทรา หากครอบครัวของผู้เสียชีวิตเหล่านี้ไม่ไว้ใจเจ้าหน้าที่รัฐ ท่านคิดว่าเป็นเพราะพวกเขาได้รับข้อมูลที่บิดเบือนหรือไม่ ดังนั้น ถ้ารัฐบาลยังมองว่าปัญหาใน 3 จังหวัดเกิดจากสาเหตุนี้ จะไม่มีวันแก้ปัญหานี้ได้ไม่ว่าจะใช้งบประมาณแค่ไหน
น.ส.
พรรณิการ์ กล่าวอีกว่า แม้ความรุนแรงในภาคใต้ลดลง แต่คุณภาพชีวิตของประชาชนและความเชื่อมั่นต่อรัฐยังไม่ดีขึ้น โดยงบในการแก้ปัญหาภาคใต้ไม่ใช่จำนวน 1 หมื่นล้านในแผนบูรณาการ แต่คือ 3 หมื่นกว่าล้านบาท ซึ่งปัญหาแรกของการจัดทำงบ คืออำนาจในการจัดสรรงบประมาณและความผิดปกติของการใช้งบประมาณ กอ.รมน. ซึ่งเป็นองค์กรสำคัญที่รัฐใช้ขับเคลื่อนการแก้ปัญหาชายแดนใต้มีอำนาจในการแทรกแซงการใช้งบจำนวน 3 หมื่นล้านนี้ โดยเฉพาะงบจังหวัด ทั้งที่ กอ.รมน.ยังไม่สามารถเบิกจ่ายงบของหน่วยงานตัวเองได้เต็มประสิทธิภาพ
“อีกปัญหาคือในพ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ 2561 ให้อำนาจครม.ในการโยกงบของหน่วยงานในแผนบูรณาการเดียวกันไปยังหน่วยงานอื่นได้ เท่ากับท่านใช้อำนาจฝ่ายบริหารข้ามหัวสภาฯ เพราะพ.ร.บ.งบฯ ผ่านการพิจารณาของสภาฯ ไปแล้วว่างบแต่ละอย่างจะใช้ทำอะไร ”
“รัฐบาลอยากดับไฟ แต่ยังไม่รู้ว่าไฟอยู่ตรงไหน น้ำมีเท่าไหร่ ตัวชี้วัดที่ผิดนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุด ผลสัมฤทธิ์ที่ตั้งไว้ไม่ตรงกับสิ่งที่ควรจะเป็น เช่น ตั้งเป้าว่าประชาชนปรับเปลี่ยนทัศนคติและมีความรู้สึกดีต่อหน่วยงานทหาร หรือตั้งเป้าว่าจีดีพีในจังหวัดชายแดนใต้โต 10 เปอร์เซ็นต์ ทั้งที่ทั้งประเทศโตแค่กว่า 2 เปอร์เซนต์ เราพูดถึงการสร้างสันติภาพ แต่ตอนนี้ไม่มีตัวชี้วัดในการพูดคุยสันติภาพแล้ว ทหาร กอ.รมน.ได้งบ 2,200 ล้าน แต่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนได้เพียง 5 แสนบาท ตกลงว่าสันติภาพนี้สร้างบนปลายกระบอกปืนหรือการเคารพสิทธิมนุษยชน”
น.ส.
พรรณิการ์ กล่าวต่อว่า การแก้ปัญหาภาคใต้ที่ยั่งยืนคือการอำนวยยุติธรรม แต่มีงบเพียง 1 เปอร์เซนต์ ส่วนงบวัฒนธรรมมีเพียง 3 เปอร์เซ็นต์ ทั้งที่ภาครัฐพูดถึงสังคมพหุวัฒนธรรม นอกจากนี้ ยังมีโครงการสร้างสายข่าวงบประมาณ 932 ล้านบาท ซึ่งเพิ่งมาโผล่ในงบประมาณปี 2563 ขณะที่งบกลุ่มจังหวัดบวกงบจังหวัดยะลาปัตตานีนราธิวาส รวมไม่ถึง 600 ล้านบาท แสดงว่างบที่ใช้บริหารจัดการพื้นที่ 3 จังหวัด คิดเป็นเพียง 2 ใน 3 ของงบสร้างสายข่าว
“ทั้งหมดนี้ไม่ได้ดับไฟใต้ มีแต่เติมเชื้อไฟ เช่น งบสร้างสายข่าว ท่านมองปัญหาเป็นเรื่องความมั่นคง ไฟใต้จะดับได้ต้องจับโจรที่ทำผิดกฎหมายและแก้ปัญหาความยากจน ซึ่งไม่ได้ผิด แต่ไม่ครบ ตัวแปรสำคัญขาดไป เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหาความมั่นคง แต่คือปัญหาการเมือง ถ้าดูงบที่ใช้กับโครงการต่างๆ 4 ส่วน แบ่งเป็นความความมั่นคงร้อยละ 36 โฆษณาชวนเชื่อร้อยละ 42 แต่ใช้กับการเยียวยาฟื้นฟูกระบวนการสันติภาพและการพัฒนาเพียงร้อยละ 14 และร้อยละ 6 งบส่วนใหญ่ 3 ใน 4 เป็นการแก้ที่ปลายเหตุ คือการสร้างความจริงแลัวยัดเยียดให้ประชาชนเชื่อ ไม่ใช่การยอมรับความจริงแล้วแก้ไขมัน
“ขอเสนองบดับไฟใต้แบบอนาคตใหม่ คือตัดงบโฆษณาชวนเชื่อ แล้วไปเกลี่ยให้การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ขอให้ปีนี้เป็นปีเริ่มต้นของเส้นทางไปสู่เส้นทางสันติภาพ ไม่ใช่การเดินทางไปอีก 15 ปีเแล้วพบว่า ใช้งบไปโดยการแก้ปัญหาไฟใต้ไปไม่ถึงไหน” น.ส.พรรณิการ์กล่าว
JJNY : 'พท.'สอนมวย'มาดามเดียร์' อัด'จำนำข้าว'/'ช่อ' อัดรัฐดับไฟใต้ไม่ตรงจุด/ดัชนีความเชื่อมั่นอุตก.ย.62 ต่ำสุดรอบ 12 ด.
https://www.dailynews.co.th/politics/737292
“มาดามเดียร์” ถูกเด็กพท.สอนมวย หลังอภิปราย อัด”โครงการรับจำนำข้าวยิ่งลักษณ์”สร้างภาระผูกพัน รบ.ประยุทธ์ ด้าน “จิรายุ” อัดข้อมูลสับสน กังขามีคนเขียนข้อมูลให้ ซัดกลับเรือดำน้ำ-บอลลูนก็สร้างหนี้ให้ประเทศ
เมื่อเวลา 19.20 น. เมื่อวันที่ 18 ต.ค. ที่รัฐสภา น.ส.วทันยา วงษ์โอภาสี ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ได้ลุกขึ้นกล่าวอภิปรายร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ตอนหนึ่งว่า การทำงบขาดดุลของรัฐบาลอาจจะเกิดหนี้สาธารณะ โดยบางคนเปรียบเทียบว่า
รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาว่ามีหนี้สาธารณะสูงที่สุด ภาพรวมอาจจะเป็นเช่นนั้น แต่หากดูรายละเอียดจะพบความจริงว่ารัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ กับรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรนั้นปีงบประมาณ 2555 -2557 มีการกู้เงินทั้งสิ้น 950,000 ล้าน เฉลี่ย 2 ปี แต่รัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์มีการใช้เงินกู้ปีละ 4.5 แสนล้าน ขณะที่รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ทั้งสิ้น 2.2 หมื่นล้าน แต่เบิกกู้จริงเพียง 2 ล้าน แต่เมื่อหารจากปีที่รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ได้บริหารงบประมาณตั้งแต่ปี 2558-2562 พบว่าค่าเฉลี่ยเงินกู้อยู่ที่ประมาณปีละ 408000 ล้านบาท
น.ส.วทันยา ยังกล่าวต่อว่า เมื่อดูค่าเฉลี่ยต่อปีพบว่ามีการกู้เงินน้อยกว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์ ปีละ 38,000 ล้านบาท และหากยังจำได้ในสมัยรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์มี 1 โครงการที่เป็นที่กล่าวขานไปทั่วประเทศ นั่นก็คือโครงการรับจำข้าว ซึ่งขณะนั้นตัวเลขเงินกู้ไม่ได้ปรากฏในร่างงบประมาณ เพราะเป็นการกู้จากงบประมาณกึ่งการคลัง ซึ่งปัจจุบันพ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังได้มีการกำหนดเรื่องนี้ไว้ ซึ่งสมัยรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์มีหนี้จากโครงการจำนำข้าว 8.8 แสนล้านบาท ซึ่ง 1 ในภาระเงินกู้ที่รัฐบาลต้องจัดสรรในทุกๆ ปี ส่วนหนึ่งมาจากต้องไปชดใช้ในโครงการนี้ รวมทั้งสิ้นประมาณ 1.5 แสนล้านบาท หรือ 7.5 เปอร์เซ็นต์จากเงินกู้ทั้งหมดของรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์
ต่อมา นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ส.ส.กทม.พรรคเพื่อไทย ลุกขึ้นขอใช้พาดพิงกรณีที่น.ส.วทันยาว่า สิ่งที่น.ส.วทันยาพูดกำลังทำให้เกิดความสับสนเกี่ยวกับเรื่องตัวเลขการจำนำข้าว ซึ่งก็ไม่รู้ใครทำตัวเลขมาให้ ไม่มีรัฐบาลไหนในโลกเขาไปแยกรายการแบบนี้ ถ้าเป็นเช่นนั้นตนบอกว่าซื้อเรือดำน้ำหมื่นกว่าล้านบาทแล้วแยกไปชำระหนี้ได้หรือไม่ หรือแม้แต่บอลลูนที่บินไม่ขึ้นถามว่าเอามาชำระหนี้ได้หรือไม่ ฉะนั้นจึงอย่าทำแบบนี้ เพราะพยายามบอกว่าเสียหายจากการจำนำข้าว แล้วนำมาหาร และพูดว่ารัฐบาลทำถูก ส่วนที่บอกว่ารัฐบาลในอดีต ประเทศไทยไม่ค่อยไปไหน เพราะชอบพูดถึงอดีต หากบอกว่ารัฐบาลชุดนี้ใช้งบประมาณ 3 ล้านล้านบาทไปทำอะไรแล้วเราเห็นด้วย ก็จะยกมือให้ แต่เมื่อพาดพิงไปถึงอดีตก็ต้องมีการชี้แจงเพราะบางเรื่องเป็นข้อเท็จ แต่บางเรื่องก็เป็นข้อจริง ส่วนที่บอกว่า 3 ปีตั้งแต่ปี 55 ถึงปี 57 มีการกู้โดยรัฐบาลที่แล้ว ตกปีละประมาณ 446,000 ล้านบาท รวมแล้ว 3 ปีกู้ไป 950,000 ล้านบาท และรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชากู้ 5 ปีตั้งแต่ปี 58-62 จำนวน 2.042 ล้านล้านบาท ซึ่ง 3 ปีกับ 5 ปีก็ไม่เหมือนกัน แล้วมาพูดตีกินแบบนี้ได้อย่างไร
ประเด็นต่อมารัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เข้ามาในปี 57 เกิดน้ำท่วม ซึ่งไม่รู้ว่ารัฐบาลไหนก่อนหน้านั้นมีการแบกหนี้ต่อเนื่อง จึงต้องมีการตั้งงบประมาณขาดดุล และกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับประเทศ ดังนั้นหากยังวนอยู่กับอดีตไม่ก้าวไปข้างหน้า บ้านเมืองก็เดินไปไม่ได้ นอกจากนี้ในส่วนของวิธีคิดการชำระเงินของประเทศ สิ่งที่ไม่ได้เงินคืนคือการสร้างโรงพยาบาลโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค แต่เราได้สวัสดิการเพื่อประชาชน ถ้าบอกว่ากระทรวงสาธารณสุขของนายอนุทิน ชาญวีรกูล ใช้ปีหนึ่ง 5 แสนล้านบาท แต่ไม่มีรายได้คืนแล้วนำมาหาร บอกว่ารัฐบาลเป็นหนี้แบบนี้ได้หรือไม่
จึงฝากบอกไปยังซีกรัฐบาลให้ทำการเมืองแบบสร้างสรรค์ พวกเราอดทนฟังมา 2 วัน เป็นคำชี้แนะจากซีกฝ่ายค้านก็รับไว้ หากใช้การเมืองแบบเดิมไปพูดเรื่องอดีตแล้วต่อว่าต่อขานก็จะไม่จบ ทำให้นายศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาฯ ที่ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุมต้องรีบตัดบท และเปิดให้ผู้อภิปรายคนอื่นได้ขึ้นอภิปรายทันที โดยน.ส.วทันยา ไม่ได้ชี้แจงอย่างไร
จากนั้น นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อชาติ และหัวหน้าพรรคเพื่อชาติ กล่าวอภิปรายตอนหนึ่งว่า
การทำรัฐประหารนั้นกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ หากไปดูงบประมาณรายจ่ายครั้งนี้ก็เป็นตัวชี้วัดที่สำคัญ หากมองย้อนหลังไป 5ปี คือในปี 57 จนถึงปัจจุบัน ปรากฏว่างบประมาณขาดดุล และครั้งนี้ก็มีการจัดสร้างงบประมาณขาดดุลอีกเช่นเคย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องเลวร้าย ถ้านำงบไปกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อให้ความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น
แต่ถ้าจัดงบฯ เพื่อขาดดุล แล้วไม่เกิดผลดี ตั้งงบประมาณไปซื้อรถถัง ซื้ออาวุธ ที่ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ ถือว่าเป็นการทำร้ายประเทศชาติอย่างให้อภัยไม่ได้ อย่างไรก็ตามการจัดงบประมาณครั้งนี้ก็ไม่สอดรับกับยุทธศาสตร์ที่รัฐบาลทำขึ้นมาเอง ทั้งนี้ ตั้งแต่ยึดอำนาจมายังไม่เคยได้ยินรัฐบาลบอกเลยว่าจะหารายได้มาจากไหนบ้าง ตอนนี้สินค้าเกษตรย่ำแย่ การส่งออกลดน้อยลง ทำให้ผู้ประกอบการจะผูกคอตายกันหมดแล้ว แหล่งท่องเที่ยวขึ้นป้ายประกาศขายตึก ขายบ้าน ขายคอนโดและโรงแรมกันเป็นแถว นี่คือสภาพที่แท้จริง หรือเรียกว่า เผาจริงแล้ว การท่องเที่ยวที่เป็นความหวังของประเทศก็เสื่อมทรุด นับตั้งแต่ปี 57-62 การจัดเก็บภาษีต่ำกว่าการประมาณการมาโดยตลอด
นายสงคราม กล่าวต่อว่า นอกจากนี้มีการจัดงบประมาณที่ไม่เป็นธรรมต่อพื้นที่ ที่ผ่านมาก็ต่อว่ารัฐบาลชุดที่ผ่านมาว่าจัดงบประมาณตามฐานคะแนนเสียง แต่วันนี้กลับทำสิ่งที่ด่าคนอื่นมากกว่าอีก รัฐบาลในฐานะผู้กำกับการใช้จ่ายเงินกลับนำงบเหล่านี้ไปให้บางจังหวัดที่เขาช่วยเหลือตัวเองได้ แต่จังหวัดที่มีความเจริญน้อยและห่างไกลกลับได้งบประมาณน้อย ซึ่งรัฐบาลควรชี้แจงและนำไปแก้ไขด้วย ขอให้รัฐบาลพิจารณางบประมาณในทางที่จะก่อให้เกดประโยชน์กับประเทศมากกว่านี้
'ช่อ' อัดรัฐดับไฟใต้ไม่ตรงจุด ปัญหาอยู่ที่วิสัยทัศน์ผู้นำ จี้ตัดงบโฆษณาชวนเชื่อ
https://www.khaosod.co.th/politics/news_2984919
‘ช่อ’ อัดรัฐดับไฟใต้ไม่ตรงจุด ปัญหาอยู่ที่วิสัยทัศน์ผู้นำ จี้ตัดงบโฆษณาชวนเชื่อ
เมื่อเวลา 18.55 น. วันที่ 18 ต.ค. ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 วันที่ 2 น.ส.พรรณิการ์ วานิช ส.ส.บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคอนาคตใหม่ อภิปรายงบประมาณด้านความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่า ความไม่สงบใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าสู่ปีที่ 16 แล้ว เป็นหนึ่งในความขัดแย้งที่นองเลือดที่สุดในโลก มีผู้เสียชีวิตกว่า 4,000 คน ประเทศชาติสูญเสียโอกาสทางเศรษฐกิจ ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ สมควรเป็นผู้เชี่ยวชาญในปัญหานี้มากที่สุด เพราะท่านเป็นนายกฯ ที่อยู่ในตำแหน่งยาวนานที่สุดในระหว่างความขัดแย้ง
“ใน 5 ปีงบประมาณที่ผ่านมา ท่านใช้งบในการจัดการปัญหาภาคใต้ไปถึง 81,924 ล้านบาท เฉลี่ยภาษีที่ประชาชนเสียไปให้รัฐบาลวันละ 56 ล้านบาท จากการฟังคำชี้แจงของนายกฯ เมื่อวานนี้ ทำให้คิดว่าปัญหาสำคัญที่ทำให้เราไม่สามารถดับไฟใต้ น่าจะอยู่ที่วิสัยทัศน์ของผู้นำประเทศ สิ่งหนึ่งที่รู้สึกติดใจจากคำชี้แจงของนายกฯ คือท่านมองว่ารากฐานของปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นเพราะประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่บิดเบือน ทำให้เกิดความไม่ไว้ใจเจ้าหน้าที่รัฐ”
น.ส.พรรณิการ์ กล่าวต่อว่า ต้องถามว่าจากเหตุการณ์การสลายการชุมนุมที่ อ.ตากใบ เมื่อเกือบ 15 ปีที่แล้ว ซึ่งทหารตัดสินใจใช้กระสุนจริง หรือกรณีการเสียชีวิตของนายอับดุลเลาะ อีซอมูซอ ที่ออกมาจากค่ายอิงคยุทธบริหารในสภาพเจ้าชายนิทรา หากครอบครัวของผู้เสียชีวิตเหล่านี้ไม่ไว้ใจเจ้าหน้าที่รัฐ ท่านคิดว่าเป็นเพราะพวกเขาได้รับข้อมูลที่บิดเบือนหรือไม่ ดังนั้น ถ้ารัฐบาลยังมองว่าปัญหาใน 3 จังหวัดเกิดจากสาเหตุนี้ จะไม่มีวันแก้ปัญหานี้ได้ไม่ว่าจะใช้งบประมาณแค่ไหน
น.ส.พรรณิการ์ กล่าวอีกว่า แม้ความรุนแรงในภาคใต้ลดลง แต่คุณภาพชีวิตของประชาชนและความเชื่อมั่นต่อรัฐยังไม่ดีขึ้น โดยงบในการแก้ปัญหาภาคใต้ไม่ใช่จำนวน 1 หมื่นล้านในแผนบูรณาการ แต่คือ 3 หมื่นกว่าล้านบาท ซึ่งปัญหาแรกของการจัดทำงบ คืออำนาจในการจัดสรรงบประมาณและความผิดปกติของการใช้งบประมาณ กอ.รมน. ซึ่งเป็นองค์กรสำคัญที่รัฐใช้ขับเคลื่อนการแก้ปัญหาชายแดนใต้มีอำนาจในการแทรกแซงการใช้งบจำนวน 3 หมื่นล้านนี้ โดยเฉพาะงบจังหวัด ทั้งที่ กอ.รมน.ยังไม่สามารถเบิกจ่ายงบของหน่วยงานตัวเองได้เต็มประสิทธิภาพ
“อีกปัญหาคือในพ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ 2561 ให้อำนาจครม.ในการโยกงบของหน่วยงานในแผนบูรณาการเดียวกันไปยังหน่วยงานอื่นได้ เท่ากับท่านใช้อำนาจฝ่ายบริหารข้ามหัวสภาฯ เพราะพ.ร.บ.งบฯ ผ่านการพิจารณาของสภาฯ ไปแล้วว่างบแต่ละอย่างจะใช้ทำอะไร ”
“รัฐบาลอยากดับไฟ แต่ยังไม่รู้ว่าไฟอยู่ตรงไหน น้ำมีเท่าไหร่ ตัวชี้วัดที่ผิดนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุด ผลสัมฤทธิ์ที่ตั้งไว้ไม่ตรงกับสิ่งที่ควรจะเป็น เช่น ตั้งเป้าว่าประชาชนปรับเปลี่ยนทัศนคติและมีความรู้สึกดีต่อหน่วยงานทหาร หรือตั้งเป้าว่าจีดีพีในจังหวัดชายแดนใต้โต 10 เปอร์เซ็นต์ ทั้งที่ทั้งประเทศโตแค่กว่า 2 เปอร์เซนต์ เราพูดถึงการสร้างสันติภาพ แต่ตอนนี้ไม่มีตัวชี้วัดในการพูดคุยสันติภาพแล้ว ทหาร กอ.รมน.ได้งบ 2,200 ล้าน แต่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนได้เพียง 5 แสนบาท ตกลงว่าสันติภาพนี้สร้างบนปลายกระบอกปืนหรือการเคารพสิทธิมนุษยชน”
น.ส.พรรณิการ์ กล่าวต่อว่า การแก้ปัญหาภาคใต้ที่ยั่งยืนคือการอำนวยยุติธรรม แต่มีงบเพียง 1 เปอร์เซนต์ ส่วนงบวัฒนธรรมมีเพียง 3 เปอร์เซ็นต์ ทั้งที่ภาครัฐพูดถึงสังคมพหุวัฒนธรรม นอกจากนี้ ยังมีโครงการสร้างสายข่าวงบประมาณ 932 ล้านบาท ซึ่งเพิ่งมาโผล่ในงบประมาณปี 2563 ขณะที่งบกลุ่มจังหวัดบวกงบจังหวัดยะลาปัตตานีนราธิวาส รวมไม่ถึง 600 ล้านบาท แสดงว่างบที่ใช้บริหารจัดการพื้นที่ 3 จังหวัด คิดเป็นเพียง 2 ใน 3 ของงบสร้างสายข่าว
“ทั้งหมดนี้ไม่ได้ดับไฟใต้ มีแต่เติมเชื้อไฟ เช่น งบสร้างสายข่าว ท่านมองปัญหาเป็นเรื่องความมั่นคง ไฟใต้จะดับได้ต้องจับโจรที่ทำผิดกฎหมายและแก้ปัญหาความยากจน ซึ่งไม่ได้ผิด แต่ไม่ครบ ตัวแปรสำคัญขาดไป เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหาความมั่นคง แต่คือปัญหาการเมือง ถ้าดูงบที่ใช้กับโครงการต่างๆ 4 ส่วน แบ่งเป็นความความมั่นคงร้อยละ 36 โฆษณาชวนเชื่อร้อยละ 42 แต่ใช้กับการเยียวยาฟื้นฟูกระบวนการสันติภาพและการพัฒนาเพียงร้อยละ 14 และร้อยละ 6 งบส่วนใหญ่ 3 ใน 4 เป็นการแก้ที่ปลายเหตุ คือการสร้างความจริงแลัวยัดเยียดให้ประชาชนเชื่อ ไม่ใช่การยอมรับความจริงแล้วแก้ไขมัน
“ขอเสนองบดับไฟใต้แบบอนาคตใหม่ คือตัดงบโฆษณาชวนเชื่อ แล้วไปเกลี่ยให้การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ขอให้ปีนี้เป็นปีเริ่มต้นของเส้นทางไปสู่เส้นทางสันติภาพ ไม่ใช่การเดินทางไปอีก 15 ปีเแล้วพบว่า ใช้งบไปโดยการแก้ปัญหาไฟใต้ไปไม่ถึงไหน” น.ส.พรรณิการ์กล่าว