ศิริกัญญา ซัดแรงรัฐจัดงบ ไม่รองรับวิกฤตที่ชอบอ้าง เย้ยนี่หรือรบ.ที่ขึ้นชื่อ ว่าเก่งเศรษฐกิจ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4358546
‘ศิริกัญญา’ ชี้ ช่องโหว่งบ 67 ‘เศรษฐา’ อ้างวิกฤตเศรษฐกิจ แต่จัดงบประมาณไม่สอดคล้อง หวั่น สูญรายได้ราว 1 แสนล้านบาท เหน็บ หวังพึ่ง พ.ร.บ.เงินกู้ทำนโยบายกระตุ้น ศก.อย่างเดียวหรือ แนะ ปชช.ทบทวนฝีมือบริหาร ‘เพื่อไทย’
เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2567 ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มี นาย
ปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภา คนที่ 1 ทำหน้าที่เป็นประธานที่ประชุม เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 วงเงิน 3.48 ล้านล้านบาท ในวันแรก
จากนั้นเวลา 14.00 น. น.ส.
ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) อภิปรายว่า หากเราอยู่ในภาวะวิกฤตจริงๆ งบประมาณนี้จะเป็นตัวบอกว่าตอนนี้เราอยู่ในภาวะแบบใด และจะจัดสรรงบประมาณแบบใดเพื่อแก้วิกฤต รวมถึงต้องดูประมาณการว่าใช่วิกฤตหรือไม่ ซึ่งหากดูจากเล่มขาวคาดม่วงที่เป็นรายงานภาวะเศรษฐกิจและการคลัง จะพบว่าเศรษฐกิจในปี 2566 จะโต 2.5% และปี 2567 จะโต 3.2% เงินเฟ้อปี 2566 อยู่ที่ +1.4% ปี 2567 อยู่ที่ +2.2% ดุลบัญชีเดินสะพัดปี 2566 อยู่ที่ +1.4% และปี 2567 อยู่ที่ +1.5% ดูอย่างไรก็ยังไม่วิกฤต แต่กลับไปเจอในเล่มงบประมาณสำหรับประชาชนที่จัดทำโดยสำนักงบประมาณที่มีตัวเลข GDP ที่โต 5.4% นี่เป็นผลการเติบโตของ GDP ที่ไม่รวมผลของเงินเฟ้อ แต่รัฐบาลกลับพยายามโชว์ตัวเลขที่รวมผลของเงินเฟ้อ เท่ากับรัฐบาลกำลังจะบรรลุเป้าหมาย GDP โต 5% ในปีแรกที่เข้ามาบริหารประเทศโดยการโกงสูตรปรับ GDP เช่นนั้นหรือ ไม่เคยมีประเทศไหนในโลกทำมาก่อน ขอร้องว่าอย่าโกงสูตรเพื่อให้ GDP โต
น.ส.
ศิริกัญญากล่าวด้วยว่า ปกติในปีที่เกิดวิกฤต เราจะทำงบประมาณขาดดุลเพิ่มขึ้นเพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ เพราะต้องมีการกู้เพิ่มเนื่องจากต้องไปชดเชยรายได้ที่หายไปและใช้เม็ดเงินอีกส่วนหนึ่งในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งนี้ เมื่อดูงบขาดดุลปี 2567 ต้องมีการกู้เพื่อชดเชยขาดดุล 3.6% ของ GDP ในขณะที่ GDP บอกจะโต 3.5% แต่เมื่อดูปีถัดไปจะพบว่าขาดดุลเท่ากันทุกปี จนดูไม่ออกว่าปีไหนวิกฤตกันแน่ และเราจะเกิดวิกฤตต่อไปเรื่อยๆ จนถึงปี 2570 เลยหรือไม่ ทำไมรัฐบาลจึงประมาณการว่าเราจะขาดดุลสูงถึง 3.4% ไปเรื่อยๆ ทั้งที่พรรคเพื่อไทย (พท.) เคยประกาศไว้ว่าจะทำงบประมาณให้สมดุลภายใน 7 ปี คือจะไม่กู้เลยสักปี แต่กลับทำงบขาดดุลไว้คือจะกู้ทุกปี ปีละ 3.4%
น.ส.
ศิริกัญญากล่าวอีกว่า เมื่อมีวิกฤตก็ต้องกระตุ้นเศรษฐกิจ สิ่งที่เป็นโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจเรือธงของรัฐบาลคือดิจิทัลวอลเล็ต ทั้งที่เพิ่งประกาศไปเมื่อเดือนพฤศจิกายนว่ามีแพคเกจใหญ่ 6 แสนล้านบาทที่จะทำดิจิทัลวอลเล็ต 5 แสนล้านบาทให้ 50 ล้านคน และเติมให้กองทุนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอีก 1 แสนล้านบาท โดยเอาเงินมาจาก 2 แหล่งคือ พ.ร.บ.เงินกู้ 5 แสนล้านบาท และงบประมาณรายจ่ายอีก 1 แสนล้านบาท แต่งบดิจิทัลวอลเล็ตกลับไม่ปรากฏเลยสักบาท
ส่วนกองทุนเพิ่มขีดความสามารถฯ กลับลดกระหน่ำซัมเมอร์เซลส์ จากที่โฆษณาไว้ว่า 1 แสนล้านกลับลดเหลือเพียง 15,000 ล้านบาทเท่านั้น และเพิ่งเพิ่มมาเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2566 หลังจากปรับปรุงงบ ครั้งที่ 1 แต่ชัดเจนว่ายังคงไม่สามารถหาเงินมาใส่ให้เต็ม 1 แสนล้านบาทได้เลยทั้งที่ไปตัดงบประมาณที่ต้องใช้คืนหนี้ ธอส.แล้ว ตกลงเราจะยังสามารถเชื่ออะไรได้อีก จากคำพูดของนายกรัฐมนตรีได้อีก สรุปเราจะยังต้องลุ้นว่า พ.ร.บ.เงินกู้ 5 แสนล้านจะสามารถออกได้หรือไม่ และเรายังต้องลุ้นพึ่ง พ.ร.บ.เงินกู้อย่างเดียวแล้วใช่หรือไม่ สรุปยอดกู้ตอนนี้ต้องเพิ่มเป็น 585,000 ล้านบาทแล้วหรือไม่ เพื่อทำทั้งดิจิทัลวอลเล็ตและกองทุนเพิ่มขีดความสามารถฯ ตามที่สัญญาเอาไว้ วันนี้เราจะได้ยินจากรัฐบาลและกฤษฎีกาหรือไม่ว่ารัฐบาลจะออก พ.ร.บ.เงินกู้ได้หรือไม่
น.ส.
ศิริกัญญากล่าวต่อว่า คิดว่าตอนนี้รัฐบาลกำลังฝากความหวังทั้งหมดไว้ที่ พ.ร.บ.เงินกู้ฉบับนี้ เหมือนกับเอาไข่ไว้ในตะกร้าใบเดียว ดังนั้น มีความเสี่ยงสูงมากหากไม่สามารถออก พ.ร.บ.เงินกู้ฉบับนี้ได้ เท่ากับงบกระตุ้นเศรษฐกิจของเรากลายเป็นงบกระตุ้นเศรษฐกิจทิพย์ นอกจากนี้ ยังมีงบกระตุ้นเศรษฐกิจอีกคืองบกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการแก้ไขปัญหาหนี้สิน แบ่งเป็น 3 ด้านคือ การพักหนี้เกษตรกร สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับ SME และมหกรรมแก้หนี้ แต่เมื่อดูเรื่องการพักหนี้เกษตรกรพบว่าใช้เงินไปแล้ว 11,000 ล้านบาท และไม่ได้ใช้งบปี 2567 แต่กลับไปใช้เงินจาก ธ.ก.ส. ส่วนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับ SME เป็นงบที่ตั้งไว้ใช้สำหรับใช้หนี้ออมสิน และเป็นการแก้ไขปัญหาหนี้สินในยุค พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เราจะเอามาเคลมด้วยใช่หรือไม่ ขณะที่การลดรายจ่ายด้านพลังงาน ที่ผ่านมาลดค่าไฟฟ้าไปยังไม่ได้ควักกระเป๋าจากงบประมาณสักเท่าไหร่ เพิ่งมีใช้งบกลางไปประมาณ 1,950 ล้านบาทเท่านั้น
ส่วนราคาน้ำมันไปลดกองทุนน้ำมันและภาษีสรรพสามิต แต่รัฐบาลเคลมโครงการลดค่าไฟบัตรคนจนหรือบัตรประชารัฐ ซึ่งโครงการนี้ทำมาตั้งแต่ปี 2565 แล้วจะมากระตุ้นอะไรกันตอนนี้ และยังมีการใส่โครงการติดโซลาร์เซลล์ให้ที่ว่าการอำเภอ บอกจะลดค่าภาระค่าใช้จ่ายได้แต่นั่นกลับเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายให้รัฐบาลไม่ใช่ประชาชน นอกจากนี้ ยังมีโครงการตัดถนนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวอีก 7,700 ล้านบาท สรุปแล้ววิกฤตเช่นไร เราจึงกระตุ้นเศรษฐกิจเช่นนี้
“
อย่างไรก็ตาม ทุกครั้งที่เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ กระทรวงกลาโหมจะตัดลดงบของตนเองลงเพื่อนำไปพยุงเศรษฐกิจของประเทศ แต่วิกฤตของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ครั้งนี้ งบประมาณของกระทรวงกลาโหมกลับเพิ่มขึ้น 2% แม้รัฐบาลปัจจุบันมีเวลารื้องบปี’67 ถึง 2 รอบ แต่คงต้องเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงไม่ง่ายเพราะมีแผนซ้อนแผน ทั้งแผนยุทธศาสตร์ชาติและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ทำให้รัฐบาลไม่สามารถขับเคลื่อนนโยบายของตนเองได้ง่าย และยังมีมรดกของรัฐบาลชุดที่ผ่านมาที่ไม่ยอมปฏิรูปงบประมาณ ทำให้รัฐบาลจัดสรรงบประมาณของตนได้ไม่ถึง 1 ใน 4 เพราะติดประเด็นรายจ่ายบุคลากร, ชำระหนี้ 4 หมื่นล้านบาท, เงินชดใช้เงินคงคลัง 1.1 แสนล้านบาท, งบผูกพัน 3.6 แสนล้านบาท ที่รัฐบาลก่อนหน้าเป็นผู้ดาวน์ และรัฐบาลของนายเศรษฐาต้องผ่อนต่อ” น.ส.
ศิริกัญญากล่าว
น.ส.
ศิริกัญญากล่าวด้วยว่า การจัดสรรงบประมาณมีข้อผิดพลาด คือ เพื่อเงินชดใช้เงินคงคลัง 1.2 แสนล้านบาท เพราะ 2 ปีที่ผ่านมาถูกนำมาใช้เพื่อจ่ายในส่วนของรายจ่ายบุคลากร เช่น เงินเดือนบุคลากร บำเหน็จ บำนาญ ค่ารักษาพยาบาล ทั้งนี้ ในปี 2567 พบว่ารัฐบาลปัจจุบันกำลังจะทำผิดพลาดซ้ำรอย เช่น เงินบุคลากร ที่ควรตั้งไว้ 3.6 แสนล้านบาท กลับตั้งไว้ 3.3 แสนล้านบาท เงินบำนาญ 6,000 ล้านบาทที่ไม่ตั้งไว้ ซึ่งตนสงสัยในความผิดพลาดดังกล่าวเป็นเพราะความตั้งใจหรือไม่
อย่างไรก็ตาม ตนเคยถามกรมบัญชีกลางขอไปเพียงพอจะจ่าย แต่การจัดสรรไม่เพียงพอ ถือเป็นความตั้งใจที่ตั้งขาดเพื่อหาเงินชดเชยภายหลัง ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ซ้ำๆ โดยไม่ตั้งงบประมาณที่เพียงพอ ซอฟต์เพาเวอร์ 5,000 ล้านบาท ไม่พบการตั้งไว้ คงต้องควักจากงบกลาง รวมถึงค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายที่ไม่ตั้งชดเชยไว้ สงสัยต้องดึงจากงบกลาง ทั้งนี้ งบกลางตั้งไว้ 9.8 หมื่นล้านบาท หากพิจารณาแล้วเชื่อว่าจะไม่เพียงพอ ซึ่งการตั้งงบขาดดุล ไม่มั่นใจว่าเป็นการสมรู้ร่วมคิดหรือไม่
น.ส.
ศิริกัญญากล่าวอีกว่า สำหรับการประมาณการรายได้เชื่อว่าจะคาดการณ์ผิดพลาด และจัดเก็บไม่ตรงตามเป้าหมาย เพราะนาย
เศรษฐาเคยระบุว่าจะไม่เก็บภาษีขายหุ้น ดังนั้น คำถามคือรายได้จากส่วนดังกล่าวที่กำหนดไว้ 1.4 หมื่นล้านบาทจะหาจากที่ไหน ตนไม่มีปัญหากับสิ่งที่รัฐบาลทำ แต่เชื่อว่าจะกระทบต่อรายได้รัฐ ที่อาจจะหายไป 1 แสนล้านบาท หากรัฐบาลฝากความหวังไว้ที่โครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต ถือว่าเป็นความผิดพลาดที่ไม่ควรผิดพลาด ดังนั้น ตนขอให้พูดความจริงกับสภาและประชาชน
ทั้งนี้ สำหรับหนี้สาธารณะมีประเด็นที่ต้องกังวล คือ ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายต่อปี เพราะเป็นช่วงดอกเบี้ยขาขึ้นที่มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าประมาณการจากกรอบการคลัง ซึ่งภาระดอกเบี้ยต้องเบียดบังงบประมาณแต่ละปี และหนี้ที่จะเกิดขึ้นไม่รวมกับหนี้ดิจิทัลวอลเล็ต และหนี้ที่ยืมจากรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานรัฐ 1 ล้านล้านบาท โดยเวลาที่รัฐบาลบริหารงานมา 3 เดือนใช้เต็มเพดานแล้ว
“
สรุปแล้วร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ดิฉันไม่เห็นอะไรนอกจากเป็นบทพิสูจน์ว่า รัฐบาลนี้ไม่สามารถทำงานได้อย่างเป็นมืออาชีพ นี่หรือคือรัฐบาลที่สืบทอดชื่อเสียงกันมาว่าเก่งด้านเศรษฐกิจ ขึ้นชื่อเรื่องหาเงินได้ ใช้เงินเป็น แต่กลับผิดพลาดในการบริหารงบประมาณมากขนาดนี้ ทั้งตั้งงบไว้ไม่เพียงพอ ทั้งจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ ประมาณการรายได้ก็ผิดพลาดแบบไม่น่าให้อภัยและไม่คิดที่จะแก้ มุ่งแต่จะใช้กลไกนอกงบประมาณในการบริหารประเทศ ไม่สนใจภาระทางการคลัง และถึงเวลาที่ประชาชนคงต้องคิดใหม่กับฝีมือการบริหารราชการของพรรคเพื่อไทย” น.ส.
ศิริกัญญากล่าว
วาโย เหน็บ สธ. ตั้งตัวชี้วัดผลงาน น้อยกว่ายุค บิ๊กตู่ ย้ำ ก้าวไกลไม่เห็นชอบงบ 67
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_8036915
“หมอวาโย” ตรวจสุขภาพ KPI ประเทศไทย แซะ สธ. ตั้งตัวชี้วัดน้อยกว่าผลงาน “บิ๊กตู่” อย่างนี้ ให้ “ประยุทธ์” ทำเหมือนเดิมดีกว่า ยัน “ก้าวไกล” ไม่เห็นชอบงบ 67
เมื่อเวลา 15.05 น. วันที่ 3 ม.ค. 2567 ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีนาย
ปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาฯ คนที่หนึ่ง ทำหน้าที่ประธานที่ประชุม วาระพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 วงเงิน 3.48 ล้านล้านบาท
โดยนพ.
วาโย อัศวรุ่งเรือง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายว่า ขออนุญาตตรวจสุขภาพเคพีไอ (KPI) ของประเทศไทย โดยตัวชี้วัดในผลงานของรัฐบาลต้องมีความจำเพาะ ไม่กว้างจนเกินไป สามารถวัดได้ที่มีตัวเลขที่ไปคำนวณต่อทางสถิติได้ เป้าหมายที่ไปถึงได้ ตัวเลขที่สมจริงกับสถานการณ์ และมีเวลาที่เหมาะสม
ขอยกตัวอย่าง กระทรวงสาธารณสุขในรัฐบาลปัจจุบัน ผู้ป่วยยาเสพติดถ้าเข้าสู่กระบวนการรักษาจะได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเราอยากให้ได้ 100% แต่ถ้าอ้างอิงจากความสมจริงด้วยบุคลากร หรือทรัพยากรต่างๆ อาจจะมีไม่เพียงพอ
รัฐบาลของพล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตนายกฯ ตั้งไว้ที่ 60% แต่นพ.
ชลน่าน ศรีแก้ว รมว.สาธารณสุข เพิ่มเป็น 62% ในปีนี้ แต่ปีสุดท้ายของรัฐบาลเพิ่มขึ้นเป็น 68% โดยผลงานของพล.อ.
ประยุทธ์ ทำได้ 65% แต่รัฐบาลปัจจุบันตั้งตัวชี้วัดที่ 62% ถ้าแบบนี้ไม่ต้องมีรัฐบาลก็ได้ ให้พล.อ.
ประยุทธ์ ทำเหมือนเดิม
“
นอกจากนี้ สำนักงบประมาณตั้งความสำเร็จไว้ว่า ต้องมี พ.ร.บ.งบประมาณ ออกมา 1 ฉบับ ผมก็งงว่าเราสามารถตั้งตัวชี้วัดความสำเร็จของงานตัวเอง ด้วยการทำงานของคนอื่นได้ด้วยหรือ ผมถามว่าพ.ร.บ.งบประมาณฉบับนี้ใครเป็นออก รัฐสภาใช่หรือไม่ ผมสามารถบอกว่าผมสำเร็จด้วย เพราะเพื่อนทำการบ้านเสร็จแบบนี้ได้หรือ เรื่องนี้ประหลาด” นพ.
วาโย กล่าว
นพ.
วาโย กล่าวต่อว่า มีเรื่องเพิ่มเติมจากรัฐบาลก่อน คือ การจัดทำงบประมาณและการใช้งบประมาณจะต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งต้องตั้งไว้ 100% แบบนี้ เพราะหากท่านตกไปแม้แต่เปอร์เซ็นต์เดียว แปลว่ารัฐบาลบริหารงานไม่เป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติ
“
ขอฝากเตือนว่าหากตัวเลขปีหน้าออกมา 98 จะทำอย่างไร การตั้งเป้าหมายหรือตัวชี้วัดผลงานที่ไม่ดี ไม่ตรงจุด ถึงแม้ว่าทำได้ตรงเป้าก็ไม่ทำให้ประเทศดีขึ้นได้ ดังนั้น ผมและพรรคก้าวไกล ไม่สามารถเห็นชอบร่างพ.ร.บ.ปี 67 ได้” นพ.
วาโย กล่าว
JJNY : 5in1 ศิริกัญญา ซัดแรงรัฐจัดงบ│วาโยเหน็บสธ.│‘ศุภนัฐ’ตรวจหมอชิต2│ปรับครม.พฤษภา 67│เคเอ็นยูพร้อมร่วมมือไทย-จีน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4358546
‘ศิริกัญญา’ ชี้ ช่องโหว่งบ 67 ‘เศรษฐา’ อ้างวิกฤตเศรษฐกิจ แต่จัดงบประมาณไม่สอดคล้อง หวั่น สูญรายได้ราว 1 แสนล้านบาท เหน็บ หวังพึ่ง พ.ร.บ.เงินกู้ทำนโยบายกระตุ้น ศก.อย่างเดียวหรือ แนะ ปชช.ทบทวนฝีมือบริหาร ‘เพื่อไทย’
เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2567 ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มี นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภา คนที่ 1 ทำหน้าที่เป็นประธานที่ประชุม เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 วงเงิน 3.48 ล้านล้านบาท ในวันแรก
จากนั้นเวลา 14.00 น. น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) อภิปรายว่า หากเราอยู่ในภาวะวิกฤตจริงๆ งบประมาณนี้จะเป็นตัวบอกว่าตอนนี้เราอยู่ในภาวะแบบใด และจะจัดสรรงบประมาณแบบใดเพื่อแก้วิกฤต รวมถึงต้องดูประมาณการว่าใช่วิกฤตหรือไม่ ซึ่งหากดูจากเล่มขาวคาดม่วงที่เป็นรายงานภาวะเศรษฐกิจและการคลัง จะพบว่าเศรษฐกิจในปี 2566 จะโต 2.5% และปี 2567 จะโต 3.2% เงินเฟ้อปี 2566 อยู่ที่ +1.4% ปี 2567 อยู่ที่ +2.2% ดุลบัญชีเดินสะพัดปี 2566 อยู่ที่ +1.4% และปี 2567 อยู่ที่ +1.5% ดูอย่างไรก็ยังไม่วิกฤต แต่กลับไปเจอในเล่มงบประมาณสำหรับประชาชนที่จัดทำโดยสำนักงบประมาณที่มีตัวเลข GDP ที่โต 5.4% นี่เป็นผลการเติบโตของ GDP ที่ไม่รวมผลของเงินเฟ้อ แต่รัฐบาลกลับพยายามโชว์ตัวเลขที่รวมผลของเงินเฟ้อ เท่ากับรัฐบาลกำลังจะบรรลุเป้าหมาย GDP โต 5% ในปีแรกที่เข้ามาบริหารประเทศโดยการโกงสูตรปรับ GDP เช่นนั้นหรือ ไม่เคยมีประเทศไหนในโลกทำมาก่อน ขอร้องว่าอย่าโกงสูตรเพื่อให้ GDP โต
น.ส.ศิริกัญญากล่าวด้วยว่า ปกติในปีที่เกิดวิกฤต เราจะทำงบประมาณขาดดุลเพิ่มขึ้นเพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ เพราะต้องมีการกู้เพิ่มเนื่องจากต้องไปชดเชยรายได้ที่หายไปและใช้เม็ดเงินอีกส่วนหนึ่งในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งนี้ เมื่อดูงบขาดดุลปี 2567 ต้องมีการกู้เพื่อชดเชยขาดดุล 3.6% ของ GDP ในขณะที่ GDP บอกจะโต 3.5% แต่เมื่อดูปีถัดไปจะพบว่าขาดดุลเท่ากันทุกปี จนดูไม่ออกว่าปีไหนวิกฤตกันแน่ และเราจะเกิดวิกฤตต่อไปเรื่อยๆ จนถึงปี 2570 เลยหรือไม่ ทำไมรัฐบาลจึงประมาณการว่าเราจะขาดดุลสูงถึง 3.4% ไปเรื่อยๆ ทั้งที่พรรคเพื่อไทย (พท.) เคยประกาศไว้ว่าจะทำงบประมาณให้สมดุลภายใน 7 ปี คือจะไม่กู้เลยสักปี แต่กลับทำงบขาดดุลไว้คือจะกู้ทุกปี ปีละ 3.4%
น.ส.ศิริกัญญากล่าวอีกว่า เมื่อมีวิกฤตก็ต้องกระตุ้นเศรษฐกิจ สิ่งที่เป็นโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจเรือธงของรัฐบาลคือดิจิทัลวอลเล็ต ทั้งที่เพิ่งประกาศไปเมื่อเดือนพฤศจิกายนว่ามีแพคเกจใหญ่ 6 แสนล้านบาทที่จะทำดิจิทัลวอลเล็ต 5 แสนล้านบาทให้ 50 ล้านคน และเติมให้กองทุนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอีก 1 แสนล้านบาท โดยเอาเงินมาจาก 2 แหล่งคือ พ.ร.บ.เงินกู้ 5 แสนล้านบาท และงบประมาณรายจ่ายอีก 1 แสนล้านบาท แต่งบดิจิทัลวอลเล็ตกลับไม่ปรากฏเลยสักบาท
ส่วนกองทุนเพิ่มขีดความสามารถฯ กลับลดกระหน่ำซัมเมอร์เซลส์ จากที่โฆษณาไว้ว่า 1 แสนล้านกลับลดเหลือเพียง 15,000 ล้านบาทเท่านั้น และเพิ่งเพิ่มมาเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2566 หลังจากปรับปรุงงบ ครั้งที่ 1 แต่ชัดเจนว่ายังคงไม่สามารถหาเงินมาใส่ให้เต็ม 1 แสนล้านบาทได้เลยทั้งที่ไปตัดงบประมาณที่ต้องใช้คืนหนี้ ธอส.แล้ว ตกลงเราจะยังสามารถเชื่ออะไรได้อีก จากคำพูดของนายกรัฐมนตรีได้อีก สรุปเราจะยังต้องลุ้นว่า พ.ร.บ.เงินกู้ 5 แสนล้านจะสามารถออกได้หรือไม่ และเรายังต้องลุ้นพึ่ง พ.ร.บ.เงินกู้อย่างเดียวแล้วใช่หรือไม่ สรุปยอดกู้ตอนนี้ต้องเพิ่มเป็น 585,000 ล้านบาทแล้วหรือไม่ เพื่อทำทั้งดิจิทัลวอลเล็ตและกองทุนเพิ่มขีดความสามารถฯ ตามที่สัญญาเอาไว้ วันนี้เราจะได้ยินจากรัฐบาลและกฤษฎีกาหรือไม่ว่ารัฐบาลจะออก พ.ร.บ.เงินกู้ได้หรือไม่
น.ส.ศิริกัญญากล่าวต่อว่า คิดว่าตอนนี้รัฐบาลกำลังฝากความหวังทั้งหมดไว้ที่ พ.ร.บ.เงินกู้ฉบับนี้ เหมือนกับเอาไข่ไว้ในตะกร้าใบเดียว ดังนั้น มีความเสี่ยงสูงมากหากไม่สามารถออก พ.ร.บ.เงินกู้ฉบับนี้ได้ เท่ากับงบกระตุ้นเศรษฐกิจของเรากลายเป็นงบกระตุ้นเศรษฐกิจทิพย์ นอกจากนี้ ยังมีงบกระตุ้นเศรษฐกิจอีกคืองบกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการแก้ไขปัญหาหนี้สิน แบ่งเป็น 3 ด้านคือ การพักหนี้เกษตรกร สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับ SME และมหกรรมแก้หนี้ แต่เมื่อดูเรื่องการพักหนี้เกษตรกรพบว่าใช้เงินไปแล้ว 11,000 ล้านบาท และไม่ได้ใช้งบปี 2567 แต่กลับไปใช้เงินจาก ธ.ก.ส. ส่วนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับ SME เป็นงบที่ตั้งไว้ใช้สำหรับใช้หนี้ออมสิน และเป็นการแก้ไขปัญหาหนี้สินในยุค พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เราจะเอามาเคลมด้วยใช่หรือไม่ ขณะที่การลดรายจ่ายด้านพลังงาน ที่ผ่านมาลดค่าไฟฟ้าไปยังไม่ได้ควักกระเป๋าจากงบประมาณสักเท่าไหร่ เพิ่งมีใช้งบกลางไปประมาณ 1,950 ล้านบาทเท่านั้น
ส่วนราคาน้ำมันไปลดกองทุนน้ำมันและภาษีสรรพสามิต แต่รัฐบาลเคลมโครงการลดค่าไฟบัตรคนจนหรือบัตรประชารัฐ ซึ่งโครงการนี้ทำมาตั้งแต่ปี 2565 แล้วจะมากระตุ้นอะไรกันตอนนี้ และยังมีการใส่โครงการติดโซลาร์เซลล์ให้ที่ว่าการอำเภอ บอกจะลดค่าภาระค่าใช้จ่ายได้แต่นั่นกลับเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายให้รัฐบาลไม่ใช่ประชาชน นอกจากนี้ ยังมีโครงการตัดถนนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวอีก 7,700 ล้านบาท สรุปแล้ววิกฤตเช่นไร เราจึงกระตุ้นเศรษฐกิจเช่นนี้
“อย่างไรก็ตาม ทุกครั้งที่เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ กระทรวงกลาโหมจะตัดลดงบของตนเองลงเพื่อนำไปพยุงเศรษฐกิจของประเทศ แต่วิกฤตของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ครั้งนี้ งบประมาณของกระทรวงกลาโหมกลับเพิ่มขึ้น 2% แม้รัฐบาลปัจจุบันมีเวลารื้องบปี’67 ถึง 2 รอบ แต่คงต้องเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงไม่ง่ายเพราะมีแผนซ้อนแผน ทั้งแผนยุทธศาสตร์ชาติและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ทำให้รัฐบาลไม่สามารถขับเคลื่อนนโยบายของตนเองได้ง่าย และยังมีมรดกของรัฐบาลชุดที่ผ่านมาที่ไม่ยอมปฏิรูปงบประมาณ ทำให้รัฐบาลจัดสรรงบประมาณของตนได้ไม่ถึง 1 ใน 4 เพราะติดประเด็นรายจ่ายบุคลากร, ชำระหนี้ 4 หมื่นล้านบาท, เงินชดใช้เงินคงคลัง 1.1 แสนล้านบาท, งบผูกพัน 3.6 แสนล้านบาท ที่รัฐบาลก่อนหน้าเป็นผู้ดาวน์ และรัฐบาลของนายเศรษฐาต้องผ่อนต่อ” น.ส.ศิริกัญญากล่าว
น.ส.ศิริกัญญากล่าวด้วยว่า การจัดสรรงบประมาณมีข้อผิดพลาด คือ เพื่อเงินชดใช้เงินคงคลัง 1.2 แสนล้านบาท เพราะ 2 ปีที่ผ่านมาถูกนำมาใช้เพื่อจ่ายในส่วนของรายจ่ายบุคลากร เช่น เงินเดือนบุคลากร บำเหน็จ บำนาญ ค่ารักษาพยาบาล ทั้งนี้ ในปี 2567 พบว่ารัฐบาลปัจจุบันกำลังจะทำผิดพลาดซ้ำรอย เช่น เงินบุคลากร ที่ควรตั้งไว้ 3.6 แสนล้านบาท กลับตั้งไว้ 3.3 แสนล้านบาท เงินบำนาญ 6,000 ล้านบาทที่ไม่ตั้งไว้ ซึ่งตนสงสัยในความผิดพลาดดังกล่าวเป็นเพราะความตั้งใจหรือไม่
อย่างไรก็ตาม ตนเคยถามกรมบัญชีกลางขอไปเพียงพอจะจ่าย แต่การจัดสรรไม่เพียงพอ ถือเป็นความตั้งใจที่ตั้งขาดเพื่อหาเงินชดเชยภายหลัง ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ซ้ำๆ โดยไม่ตั้งงบประมาณที่เพียงพอ ซอฟต์เพาเวอร์ 5,000 ล้านบาท ไม่พบการตั้งไว้ คงต้องควักจากงบกลาง รวมถึงค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายที่ไม่ตั้งชดเชยไว้ สงสัยต้องดึงจากงบกลาง ทั้งนี้ งบกลางตั้งไว้ 9.8 หมื่นล้านบาท หากพิจารณาแล้วเชื่อว่าจะไม่เพียงพอ ซึ่งการตั้งงบขาดดุล ไม่มั่นใจว่าเป็นการสมรู้ร่วมคิดหรือไม่
น.ส.ศิริกัญญากล่าวอีกว่า สำหรับการประมาณการรายได้เชื่อว่าจะคาดการณ์ผิดพลาด และจัดเก็บไม่ตรงตามเป้าหมาย เพราะนายเศรษฐาเคยระบุว่าจะไม่เก็บภาษีขายหุ้น ดังนั้น คำถามคือรายได้จากส่วนดังกล่าวที่กำหนดไว้ 1.4 หมื่นล้านบาทจะหาจากที่ไหน ตนไม่มีปัญหากับสิ่งที่รัฐบาลทำ แต่เชื่อว่าจะกระทบต่อรายได้รัฐ ที่อาจจะหายไป 1 แสนล้านบาท หากรัฐบาลฝากความหวังไว้ที่โครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต ถือว่าเป็นความผิดพลาดที่ไม่ควรผิดพลาด ดังนั้น ตนขอให้พูดความจริงกับสภาและประชาชน
ทั้งนี้ สำหรับหนี้สาธารณะมีประเด็นที่ต้องกังวล คือ ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายต่อปี เพราะเป็นช่วงดอกเบี้ยขาขึ้นที่มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าประมาณการจากกรอบการคลัง ซึ่งภาระดอกเบี้ยต้องเบียดบังงบประมาณแต่ละปี และหนี้ที่จะเกิดขึ้นไม่รวมกับหนี้ดิจิทัลวอลเล็ต และหนี้ที่ยืมจากรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานรัฐ 1 ล้านล้านบาท โดยเวลาที่รัฐบาลบริหารงานมา 3 เดือนใช้เต็มเพดานแล้ว
“สรุปแล้วร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ดิฉันไม่เห็นอะไรนอกจากเป็นบทพิสูจน์ว่า รัฐบาลนี้ไม่สามารถทำงานได้อย่างเป็นมืออาชีพ นี่หรือคือรัฐบาลที่สืบทอดชื่อเสียงกันมาว่าเก่งด้านเศรษฐกิจ ขึ้นชื่อเรื่องหาเงินได้ ใช้เงินเป็น แต่กลับผิดพลาดในการบริหารงบประมาณมากขนาดนี้ ทั้งตั้งงบไว้ไม่เพียงพอ ทั้งจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ ประมาณการรายได้ก็ผิดพลาดแบบไม่น่าให้อภัยและไม่คิดที่จะแก้ มุ่งแต่จะใช้กลไกนอกงบประมาณในการบริหารประเทศ ไม่สนใจภาระทางการคลัง และถึงเวลาที่ประชาชนคงต้องคิดใหม่กับฝีมือการบริหารราชการของพรรคเพื่อไทย” น.ส.ศิริกัญญากล่าว
วาโย เหน็บ สธ. ตั้งตัวชี้วัดผลงาน น้อยกว่ายุค บิ๊กตู่ ย้ำ ก้าวไกลไม่เห็นชอบงบ 67
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_8036915
“หมอวาโย” ตรวจสุขภาพ KPI ประเทศไทย แซะ สธ. ตั้งตัวชี้วัดน้อยกว่าผลงาน “บิ๊กตู่” อย่างนี้ ให้ “ประยุทธ์” ทำเหมือนเดิมดีกว่า ยัน “ก้าวไกล” ไม่เห็นชอบงบ 67
เมื่อเวลา 15.05 น. วันที่ 3 ม.ค. 2567 ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีนายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาฯ คนที่หนึ่ง ทำหน้าที่ประธานที่ประชุม วาระพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 วงเงิน 3.48 ล้านล้านบาท
โดยนพ.วาโย อัศวรุ่งเรือง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายว่า ขออนุญาตตรวจสุขภาพเคพีไอ (KPI) ของประเทศไทย โดยตัวชี้วัดในผลงานของรัฐบาลต้องมีความจำเพาะ ไม่กว้างจนเกินไป สามารถวัดได้ที่มีตัวเลขที่ไปคำนวณต่อทางสถิติได้ เป้าหมายที่ไปถึงได้ ตัวเลขที่สมจริงกับสถานการณ์ และมีเวลาที่เหมาะสม
ขอยกตัวอย่าง กระทรวงสาธารณสุขในรัฐบาลปัจจุบัน ผู้ป่วยยาเสพติดถ้าเข้าสู่กระบวนการรักษาจะได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเราอยากให้ได้ 100% แต่ถ้าอ้างอิงจากความสมจริงด้วยบุคลากร หรือทรัพยากรต่างๆ อาจจะมีไม่เพียงพอ
รัฐบาลของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตนายกฯ ตั้งไว้ที่ 60% แต่นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รมว.สาธารณสุข เพิ่มเป็น 62% ในปีนี้ แต่ปีสุดท้ายของรัฐบาลเพิ่มขึ้นเป็น 68% โดยผลงานของพล.อ.ประยุทธ์ ทำได้ 65% แต่รัฐบาลปัจจุบันตั้งตัวชี้วัดที่ 62% ถ้าแบบนี้ไม่ต้องมีรัฐบาลก็ได้ ให้พล.อ.ประยุทธ์ ทำเหมือนเดิม
“นอกจากนี้ สำนักงบประมาณตั้งความสำเร็จไว้ว่า ต้องมี พ.ร.บ.งบประมาณ ออกมา 1 ฉบับ ผมก็งงว่าเราสามารถตั้งตัวชี้วัดความสำเร็จของงานตัวเอง ด้วยการทำงานของคนอื่นได้ด้วยหรือ ผมถามว่าพ.ร.บ.งบประมาณฉบับนี้ใครเป็นออก รัฐสภาใช่หรือไม่ ผมสามารถบอกว่าผมสำเร็จด้วย เพราะเพื่อนทำการบ้านเสร็จแบบนี้ได้หรือ เรื่องนี้ประหลาด” นพ.วาโย กล่าว
นพ.วาโย กล่าวต่อว่า มีเรื่องเพิ่มเติมจากรัฐบาลก่อน คือ การจัดทำงบประมาณและการใช้งบประมาณจะต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งต้องตั้งไว้ 100% แบบนี้ เพราะหากท่านตกไปแม้แต่เปอร์เซ็นต์เดียว แปลว่ารัฐบาลบริหารงานไม่เป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติ
“ขอฝากเตือนว่าหากตัวเลขปีหน้าออกมา 98 จะทำอย่างไร การตั้งเป้าหมายหรือตัวชี้วัดผลงานที่ไม่ดี ไม่ตรงจุด ถึงแม้ว่าทำได้ตรงเป้าก็ไม่ทำให้ประเทศดีขึ้นได้ ดังนั้น ผมและพรรคก้าวไกล ไม่สามารถเห็นชอบร่างพ.ร.บ.ปี 67 ได้” นพ.วาโย กล่าว