‘ศิริกัญญา’ เตือนรัฐบาลระวังถังแตก หลังตัวเลขเก็บรายได้ไม่เข้าเป้า – บริหารเงินไม่เป็น
https://www.matichon.co.th/politics/news_2713394
‘ศิริกัญญา’ เตือนรัฐบาลระวังถังแตก เก็บรายได้ไม่เข้าเป้า – บริหารเงินไม่เป็น
เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม เพจเฟซบุ๊ก พรรคก้าวไกล โพสต์ว่า
ระวังรัฐบาลถังแตก !!! ‘ศิริกัญญา’ เตือน ครึ่งปีก่อนโควิดรอบ 3 รัฐบาลเก็บรายได้พลาดเป้า 1.2 แสนล้าน เสนอต้องจัดลำดับความสำคัญการใช้งบเพื่อแก้วิกฤต
ศิริกัญญา ตันสกุล รองหัวหน้าพรรคก้าวไกลฝ่ายนโยบาย แสดงความเป็นห่วงถึงกรณีที่กระทรวงการคลังได้ออกมาเปิดเผยผลการจัดเก็บรายได้ครึ่งปีแรกต่ำกว่าเป้าที่วางไว้
จากรายงานของกระทรวงการคลัง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 64 (ตุลาคม 63 – มีนาคม 64) รัฐบาลมีรายได้สุทธิ 1,018,711 ล้านบาท ต่ำกว่าที่ประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 122,545 ล้านบาท กรมที่จัดเก็บรายได้หลักอย่างกรมสรรพากรและกรมสรรพสามิต จัดเก็บรายได้พลาดเป้าถึง 10% คิดเป็นรายได้ที่หายไปกว่า 100,000 ล้านบาท มีแค่กรมศุลกากรที่จัดเก็บรายได้พลาดเป้าไม่มากแต่ก็พลาดไป 2.5% ทั้งที่ปีนี้เป็นปีที่เศรษฐกิจโลกค่อนข้างดี
“แต่ที่ดิฉันเป็นห่วงคือรายได้รัฐวิสาหกิจที่นำส่งรายได้เข้ารัฐต่ำกว่าที่ประมาณการไว้กว่า 35,000 ล้านบาท พลาดเป้าถึงร้อยละ 40 ซึ่งส่วนหนึ่งคงมาจากรายได้ของบริษัทท่าอากาศยานไทยหรือ AOT ที่ไม่มีผู้โดยสารนักท่องเที่ยวเข้ามาเลย และได้ประกาศมาตรการเยียวยาลดค่าเช่าให้กับผู้เช่า และลดรายได้จากรับสัมปทานเจ้าใหญ่อย่างมหาศาล”
“ถ้ามองอย่างผิวเผิน เราคงคิดว่านี่คือผลกระทบจากโควิด ทำให้รัฐเก็บรายได้ได้ลดลง แต่ความเป็นจริงก็คือตัวเลขประมาณการรายได้ของปีงบ 64 จัดทำเมื่อต้นปี 63 ก่อนจะเกิดสถานการณ์โควิดเมื่อปีที่แล้วเสียอีก แถมยังประเมินว่าเศรษฐกิจจะโตถึง 5% จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะจัดเก็บรายได้ได้ตามเป้าเดิม ”
“ซึ่งดิฉันได้เตือนในสภาไปแล้วในการอภิปรายงบประมาณวาระที่ 2 และก็เป็นแบบนั้นจริง ๆ ถ้าเราใช้ตัวเลข GDP ล่าสุดที่คาดว่าจะโตประมาณ 2% รายได้ที่รัฐบาลตั้งเป้าในเวลานั้นมากเกินจริงไป 2-3 แสนล้านบาท”
นอกจากนี้
ศิริกัญญายังย้ำว่านี่คือตัวเลขรายได้ของรัฐในห้วงเวลาที่มีการระบาดรอบที่ 2 ก่อนที่การระบาดรอบที่ 3 จะเริ่มขึ้น น่าเป็นห่วงว่าการจัดเก็บรายได้ในเดือน เมษายน-มิถุนายน 64 จะยิ่งต่ำกว่าเป้าลงไปอีก
“ปัญหาที่จะตามมาก็คือ ถ้ารัฐบาลจะใช้งบประมาณตามที่ขอจากสภาราว 3.28 ล้านล้านบาท เราจะต้องกู้เพิ่มเพื่อมาชดเชยการขาดดุลมากขึ้นไม่ต่ำกว่า 2 แสนล้านบาท แต่เพดานเงินกู้ที่ระบุไว้ในกฎหมายอนุญาตให้กู้เพิ่มแค่ 1 แสนล้านบาทเท่านั้น ผลที่จะเกิดขึ้นคือรัฐบาลอาจไม่สามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้ในทุกโครงการที่ตั้งไว้ในงบ 64 แต่เราคงไม่อยากเห็นภาพที่หน่วยราชการต้องไปลุ้นกันในปลายปีว่า โครงการไหนจะได้-ไม่ได้งบประมาณ”
“ตาม พ.ร.บ. หนี้สาธารณะฯ กำหนดว่าเราจะกู้เพื่อชดเชยขาดดุลได้ไม่เกิน 20% ของงบประมาณรายจ่าย บวกกับ 80% ของเงินชำระคืนต้นเงินกู้”
สุดท้าย
ศิริกัญญาให้ทางออกรัฐบาลว่าตอนนี้มีทางเลือก 2 ทาง ถ้าไม่กู้เงินเพิ่ม ก็ต้องจัดลำดับความสำคัญการใช้งบประมาณ 64
“ทางเลือกแรก คือรัฐบาลอาจกู้เพิ่มสภาพคล่องไม่เกิน 3% ของงบประมาณรายจ่าย ตามที่กฎหมายบริหารหนี้สาธารณะเปิดช่องไว้ ซึ่งน่าจะทำให้ได้เงินเพิ่ม 98,600 ล้านบาท แต่ต้องชำระคืนภายใน 120 วัน ซึ่งไม่พอชดเชยรายได้ที่พลาดเป้า หรือถ้าจะออกพรบ.ใหม่เพื่อกู้เงินก้อนใหม่โปะส่วนที่ขาดก็อาจจะขาดแรงสนับสนุนจากประชาชนที่ไม่ไว้วางใจกับการใช้เงินของรัฐบาลในปัจจุบัน”
“อีกทางเลือกที่ดิฉันเสนอคือ ให้รัฐบาลทบทวนโครงการทั้งหมดที่ยังไม่ได้เบิกจ่ายจากงบ 64 แล้วจัดลำดับความสำคัญใหม่ว่าโครงการใดบ้างที่จำเป็นในการพาประเทศผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปให้ได้ และตัดโครงการที่ยังไม่จำเป็นทิ้งไปก่อน เพื่อเป็นการทบทวนกรอบงบประมาณรายจ่ายใหม่ให้สอดคล้องกับรายได้ที่คาดว่าน่าจะหายไป” ศิริกัญญากล่าวทิ้งท้าย
อ่านและดาวน์โหลดผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2564 (ตุลาคม 2563 – มีนาคม 2564)
https://www.moveforwardparty.org/wp-content/uploads/2021/05/Half-year-revenue-Ministy-of-Finance-2021.pdf
#ก้าวไกล #งบ64 #รัฐบาลถังแตก
https://www.facebook.com/MoveForwardPartyThailand/posts/313160166982677
“ปธ.ติดตามงบเพื่อไทย” บี้ รัฐบาล ลดงบทหาร เพิ่มงบวัคซีน-รักษาพยาบาล
https://www.matichon.co.th/politics/news_2713079
“ปธ.ติดตามงบ พท.” จี้ “ประยุทธ์” ลดงบทหาร เพิ่มงบวัคซีน-การรักษาพยาบาล-ฟื้นเศรษฐกิจ เผยงบประมาณ 65 แสดงศก.ทรุดโทรม แนะต้องคิดและทำหลายอย่างพร้อมกันถึงฟื้นศก.ได้
เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม นาย
ไชยา พรหมา ส.ส.หนองบัวลำภู รองหัวหน้าพรรค และคณะทำงานเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย (พท.) ประธานคณะกรรมาธิการศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ กล่าวว่า การจัดงบประมาณของปี 2565 แสดงถึงความทรุดโทรมของประเทศไทยอย่างเห็นได้ชัด เพราะมีการลดงบประมาณลงถึง 1.85 แสนล้าน จากปี 2564 ทั้งที่ประเทศต้องการเงินเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างมาก อีกทั้งยังมีการกู้เงินเกินการลงทุนที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ขนาดทีดีอาร์ไอยังต้องตำหนิ เพราะจะเป็นการกู้มาใช้จ่ายไม่ได้นำไปลงทุนให้เกิดดอกผล อนาคตจะหารายได้ที่ไหนมาคืน ทั้งนี้สาเหตุมาจากรัฐบาลล้มเหลวในการบริหารเศรษฐกิจมาตลอด ทำให้รัฐบาลเก็บภาษีได้ไม่ตรงเป้าเลยต้องมาตัดงบประมาณ ในขณะที่ประเทศทั่วโลกต่างเพิ่มเงินอัดฉีดเพื่อฟื้นเศรษฐกิจกันทั้งนั้น ประเทศจะยิ่งเสียโอกาสในการพัฒนา
“อยากขอเตือนรัฐบาลถึงการจัดทำงบประมาณปี 2565 ซึ่งกำลังจะเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรช่วงเปิดสมัยประชุมที่จะถึงนี้ว่า จะต้องตอบโจทย์ปัญหาเร่งด่วนของประเทศ ซึ่งขณะนี้ประเทศไทยกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาของมหันตภัยโควิด ซึ่งรัฐบาลมีเวลาเตรียมตัวสำหรับการจัดทำงบประมาณปี 2565 ซึ่งเป็นปัญหาต่อเนื่องจากงบประมาณในปีที่ผ่านมา และเป็นสถานการณ์ที่ประเทศต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อระบบเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศตลอดจนกระทบต่อวิถีชีวิตและการประกอบอาชีพของประชาชนทุกระดับ” นาย
ไชยา กล่าว
นาย
ไชยา กล่าวต่อว่า ฉะนั้นการจัดทำงบประมาณของประเทศ รัฐบาลต้องจัดลำดับความสำคัญของปัญหา โดยเฉพาะรายจ่ายที่ไม่มีความจำเป็นและสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน เช่น งบประมาณด้านความมั่นคง ด้านการทหาร วันนี้ผู้นำประเทศต้องเข้าใจว่า ดุลอำนาจของโลกเปลี่ยนไปแล้วตั้งแต่สถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลก เดิมศักยภาพของดุลอำนาจอยู่ที่การสะสมอาวุธ การแสดงแสนยานุภาพของกองทัพ แต่วันนี้ดุลอำนาจใหม่ของโลกคือ ดุลอำนาจทางด้านเศรษฐกิจและความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีล้ำยุค ประเทศไหนแก้โควิดได้เร็ว นั่นหมายถึงจะทำให้เศรษฐกิจในประเทศนั้นจะกลับมาโดยเร็ว ดังนั้น ตนอยากเห็นการจัดงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 นำไปสู่การแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจ และการฟื้นฟูด้านเศรษฐกิจกลับมาโดยเร็ว ตลอดจนการจัดหาวัคซีนให้ทันท่วงทีและหลากหลายทางเลือกสำหรับประชาชน เพื่อกระจายวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่โดยเร็ว ซึ่งหลายประเทศสามารถสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้แล้ว แต่พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยังไม่เข้าใจ
“ดังนั้นความรวดเร็วและทั่วถึงอย่างเพียงพอของวัคซีน ตลอดจนอุปกรณ์ทางด้านการแพทย์จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนกว่าเรื่องใดๆ เพราะถ้าวัคซีนมาเร็ว นั่นหมายถึงไทยจะสามารถเปิดประเทศได้ และเศรษฐกิจจะฟื้นตัวกลับมาเร็วเช่นกัน อีกทั้งรัฐบาลอาจจะต้องเตรียมงบประมาณในการรักษาพยาบาลประชาชนจำนวนมากที่จะติดเชื้อไวรัสและมีอาการรุนแรงซึ่งค่าใช้จ่ายจะสูงมาก ยิ่งควบคุมการระบาดได้ช้า วัคซีนมาช้า ยิ่งจะเสียค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นอีกสูงมาก” นาย
ไชยา กล่าว
นาย
ไชยา กล่าวด้วยว่า ตนจึงมีความเห็นว่า งบประมาณรายจ่ายในส่วนที่ยังไม่มีความจำเป็นในขณะนี้เราสามารถชะลอออกไปก่อนได้ เช่น งบประมาณทางการความมั่นคง ด้านการทหาร เมื่อประเทศมีความพร้อมด้านเศรษฐกิจและด้านงบประมาณเพียงพอเราก็ยังสามารถจัดหาได้เมื่อสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจของประเทศฟื้นกลับมาแล้วก็ยังไม่สายเกินไป ทั้งนี้เพื่อเร่งฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจึงมีความจำเป็นเร่งด่วนในสถานการณ์ขณะนี้ ยิ่งเราแก้ปัญหาของโควิดล่าช้าเท่าไหร่ นั่นหมายถึงต้นทุนทางเศรษฐกิจเรายิ่งสูงขึ้น กว่าจะฟื้นฟูได้ต้องระดมงบประมาณมหาศาล ฉะนั้นจึงขอเรียกร้องให้รัฐบาล ใช้งบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุด และต้องตอบโจทย์ปัญหาของประเทศอย่างตรงจุดที่สุด และต้องรีบกระจายเม็ดเงินลงสู่ระบบเศรษฐกิจโดยเร็ว ในส่วนของงบประมาณเดิมที่คั่งค้างต้องเร่งเบิกจ่ายเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยเร็ว
“การบริหารประเทศในภาวะวิกฤติ พล.อ.ประยุทธ์ จะต้องสามารถพัฒนาและคิดให้ได้ครบทุกกรอบ และต้องสามารถเรียงลำดับความสำคัญได้ อย่าทำได้แค่ทีละเรื่องเหมือนที่ผ่านมา เพราะจะแก้ปัญหาไม่ได้ และจะไม่สามารถฟื้นเศรษฐกิจได้ หากรู้ตัวว่าไม่ไหวหรือรู้ตัวว่าสถานการณ์แย่ลงเรื่อยๆเกินความสามารถตนเอง ขอให้อย่าฝืน เพราะประเทศจะยิ่งเสียหาย ประชาชนจะยิ่งลำบาก” นาย
ไชยา กล่าว
อาการล่าสุด เด็กพิเศษติดโควิด หลังได้รับการรักษา ตรวจพบเชื้อลงปอดแล้ว
https://ch3plus.com/news/program/240150
จากกรณีคุณ
เจนนรา สันติวิวัฒนพงศ์ หรือ
แบงค์ โพสต์เฟซบุ๊ก ขอความช่วยเหลือ มีหลานติดเชื้อโควิด ซึ่งหลานนั้นเป็นเด็กพิเศษ ที่ช่วยเหลือตัวเองและสื่อสารไม่ได้ ติดเชื้อโควิดมา 4 วันแล้ว แต่ไม่มี รพ.ใดรับรักษา แมัว่าจะจ่ายค่ารักษาเอง ก็ไม่มี รพ.ใดรับ และทางรายการเรื่องเล่าเช้านี้ ได้เล่าข่าวเรื่องนี้และประสานขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่างๆ
เมื่อวานนี้ 7 พ.ค. คุณ
แบงค์แจ้งว่า มี รพ.ประสานเข้ามารับเด็กไปรักษาแล้วคือ รพ.วิภาวดี คุณ
แบงค์เปิดเผยว่า ขอบคุณทางรายการที่พอนำเสนอข่าวแล้ว ได้รับการช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว ขอบคุณ รพ.วิภาวดี ที่เข้ามารับรักษาหลานโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ
คุณ
แบงค์เล่าว่า ครอบครัวของตนติดเชื้อโควิดทั้งหมด 11 คน โดยเริ่มจากตนเองไปทานข้าวและดื่มน้ำแก้วเดียวกับเพื่อน จากนั้นก็ติดเชื้อและคนในครอบครัวก็ทยอยติดกัน ทุกคนเข้ารักษาตัวใน รพ.ตนก็รักษาใน รพ. จนหาย และมารู้ว่าหลานสาวซึ่งเป็นเด็กพิเศษติดโควิดด้วย คาดว่าจะติดจากป้าที่ดูแล เพราะสัมผัสใกล้ชิดกัน
เมื่อหลานเริ่มมีอาการไอ และมีไข้ต่ำๆก็เช็ดตัวดูแลตามอาการและประสานตาม รพ.เอกชน และรพ.ต่างๆที่พอรู้จัก เพื่อจะให้รับหลานไปดูแลรักษา เพราะเกรงจะเกิดอันตราย อีกทั้งหลานไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองและสื่อสารได้จึงเป็นอุปสรรคในการดูแล แต่ผ่านไป 4 วัน ไม่มี รพ.ใดรับรักษา แม้ว่าตนเลือกจะจ่ายเงินค่ารักษาเอง จึงโพสต์เฟซบุ๊กขอความช่วยเหลือ จนกระทั่งทีมงานรายการเรื่องเล่าเช้านี้ และทีมข่าวช่อง 3 ติดต่อมา พอข่าวออกอากาศไป มีหลายหน่วยงาน หลาย รพ.ติดต่อมา ไม่ขาดสาย
โดยส่วนตัวตนอยากให้ภาครัฐและ รพ.ต่างๆ เห็นความสำคัญของชีวิตคน แม้ตนเองจะพอมีกำลังจ่ายค่ารักษาพยาบาลในรพ.เอกชน แต่ก็ไม่มีที่ใดรับรักษา ทำให้รู้ว่ายากลำบากมาก หากป่วยเป็นโรคนี้แล้ว มีเงินก็ไม่ได้รักษา ซึ่งกรณีเด็กพิเศษนี้ก็เช่นกัน จึงขอให้กรณีตนเป็นกรณีศึกษา ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเล็งเห็นความสำคัญของชีวิตผู้ป่วย
ล่าสุดทางคุณ
แบงค์ได้แจ้งอาการของหลานที่เป็นเด็กพิเศษ ซึ่งขณะนี้หมอตรวจพบว่าเชื้อลงสู่ปอดแล้ว
ชมผ่านยูทูบที่ :
https://youtu.be/Mv58VHO-D3A
JJNY : 4in1 ศิริกัญญาเตือนระวังถังแตก│พท.บี้เพิ่มงบวัคซีน-รักษา│เด็กพิเศษติดโควิดเชื้อลงปอด│ส.ส.พท.เปิดโรงครัวช่วยปชช.
https://www.matichon.co.th/politics/news_2713394
‘ศิริกัญญา’ เตือนรัฐบาลระวังถังแตก เก็บรายได้ไม่เข้าเป้า – บริหารเงินไม่เป็น
เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม เพจเฟซบุ๊ก พรรคก้าวไกล โพสต์ว่า ระวังรัฐบาลถังแตก !!! ‘ศิริกัญญา’ เตือน ครึ่งปีก่อนโควิดรอบ 3 รัฐบาลเก็บรายได้พลาดเป้า 1.2 แสนล้าน เสนอต้องจัดลำดับความสำคัญการใช้งบเพื่อแก้วิกฤต
ศิริกัญญา ตันสกุล รองหัวหน้าพรรคก้าวไกลฝ่ายนโยบาย แสดงความเป็นห่วงถึงกรณีที่กระทรวงการคลังได้ออกมาเปิดเผยผลการจัดเก็บรายได้ครึ่งปีแรกต่ำกว่าเป้าที่วางไว้
จากรายงานของกระทรวงการคลัง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 64 (ตุลาคม 63 – มีนาคม 64) รัฐบาลมีรายได้สุทธิ 1,018,711 ล้านบาท ต่ำกว่าที่ประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 122,545 ล้านบาท กรมที่จัดเก็บรายได้หลักอย่างกรมสรรพากรและกรมสรรพสามิต จัดเก็บรายได้พลาดเป้าถึง 10% คิดเป็นรายได้ที่หายไปกว่า 100,000 ล้านบาท มีแค่กรมศุลกากรที่จัดเก็บรายได้พลาดเป้าไม่มากแต่ก็พลาดไป 2.5% ทั้งที่ปีนี้เป็นปีที่เศรษฐกิจโลกค่อนข้างดี
“แต่ที่ดิฉันเป็นห่วงคือรายได้รัฐวิสาหกิจที่นำส่งรายได้เข้ารัฐต่ำกว่าที่ประมาณการไว้กว่า 35,000 ล้านบาท พลาดเป้าถึงร้อยละ 40 ซึ่งส่วนหนึ่งคงมาจากรายได้ของบริษัทท่าอากาศยานไทยหรือ AOT ที่ไม่มีผู้โดยสารนักท่องเที่ยวเข้ามาเลย และได้ประกาศมาตรการเยียวยาลดค่าเช่าให้กับผู้เช่า และลดรายได้จากรับสัมปทานเจ้าใหญ่อย่างมหาศาล”
“ถ้ามองอย่างผิวเผิน เราคงคิดว่านี่คือผลกระทบจากโควิด ทำให้รัฐเก็บรายได้ได้ลดลง แต่ความเป็นจริงก็คือตัวเลขประมาณการรายได้ของปีงบ 64 จัดทำเมื่อต้นปี 63 ก่อนจะเกิดสถานการณ์โควิดเมื่อปีที่แล้วเสียอีก แถมยังประเมินว่าเศรษฐกิจจะโตถึง 5% จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะจัดเก็บรายได้ได้ตามเป้าเดิม ”
“ซึ่งดิฉันได้เตือนในสภาไปแล้วในการอภิปรายงบประมาณวาระที่ 2 และก็เป็นแบบนั้นจริง ๆ ถ้าเราใช้ตัวเลข GDP ล่าสุดที่คาดว่าจะโตประมาณ 2% รายได้ที่รัฐบาลตั้งเป้าในเวลานั้นมากเกินจริงไป 2-3 แสนล้านบาท”
นอกจากนี้ ศิริกัญญายังย้ำว่านี่คือตัวเลขรายได้ของรัฐในห้วงเวลาที่มีการระบาดรอบที่ 2 ก่อนที่การระบาดรอบที่ 3 จะเริ่มขึ้น น่าเป็นห่วงว่าการจัดเก็บรายได้ในเดือน เมษายน-มิถุนายน 64 จะยิ่งต่ำกว่าเป้าลงไปอีก
“ปัญหาที่จะตามมาก็คือ ถ้ารัฐบาลจะใช้งบประมาณตามที่ขอจากสภาราว 3.28 ล้านล้านบาท เราจะต้องกู้เพิ่มเพื่อมาชดเชยการขาดดุลมากขึ้นไม่ต่ำกว่า 2 แสนล้านบาท แต่เพดานเงินกู้ที่ระบุไว้ในกฎหมายอนุญาตให้กู้เพิ่มแค่ 1 แสนล้านบาทเท่านั้น ผลที่จะเกิดขึ้นคือรัฐบาลอาจไม่สามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้ในทุกโครงการที่ตั้งไว้ในงบ 64 แต่เราคงไม่อยากเห็นภาพที่หน่วยราชการต้องไปลุ้นกันในปลายปีว่า โครงการไหนจะได้-ไม่ได้งบประมาณ”
“ตาม พ.ร.บ. หนี้สาธารณะฯ กำหนดว่าเราจะกู้เพื่อชดเชยขาดดุลได้ไม่เกิน 20% ของงบประมาณรายจ่าย บวกกับ 80% ของเงินชำระคืนต้นเงินกู้”
สุดท้าย ศิริกัญญาให้ทางออกรัฐบาลว่าตอนนี้มีทางเลือก 2 ทาง ถ้าไม่กู้เงินเพิ่ม ก็ต้องจัดลำดับความสำคัญการใช้งบประมาณ 64
“ทางเลือกแรก คือรัฐบาลอาจกู้เพิ่มสภาพคล่องไม่เกิน 3% ของงบประมาณรายจ่าย ตามที่กฎหมายบริหารหนี้สาธารณะเปิดช่องไว้ ซึ่งน่าจะทำให้ได้เงินเพิ่ม 98,600 ล้านบาท แต่ต้องชำระคืนภายใน 120 วัน ซึ่งไม่พอชดเชยรายได้ที่พลาดเป้า หรือถ้าจะออกพรบ.ใหม่เพื่อกู้เงินก้อนใหม่โปะส่วนที่ขาดก็อาจจะขาดแรงสนับสนุนจากประชาชนที่ไม่ไว้วางใจกับการใช้เงินของรัฐบาลในปัจจุบัน”
“อีกทางเลือกที่ดิฉันเสนอคือ ให้รัฐบาลทบทวนโครงการทั้งหมดที่ยังไม่ได้เบิกจ่ายจากงบ 64 แล้วจัดลำดับความสำคัญใหม่ว่าโครงการใดบ้างที่จำเป็นในการพาประเทศผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปให้ได้ และตัดโครงการที่ยังไม่จำเป็นทิ้งไปก่อน เพื่อเป็นการทบทวนกรอบงบประมาณรายจ่ายใหม่ให้สอดคล้องกับรายได้ที่คาดว่าน่าจะหายไป” ศิริกัญญากล่าวทิ้งท้าย
อ่านและดาวน์โหลดผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2564 (ตุลาคม 2563 – มีนาคม 2564)
https://www.moveforwardparty.org/wp-content/uploads/2021/05/Half-year-revenue-Ministy-of-Finance-2021.pdf
#ก้าวไกล #งบ64 #รัฐบาลถังแตก
https://www.facebook.com/MoveForwardPartyThailand/posts/313160166982677
“ปธ.ติดตามงบเพื่อไทย” บี้ รัฐบาล ลดงบทหาร เพิ่มงบวัคซีน-รักษาพยาบาล
https://www.matichon.co.th/politics/news_2713079
“ปธ.ติดตามงบ พท.” จี้ “ประยุทธ์” ลดงบทหาร เพิ่มงบวัคซีน-การรักษาพยาบาล-ฟื้นเศรษฐกิจ เผยงบประมาณ 65 แสดงศก.ทรุดโทรม แนะต้องคิดและทำหลายอย่างพร้อมกันถึงฟื้นศก.ได้
เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม นายไชยา พรหมา ส.ส.หนองบัวลำภู รองหัวหน้าพรรค และคณะทำงานเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย (พท.) ประธานคณะกรรมาธิการศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ กล่าวว่า การจัดงบประมาณของปี 2565 แสดงถึงความทรุดโทรมของประเทศไทยอย่างเห็นได้ชัด เพราะมีการลดงบประมาณลงถึง 1.85 แสนล้าน จากปี 2564 ทั้งที่ประเทศต้องการเงินเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างมาก อีกทั้งยังมีการกู้เงินเกินการลงทุนที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ขนาดทีดีอาร์ไอยังต้องตำหนิ เพราะจะเป็นการกู้มาใช้จ่ายไม่ได้นำไปลงทุนให้เกิดดอกผล อนาคตจะหารายได้ที่ไหนมาคืน ทั้งนี้สาเหตุมาจากรัฐบาลล้มเหลวในการบริหารเศรษฐกิจมาตลอด ทำให้รัฐบาลเก็บภาษีได้ไม่ตรงเป้าเลยต้องมาตัดงบประมาณ ในขณะที่ประเทศทั่วโลกต่างเพิ่มเงินอัดฉีดเพื่อฟื้นเศรษฐกิจกันทั้งนั้น ประเทศจะยิ่งเสียโอกาสในการพัฒนา
“อยากขอเตือนรัฐบาลถึงการจัดทำงบประมาณปี 2565 ซึ่งกำลังจะเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรช่วงเปิดสมัยประชุมที่จะถึงนี้ว่า จะต้องตอบโจทย์ปัญหาเร่งด่วนของประเทศ ซึ่งขณะนี้ประเทศไทยกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาของมหันตภัยโควิด ซึ่งรัฐบาลมีเวลาเตรียมตัวสำหรับการจัดทำงบประมาณปี 2565 ซึ่งเป็นปัญหาต่อเนื่องจากงบประมาณในปีที่ผ่านมา และเป็นสถานการณ์ที่ประเทศต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อระบบเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศตลอดจนกระทบต่อวิถีชีวิตและการประกอบอาชีพของประชาชนทุกระดับ” นายไชยา กล่าว
นายไชยา กล่าวต่อว่า ฉะนั้นการจัดทำงบประมาณของประเทศ รัฐบาลต้องจัดลำดับความสำคัญของปัญหา โดยเฉพาะรายจ่ายที่ไม่มีความจำเป็นและสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน เช่น งบประมาณด้านความมั่นคง ด้านการทหาร วันนี้ผู้นำประเทศต้องเข้าใจว่า ดุลอำนาจของโลกเปลี่ยนไปแล้วตั้งแต่สถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลก เดิมศักยภาพของดุลอำนาจอยู่ที่การสะสมอาวุธ การแสดงแสนยานุภาพของกองทัพ แต่วันนี้ดุลอำนาจใหม่ของโลกคือ ดุลอำนาจทางด้านเศรษฐกิจและความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีล้ำยุค ประเทศไหนแก้โควิดได้เร็ว นั่นหมายถึงจะทำให้เศรษฐกิจในประเทศนั้นจะกลับมาโดยเร็ว ดังนั้น ตนอยากเห็นการจัดงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 นำไปสู่การแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจ และการฟื้นฟูด้านเศรษฐกิจกลับมาโดยเร็ว ตลอดจนการจัดหาวัคซีนให้ทันท่วงทีและหลากหลายทางเลือกสำหรับประชาชน เพื่อกระจายวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่โดยเร็ว ซึ่งหลายประเทศสามารถสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้แล้ว แต่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยังไม่เข้าใจ
“ดังนั้นความรวดเร็วและทั่วถึงอย่างเพียงพอของวัคซีน ตลอดจนอุปกรณ์ทางด้านการแพทย์จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนกว่าเรื่องใดๆ เพราะถ้าวัคซีนมาเร็ว นั่นหมายถึงไทยจะสามารถเปิดประเทศได้ และเศรษฐกิจจะฟื้นตัวกลับมาเร็วเช่นกัน อีกทั้งรัฐบาลอาจจะต้องเตรียมงบประมาณในการรักษาพยาบาลประชาชนจำนวนมากที่จะติดเชื้อไวรัสและมีอาการรุนแรงซึ่งค่าใช้จ่ายจะสูงมาก ยิ่งควบคุมการระบาดได้ช้า วัคซีนมาช้า ยิ่งจะเสียค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นอีกสูงมาก” นายไชยา กล่าว
นายไชยา กล่าวด้วยว่า ตนจึงมีความเห็นว่า งบประมาณรายจ่ายในส่วนที่ยังไม่มีความจำเป็นในขณะนี้เราสามารถชะลอออกไปก่อนได้ เช่น งบประมาณทางการความมั่นคง ด้านการทหาร เมื่อประเทศมีความพร้อมด้านเศรษฐกิจและด้านงบประมาณเพียงพอเราก็ยังสามารถจัดหาได้เมื่อสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจของประเทศฟื้นกลับมาแล้วก็ยังไม่สายเกินไป ทั้งนี้เพื่อเร่งฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจึงมีความจำเป็นเร่งด่วนในสถานการณ์ขณะนี้ ยิ่งเราแก้ปัญหาของโควิดล่าช้าเท่าไหร่ นั่นหมายถึงต้นทุนทางเศรษฐกิจเรายิ่งสูงขึ้น กว่าจะฟื้นฟูได้ต้องระดมงบประมาณมหาศาล ฉะนั้นจึงขอเรียกร้องให้รัฐบาล ใช้งบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุด และต้องตอบโจทย์ปัญหาของประเทศอย่างตรงจุดที่สุด และต้องรีบกระจายเม็ดเงินลงสู่ระบบเศรษฐกิจโดยเร็ว ในส่วนของงบประมาณเดิมที่คั่งค้างต้องเร่งเบิกจ่ายเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยเร็ว
“การบริหารประเทศในภาวะวิกฤติ พล.อ.ประยุทธ์ จะต้องสามารถพัฒนาและคิดให้ได้ครบทุกกรอบ และต้องสามารถเรียงลำดับความสำคัญได้ อย่าทำได้แค่ทีละเรื่องเหมือนที่ผ่านมา เพราะจะแก้ปัญหาไม่ได้ และจะไม่สามารถฟื้นเศรษฐกิจได้ หากรู้ตัวว่าไม่ไหวหรือรู้ตัวว่าสถานการณ์แย่ลงเรื่อยๆเกินความสามารถตนเอง ขอให้อย่าฝืน เพราะประเทศจะยิ่งเสียหาย ประชาชนจะยิ่งลำบาก” นายไชยา กล่าว
อาการล่าสุด เด็กพิเศษติดโควิด หลังได้รับการรักษา ตรวจพบเชื้อลงปอดแล้ว
https://ch3plus.com/news/program/240150
จากกรณีคุณเจนนรา สันติวิวัฒนพงศ์ หรือแบงค์ โพสต์เฟซบุ๊ก ขอความช่วยเหลือ มีหลานติดเชื้อโควิด ซึ่งหลานนั้นเป็นเด็กพิเศษ ที่ช่วยเหลือตัวเองและสื่อสารไม่ได้ ติดเชื้อโควิดมา 4 วันแล้ว แต่ไม่มี รพ.ใดรับรักษา แมัว่าจะจ่ายค่ารักษาเอง ก็ไม่มี รพ.ใดรับ และทางรายการเรื่องเล่าเช้านี้ ได้เล่าข่าวเรื่องนี้และประสานขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่างๆ
เมื่อวานนี้ 7 พ.ค. คุณแบงค์แจ้งว่า มี รพ.ประสานเข้ามารับเด็กไปรักษาแล้วคือ รพ.วิภาวดี คุณแบงค์เปิดเผยว่า ขอบคุณทางรายการที่พอนำเสนอข่าวแล้ว ได้รับการช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว ขอบคุณ รพ.วิภาวดี ที่เข้ามารับรักษาหลานโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ
คุณแบงค์เล่าว่า ครอบครัวของตนติดเชื้อโควิดทั้งหมด 11 คน โดยเริ่มจากตนเองไปทานข้าวและดื่มน้ำแก้วเดียวกับเพื่อน จากนั้นก็ติดเชื้อและคนในครอบครัวก็ทยอยติดกัน ทุกคนเข้ารักษาตัวใน รพ.ตนก็รักษาใน รพ. จนหาย และมารู้ว่าหลานสาวซึ่งเป็นเด็กพิเศษติดโควิดด้วย คาดว่าจะติดจากป้าที่ดูแล เพราะสัมผัสใกล้ชิดกัน
เมื่อหลานเริ่มมีอาการไอ และมีไข้ต่ำๆก็เช็ดตัวดูแลตามอาการและประสานตาม รพ.เอกชน และรพ.ต่างๆที่พอรู้จัก เพื่อจะให้รับหลานไปดูแลรักษา เพราะเกรงจะเกิดอันตราย อีกทั้งหลานไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองและสื่อสารได้จึงเป็นอุปสรรคในการดูแล แต่ผ่านไป 4 วัน ไม่มี รพ.ใดรับรักษา แม้ว่าตนเลือกจะจ่ายเงินค่ารักษาเอง จึงโพสต์เฟซบุ๊กขอความช่วยเหลือ จนกระทั่งทีมงานรายการเรื่องเล่าเช้านี้ และทีมข่าวช่อง 3 ติดต่อมา พอข่าวออกอากาศไป มีหลายหน่วยงาน หลาย รพ.ติดต่อมา ไม่ขาดสาย
โดยส่วนตัวตนอยากให้ภาครัฐและ รพ.ต่างๆ เห็นความสำคัญของชีวิตคน แม้ตนเองจะพอมีกำลังจ่ายค่ารักษาพยาบาลในรพ.เอกชน แต่ก็ไม่มีที่ใดรับรักษา ทำให้รู้ว่ายากลำบากมาก หากป่วยเป็นโรคนี้แล้ว มีเงินก็ไม่ได้รักษา ซึ่งกรณีเด็กพิเศษนี้ก็เช่นกัน จึงขอให้กรณีตนเป็นกรณีศึกษา ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเล็งเห็นความสำคัญของชีวิตผู้ป่วย
ล่าสุดทางคุณแบงค์ได้แจ้งอาการของหลานที่เป็นเด็กพิเศษ ซึ่งขณะนี้หมอตรวจพบว่าเชื้อลงสู่ปอดแล้ว
ชมผ่านยูทูบที่ : https://youtu.be/Mv58VHO-D3A