รังผึ้งรูปก้นหอยจากฝูงผึ้งไร้เหล็กใน Sugarbag Bees

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
Trigona Stingless Native Beehive Update #4: THE BROOD.


Tetragonula carbonaria  หรือ Sugarbag Bees ผึ้งไร้เหล็กในของออสเตรเลีย 
ไม่ใช่ประเภทแมลงที่เป็นพาหะถ่ายเทเรณูที่รู้จักกันทั่วไป
เพราะมีผึ้งมากกว่า 20,000 สายพันธุ์ทั่วโลก
T. carbonaria คือ 1 ใน 500 สายพันธุ์ของผึ้งไร้เหล็กใน
(ในออสเตรเลียมีผึ้งไร้เหล็กในทั้งหมด 15 สายพันธุ์)
แต่ก็ไม่ใช่ผึ้งประเภทที่ไร้พิษสงแต่อย่างใด
เพราะบรรดาแมลงที่พยายามบุกรุกรังผึ้ง T. carbonaria 
จะถูกฝูงผึ้งห้อมล้อมแล้วจัดการห่อหุ้มตัวแมลงที่บุกรุก
ด้วยขี้ผึ้ง เศษดินเศษโคลน หรือยางไม้จากธรรมชาติำ
ที่มีประสิทธิภาพ/ประสิทธิผลทำให้กลายเป็นแมลงมัมมี่
ทำให้ภายในอาณาจักรผึ้ง T. carbonaria
เต็มไปด้วยฝูงผึ้งจำนวนมากที่บาดเจ็บและล้มตาย
จากการต่อสู้จำนวนหลายร้อยตัวเลยทีเดียว
เพราะการต่อสู้บางครั้งกินเวลาหลายวัน

เรื่องราวเหล่านี้ ก็เหมือนกับคนเราถ้ามีบ้านแบบ T. carbonaria
ก็ต้องต่อสู้เพื่อป้องกันบ้านเรือนของตนเองเช่นกัน
(เมืองไทยจึงมีกฎหมายบุกรุกไว้จัดการคนที่รบกวนการขัดสิทธิ์การใช้ประโยชน์
ในบ้านเรือนและที่ดินของคนที่มีสิทธิ์ครอบครองมากกว่าคนอื่น)

ภาพถ่ายยอดนิยมที่โพสต์ใน Reddit เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
ฝูงผึ้ง T. carbonaria ได้สร้างรังผึ้งในรูปก้นหอย(หอคอยรูปทรงเกลียว)
ที่เชื่อมโยงแต่ห้อง(ช่องรังผึ้ง)ที่วางไข่ลูกผึ้งอ่อนจำนวนหลายร้อยห้องเข้าด้วยกัน

Photo credit: Tim Heard

" ภาพนี้เป็นแค่รวงผึ้งลูกอ่อนเพียงชั้นเดียว
รวงผึ้งที่สร้างขึ้นอย่างเต็มที่แล้ว
จะมีมากถึง 10-20 ชั้นที่วนเป็นเกลียว(รูปก้นหอย) อย่างต่อเนื่อง " 
Tim Heard ให้สัมภาษณ์ทาง email

ฝักกลมเล็ก ๆ ที่ก่อตัวขึ้นเป็นก้นหอยนี้ เรียกว่า ช้องรังผึ้งของลูกอ่อนผึ้ง
ภายในฝักแต่ละอันนี้  ผึ้งแต่ละตัวจะเติบโตออกจากไข่
ไปจนถึงโตเต็มวัยในช่วงเวลาประมาณ 50 วัน
(แบบเป็นผึ้งงาน ผึ้งทหาร ผึ้งตัวผู้ ผึ้งนางพญา เป็นต้น)

ในการสร้างช่องรังผึ้งแต่ละช่องเหล่านี้
ผึ้งงานจะหลั่งขี้ผึ้งออกจากต่อมช่องท้องของฝูงผึ้ง
แล้วผสมกับอนุพันธ์ยางไม้ของพืช ทำให้กลายเป็น cerumen 
วัสดุก่อสร้างที่แข็งแรงทนทาน (ทนถึก)
รายละเอียดมีในคู่มือการเลี้ยงผึ้งไร้เหล็กใน
The Australian Native Bee Book (Sugarbag Bees, 2015) 

.
“ ช่องรังผึ้งแต่ละช่องจะดูแลโดยฝูงผึ้งอนุบาลจำนวนมาก
ที่จะสำรอกอาหารออกมาประมาณ 2/3 ของความจุแต่ระช่องรังผึ้ง
ซึ่งเพียงพอที่จะเลี้ยงลูกผึ้งตัวอ่อนก่อนที่จะพัฒนาเป็นดักแด้แล้วโตเต็มวัยเป็นผึ้ง
โดยนางพญาผึ้งจะวางไข่ลงในช่องรังผึ้งแต่ละช่องที่ประกอบรวมเป็นรังผึ้ง
จากนั้นฝูงผึ้งอนุบาลจะสำรอกอาหารลงไปในแต่ละช่องรังผึ้งที่มีไข่ตัวอ่อนผึ้งอยู่ทันที
เพื่อให้ตัวอ่อนสามารถกินอาหารมีพัฒนาการและเติบโตได้ภายในแต่ละช่องรังผึ้งที่ปิดไว้

เมื่อฝูงผึ้งงานสร้างช่องรังผึ้งแต่ละช่องเสร็จแล้ว
ฝูงผึ้งงานก็จะย้ายไปสร้างช่องรังผึ้งช่องใหม่ทันที
ให้ขยายช่องรังผึ้งออกไปจากด้านข้างและสร้างขึ้นที่ด้านบน
จนกลายเป็นช่องรังผึ้ง/รวงผึ้งในรูปแบบเป็นก้นหอย/เกลียว

ในที่สุดผึ้งที่โตเต็มวัยก็จะเริ่มโผล่ออกมาช่องรังผึ้งแต่ละช่อง
โดยเริ่มจากช่องรังผึ้งของตัวอ่อนที่เก่าแก่ที่สุดมีอายุมากที่สุด
ที่สร้างขึ้นในใจกลางระดับต่ำสุดก่อนขยายตัวออกไปเรื่อย ๆ
เมื่อผึ้งเติบโตเต็มวัยก็จะเกิดช่องรังผึ้งที่ทิ้งร้างหรือช่องรังผึ้งเปล่า
(ที่กลายเป็นทีเก็บสะสมเกสรต่าง ๆ น้ำหวาน ซากศพของผึ้งหรือศัตรู)

ช่องรังผึ้งแต่ละช่องจะขยายตัวโตขึ้นจากด้านล่างขึ้นสู่ด้านบน
ฝูงผึ้งงานจะสร้างรังผึ้งแต่ละช่องให้ไข่/ตัวอ่อนลูกผึ้งอยู่ด้านใน
เพื่อรอการเจริญเติบโตต่อไป
อาณาจักรผึ้งแห่งนี้อาจมีชีวิตอยู่ได้โดยไม่สิ้นสุด
ตามทฤษฎีที่ว่า ตราบใดที่ยังมีนางพญาผึ้งวางไข่ใบใหม่ตลอดเวลา "
Tim Heard ให้สัมภาษณ์ทาง email
(ถ้านางพญาผึ้งตัวเก่าตาย  มักมีนางพญาผึ้งตัวใหม่เข้าครอบครองรังผึ้งแทนทันนี
เว้นแต่จะมีการย้ายรังพร้อมนางพญาผึ้งไปสร้างรังผึ้งใหม่อีกแห่ง)
 

ทำไมรังผึ้งจึงเป็นรูปทรงก้นหอย/เกลียว

นักวิจัยได้พยายามอธิบายเรื่องนี้
การก่อสร้างรังผึ้งเป็นขั้นเป็นตอนตามวิธีการ
ที่ผึ้งงานทุกตัวรู้โดยธรรมชาติตั้งแต่เกิด
แต่เพราะเหตุผลใดยังเป็นเรื่องลึกลับ

“ มันอาจจะเป็นเรื่องที่ไม่ฉลาดนัก
ที่จะอธิบายความสำคัญของการปรับตัวว่า
ทำไมรูปแบบรังผึ้งนี้จึงมีวิวัฒนาการ
บางทีมันอาจเป็นเพียงผลของพฤติกรรมสุ่มบางอย่าง
หรืออาจจะเป็นการปรับตัวเพื่อให้ได้ข้อได้เปรียบ
ในการปรับตัวให้รังผึ้งให้เป็นไปในรูปแบบดังกล่าว
คือ  การใช้พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ
และยังช่วยให้เกิดการหมุนเวียนของอากาศระหว่างชั้นดีขึ้น
นั่นคือ เหตุผลที่รังผึ้งชนิดนี้ไม่เป็นแบบรังผึ้ง/รวงผึ้งทั่วไป "
 
Tim Heard  นักกีฏวิทยา/ช่างภาพ ที่ทำงานวิจัยผึ้งไร้เหล็กใน
The Commonwealth Scientific and Industrial Research Organisation (CSIRO) ใน Australia,
ได้ตอบกลับ Live Science ใน email ส่วนตัว




ผึ้งไร้เหล็กใน T.Carbonaria  จะสร้างช่องทางเข้าออกรังผึ้งเพียงทางเดียวเท่านั้น
โดยได้รับการปกป้อง/คุ้มครองอย่างแน่นหนาจากผึ้งทหาร
และเคลือบช่องทางเข้าออกด้วยส่วนผสมของขี้ผึ้งและยางไม้ธรรมชาติ
ที่มีคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรียจากยางไม้ธรรมชาติ
เป็นการป้องกันและทำความสะอาดตัวผึ้งให้ปลอดจากเชื้อโรคใด ๆ ก่อนเข้าสู่รัง
สารเหล่านี้ยังป้องกันผู้ล่าเช่น มดและแมลง

เพราะผลจากการที่ผึ้งไร้เหล็กใน
ผึ้งพวกนี้จึงไม่สามารถต่อยชาวบ้านได้เหมือนผึ้งทั่วไป
ทำให้บ้านเรือนในแถบชานเมืองออสเตรเลียหลายแห่ง
จะมีรังผึ้งไร้เหล็กในอยู่ในสวนหลังบ้าน
นักเลี้ยงผึ้งหลายคนไม่ได้เลี้ยงผึ้งชนิดนี้เพื่อน้ำผึ้ง
แต่เพื่อความสุขในการอนุรักษ์เผ่าพันธุ์พื้นเมือง
ที่กำลังลดจำนวนลงจากการพัฒนาของมนุษย์
ในทางกลับกันผึ้งไร้เหล็กในช่วยผสมเกสรพืช ดอกไม้ในสวนและพุ่มไม้
ในระหว่างการค้นหาน้ำหวานและเกสรดอกไม้ของฝูงผึ้ง
 

เรียบเรียง/ที่มา

http://bit.ly/2VySkHe
http://bit.ly/2MxwbFh



Tetragonula carbonaria หรือ sugarbag bee จะมีลำตัวสีดำสนิท  Photo credit: Graham Wise/Flickr


รังผึ้ง sugarbag bees. Photo credit: eyeweed/Flickr


Photo credit: Stephan Ridgway/Flickr

Photo credit: NaturelsWeird/Twitter


Photo credit: Nat Geo


Photo credit: Sugarbag Bees/Facebook

 


Image credit: © Science/AAAS


Image credit: © Science/AAAS

Image credit: @ Science

ที่มา https://bit.ly/2IFKrKU


ที่มา https://bit.ly/2Msv2yQ

ที่มา  https://bit.ly/2MvmpUd



เรื่องเดิม  


คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

Sandstone Excavation by Anthophora pueblo


คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
Amazing Time-Lapse: Bees Hatch Before Your Eyes | National Geographic



Beefencing is good!




คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

How honeyguide birds talk to people
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่