Colony Collapse: The Mystery of the Missing Bees
คนเลี้ยงผึ้ง ที่ Bryant Park apiary ใน Manhattan ผู้เชี่ยวชาญหวังว่า วัคซีนชนิดใหม่สำหรับผึ้ง
คือเป้าหมายในการสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันโรคได้ Credit : CreditChang W. Lee/The New York Times
หลายปีแล้ว ที่ผู้เลี้ยงผึ้งหลายคนต้องพยายามดิ้นรน
เพื่อรักษาธุรกิจเลี้ยงผึ้งของพวกตนให้อยู่รอดได้
จากการให้บริการผสมเกสรดอกไม้ตามพืชสวนไร่นาต่าง ๆ
และรายได้จากน้ำผึ้งเป็นอีกส่วนหนึ่งของธุรกิจนี้
แต่หลายคนต้องประสบกับปัญหาโรคระบาดของผึ้ง
ที่ทำให้ผึ้งตายยกรังและมีสภาพเหม็นเน่าเป็นจำนวนมาก
การผลิตวัคซีนสำหรับผึ้งได้
ทำให้เกิดประกายความหวังกับคนเลี้ยงผึ้งขึ้นมาอีกครั้ง
นักวิทยาศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลังโครงการนี้กล่าวว่า
วัคซีนได้รับการออกแบบมา
เพื่อปกป้องผึ้งจากโรคจุลินทรีย์/แบคทีเรีย
ที่สามารถทำลายประชากรผึ้งได้
หากเทคโนโลยีสามารถดัดแปลงได้
เพื่อต่อสู้กับภาวะการติดเชื้อจำนวนมาก
ผู้เชี่ยวชาญหวังว่า น่าจะเป็นทางออกอย่างหนึ่ง
สำหรับปัญหาการเลี้ยงผึ้งที่เผชิญหน้าอยู่
ฝูงผึ้งได้ทำหน้าที่ผสมเกสรดอกไม้ต่าง ๆ
เพื่อให้พืชผลไม้ผลิดอกออกผลตามมาในเวลาต่อมา
ซึ่งเป็นปริมาณอาหารราว ๆ 1 ใน 3 ของสหรัฐอเมริกา
งานที่ผึ้งทำเพื่อคน - การผสมเกสรดอกไม้
ในขณะที่ฝูงผึ้งรวบรวมละอองเกสรและน้ำหวานสำหรับฝูงผึ้ง
คาดการว่าจะผลิตมูลค่าพืชราว 15 พันล้านเหรียญสหรัฐในแต่ละปี
(Link หน่วยงานรัฐไม่ทำงานเพราะสหรัฐ Shutdown)
“ นี่เป็นวิธีคิดใหม่เกี่ยวกับวิธีการที่ เราสามารถช่วยสุขภาพของผึ้งได้
บทพิสูจน์ของแนวคิดเรื่องนี้ น่าตื่นเต้นอย่างแรงเลย "
Dennis vanEngelsdorp นักกีฏวิทยา จาก University of Maryland
วิกฤติการณ์และหายนะอย่างร้ายแรงของการเลี้ยงผึ้ง
ได้สร้างแรงบันดาลใจที่ทำให้เกิดการเรียกร้องให้
ช่วยผึ้ง
ด้วยวิธีการหลากหลายและหลายขั้นตอน
ผู้เชี่ยวชาญเรื่องผึ้งได้สรุปวิกฤติด้วย 4 Ps
parasites, poor nutrition, pathogens และ pesticides
ปรสิต โภชนาการที่ไม่ดี เชื้อโรค และสารกำจัดศัตรูพืช
คนเลี้ยงผึ้งในสหรัฐอเมริกาต้องสูญเสียผึ้งเป็นจำนวนมากมาย
ประชากรผึ้งตายไปราว 40% ภายในหนึ่งปี
จากข้อมูลคั้งแต่ เมษายน 2017 ถึงเมษายน 2018
ที่รวบรวมโดย
Bee Informed Partnership
กลุ่มบริษัทของมหาวิทยาลัยและห้องปฏิบัติการวิจัย
(ทำวิจัยทางวิชาการและให้บริการแบบให้เปล่า/หารายได้)
Dr.Dalial Freitak หนึ่งในนักวิทยาศาสตร์
ที่อยู่เบื้องหลังการฉีดวัคซีนครั้งนี้ให้สัมภาษณ์ว่า
" ฉันหวังว่ามันจะทำให้ฝูงผึ้งกลับมามีมากเหมือนดิม
ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยภยันตรายในทุกวันนี้
แต่อุปสรรคด้านกฎระเบียบ/กฎหมายต่าง ๆ
เช่น การทดสอบความปลอดภัย และผ่านมาตรฐานต่าง ๆ
อาจจะต้องใช้เวลาหลายปี ก่อนที่วัคซีนจะเข้าสู่ท้องตลาดได้ "
ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญบางคนได้เตือนให้ระมัดระวังในเรื่องนี้
ว่าอย่าตื่นเต้นมากเกินไปเกี่ยวกับวัคซีน
เพราะกำลังอยู่ในช่วงการพัฒนาก่อนจะใช้งานได้จริง
การให้วัคซีนกับฝูงผึ้งไม่เหมือนกับการฉีดวัคซีนสำหรับคน
จึงมีความเป็นไปได้ที่จะให้ผึ้งดูดกินได้
ในรูปของสารละลายน้ำตาลที่ดึงดูดใจฝูงผึ้ง
วิธีการนี้เคยให้วัคซีนโปลิโอกับเด็ก ๆ
ด้วยการผสมวัคซีนกับก้อนน้ำตาลเป็นขนมหวาน/ลูกอม
"
จากแนวคิดพื้นฐานของต้นแบบ Prototype
ผลิตภัณฑ์ที่จะวางตลาดจะภายใต้ชื่อ PrimeBEE นั้น
จะเกี่ยวข้องกับการให้วัคซีนนางพญาผึ้ง
และให้เธอส่งผ่านไปยังตัวอ่อนผึ้งที่จะโตเป็นฝูงผึ้งต่อไป "
Dr.Dalial Freitak ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ด้านการวิจัยผึ้งที่
Karl-Franzens University of Graz ใน Austria
ผู้เลี้ยงผึ้งจะได้รับคำแนะนำว่า
ให้นางพญา/ราชินีผึ้งได้รับวัคซีนภายในรังผึ้ง
ซึ่งจะทำให้ฝูงผึ้งรุ่นใหม่มีภูมิต้านทานต่อโรคนี้
ตัวอ่อนผึ้งได้รับผลกระทบจาก
American Foulbrobro
ซึ่งเป็นโรคจากแบคทีเรียที่สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว
จากรังผึ้งสู่รังผึ้ง แบบตายยกรังเลยทีเดียว นักวิทยาศาสตร์จึงได้ทดสอบวัคซีน
ที่สามารถปลูกสร้างภูมิคุ้มกันโรคนี้ในฝูงผึ้งได้ Credit : Custom Life Images Images / Alamy
" การสร้างวัคซีนสำหรับแมลงนั้น
เดิมเป็นเรื่องที่เหลือเชื่อ ทำไม่ได้
เพราะช่วงก่อนต้นยุคปี 2000
ภูมิปัญญา/ความรู้ดั้งเดิม คือ
แมลงไม่สามารถรับ/มีภูมิต้านทานได้
เพราะไม่มีแอนติบอดี้จำเพาะ (ภูมิคุ้มกันโรค)
ประเภทโปรตีนชนิดหนึ่งที่ช่วยให้พวกสัตว์จำนวนมาก
จดจำร่องรอยสายพันธุ์ เพื่อต่อสู้กับแบคทีเรีย/ไวรัส
การให้วัคซีนจึงมีความสัมพันธ์กับสัตว์มีกระดูกสันหลังมาก
เพราะขึ้นอยู่กับการมีอยู่และคงอยู่ของแอนติบอดี (ภูมิคุ้มกันโรค) ประเภทโปรตีนนิดหนึ่ง
นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ไม่เคยมีการพิจารณา/วิจัย เรื่องการให้วัคซีนกับแมลง ” Dr.Dalial Freitak
แต่เมื่อนักวิทยาศาสตร์เริ่มเข้าใจว่า
แมลงสามารถได้รับภูมิคุ้มกันและส่งต่อไปยังลูกหลานได้
คำถามที่เหลือก็คือ วิธีการที่จะทำเช่นนั้น
และกระบวนการนั้นสามารถจำลองขึ้นในห้องทดลองได้หรือไม่
ในปี ค.ศ. 2015 Dr.Dalial Freitak ได้ร่วมมือกับ
นักวิทยาศาสตร์อีกสองท่าน ที่ University of Helsinki ใน Finland
ตีพิมพ์ผลการศึกษาที่อธิบายกระบวนการนี้
หลังจากนั้นการให้วัคซีนสำหรับแมลง ก็ดูเหมือนจะเป็นไปได้
ผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร
PLOS Pathogens
พบว่าในผึ้งมีโปรตีนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า vitellogenin
ยึดติดกับแบคทีเรียได้และพามันไปยังไข่ผึ้งได้
เพื่อนำไปกระตุ้นภูมิคุ้มกันในลูก/ตัวอ่อนผึ้ง
ทำให้นักวิจัยตระหนักได้ว่า
พวกท่านสามารถสร้างภูมิคุ้มกัน
ในประชากรผึ้งได้ด้วยราชินีเพียงตัวเดียว
เป้าหมายแรกของนักวิทยาศาสตร์ คือ
การพุ่งเป้าไปที่ American Foulbrood แบคทีเรียชนิดหนึ่ง
ที่ทำให้ตัวอ่อนผึ้งตายกลายเป็นสีน้ำตาลเข้ม
และทำให้รังผึ้งส่งกลิ่นเหม็นเน่า
ซึ่งโดยทั่วไปแล้วดูเสมือนการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ผึ้ง
เพราะกลุ่มผึ้งที่ติดเชื้อจะมีราว 60,000 ตัวในช่วงกลางฤดูร้อน
และลดลงเหลือราว 10,000 ตัวในช่วงฤดูหนาว
แม้ว่าจะมีการสร้างภูมิคุ้มกันในการควบคุมโรค
ซึ่งผลกำลังอยู่ในการทดลองก่อนใช้งานจริง
แต่ในตอนนี้ การรักษาที่แนะนำเพื่อจัดการกับการระบาดของเชื้อโรค
American foulbrood คือ การเผารังผึ้งที่ติดเชื้อและอุปกรณ์ที่ใช้งานทั้งหมด
ในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 และต้นปี 1900
โรคนี้ได้ทำลายประชากรผึ้งในพื้นที่ต่าง ๆ ของสหรัฐอเมริกา
ภัยคุกคามนี้ร้ายแรงมากจนเป็นวิกฤติการณ์
ที่ผู้เลี้ยงผึ้งที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายกำหนดว่า
จำต้องเผารังผึ้งทั้งหมดและอุปกรณ์ที่ติดเชื้อทั้งหมด
จะต้องระวางโทษปรับหรือจำคุก ตามรายงานในปี ค.ศ. 2009
Journal of Invertebrate Pathology
" American foulbrood เริ่มจะควบคุมได้ดีขึ้นในช่วงศตวรรษที่แล้ว
การรักษา/ป้องกัน เช่น การเผาผลาญประชากรผึ้ง/รังที่ติดเชื้อและการใช้ยาปฏิชีวนะนั้น
ได้หยุดยั้งการแพร่กระจายของโรค American foulbrood
รวมทั้งเจ้าหน้าที่บางคนยังได้ฝึกสุนัขให้ดมกลิ่นรังผึ้งที่ติดเชื้อ American foulbrood
เพื่อพยายามที่จะป้องกันการแพร่กระจายของ American foulbrood ข้ามรัฐ
ในแคลิฟอร์เนีย คือ สถานที่ต้องใช้บริการฝูงผึ้งจำนวนมาก
มาช่วยในการผสมเกสรตัวผู้กับรังไข่ของตัวเมียในดอกอัลมอนด์
ซึ่งจำเป็นสำหรับการสร้างผลผลิตอัลมอนด์
เราไม่พบ American foulbrood ในหลายปีที่ผ่านมา
แต่การคุกคามประชากรผึ้งที่ใหญ่หลวงกว่ามาก
คือ ไร
Varroa mite ซึ่งเป็นกาฝากที่ดูดเลือดของผึ้ง
ที่โตเต็มวัยและลูก ๆ ของพวกมัน "
Rob Snyder ผู้ตรวจสอบรังผึ้งเชิงพาณิชย์ ในแคลิฟอร์เนียตอนเหนือ กล่าว
"
ตอนนี้ ยังไม่มีวัคซีนใดที่สามารถกำจัดพวกไรได้
แต่วัคซีนอาจสามารถป้องกันผึ้งจากไวรัส
ที่เกี่ยวข้องกับพวกไรได้ รวมถึงไวรัสปีกพิการ Deformed-wing virus ได้
นักวิทยาศาสตร์ยังต้องแสดงให้เห็นถึง
ประสิทธิภาพของวัคซีนในการรักษาไวรัสชนิดนั้น
หากการให้วัคซีนแบบดูดกินใช้ร่วมกับ (ผสานรวมกัน)
กับป้องกัน Deformed-wing virus
จะสามารถรวมกับการควบคุมพวกไร
ได้อย่างมีประสิทธิภาพพร้อมกัน
ในความคิดของผมแล้ว นั่นคือ
ก้าวกระโดดครั้งยิ่งใหญ่เพื่อสุขภาพของผึ้ง ”
Keith S. Delaplane ผู้อำนวยการโครงการ
Honey Bee Program ที่ University of Georgia
เรียบเรียง/ที่มา
https://nyti.ms/2rW93GJ
วัคซีนสำหรับผึ้งครั้งแรกของโลก
Colony Collapse: The Mystery of the Missing Bees
คนเลี้ยงผึ้ง ที่ Bryant Park apiary ใน Manhattan ผู้เชี่ยวชาญหวังว่า วัคซีนชนิดใหม่สำหรับผึ้ง
คือเป้าหมายในการสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันโรคได้ Credit : CreditChang W. Lee/The New York Times
หลายปีแล้ว ที่ผู้เลี้ยงผึ้งหลายคนต้องพยายามดิ้นรน
เพื่อรักษาธุรกิจเลี้ยงผึ้งของพวกตนให้อยู่รอดได้
จากการให้บริการผสมเกสรดอกไม้ตามพืชสวนไร่นาต่าง ๆ
และรายได้จากน้ำผึ้งเป็นอีกส่วนหนึ่งของธุรกิจนี้
แต่หลายคนต้องประสบกับปัญหาโรคระบาดของผึ้ง
ที่ทำให้ผึ้งตายยกรังและมีสภาพเหม็นเน่าเป็นจำนวนมาก
การผลิตวัคซีนสำหรับผึ้งได้
ทำให้เกิดประกายความหวังกับคนเลี้ยงผึ้งขึ้นมาอีกครั้ง
นักวิทยาศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลังโครงการนี้กล่าวว่า
วัคซีนได้รับการออกแบบมา
เพื่อปกป้องผึ้งจากโรคจุลินทรีย์/แบคทีเรีย
ที่สามารถทำลายประชากรผึ้งได้
หากเทคโนโลยีสามารถดัดแปลงได้
เพื่อต่อสู้กับภาวะการติดเชื้อจำนวนมาก
ผู้เชี่ยวชาญหวังว่า น่าจะเป็นทางออกอย่างหนึ่ง
สำหรับปัญหาการเลี้ยงผึ้งที่เผชิญหน้าอยู่
ฝูงผึ้งได้ทำหน้าที่ผสมเกสรดอกไม้ต่าง ๆ
เพื่อให้พืชผลไม้ผลิดอกออกผลตามมาในเวลาต่อมา
ซึ่งเป็นปริมาณอาหารราว ๆ 1 ใน 3 ของสหรัฐอเมริกา
งานที่ผึ้งทำเพื่อคน - การผสมเกสรดอกไม้
ในขณะที่ฝูงผึ้งรวบรวมละอองเกสรและน้ำหวานสำหรับฝูงผึ้ง
คาดการว่าจะผลิตมูลค่าพืชราว 15 พันล้านเหรียญสหรัฐในแต่ละปี
(Link หน่วยงานรัฐไม่ทำงานเพราะสหรัฐ Shutdown)
“ นี่เป็นวิธีคิดใหม่เกี่ยวกับวิธีการที่ เราสามารถช่วยสุขภาพของผึ้งได้
บทพิสูจน์ของแนวคิดเรื่องนี้ น่าตื่นเต้นอย่างแรงเลย "
Dennis vanEngelsdorp นักกีฏวิทยา จาก University of Maryland
วิกฤติการณ์และหายนะอย่างร้ายแรงของการเลี้ยงผึ้ง
ได้สร้างแรงบันดาลใจที่ทำให้เกิดการเรียกร้องให้ ช่วยผึ้ง
ด้วยวิธีการหลากหลายและหลายขั้นตอน
ผู้เชี่ยวชาญเรื่องผึ้งได้สรุปวิกฤติด้วย 4 Ps
parasites, poor nutrition, pathogens และ pesticides
ปรสิต โภชนาการที่ไม่ดี เชื้อโรค และสารกำจัดศัตรูพืช
คนเลี้ยงผึ้งในสหรัฐอเมริกาต้องสูญเสียผึ้งเป็นจำนวนมากมาย
ประชากรผึ้งตายไปราว 40% ภายในหนึ่งปี
จากข้อมูลคั้งแต่ เมษายน 2017 ถึงเมษายน 2018
ที่รวบรวมโดย Bee Informed Partnership
กลุ่มบริษัทของมหาวิทยาลัยและห้องปฏิบัติการวิจัย
(ทำวิจัยทางวิชาการและให้บริการแบบให้เปล่า/หารายได้)
Dr.Dalial Freitak หนึ่งในนักวิทยาศาสตร์
ที่อยู่เบื้องหลังการฉีดวัคซีนครั้งนี้ให้สัมภาษณ์ว่า
" ฉันหวังว่ามันจะทำให้ฝูงผึ้งกลับมามีมากเหมือนดิม
ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยภยันตรายในทุกวันนี้
แต่อุปสรรคด้านกฎระเบียบ/กฎหมายต่าง ๆ
เช่น การทดสอบความปลอดภัย และผ่านมาตรฐานต่าง ๆ
อาจจะต้องใช้เวลาหลายปี ก่อนที่วัคซีนจะเข้าสู่ท้องตลาดได้ "
ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญบางคนได้เตือนให้ระมัดระวังในเรื่องนี้
ว่าอย่าตื่นเต้นมากเกินไปเกี่ยวกับวัคซีน
เพราะกำลังอยู่ในช่วงการพัฒนาก่อนจะใช้งานได้จริง
การให้วัคซีนกับฝูงผึ้งไม่เหมือนกับการฉีดวัคซีนสำหรับคน
จึงมีความเป็นไปได้ที่จะให้ผึ้งดูดกินได้
ในรูปของสารละลายน้ำตาลที่ดึงดูดใจฝูงผึ้ง
วิธีการนี้เคยให้วัคซีนโปลิโอกับเด็ก ๆ
ด้วยการผสมวัคซีนกับก้อนน้ำตาลเป็นขนมหวาน/ลูกอม
" จากแนวคิดพื้นฐานของต้นแบบ Prototype
ผลิตภัณฑ์ที่จะวางตลาดจะภายใต้ชื่อ PrimeBEE นั้น
จะเกี่ยวข้องกับการให้วัคซีนนางพญาผึ้ง
และให้เธอส่งผ่านไปยังตัวอ่อนผึ้งที่จะโตเป็นฝูงผึ้งต่อไป "
Dr.Dalial Freitak ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ด้านการวิจัยผึ้งที่
Karl-Franzens University of Graz ใน Austria
ผู้เลี้ยงผึ้งจะได้รับคำแนะนำว่า
ให้นางพญา/ราชินีผึ้งได้รับวัคซีนภายในรังผึ้ง
ซึ่งจะทำให้ฝูงผึ้งรุ่นใหม่มีภูมิต้านทานต่อโรคนี้
ตัวอ่อนผึ้งได้รับผลกระทบจาก American Foulbrobro
ซึ่งเป็นโรคจากแบคทีเรียที่สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว
จากรังผึ้งสู่รังผึ้ง แบบตายยกรังเลยทีเดียว นักวิทยาศาสตร์จึงได้ทดสอบวัคซีน
ที่สามารถปลูกสร้างภูมิคุ้มกันโรคนี้ในฝูงผึ้งได้ Credit : Custom Life Images Images / Alamy
" การสร้างวัคซีนสำหรับแมลงนั้น
เดิมเป็นเรื่องที่เหลือเชื่อ ทำไม่ได้
เพราะช่วงก่อนต้นยุคปี 2000
ภูมิปัญญา/ความรู้ดั้งเดิม คือ
แมลงไม่สามารถรับ/มีภูมิต้านทานได้
เพราะไม่มีแอนติบอดี้จำเพาะ (ภูมิคุ้มกันโรค)
ประเภทโปรตีนชนิดหนึ่งที่ช่วยให้พวกสัตว์จำนวนมาก
จดจำร่องรอยสายพันธุ์ เพื่อต่อสู้กับแบคทีเรีย/ไวรัส
การให้วัคซีนจึงมีความสัมพันธ์กับสัตว์มีกระดูกสันหลังมาก
เพราะขึ้นอยู่กับการมีอยู่และคงอยู่ของแอนติบอดี (ภูมิคุ้มกันโรค) ประเภทโปรตีนนิดหนึ่ง
นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ไม่เคยมีการพิจารณา/วิจัย เรื่องการให้วัคซีนกับแมลง ” Dr.Dalial Freitak
แต่เมื่อนักวิทยาศาสตร์เริ่มเข้าใจว่า
แมลงสามารถได้รับภูมิคุ้มกันและส่งต่อไปยังลูกหลานได้
คำถามที่เหลือก็คือ วิธีการที่จะทำเช่นนั้น
และกระบวนการนั้นสามารถจำลองขึ้นในห้องทดลองได้หรือไม่
ในปี ค.ศ. 2015 Dr.Dalial Freitak ได้ร่วมมือกับ
นักวิทยาศาสตร์อีกสองท่าน ที่ University of Helsinki ใน Finland
ตีพิมพ์ผลการศึกษาที่อธิบายกระบวนการนี้
หลังจากนั้นการให้วัคซีนสำหรับแมลง ก็ดูเหมือนจะเป็นไปได้
ผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร PLOS Pathogens
พบว่าในผึ้งมีโปรตีนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า vitellogenin
ยึดติดกับแบคทีเรียได้และพามันไปยังไข่ผึ้งได้
เพื่อนำไปกระตุ้นภูมิคุ้มกันในลูก/ตัวอ่อนผึ้ง
ทำให้นักวิจัยตระหนักได้ว่า
พวกท่านสามารถสร้างภูมิคุ้มกัน
ในประชากรผึ้งได้ด้วยราชินีเพียงตัวเดียว
เป้าหมายแรกของนักวิทยาศาสตร์ คือ
การพุ่งเป้าไปที่ American Foulbrood แบคทีเรียชนิดหนึ่ง
ที่ทำให้ตัวอ่อนผึ้งตายกลายเป็นสีน้ำตาลเข้ม
และทำให้รังผึ้งส่งกลิ่นเหม็นเน่า
ซึ่งโดยทั่วไปแล้วดูเสมือนการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ผึ้ง
เพราะกลุ่มผึ้งที่ติดเชื้อจะมีราว 60,000 ตัวในช่วงกลางฤดูร้อน
และลดลงเหลือราว 10,000 ตัวในช่วงฤดูหนาว
แม้ว่าจะมีการสร้างภูมิคุ้มกันในการควบคุมโรค
ซึ่งผลกำลังอยู่ในการทดลองก่อนใช้งานจริง
แต่ในตอนนี้ การรักษาที่แนะนำเพื่อจัดการกับการระบาดของเชื้อโรค
American foulbrood คือ การเผารังผึ้งที่ติดเชื้อและอุปกรณ์ที่ใช้งานทั้งหมด
ในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 และต้นปี 1900
โรคนี้ได้ทำลายประชากรผึ้งในพื้นที่ต่าง ๆ ของสหรัฐอเมริกา
ภัยคุกคามนี้ร้ายแรงมากจนเป็นวิกฤติการณ์
ที่ผู้เลี้ยงผึ้งที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายกำหนดว่า
จำต้องเผารังผึ้งทั้งหมดและอุปกรณ์ที่ติดเชื้อทั้งหมด
จะต้องระวางโทษปรับหรือจำคุก ตามรายงานในปี ค.ศ. 2009
Journal of Invertebrate Pathology
ผึ้งพยายามปิดรัง/อุดรูที่ตัวอ่อนที่ตายจากโรค American foulbrood
" American foulbrood เริ่มจะควบคุมได้ดีขึ้นในช่วงศตวรรษที่แล้ว
การรักษา/ป้องกัน เช่น การเผาผลาญประชากรผึ้ง/รังที่ติดเชื้อและการใช้ยาปฏิชีวนะนั้น
ได้หยุดยั้งการแพร่กระจายของโรค American foulbrood
รวมทั้งเจ้าหน้าที่บางคนยังได้ฝึกสุนัขให้ดมกลิ่นรังผึ้งที่ติดเชื้อ American foulbrood
เพื่อพยายามที่จะป้องกันการแพร่กระจายของ American foulbrood ข้ามรัฐ
ในแคลิฟอร์เนีย คือ สถานที่ต้องใช้บริการฝูงผึ้งจำนวนมาก
มาช่วยในการผสมเกสรตัวผู้กับรังไข่ของตัวเมียในดอกอัลมอนด์
ซึ่งจำเป็นสำหรับการสร้างผลผลิตอัลมอนด์
เราไม่พบ American foulbrood ในหลายปีที่ผ่านมา
แต่การคุกคามประชากรผึ้งที่ใหญ่หลวงกว่ามาก
คือ ไร Varroa mite ซึ่งเป็นกาฝากที่ดูดเลือดของผึ้ง
ที่โตเต็มวัยและลูก ๆ ของพวกมัน "
Rob Snyder ผู้ตรวจสอบรังผึ้งเชิงพาณิชย์ ในแคลิฟอร์เนียตอนเหนือ กล่าว
" ตอนนี้ ยังไม่มีวัคซีนใดที่สามารถกำจัดพวกไรได้
แต่วัคซีนอาจสามารถป้องกันผึ้งจากไวรัส
ที่เกี่ยวข้องกับพวกไรได้ รวมถึงไวรัสปีกพิการ Deformed-wing virus ได้
นักวิทยาศาสตร์ยังต้องแสดงให้เห็นถึง
ประสิทธิภาพของวัคซีนในการรักษาไวรัสชนิดนั้น
หากการให้วัคซีนแบบดูดกินใช้ร่วมกับ (ผสานรวมกัน)
กับป้องกัน Deformed-wing virus
จะสามารถรวมกับการควบคุมพวกไร
ได้อย่างมีประสิทธิภาพพร้อมกัน
ในความคิดของผมแล้ว นั่นคือ
ก้าวกระโดดครั้งยิ่งใหญ่เพื่อสุขภาพของผึ้ง ”
Keith S. Delaplane ผู้อำนวยการโครงการ
Honey Bee Program ที่ University of Georgia
เรียบเรียง/ที่มา
https://nyti.ms/2rW93GJ
Dennis vanEngelsdorp
Dalial Freitak
Keith S. Delaplane
รั้วรังผึ้งป้องกันช้างป่าทำลายพืชไร่