เดิมที่ผมเคยตั้งกระทู้ไว้เกี่ยวกับ Herd Immunity ไว้ 3 กระทู้ เกี่ยวกับการคำนวน Herd Immunity ของสายพันธุ์เดลต้า ว่าถ้าใช้ วัคซีนที่ประสิทธิภาพดีสุด ( mRNA ) เช่น Pfizer เราต้องฉีดให้ครอบคลุมถึง 85-90% ของประชากร ซึ่งในทางปฏิบัติทำได้ยาก
ส่วน AstraZeneca ต้องฉีดให้ครอบคลุมถึง 120% ของประชากร ซึ่งในทางปฏิบัติทได้ยาก
👉 ทำไมประเทศที่ใช้ mRNA จึงยังมีการระบาดเมื่อเจอเชื้อเดลต้า
https://m.ppantip.com/topic/40866991
👉ในการระบาดของ Delta Variant ต้องฉีด mRNA vaccine ให้ครอบคลุมกี่ % ถึงเกิด Herd Immunity
https://m.ppantip.com/topic/40890797
👉โควิด 19 ภูมิคุ้มกันหมู่ (herd immunity) ที่ต้องการเพื่อหยุดยั้งการระบาด ( ยง ภู่วรวรรณ)
https://m.ppantip.com/topic/40896282
วันนี้มีการคำนวนมาจากทาง Hong Kong ได้ตัวเลขใกล้เคียงกันครับ คือ ถ้าใช้ Pfizer ต้องฉีดให้ได้ 97% ของประชากร ซึ่งในทางปฏิบัติทำได้ยากมากๆ ถ้าใช้ Sinovac ต้องฉีดถึง 143% ของประชากร ( อันนี้หมายถึง 2 เข็มนะ ) ซึ่งในทางปฏิบัติเป็นไปไม่ได้เลย
จาก FB ดร อนันต์
https://www.facebook.com/100000897943637/posts/4715241358515749/?d=n
พอดีไม่มีฉบับภาคภาษาอังกฤษครับ สไลด์นี้เป็นการคำนวณของทีมวิจัยที่ Hong Kong University เพื่อหาค่า % ของผู้ที่ได้รับวัคซีนแต่ละชนิด เพื่อให้ได้ "ภูมิคุ้มกันหมู่" ต่อไวรัสสายพันธุ์เดลต้า
สรุปง่ายๆคือ ภูมิคุ้มกันหมู่ต่อไวรัสเดลต้า จะเกิดขึ้นได้เมื่อ
97.4% ของประชากร ได้รับวัคซีน Pfizer ครบ 2 เข็ม
142.9% ของประชากร ได้รับวัคซีน CoronaVac/ Sinovac ครบ 2 เข็ม
ตัวเลขนี้คิดค่าประสิทธิภาพของวัคซีน Pfizer ที่ 88% และ Sinovac ที่ 60% ซึ่งถ้าตัวเลขต่ำกว่านี้ ก็จะเกิน 100% ทั้งคู่
ที่มา
https://news.rthk.hk/rthk/en/component/k2/1607485-20210825.htm?spTabChangeable=0
-----------------------------------------
สรุปเรื่อง herd immunity ต่อเชื้อเดลต้า จาก 3-4 กระทู้นี้
1.เดลต้าจะเกิด herd immunity ต้องฉีดวัคซีนที่ประสิทธิภาพดีสุด เช่น Pfizer ครอบคลุมถึง 85-95% ซึ่งในทางปฏิบัติเกิดยากมากๆ แต่ในอนาคตอาจมี mRNA vaccine Gen 2 ซึ่งค่า Effectiveness ดีขึ้น ก็อาจทำให้เกิด herd immunity ได้ง่ายขึ้น
2.วัคซีนที่ประสิทธิภาพรองลงมา ไม่สามารถเกิด herd immunity ในทางปฏิบัติได้เพราะ ในทางทฤษฎี AZ ต้องฉีด120% Sinovac ต้องฉีด 143% ซึ่งเป็นไปไม่ได้
3.ไม่เกิด Herd immunity ไม่ได้แปลว่าโรคสงบลงชั่วคราวไม่ได้ สงบได้เพราะส่วนหนึ่งเกิดภูมิธรรมชาติหลังการติดเชื้อ และอาศัยการที่เราใช้มาตรการอื่นช่วยเช่น mass testing + isolation + lockdown ( แต่ถ้าโรคสงบ ด้วยการ lockdown แล้วจะบอกว่าสงบแล้ว เกิด herd immunity แล้ว ก็ไม่ถูก ) ยกตัวอย่างเช่น ไทยเอง เมื่อเมษาปีที่แล้ว ยังไม่มีวัคซีน แต่เราใช้ Quarantine + Social Distancing + lockdown จนเคสเป็น 0 จะบอกว่าปีที่แล้วสงบแล้ว และเกิด herd immunity แล้ว มันไม่ถูกต้อง ปีที่แล้วสงบก็จริง แต่ยังห่างไกลกับ herd immunity มาก
4.วัคซีนประสิทธิภาพดีสุดยังเกิด herd immunity ยาก แปลว่า วัคซีนป้องกันการติดเชื้อไม่ได้ ใช่ไหม คำตอบคือไม่ใช่ Pfizer ยังป้องกันการติดเชื้อเดลต้าได้ ( แต่ไม่ 100% ) ตามการศึกษาที่ตีพิมพ์ใน NEJM นี้ ก็ 79.6%
https://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMoa2108891
5.วัคซีนเกิด herd immunity ยาก หรือไม่ได้ งั้นแปลว่าติดเชื้อได้เหมือนกัน เราก็เลือกฉีดวัคซีนอะไรก็ได้ วัคซีนประสิทธิภาพต่ำๆก็ได้ ตามที่ io ชอบอ้าง ใช่ไหม คำตอบคือไม่ใช่ ยิ่งเจอเชื้อที่ดื้อ เชื้อที่เก่ง เรายิ่งต้องเลือกวัคซีนที่ประสิทธิภาพดีสิ ถึงไม่สามารถป้องกันได้ 100% แต่วัคซีนที่ประสิทธิภาพสูงก็ยังลดโอกาสในการนำเชื้อมาติดครอบครัว ติดคนที่เรารักได้มากกว่าวัคซีนประสิทธิภาพต่ำ โอกาสการป่วยหนักและเสียชีวิตก็ยังต่างกัน วัคซีนที่ประสิทธิภาพดีกว่าก็มีตัวเลขลดโอกาสป่วยหนักและเสียชีวิตได้ดีกว่าวัคซีนประสิทธิภาพต่ำ
ฮ่องกง คำนวนความครอบคลุมของวัคซีนที่ต้องฉีดเพื่อให้เกิด Herd Immunity ต่อเชื้อเดลต้า
ส่วน AstraZeneca ต้องฉีดให้ครอบคลุมถึง 120% ของประชากร ซึ่งในทางปฏิบัติทได้ยาก
👉 ทำไมประเทศที่ใช้ mRNA จึงยังมีการระบาดเมื่อเจอเชื้อเดลต้า https://m.ppantip.com/topic/40866991
👉ในการระบาดของ Delta Variant ต้องฉีด mRNA vaccine ให้ครอบคลุมกี่ % ถึงเกิด Herd Immunity
https://m.ppantip.com/topic/40890797
👉โควิด 19 ภูมิคุ้มกันหมู่ (herd immunity) ที่ต้องการเพื่อหยุดยั้งการระบาด ( ยง ภู่วรวรรณ)https://m.ppantip.com/topic/40896282
วันนี้มีการคำนวนมาจากทาง Hong Kong ได้ตัวเลขใกล้เคียงกันครับ คือ ถ้าใช้ Pfizer ต้องฉีดให้ได้ 97% ของประชากร ซึ่งในทางปฏิบัติทำได้ยากมากๆ ถ้าใช้ Sinovac ต้องฉีดถึง 143% ของประชากร ( อันนี้หมายถึง 2 เข็มนะ ) ซึ่งในทางปฏิบัติเป็นไปไม่ได้เลย
จาก FB ดร อนันต์ https://www.facebook.com/100000897943637/posts/4715241358515749/?d=n
พอดีไม่มีฉบับภาคภาษาอังกฤษครับ สไลด์นี้เป็นการคำนวณของทีมวิจัยที่ Hong Kong University เพื่อหาค่า % ของผู้ที่ได้รับวัคซีนแต่ละชนิด เพื่อให้ได้ "ภูมิคุ้มกันหมู่" ต่อไวรัสสายพันธุ์เดลต้า
สรุปง่ายๆคือ ภูมิคุ้มกันหมู่ต่อไวรัสเดลต้า จะเกิดขึ้นได้เมื่อ
97.4% ของประชากร ได้รับวัคซีน Pfizer ครบ 2 เข็ม
142.9% ของประชากร ได้รับวัคซีน CoronaVac/ Sinovac ครบ 2 เข็ม
ตัวเลขนี้คิดค่าประสิทธิภาพของวัคซีน Pfizer ที่ 88% และ Sinovac ที่ 60% ซึ่งถ้าตัวเลขต่ำกว่านี้ ก็จะเกิน 100% ทั้งคู่
ที่มา https://news.rthk.hk/rthk/en/component/k2/1607485-20210825.htm?spTabChangeable=0
-----------------------------------------
สรุปเรื่อง herd immunity ต่อเชื้อเดลต้า จาก 3-4 กระทู้นี้
1.เดลต้าจะเกิด herd immunity ต้องฉีดวัคซีนที่ประสิทธิภาพดีสุด เช่น Pfizer ครอบคลุมถึง 85-95% ซึ่งในทางปฏิบัติเกิดยากมากๆ แต่ในอนาคตอาจมี mRNA vaccine Gen 2 ซึ่งค่า Effectiveness ดีขึ้น ก็อาจทำให้เกิด herd immunity ได้ง่ายขึ้น
2.วัคซีนที่ประสิทธิภาพรองลงมา ไม่สามารถเกิด herd immunity ในทางปฏิบัติได้เพราะ ในทางทฤษฎี AZ ต้องฉีด120% Sinovac ต้องฉีด 143% ซึ่งเป็นไปไม่ได้
3.ไม่เกิด Herd immunity ไม่ได้แปลว่าโรคสงบลงชั่วคราวไม่ได้ สงบได้เพราะส่วนหนึ่งเกิดภูมิธรรมชาติหลังการติดเชื้อ และอาศัยการที่เราใช้มาตรการอื่นช่วยเช่น mass testing + isolation + lockdown ( แต่ถ้าโรคสงบ ด้วยการ lockdown แล้วจะบอกว่าสงบแล้ว เกิด herd immunity แล้ว ก็ไม่ถูก ) ยกตัวอย่างเช่น ไทยเอง เมื่อเมษาปีที่แล้ว ยังไม่มีวัคซีน แต่เราใช้ Quarantine + Social Distancing + lockdown จนเคสเป็น 0 จะบอกว่าปีที่แล้วสงบแล้ว และเกิด herd immunity แล้ว มันไม่ถูกต้อง ปีที่แล้วสงบก็จริง แต่ยังห่างไกลกับ herd immunity มาก
4.วัคซีนประสิทธิภาพดีสุดยังเกิด herd immunity ยาก แปลว่า วัคซีนป้องกันการติดเชื้อไม่ได้ ใช่ไหม คำตอบคือไม่ใช่ Pfizer ยังป้องกันการติดเชื้อเดลต้าได้ ( แต่ไม่ 100% ) ตามการศึกษาที่ตีพิมพ์ใน NEJM นี้ ก็ 79.6% https://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMoa2108891
5.วัคซีนเกิด herd immunity ยาก หรือไม่ได้ งั้นแปลว่าติดเชื้อได้เหมือนกัน เราก็เลือกฉีดวัคซีนอะไรก็ได้ วัคซีนประสิทธิภาพต่ำๆก็ได้ ตามที่ io ชอบอ้าง ใช่ไหม คำตอบคือไม่ใช่ ยิ่งเจอเชื้อที่ดื้อ เชื้อที่เก่ง เรายิ่งต้องเลือกวัคซีนที่ประสิทธิภาพดีสิ ถึงไม่สามารถป้องกันได้ 100% แต่วัคซีนที่ประสิทธิภาพสูงก็ยังลดโอกาสในการนำเชื้อมาติดครอบครัว ติดคนที่เรารักได้มากกว่าวัคซีนประสิทธิภาพต่ำ โอกาสการป่วยหนักและเสียชีวิตก็ยังต่างกัน วัคซีนที่ประสิทธิภาพดีกว่าก็มีตัวเลขลดโอกาสป่วยหนักและเสียชีวิตได้ดีกว่าวัคซีนประสิทธิภาพต่ำ