ติดโควิด-19 หลังฉีดวัคซีน เกิดขึ้นได้จริงหรือ?



ติดโควิด-19 หลังฉีดวัคซีน เกิดขึ้นได้จริงหรือ?



อยากทำความเข้าใจกันก่อนว่าการฉีดวัคซีนโควิด-19 ก็เพื่อวัตถุประสงค์ 3 อย่าง ได้แก่ เพื่อลดอัตราป่วยและตาย (ฉีดวัคซีนให้กลุ่มเสี่ยง) เพื่อปกป้องระบบสุขภาพของประเทศ (ฉีดวัคซีนให้บุคลากรทางการแพทย์) และเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ (ฉีดวัคซีนให้จังหวัดท่องเที่ยว) 

แต่สำหรับคนทั่วไปแล้วน่าจะมีความคาดหวังต่อการได้รับวัคซีน 3 ข้อ คือ 

* ป้องกันการติดเชื้อ เมื่อฉีดวัคซีนแล้วคาดหวังว่าจะไม่ติดเชื้อ
 
* ลดความรุนแรงของโรค ถ้าป้องกันการติดเชื้อไม่ได้ 100 % ก็ผ่อนหนักให้เป็นเบา ป้องกันอาการรุนแรงจนต้องนอนห้องไอซียู หรือถึงขั้นเสียชีวิต

* สร้างภูมิคุ้มกันหมู่ เป็นภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นก็ต่อเมื่อคนส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนครบแล้ว สำหรับคนส่วนน้อย เช่น ผู้ที่มีอายุไม่ถึงเกณฑ์ได้รับวัคซีนหรือมีข้อห้ามในการฉีด ก็จะได้รับการปกป้องไปด้วย



สำหรับวัคซีนส่วนใหญ่ที่ใช้ฉีดในบ้านเราตอนนี้มีอยู่ 2 ชนิด คือ Sinovacและ AstraZeneca สำหรับวัคซีน AstraZeneca มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อแบบมีอาการ 76% แต่ป้องกันอาการรุนแรงหรือเสียชีวิตได้ 100% ขณะที่ผลทดลองทางคลินิกของวัคซีน Sinovacนั้น แตกต่างกันไปตามผลการทดลองของแต่ละประเทศดังนั้นการ “ติดโควิด-19 หลังฉีดวัคซีน” จึงสามารถเกิดขึ้นได้ 



การติดโควิด-19 หลังฉีดวัคซีน อาจทำให้หลายคนเข้าใจผิดว่าเป็นการติดเชื้อจากวัคซีนที่ฉีด แต่ความจริงเราไม่สามารถติดเชื้อจากวัคซีนที่ฉีดได้ เพราะเชื้อโควิด-19 ติดต่อผ่านสารคัดหลัง ผ่านทางเดินใจ ไม่ใช้การฉีดเข้ากล้ามเนื้อและวัคซีนที่ใช้กันอยู่ในขณะนี้ไม่มีเชื้อโควิด-19 ที่มีชีวิตเป็นส่วนประกอบยกตัวอย่าง

* Sinovac เป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย คือผลิตจากไวรัสที่เพาะเลี้ยงขึ้นมา แต่ทำให้ตายแล้วกลายเป็นชิ้นส่วนของไวรัส

* AstraZeneca เป็นวัคซีนชนิดเวกเตอร์ไวรัส (Viral Vector) คือ ตัดต่อสารพันธุกรรมบางส่วน ให้กับไวรัสอะดีโนที่ก่อโรคในลิงชิมแปนซี เพื่อเป็นพาหนะนำเข้าสู่เซลล์ของร่างกาย จากนั้นร่างกายจะถอดรหัสออกมาเป็นโปรตีนหนาม (Spike Protein) ของไวรัสขึ้นมาแสดงที่ผิวเซลล์
 
เมื่อเม็ดเลือดขาวมาพบชิ้นส่วนของไวรัส (วัคซีน Sinovac) หรือโปรตีนหนาม (วัคซีน AstraZeneca) ก็จะเข้าไปจับกิน แล้วขยายผลการจับกุมต่อให้กับเม็ดเลือดขาวอีก 2 ชนิดในที่สุดจะมีการสร้างภูมิคุ้มกันออกมาต้านไวรัส และสร้างเม็ดเลือดขาวที่จดจำเชื้อโควิด-19 ได้ แต่กระบวนการเหล่านี้ใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ หรืออาจมากกว่านั้นแล้วแต่ชนิดของวัคซีนที่ฉีดเข้าไป



ดังนั้นการติดเชื้อ “หลังฉีดวัคซีน” มีความเป็นไปได้สูง หากผู้ป่วยได้รับเชื้อมาก่อนที่จะฉีดวัคซีน หรือฉีดวัคซีนไปแล้วยังไม่ครบ 2 สัปดาห์  การติดเชื้อในช่วงนี้ร่างกายจะยังไม่มีภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีน จึงทำให้มีโอกาสติดเชื้อได้ โดยภูมิคุ้มกันจะเริ่มขึ้นภายใน 2 สัปดาห์ หลังจากฉีดวัคซีนเข็มแรก นอกจากนี้วัคซีนส่วนใหญ่จะต้องฉีดเข็มที่ 2 เพื่อกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันก่อนถึงจะสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ดีขึ้น การฉีดวัคซีนเปรียบเสมือนคู่ซ้อมเลียนแบบการติดเชื้อในธรรมชาติ แต่ใช้เชื้อที่ตายแล้ว หรือหนามโปรตีนของไวรัสกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกัน เมื่อฉีดเข็มที่ 2 กระบวนการทั้งหมดก็จะเริ่มต้นอีกครั้ง แต่เม็ดเลือดขาวที่จดจำไวรัสได้ก็จะเริ่มทำงานทันที ทำให้สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้เร็วขึ้น หากเป็นการติดเชื้อจริงจึงสามารถป้องกันอาการรุนแรงได้ 
 
สำหรับใครที่ฉีดวัคซีนครบแล้วก็ยังคงต้องปฎิบัติตัวเหมือนเดิม ด้วยการสวมใส่หน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง และหมั่นล้างมือบ่อยๆ เพราะยังสามารถติดเชื้อจากผู้อื่นและแพร่เชื้อให้กับผู้อื่นได้
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่