รั้วรังผึ้งป้องกันช้างป่าทำลายพืชไร่

.

.
Beefencing is good!
.
.

.
Ⓒ Lucy King
.
.


การป้องกันพืชไร่จากการบุกโจมตี
ของฝูงช้างป่าไม่ใช่เรื่องง่าย
กสิกรอัฟริกันต้องเผชิญหน้ากับ
การรุกรานของฝูงช้างป่า
ที่เดินเตร็ดเตร่อย่างเสรี
ทั้งกินทั้งทำลายพืชไร่ที่ปลูกไว้อย่างเสรี

จนกระทั่งนักสัตววิทยาชาวอังกฤษ
ที่กำลังทำงานร่วมกับทีมงานวิจัยในเคนย่า
ได้ศึกษาต่อยอดเรื่องพฤติกรรมช้างป่า
ที่มีนักวิชาการเคยศึกษาไว้นานแล้ว
และร่วมกันค้นคว้า/ทดลองและพัฒนา
จนได้วิธีป้องกันที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ
ตามธรรมชาติแล้ว ฝูงช้างป่ากลัวฝูงผึ้ง
พวกมันมักจะหลีกหนีไปทันที
ถ้าได้ยินเสียงหึ่ง ๆ ของฝูงผึ้ง
ฝูงช้างป่าจะส่งเสียงร้องเตือนต่อ ๆ กัน
ในฝูงช้างป่าเพื่อให้หลีกเลี่ยงฝูงผึ้ง
.
.
.

.
Ⓒ www.bring-the-elephant-home.org
.
.


Lucy King นักสัตว์วิทยา
กับเพื่อนร่วมงานทีมวิจัย
ได้แนวคิดนี้มาจากการทดลอง
และสรุปอย่างเป็นตรรกะ
ด้วยการสร้างแนวรั้วป้องกันจากรังผึ้ง
ที่พวกเธอเรียกว่า รั้วรังผึ้ง
ที่เริ่มทดสอบครั้งแรก
ในฟาร์มพืชไร่ชาวบ้านเคนย่า
ด้วยเงินบริจาคจากกองทุนดิสนี่ย์
และกองทุน Save the Elephants

รังผึ้ง 9 รังมีหลังคาคลุม
แต่ละรังจะห่างกัน 10 เมตร
มีเส้นลวดเชื่อมต่อกัน
มีรังผึ้ง 3 รังที่ไม่มีผึ้งอยู่
แต่ทำสำรองไว้ให้ฝูงผึ้งขยายรังในภายหน้า

นักวิจัยพบว่าฟาร์มพืชไร่พืชสวน
ที่ป้องกันฝูงช้างป่าด้วยรังผึ้ง
ดีกว่าการป้องกันแบบอื่น เช่น
รั้วไฟฟ้า/คอนกรีต ยิงขู่ด้วยปืน ฯลฯ
มีความเป็นปรปักษ์/ความขัดแยัง
ระหว่างคนกับช้างป่าน้อยกว่ามาก
.


ตั้งแต่ปี  2002
รั้วรังฝึ้ง เริ่มมีการใช้งานจริง
และขยายตัวเป็นอย่างเร็ว
ในแอฟริกากับเอเซีย
เพราะรั้วแบบนี้สร้างง่ายมาก
สามารถใช้วัสดุในท้องถิ่น
เมื่อเปรียบเทียบกับราคา
รั้วไฟฟ้า/กำแพงคอนกรีต/เสียงปืน

แม้ว่าในรังผึ้งบางรังจะไร้ฝูงผึ้งแล้ว
เพราะย้ายรังหนีหรือราชินีผึ้งตายลง
แต่กลิ่นสาปของรังผึ้งที่ยังหลงเหลืออยู่
ยังสามารถสร้างความหวาดวิตก
ให้กับฝูงช้างป่าได้เช่นกัน

ในการก่อสร้าง
จะมีรังผึ้งว่างเปล่าในอัตรา 3/1
เพื่อสำรองการขยายพันธุ์ผึ้ง
ที่จะขยายตัว/เพิ่มรังผึ้งในอนาคตด้วย

รั้วรังผึ้งมีการเชื่อมต่อกันด้วยเส้นลวด
เมื่อช้างป่าตัวใดตัวหนึ่งเดินไป
กระทบเส้นลวดที่ขึงไว้เป็นแนวป้องกัน
จะทำให้เส้นลวดที่เชื่อมต่อกันสั่นสะเทือน
ทำให้ฝูงผึ้งแตกตื่นฮือกันออกมาทันที
ช่วยไล่ฝูงช้างป่าให้หลีกหนีไปไกลได้
.
.
.

.
Ⓒ BBC / elephantsandbees.com
.
.


ชุมชนกับชาวบ้าน
ยังได้รับประโยชน์จากผึ้ง
จากการเก็บเกี่ยวผลผลิตจากผึ้ง
ด้วยการเกสรผึ้ง ขี้ผึ้ง และน้ำผึ้ง
รวมทั้งเพิ่มผลผลิตพืชสวนพืชไร่
จากการปัองกันการบุกรุกของฝูงช้าง
ทั้งฝูงผึ้งยังมีส่วนช่วยสร้าง
ความหลากหลายทางชีวภาพ
ด้วยการผสมพันธุ์เกสรดอกไม้ในป่า

แม้ว่านักวิจัยจะยังไม่มั่นใจมากนักว่า
ทำไมช้างกลัวผึ้ง

เพราะหนังช้างก็หนาจนผึ้งต่อยไม่ลง
แต่ก็ยังมี ช่องโหว่บางจุด
ที่ผึ้งต่อยช้างได้ เช่น รอบ ๆ ดวงตา
ใบหูช้าง และภายในงวงช้าง
จึงมีความเป็นไปได้ที่ฝูงช้าง
ต่างได้เรียนรู้และมีประสบการณ์
จะหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับฝูงผึ้ง

หมายเหตุ

Dr.Lucy E. King ได้รับแรงบันดาลใจ
ในการทำดุษฏีนิพนธ์เรื่องนี้จาก
Dr.Iain Douglas-Hamilton
ผู้เริ่มต้นศึกษาพฤติกรรมช้างในปี 1960
ที่วนอุทยานแห่งชาติพม่า
ต่อมาไปศึกษาที่แทนซาเนีย
และเริ่มตั้งกองทุนเพื่อขอรับเงินบริจาคช่วยช้าง
The Save The Elephants Charity ในปี 1993

Dr.Lucy E. King ได้รับเงินสนับสนุนจาก
Disney Worldwide Conservation Fund
ในการให้เงินช่วยเหลือในการศึกษา
และทำงานร่วมกับชาวบ้านในเคนย่า
ด้วยความร่วมมือของทางรัฐบาลเคนย่า
ทำให้โครงการนำร่องนี้สัมฤทธิ์ผลอย่างมาก
จึงมีการขยายผลไปใช้ในหลายประเทศ เช่น
แทนซาเนีย คองโก มาลี กาบอง เลโซโธ
มาลี อัฟริกาใต้ จีน ไทย
รวมทั้งมีอีกกองทุน/มูลนิธิต่าง ๆ อีกหลายแห่ง
ต่างให้เงินทุนสนับสนุนกันอย่างมากมาย
สำหรับรั้วรังผึ้งป้องกันฝูงช้างป่า
.

เรียบเรียง/ที่มา

http://goo.gl/A0iFmj
http://goo.gl/xJnBgv
http://goo.gl/9eu52B
http://goo.gl/tMovUS
.

คู่มือสร้างรั้วรังผึ้ง
.
.
.

.
UNEP/CMS Thesis Award 2011
Goes to Researcher on African Elephants
- Lucy King
.
.


.
.

การสร้างรั้วรังผึ้งในไทย
.

.
.


.
.


.
.


.
.

การสร้างรั้วรังผึ้งในอัฟริกา
.

.
.


.
.


.
.


.
.


.
.


.
.


.
.


.
.


.
.



เรื่องเล่าไร้สาระ

พรานป่ามักจะเล่าต่อ ๆ กันมาว่า
ช้างป่ามักจะหลีกเลี่ยงกิ่งไม้ที่มีรังมด
เพราะ ฝูงมด เป็นนักสู้
ในระยะประชิดหรือใกล้รัง
แพ้ฝูงผึ้งที่เป็นนักสู้ระยะไกลหรือไกลรัง

อาหารการกินของฝูงมด
มีโอกาสปนเปื้อนเชื้อโรคชนิดต่าง ๆ สูงมาก
เพราะฝูงมดกินไม่เลือก กินสัตว์ที่ตายแล้ว
หรือสัตว์ชนิดต่าง ๆ ที่พวกมันจับกินได้
นอกเหนือไปจากพวกผลไม้ เห็ด ปลวก ฯลฯ
.
.

ในพระไตรปิฏก พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแย้มพระโอษฐ์ และตรัสว่า
อดีตชาติทรงเป็นพญาช้างพลาย
ชื่อ ฉัททันต์ มีสีขาวปลอด
ปากและเท้าสีแดง  ร่างกายใหญ่โต
มากกว่าช้างเชือกอื่น ๆ ในป่าเดียวกัน
ที่งามีแสงรัศมี 6 ประการ
เปล่งประกายออกมา
มีมเหสีเป็นช้างพัง 2 เชือกชื่อ
มหาสุภัททา กับ จุลลสุภัททา

วันหนึ่งในฤดูร้อน
ป่ารังมีดอกบานสะพรั่ง
พญาช้างฉัททันต์ได้พาบริวารไปหากินที่ป่ารัง
ใช้กระพองชนต้นรังให้ดอกหล่นลงมา
นางช้างจุลลสุภัททายืนอยู่เหนือลม
จึงถูกใบรังเก่า ๆ ติดกับกิ่งไม้แห้ง
มีมดดำมดแดงตกใส่ร่างกาย

ส่วนนางช้างมหาสุภัททายืนอยู่ใต้ลม
เกสรดอกไม้และใบสด ๆ
จึงโปรยปรายใส่ร่างกาย
นางช้างจุลลสุภัททาเห็นเช่นนั้น
จึงเกิดความน้อยเนื้อตำใจว่า
พระสามีโปรดปรานและรักใคร่
แต่นางช้างมหาสุภัททา
ส่วนตนมีแต่มดดำมดแดงร่วงใส่
จึงผูกความอาฆาตในพญาช้างฉัททันต์

อยู่มาวันหนึ่งเป็นวันอุโบสถ
พญาช้างได้ไปอุปัฏฐาก
ถวายน้ำผึ้งแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า

นางช้างจุลลสุภัททาถวายผลไม้แล้ว
ตั้งความปรารถนาไว้ว่า
" สาธุ ถ้าดิฉันตายไปแล้ว
ขอให้ไปเกิดเป็นอัครมเหสี
ของพระราชาผู้มีอำนาจ
สามารถฆ่าพญาช้างนี้ได้ด้วยเทอญ "

นับแต่วันนั้น
นางก็อดหญ้าอดน้ำ ร่างกายผ่ายผอม
ไม่นานก็ล้มป่วยตายไปในป่า
กลับชาติเกิดเป็นธิดาของ
พระราชาในแคว้นมัททรัฐ

เมื่อเจริญวัยแล้ว
ก็ได้เป็นอัครมเหสีของ
พระราชาเมืองพาราณสี
เกิดระลึกชาติถึงเรื่องในอดีตได้
เลยแกล้งล้มป่วยลงแล้ว
ขอให้พระราชาส่งนายพราน
ไปฆ่าช้างฉัททันต์เอางามาให้พระนาง

พรานสณุตระ/โสณุดร
มีเท้าใหญ่ เข่าโต หนวดดก เคราแดง ตาเหลือง
คือ สัญลักษณ์ผู้โหดร้ายรับอาสางานนี้

ในเวลากลางคืน
พรานโหดได้ขุดหลุมสี่เหลี่ยม
เพื่อใช้เป็นที่แอบดักยิง
พญาช้างในเวลาใกล้รุ่ง
คลุมร่างกายมิดชิดด้วยผ้าเหลือง
แล้วลงไปยืนถือธนูมีลูกศรอาบยาพิษ
แอบอยู่ในหลุมทึ่ขุดไว้นั้น
รอการมาของพญาช้าง

วันรุ่งขึ้น
พญาช้างได้พาบริวารออกหากินตามปกติ
เมื่อลงอาบน้ำแล้วก็ขึ้นมายืนบนฝั่งใกล้หลุมนั้น

ทันใดนั้นเอง
พญาช้างก็ร้องขึ้นสุดเสียง
เมื่อถูกลูกศรของนายพราน
ฝูงช้างป่าได้ยินเสียงร้องของพญาช้าง
ต่างตกใจรีบวิ่งหลบหนีเข้าป่าไป

พญาช้างตัวเดียวเหลียวดูที่มาของลูกศรแล้ว
พลิกกระดานขึ้นเห็นนายพรานเท่านั้น
คิดจะจับขึ้นมาฆ่าพอเห็น ผ้าเหลือง
พันกายนายพรานเท่านั้น
ความโกรธก็หายไป ด้วยตระหนักว่า
"ผ้าเหลือง คือ ธงชัยแห่งพระอรหันต์
บัณฑิตไม่ควรทำลาย
ควรสักการะเคารพอย่างเดียวโดยแท้"

จึงกล่าวเป็นคาถาว่า
"ผู้ใดยังไม่หมดกิเลส ปราศจากทมะ
และสัจจะ ผู้นั้น ไม่ควรจะนุ่งห่มผ้าเหลือง
ส่วนผู้ใดคลายกิเลสได้แล้วตั้งมั่นอยู่ในศีล
ประกอบด้วยทมะและสัจจะ
ผู้นั้นแล ควรนุ่งห่มผ้าเหลือง"

แล้วถามนายพรานว่า
"เพื่อนเอ๋ย ท่านยิงเราเพื่อต้องการอะไร
เพื่อตนเอง หรือคนอื่นใช้ให้มาฆ่าเรา"

นายพรานตอบว่า
"พญาช้าง พระนางสุภัททา
มเหสีของพระเจ้ากาสีกราช
ได้ทรงสุบินเห็นท่าน
จึงใช้ให้ข้าพเจ้ามา
เพื่อประสงค์งาทั้งคู่ของท่าน"

พญาช้างก็ทราบโดยทันที
ถึงการผูกเวรของนางจุลลสุภัททา จึงตรัสว่า
"เพื่อนเอ๋ย พระนางสุภัททา
มิใช่จะต้องการงาทั้งสองของเราดอก
ประสงค์จะฆ่าเราเท่านั้น
ถ้าเช่นนั้นก็เชิญเถิดนายพราน
จงหยิบเลื่อยมาตัดงาเรา
ขณะที่เรายังมีชีวิตอยู่เถิด"

นายพรานจึงใช้เลื่อยตัดงาทั้งคู่
แล้วรับถือเอางาทั้งคู่กลับเมืองไป
พญาช้างมอบงาให้นายพรานแล้ว
ตั้งจิตอธิษฐานให้ได้
บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ
แล้วตั้งจิตเมตตาให้นายพราน
เดินทางกลับเมืองด้วยความปลอดภัย
แล้วก็ล้มลงขาดใจตาย

ฝ่ายนางช้างมหาสุภัททา
พร้อมฝูงช้างวิ่งหนีไปได้ระยะทางหนึ่ง
เมื่อไม่เห็นศัตรูตามมาก็พากันกลับมา
เห็นพญาช้างสิ้นใจตายแล้ว
ก็พากันร่ำไห้คร่ำครวญอยู่ ณ ที่ตรงนั้น

ส่วนนายพรานก็นำงาทั้งคู่
เข้าถวายพระนางสุภัททา
พระนางรับคู่งาพญาฉัททันต์
ที่งาอันวิจิตรมีรัศมี ๖ ประการ
วางไว้ที่พระเพลาทอดพระเนตร
เกิดความเศร้าโศกสลดอย่างยิ่ง

ทันใดนั้นเอง
ดวงหทัยของพระนางก็ได้แตกสลาย
สวรรคตในวันนั้นเช่นกัน
แล้ว เกิดใหม่เป็นพระภิกษุณี
ที่รับฟังพระธรรมเทศนา
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าในครั้งนี้

ส่วน นางช้างมหาสุภัททา
ตายแล้วเกิดใหม่เป็นพระอานนท์
พระเลขานุการประจำพระองค์

แต่ทางพุทธนิกายมหายาน
นับถือท่านเป็นเอกอัครสาวกเบื้องซ้าย
พระมหากัสสปะเป็นเอกอัครสาวกเบื้องขวา
เพราะพระสารีบุตร/พระโมคคัลลานะ
ต่างนิพพานไปก่อนหน้านี้แล้ว

ส่วน พรานโหด สณุตระ/โสณุดร
ตายแล้วได้เกิดใหม่เป็นพระเทวทัต
มาจองเวรจองกรรมกับพระศาสดา
จนตกอเวจีมหานรกเพราะถูกธรณีสูบ
ก่อนท่านถูกธรณีสูบลงอเวจีมหานรก
ได้ขอขมา/ถวายเศียรเป็นพุทธบูชา
ทางนิกายมหายานนับถือท่านว่า
จะตรัสรู้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าในอนาคต
เพราะ ไม่มีท่าน ไม่มีพระพุทธเจ้า
หรือ มารบ่มี บารมีบ่เกิด


ในพระไตรปิฏกมีข้อสังเกตว่า
ทุกครั้งที่พระศาสดา แย้มพระโอษฐ์
ก่อนตรัสแสดงพระธรรมเทศนา/พระสูตร
มักจะเป็นอดีตกาลนานมาของวัฏฏสงสาร
ที่พระองค์ทรงผูกเวรผูกกรรมกันมา
กับผู้ที่มารับฟังพระธรรมเทศนา หรือ
รับฟังพระสูตรต่าง ๆ ของพระองค์


ข้อมูลเพิ่มเติม

http://goo.gl/20rZuo
http://goo.gl/NE8EiO
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่