ชีวิตชาวบ้านคลองหวะ-เลี้ยงผึ้ง ปฐมบท
http://www.ppantip.com/cafe/writer/topic/W12991600/W12991600.htmlชีวิตชาวบ้านคลองหวะ-เลี้ยงผึ้ง ปฐมบท
http://www.ppantip.com/cafe/writer/topic/W13060915/W13060915.htmlมีข้อสังเกตจากลุงลัภย์ที่แปลกอย่างคือ
รวงผึ้งที่มีน้ำหวานของผึ้งป่าหรือธรรมชาติ
จะอยู่ที่ส่วนล่างสุดของรังผึ้ง
ตัวอ่อนของผึ้งจะอยู่ด้านบน
ส่วนผึ้งเลี้ยงในกล่องหรือรัง
รวงผึ้งที่มีน้ำหวานจะอยู่ส่วนบนของรังแบบแขวน
เป็นชั้น ๆ ภายในกล่องเลี้ยงผึ้ง
ส่วนตัวอ่อนจะอยู่ด้านล่างของรังผึ้ง
การมีลักษณะที่แตกต่างกันระหว่างรังสองประเภทนี้
น่าจะมาจากในช่วงที่ผึ้งเลี้ยง
เริ่มสร้างรังใหม่ใต้ฝากล่องด้านบน
เมื่อมีพอสมควรแล้วและมากพอ
คนเลี้ยงผึ้งจะทำการตัดรวงผึ้งทั้งรวง
แล้วนำรวงผึ้งมาวางในช่องสี่เหลี่ยมตามภาพ
ที่มีลวดแขวนกั้นอยู่เป็นสองแนว
ให้น้ำหวานอยู่ด้านบน
ส่วนตัวอ่อนจะอยู่ด้านล่าง
พวกผึ้งงานก็จะทำงานตามแบบดังกล่าว
คือ ให้น้ำหวานอยู่ด้านบน
ส่วนพวกตัวอ่อนผึ้งจะอยู่ด้านล่าง
เวลาสิ่งสกปรกตกหล่น
หรือมีตัวผึ้งตายหรือผึ้งอ่อนตาย
จะตกลงที่พื้นด้านล่างของกล่อง
สัปเหร่อผึ้งจะได้หามศพไปทิ้งง่าย ๆ
หรือผึ้งเทศบาลจะทำงานได้สะดวกขึ้น
แต่ถ้าเป็นรังผึ้งป่าตามธรรมชาติ
แรงโน้มถ่วงโลก Gravity
จะทำหน้าที่แทนทั้งหมด
กล่าวคือ วัตถุทั้งหลายจะตกลงสู่พื้นดิน
ด้วยแรงโน้มถ่วงของโลกตามทฤษฏีนิวตัน
ของหนักกับของเบาจะตกสู่พื้นดิน
ด้วยอัตราเร่งเท่าเทียมกันในสภาพไม่มีลมแรงกรรโชก
ตามทฤษฏีของกาลิเลโอ
สองทฤษฏีประกอบกันสำหรับรังผึ้งธรรมชาติ
ทำให้ผึ้งงานประเภทผึ้งเทศบาลกับผึ้งสัปเหร่อ
ทำงานน้อยกว่าผึ้งเลี้ยงในรวงรัง
หรือน่ามาจากหลักอากาศร้อนลอยขึ้นบน
ผึ้งในป่าธรรมชาติจะมีรวงน้ำผึ้งด้านล่าง
รังผึ้งตัวอ่อนจะอยู่ด้านบน
น่าจะเป็นการช่วยให้เวลาฝนตกน้ำฝนไหลลงไปเร็ว
ไม่ค่อยกระทบกระเทือนลูกผึ้งตัวอ่อน
ส่วนน้ำหวานกระทบกระเทือนบ้างแต่จะไม่มากนัก
เพราะมีฝาปิดบาง ๆ ส่วนหนึ่งกับมีลักษณะเหนียวข้น
มีน้ำเจือปนน้อยมาก การที่ผึ้งกระพือปีกเหนือรังน้ำผึ้ง
เป็นการระบายความร้อนและช่วยให้มีการระเหยของน้ำเร็วขึ้น
ส่วนในรังที่มนุษย์สร้างให้กับผึ้งเลี้ยง
น้ำหวานจะอยู่บนเพราะความร้อนจะไหลขึ้นบน
ช่วยให้ไม่ต้องช่วยในการระเหยน้ำในน้ำผึ้งมากนัก
ส่วนด้านล่างอากาศจะเย็นกว่าด้านบนบ้างเล็กน้อย
และไม่ต้องกังวลกับฝนเพราะมีฝาปิดกันฝนได้
ภาพประกอบจาก Internet รังผึ้งก่อนและหลัง
ชีวิตชาวบ้านคลองหวะ-เลี้ยงผึ้ง(ตรีบท)
http://www.ppantip.com/cafe/writer/topic/W12991600/W12991600.html
ชีวิตชาวบ้านคลองหวะ-เลี้ยงผึ้ง ปฐมบท
http://www.ppantip.com/cafe/writer/topic/W13060915/W13060915.html
มีข้อสังเกตจากลุงลัภย์ที่แปลกอย่างคือ
รวงผึ้งที่มีน้ำหวานของผึ้งป่าหรือธรรมชาติ
จะอยู่ที่ส่วนล่างสุดของรังผึ้ง
ตัวอ่อนของผึ้งจะอยู่ด้านบน
ส่วนผึ้งเลี้ยงในกล่องหรือรัง
รวงผึ้งที่มีน้ำหวานจะอยู่ส่วนบนของรังแบบแขวน
เป็นชั้น ๆ ภายในกล่องเลี้ยงผึ้ง
ส่วนตัวอ่อนจะอยู่ด้านล่างของรังผึ้ง
การมีลักษณะที่แตกต่างกันระหว่างรังสองประเภทนี้
น่าจะมาจากในช่วงที่ผึ้งเลี้ยง
เริ่มสร้างรังใหม่ใต้ฝากล่องด้านบน
เมื่อมีพอสมควรแล้วและมากพอ
คนเลี้ยงผึ้งจะทำการตัดรวงผึ้งทั้งรวง
แล้วนำรวงผึ้งมาวางในช่องสี่เหลี่ยมตามภาพ
ที่มีลวดแขวนกั้นอยู่เป็นสองแนว
ให้น้ำหวานอยู่ด้านบน
ส่วนตัวอ่อนจะอยู่ด้านล่าง
พวกผึ้งงานก็จะทำงานตามแบบดังกล่าว
คือ ให้น้ำหวานอยู่ด้านบน
ส่วนพวกตัวอ่อนผึ้งจะอยู่ด้านล่าง
เวลาสิ่งสกปรกตกหล่น
หรือมีตัวผึ้งตายหรือผึ้งอ่อนตาย
จะตกลงที่พื้นด้านล่างของกล่อง
สัปเหร่อผึ้งจะได้หามศพไปทิ้งง่าย ๆ
หรือผึ้งเทศบาลจะทำงานได้สะดวกขึ้น
แต่ถ้าเป็นรังผึ้งป่าตามธรรมชาติ
แรงโน้มถ่วงโลก Gravity
จะทำหน้าที่แทนทั้งหมด
กล่าวคือ วัตถุทั้งหลายจะตกลงสู่พื้นดิน
ด้วยแรงโน้มถ่วงของโลกตามทฤษฏีนิวตัน
ของหนักกับของเบาจะตกสู่พื้นดิน
ด้วยอัตราเร่งเท่าเทียมกันในสภาพไม่มีลมแรงกรรโชก
ตามทฤษฏีของกาลิเลโอ
สองทฤษฏีประกอบกันสำหรับรังผึ้งธรรมชาติ
ทำให้ผึ้งงานประเภทผึ้งเทศบาลกับผึ้งสัปเหร่อ
ทำงานน้อยกว่าผึ้งเลี้ยงในรวงรัง
หรือน่ามาจากหลักอากาศร้อนลอยขึ้นบน
ผึ้งในป่าธรรมชาติจะมีรวงน้ำผึ้งด้านล่าง
รังผึ้งตัวอ่อนจะอยู่ด้านบน
น่าจะเป็นการช่วยให้เวลาฝนตกน้ำฝนไหลลงไปเร็ว
ไม่ค่อยกระทบกระเทือนลูกผึ้งตัวอ่อน
ส่วนน้ำหวานกระทบกระเทือนบ้างแต่จะไม่มากนัก
เพราะมีฝาปิดบาง ๆ ส่วนหนึ่งกับมีลักษณะเหนียวข้น
มีน้ำเจือปนน้อยมาก การที่ผึ้งกระพือปีกเหนือรังน้ำผึ้ง
เป็นการระบายความร้อนและช่วยให้มีการระเหยของน้ำเร็วขึ้น
ส่วนในรังที่มนุษย์สร้างให้กับผึ้งเลี้ยง
น้ำหวานจะอยู่บนเพราะความร้อนจะไหลขึ้นบน
ช่วยให้ไม่ต้องช่วยในการระเหยน้ำในน้ำผึ้งมากนัก
ส่วนด้านล่างอากาศจะเย็นกว่าด้านบนบ้างเล็กน้อย
และไม่ต้องกังวลกับฝนเพราะมีฝาปิดกันฝนได้
ภาพประกอบจาก Internet รังผึ้งก่อนและหลัง