วันนี้จะมีการประชุมคณะอนุกรรมการบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ที่มีคุณอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน ซึ่งเป็นการนัดหารือครั้งแรก เพื่อติดตามความพร้อมของโครงการลงทุนต่าง ๆ ในอีอีซี รวมถึงแผนการส่งมอบพื้นที่โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินด้วย
สำหรับประเด็นปัญหาที่ทำให้โครงการไฮสปีดนี้ยังไม่สามารถลงนามในสัญญาได้ ประเด็นหนึ่งก็มาจากการที่ฝ่ายรัฐไม่ยอมยื่นมือเข้าช่วยเหลือฝ่ายเอกชนในภาวะที่กำลังจะจมน้ำ ซึ่งผิดหลักการสากลของโครงการที่เป็นการร่วมทุนกันระหว่างภาครัฐและเอกชน ที่เรียกว่า PPP หรือ Public Private Partnership
ถ้าย้อนกลับไปดูเหตุผลของการมีโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จะพบว่าโครงการนี้เป็นโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญมาก ที่หวังให้ช่วยดึงดูดนักลงทุนและผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ ให้เข้ามาร่วมลงทุนและร่วมกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศไทย ที่จะเป็นกลไกสำคัญในการยกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพของเศรษฐกิจไทย
เนื่องจากเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่ต้องใช้งบลงทุนสูงมาก จึงถูกออกแบบให้เป็น PPP แถมยังเป็น PPP โครงการแรกของอีอีซีด้วย ซึ่ง ม.ล.สุภสิทธิ์ ชุมพล ที่ปรึกษากลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ให้สัมภาษณ์ว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เป็นโครงการที่จะเพิ่มประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจของรัฐ จริง ๆ แล้วไม่ใช่หน้าที่โดยตรงของเอกชน แต่อาจเป็นข้อจำกัดทางงบประมาณ จึงมีการพัฒนาการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในรูป PPP ซึ่งหลัก PPP คือทำอย่างไรที่จะนำประสิทธิภาพจากภาคเอกชนมาบวกเครดิตเรตติ้งที่ดีที่สุดของภาครัฐ ที่จะมาลงทุนในโครงการพื้นฐานที่ให้ประโยชน์สูงสุดกับประชาชน ในราคาที่ดีที่สุด
ส่วนรูปแบบของการร่วมทุน PPP นั้น คุณประภาส คงเอียด ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กล่าวไว้ว่า การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน เป็นการบริหารการเงินการคลังของภาครัฐ หมายความว่าแทนที่จะใช้งบประมาณของรัฐ ก็ให้เอกชนมาช่วยจัดทำโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะให้ ซึ่งเป็นการประหยัดงบประมาณแผ่นดิน และรัฐไม่ต้องไปกู้เงินมาลงทุนให้เป็นหนี้สาธารณะ ส่วนสาระสำคัญของการร่วมลงทุน ก็คือ จะต้องเป็นการร่วมกัน เป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน โดยการร่วมลงทุนหมายความว่า จะต้องมีส่วนแบ่งของรายได้ ของภาครัฐและเอกชน สะท้อนถึงการดำเนินกิจการร่วมว่า มีผลประโยชน์จากการดำเนินการ และรัฐมีส่วนแบ่ง
ด้าน ดร.คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ก็เคยบอกด้วยว่า การร่วมทุนในโครงการนี้เป็นการดึงเงินจากภาคเอกชน เพื่อแบ่งเบาภาระการลงทุนของรัฐ ช่วยให้รัฐบาลลดภาระทางการคลัง ลดภาระหนี้สาธารณะ เป็นการใช้จ่ายเงินงบประมาณน้อยที่สุด จะได้นำไปทำประโยชน์ด้านอื่น ๆ ให้ได้มากที่สุด
ภายใต้จุดประสงค์ของการร่วมทุนจะเห็นได้ชัดว่า ฟากหนึ่งคือเอกชนกำลังทำหน้าที่ในการเข้ามาช่วยรัฐ แต่อีกฟากหนึ่งคือภาครัฐ เมื่อถึงเวลาที่เอกชนต้องการความช่วยเหลือ แถมเป็นความช่วยเหลือที่ไม่ได้ทำให้รัฐต้องเสียงบประมาณใด ๆ เลย รัฐกลับทำนิ่งเฉย จนสังคมมองว่าเป็นความผิดของฝ่ายเอกชนเองที่ดิ้นรน เหตุนี้จึงสร้างความอึดอัดคับข้องใจไม่น้อยให้กับฝั่งเอกชนอย่างกลุ่ม CPH ที่ชนะการประมูลก่อสร้างโครงการนี้
กระทั่งสองวันก่อน คุณธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสเครือเจริญโภคภัณฑ์ จึงได้เอ่ยปากพูดถึงปัญหาออกมาว่า โครงการนี้มีความเสี่ยงก็จริง แต่ก็มีโอกาสสำเร็จ ถ้ารัฐบาลเข้าใจว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องของรัฐบาล เป็นเรื่องเศรษฐกิจแท้ ๆ ไม่ใช่เรื่องของเอกชน ซึ่งการใช้ PPP หมายถึงรัฐบาลร่วมกับเอกชน โดยเอาจุดเด่นของเอกชนมาบวกกับรัฐบาล และลบจุดอ่อนรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลต้องมาร่วมรับผิดชอบด้วยกันกับเอกชน เหมือนกับเป็นคู่ชีวิตกัน ถ้าเสี่ยงสองคนก็ต้องมาเสี่ยงด้วยกัน ถ้าจะต้องล่ม ก็ล่มด้วยกัน แต่ TOR ที่เขียนออกมากลับไม่ใช่ กลายเป็นว่าให้เอกชนเสี่ยงอยู่ฝ่ายเดียว แต่รัฐบาลไม่ยอมเสี่ยงด้วย
แถมยังบีบให้กลุ่ม CPH ต้องรีบมาเซ็นสัญญาทั้ง ๆ ที่ยังมีเวลาและการเจรจาต่อรองระหว่างสองฝ่ายยังไม่ได้ข้อยุติที่ตกลงกันได้อย่างสมบูรณ์ ด้วยการขู่บังคับว่าหากไม่เซ็นจะริบเงินค้ำประกัน กับขึ้นบัญชีดำทั้งกลุ่ม ไม่ให้มีสิทธิ์ประมูลงานของรัฐได้อีกต่อไป
เล่นมามุขหักหาญน้ำใจกันแบบนี้ ลองเอาใจมานั่งเป็นฟากเอกชนดูบ้าง ยังมีใครอยากจะลงทุนช่วยรัฐบาลอยู่ไหม เพราะเวลาที่รัฐบาลเดือดร้อน เอกชนก็เข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระ เรียกต่างประเทศแทบจะทั่วโลกมาช่วยลงทุนในประเทศไทย เอาเครดิตส่วนตัวไปค้ำประกันให้ว่ามาลงทุนเมืองไทยแล้ว อนาคตรุ่งแน่ แต่พอเอกชนเดือดร้อน ขอให้รัฐค้ำประกันบ้าง รัฐกับไม่แยแส ลอยแพให้เดียวดาย ช่วยเหลือตัวเองไปเถอะ ทั้ง ๆ ที่ทุกวันนี้ทั้งโลก แม้แต่ประเทศในอาเซียนรอบ ๆ เมืองไทยทุกประเทศ รัฐบาลเขาก็สรรหาสารพัดนโยบาย มาจูงใจเอกชนทั้งในและต่างประเทศให้มั่นใจเข้ามาลงทุนกันทั้งนั้น แต่ไทยกลับใช้นโยบายผลักไสการลงทุนของภาคเอกชน
ถ้านักลงทุนเขาทนไม่ไหวจริง ๆ ถือว่าไม่ช่วยกันไม่พอ แถมยังไม่ให้เกียรติกันอีก ถึงขั้นสะบัดบ๊อบทิ้งเมืองไทยไป ไม่หันกลับมาลงทุนอีก ไม่ไว้ใจกันแล้ว ใครจะรับผิดชอบผลที่เกิดขึ้น กับความหวังที่เศรษฐกิจไทยจะได้ลืมตาอ้าปาก และความหวังของคนไทยที่จะได้มีรถไฟความเร็วสูงใช้ มีเทคโนโลยีใหม่ ๆ มีอาชีพ ทักษะ และอะไรต่อมิอะไรดี ๆ ที่จะเข้ามาพร้อมกับรถไฟขบวนนี้ ที่ต้องดับลง เพราะความใจแคบกับการทำงานแบบไม่มืออาชีพ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ฉีกแนวอาเซียน …PPP ฉบับไทยแลนด์ “ศักดิ์สยาม” ชี้เอกชนต้องรับความเสี่ยงเองทั้งหมด
https://www.khaosod.co.th/monitor-news/news_2955770
Q&A ไขปม สัญญารถไฟความเร็วสูง
http://www.cp-enews.com/news/details/cpreal/3153?fbclid=IwAR2B8mtNPiXzw4yRjAZz7tEJQ5vDE6YkrWqjzceTY5PgqUigDaKJ_e4YgwU
PPP รัฐกับเอกชนเป็นคู่กันแล้ว ต้องร่วมกันรับผิดและรับชอบ
สำหรับประเด็นปัญหาที่ทำให้โครงการไฮสปีดนี้ยังไม่สามารถลงนามในสัญญาได้ ประเด็นหนึ่งก็มาจากการที่ฝ่ายรัฐไม่ยอมยื่นมือเข้าช่วยเหลือฝ่ายเอกชนในภาวะที่กำลังจะจมน้ำ ซึ่งผิดหลักการสากลของโครงการที่เป็นการร่วมทุนกันระหว่างภาครัฐและเอกชน ที่เรียกว่า PPP หรือ Public Private Partnership
ถ้าย้อนกลับไปดูเหตุผลของการมีโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จะพบว่าโครงการนี้เป็นโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญมาก ที่หวังให้ช่วยดึงดูดนักลงทุนและผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ ให้เข้ามาร่วมลงทุนและร่วมกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศไทย ที่จะเป็นกลไกสำคัญในการยกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพของเศรษฐกิจไทย
เนื่องจากเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่ต้องใช้งบลงทุนสูงมาก จึงถูกออกแบบให้เป็น PPP แถมยังเป็น PPP โครงการแรกของอีอีซีด้วย ซึ่ง ม.ล.สุภสิทธิ์ ชุมพล ที่ปรึกษากลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ให้สัมภาษณ์ว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เป็นโครงการที่จะเพิ่มประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจของรัฐ จริง ๆ แล้วไม่ใช่หน้าที่โดยตรงของเอกชน แต่อาจเป็นข้อจำกัดทางงบประมาณ จึงมีการพัฒนาการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในรูป PPP ซึ่งหลัก PPP คือทำอย่างไรที่จะนำประสิทธิภาพจากภาคเอกชนมาบวกเครดิตเรตติ้งที่ดีที่สุดของภาครัฐ ที่จะมาลงทุนในโครงการพื้นฐานที่ให้ประโยชน์สูงสุดกับประชาชน ในราคาที่ดีที่สุด
ส่วนรูปแบบของการร่วมทุน PPP นั้น คุณประภาส คงเอียด ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กล่าวไว้ว่า การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน เป็นการบริหารการเงินการคลังของภาครัฐ หมายความว่าแทนที่จะใช้งบประมาณของรัฐ ก็ให้เอกชนมาช่วยจัดทำโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะให้ ซึ่งเป็นการประหยัดงบประมาณแผ่นดิน และรัฐไม่ต้องไปกู้เงินมาลงทุนให้เป็นหนี้สาธารณะ ส่วนสาระสำคัญของการร่วมลงทุน ก็คือ จะต้องเป็นการร่วมกัน เป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน โดยการร่วมลงทุนหมายความว่า จะต้องมีส่วนแบ่งของรายได้ ของภาครัฐและเอกชน สะท้อนถึงการดำเนินกิจการร่วมว่า มีผลประโยชน์จากการดำเนินการ และรัฐมีส่วนแบ่ง
ด้าน ดร.คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ก็เคยบอกด้วยว่า การร่วมทุนในโครงการนี้เป็นการดึงเงินจากภาคเอกชน เพื่อแบ่งเบาภาระการลงทุนของรัฐ ช่วยให้รัฐบาลลดภาระทางการคลัง ลดภาระหนี้สาธารณะ เป็นการใช้จ่ายเงินงบประมาณน้อยที่สุด จะได้นำไปทำประโยชน์ด้านอื่น ๆ ให้ได้มากที่สุด
ภายใต้จุดประสงค์ของการร่วมทุนจะเห็นได้ชัดว่า ฟากหนึ่งคือเอกชนกำลังทำหน้าที่ในการเข้ามาช่วยรัฐ แต่อีกฟากหนึ่งคือภาครัฐ เมื่อถึงเวลาที่เอกชนต้องการความช่วยเหลือ แถมเป็นความช่วยเหลือที่ไม่ได้ทำให้รัฐต้องเสียงบประมาณใด ๆ เลย รัฐกลับทำนิ่งเฉย จนสังคมมองว่าเป็นความผิดของฝ่ายเอกชนเองที่ดิ้นรน เหตุนี้จึงสร้างความอึดอัดคับข้องใจไม่น้อยให้กับฝั่งเอกชนอย่างกลุ่ม CPH ที่ชนะการประมูลก่อสร้างโครงการนี้
กระทั่งสองวันก่อน คุณธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสเครือเจริญโภคภัณฑ์ จึงได้เอ่ยปากพูดถึงปัญหาออกมาว่า โครงการนี้มีความเสี่ยงก็จริง แต่ก็มีโอกาสสำเร็จ ถ้ารัฐบาลเข้าใจว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องของรัฐบาล เป็นเรื่องเศรษฐกิจแท้ ๆ ไม่ใช่เรื่องของเอกชน ซึ่งการใช้ PPP หมายถึงรัฐบาลร่วมกับเอกชน โดยเอาจุดเด่นของเอกชนมาบวกกับรัฐบาล และลบจุดอ่อนรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลต้องมาร่วมรับผิดชอบด้วยกันกับเอกชน เหมือนกับเป็นคู่ชีวิตกัน ถ้าเสี่ยงสองคนก็ต้องมาเสี่ยงด้วยกัน ถ้าจะต้องล่ม ก็ล่มด้วยกัน แต่ TOR ที่เขียนออกมากลับไม่ใช่ กลายเป็นว่าให้เอกชนเสี่ยงอยู่ฝ่ายเดียว แต่รัฐบาลไม่ยอมเสี่ยงด้วย
แถมยังบีบให้กลุ่ม CPH ต้องรีบมาเซ็นสัญญาทั้ง ๆ ที่ยังมีเวลาและการเจรจาต่อรองระหว่างสองฝ่ายยังไม่ได้ข้อยุติที่ตกลงกันได้อย่างสมบูรณ์ ด้วยการขู่บังคับว่าหากไม่เซ็นจะริบเงินค้ำประกัน กับขึ้นบัญชีดำทั้งกลุ่ม ไม่ให้มีสิทธิ์ประมูลงานของรัฐได้อีกต่อไป
เล่นมามุขหักหาญน้ำใจกันแบบนี้ ลองเอาใจมานั่งเป็นฟากเอกชนดูบ้าง ยังมีใครอยากจะลงทุนช่วยรัฐบาลอยู่ไหม เพราะเวลาที่รัฐบาลเดือดร้อน เอกชนก็เข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระ เรียกต่างประเทศแทบจะทั่วโลกมาช่วยลงทุนในประเทศไทย เอาเครดิตส่วนตัวไปค้ำประกันให้ว่ามาลงทุนเมืองไทยแล้ว อนาคตรุ่งแน่ แต่พอเอกชนเดือดร้อน ขอให้รัฐค้ำประกันบ้าง รัฐกับไม่แยแส ลอยแพให้เดียวดาย ช่วยเหลือตัวเองไปเถอะ ทั้ง ๆ ที่ทุกวันนี้ทั้งโลก แม้แต่ประเทศในอาเซียนรอบ ๆ เมืองไทยทุกประเทศ รัฐบาลเขาก็สรรหาสารพัดนโยบาย มาจูงใจเอกชนทั้งในและต่างประเทศให้มั่นใจเข้ามาลงทุนกันทั้งนั้น แต่ไทยกลับใช้นโยบายผลักไสการลงทุนของภาคเอกชน
ถ้านักลงทุนเขาทนไม่ไหวจริง ๆ ถือว่าไม่ช่วยกันไม่พอ แถมยังไม่ให้เกียรติกันอีก ถึงขั้นสะบัดบ๊อบทิ้งเมืองไทยไป ไม่หันกลับมาลงทุนอีก ไม่ไว้ใจกันแล้ว ใครจะรับผิดชอบผลที่เกิดขึ้น กับความหวังที่เศรษฐกิจไทยจะได้ลืมตาอ้าปาก และความหวังของคนไทยที่จะได้มีรถไฟความเร็วสูงใช้ มีเทคโนโลยีใหม่ ๆ มีอาชีพ ทักษะ และอะไรต่อมิอะไรดี ๆ ที่จะเข้ามาพร้อมกับรถไฟขบวนนี้ ที่ต้องดับลง เพราะความใจแคบกับการทำงานแบบไม่มืออาชีพ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้