--- จิตมี เอกัคคตา(ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว)เจตสิก อยู่เสมอ /ถ้าทำให้มีติดต่อกัน ก็เป็นสมาธิที่มีกำลังมากขึ้น ตามลำดับ

(กระทู้เพื่อสนทนา แบ่งปัน แลกเปลี่ยน (ตั้งในหมวดกระทู้คำถามเพื่อให้สมาชิกทุกท่านส่งความเห็นได้ ))

_________

  ขออนุญาตเสนอ ความเห็นที่ผม เห็นว่า ทำให้เกิดความเข้าใจ เกี่ยวกับ องค์ประกอบของสมาธิ ที่มีอยู่ในจิตตามปกติ อยู่แล้ว

และ สาเหตุที่ทำให้เกิดสมาธิ ระดับต่างๆ

   ที่ สมาชิกท่านหนึ่ง(ท่านทำหมู)​กรุณาอธิบายให้ ผมฟัง  นะครับ

      มีข้อคิดเห็น  หรือมีข้อเสนอแนะใด  กรุณาแจ้งที่ตัวผม ผู้นำมา  ไม่เกี่ยวกับท่านที่อธิบายให้ผมฟังนะครับ
.

.
_____________________

https://ppantip.com/topic/39271598/comment16-1

ความคิดเห็นที่ 16-1 
 
เจตสิกแต่ละชนิด มีกิจของตน มีทำหน้าที่ของตนเพียงอย่างเดียว
ซึ่งพระบรมศาสดา ได้จำแนกเจตสิกออกเป็น 52 ชนิดด้วยกัน
ในเจตสิกทั้งหมด 52 ชนิด มีอยู่ 7 ชนิดที่เกิดกับจิตทุกดวง คือ
1. ผัสสะ (ความกระทบอารมณ์)
2. เวทนา (ความเสวยอารมณ์)
3. สัญญา (ความหมายรู้อารมณ์)               
4. เจตนา (ความจงใจต่ออารมณ์)
5. เอกัคคตา (ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว)
6. ชีวิตินทรีย์ (สภาวะที่เป็นใหญ่ในการรักษานามธรรมทั้งปวง)
7. มนสิการ (ความกระทำอารมณ์ไว้ในใจ, ใส่ใจ)

เจตสิกทั้ง 7 เป็นเหมือนกับคำสั่งพื้นฐานของจิต ที่รอรับการทำงานในหน้าที่ต่างๆ เอกัคคตาเจตสิก เป็นเจตสิกที่สำคัญอีกตัว ที่รอการทำงานของจิตเมื่อมีการกระทบ หน้าที่คือ ทำให้จิตใส่ใจในอารมณ์ที่ปรากฏ
เมื่อมีการเห็น จิตจะไปใส่ใจในกิจอื่นไม่ได้ ต้องใส่ใจในกิจเห็นอย่างเดียว เมื่อมีการนึกคิดเอกัคคตาจะทำหน้าที่ใส่ใจในเรื่องที่คิด จิตจึงมีการเรียบเรียงเป็นเรื่องเป็นราว เป็นสัตว์ เป็นบุคคลได้ ทังนี้ไม่ใช่ว่าเป็นเรื่องที่เราไปทำ แต่เป็นธรรมชาติของจิต-เจตสิก ทำอย่างนี้ร่วมกันมาเป็นแสนโกฏิกัปแล้ว

โดยปกติแล้ว ใน 1 วินาที จิตเกิดดับเป็นสนโกฏิขณะ เกิดวิถีจิตนับล้านวิถี ทั้งเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส กระทบสัมผัส และนึกคิด เอกัคคตาเจตสิกในแต่ละขณะก็ทำกิจในเรื่องต่างๆ สลับกันไป เอกัคคตาจึงมีสภาพไม่ตั้งในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งติดต่อกัน จึงไม่มีกำลัง

สำหรับคนที่มีความต้องการในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่นตั้งใจอ่านหนังสือ ตั้งใจคิด ตั้งใจเล่นกีฬา เอกัคคตาก็จะทำหน้าที่ ตั้งมั่นในเรื่องที่ตนทำอย่างมากในเรื่องนั้นๆ จึงเป็นสมาธิที่มีกำลังขึ้นมา นี้ก็เรียกว่าสมาธิแต่ก็ไม่แนบแน่น เพราะยังมีการสลับอารมณ์ในทวารต่างๆไปมา

สำหรับฌานแล้ว เป็นสภาพที่ต่างกันมาก เพราะเมื่อผู้ปฏิบัติพยายามเพิ่กอารมณ์ (ทำเป็นไม่สนใจ) ที่เกิดทางทวารต่างๆ สนใจแต่มโนทวาร ปิดหู หลับตา ท่องบ่นบริกรรมเรื่องๆเดียวในเวลาหนึ่ง หากจิตละความกังวลเรื่องต่างๆได้ สนใจแต่คำบริกรรม เอกัคคตาก็จะทำหน้าที่ของตนติดต่อกันในเรื่องเดียว ในส่วนของมโนวิญญาน เอกัคคตาชนิดนี้จึงมีกำลังมาก

ในฌาน 1 มีองค์ธรรม 5 องค์มีกำลังน้อย 
ฌาน 2 มีองค์ธรรม 3 
ฌาน 3 มีองค์ธรรม 2 
และฌาน 4 มีองค์ธรรม 2 

จะเห็นได้ว่าฌานยิ่งสูง องค์ธรรมยิ่งน้อย นั้นเป็นเพราะเอกัคคตามุ่งทำกิจในเรื่องเดียว 

ยิ่งกิจที่ทำเป็นเรื่องเป็นราวซับซ้อน กำลังของสมาธิยิ่งน้อย 

ในทางกลับกัน อารมณ์ยิ่งว่างเท่าใด กำลังของสมาธิก็ยิ่งมาก

ฌานถ้าฝึกได้ ย่อมมีประโยชน์ แต่การได้ฌานไม่ใช่เรื่องง่าย และไม่ใช่ว่าทุกคนจะทำแล้วได้ เพราะการได้ฌาน ต้องอาศัยปัจจัยแบบข้ามภพชาติเช่นเดียวกับการบรรลุธรรม

  ทำหมู  
8 ชั่วโมงที่แล้ว

______________

ความคิดเห็นที่ 16-2
.
.
.
.
-----  โอ  ชัดเจน  แจ่มแจ้งยิ่งนัก  เหมือนเปิดไฟในที่เคยมืด  ให้เห็นสิ่งของที่ เคยมองไม่เห็น  ทำให้เห็นอย่างแจ่มแจ้ง
    ขอบพระคุณท่านทำหมู อย่างยิ่งครับ  ทำให้เข้าใจสภาวะของสมาธิ 
และเงื่อนไข ของการเกิดสมาธิที่มีกำลังมากขึ้นเรื่อย จนเป็นฌาน ได้ 
ขอบพระคุณอย่างยิ่งครับ
และขออนุญาตนำคำอธิบายไปตั้งเป็นกระทู้ เพื่อประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจนะครับ
_/\_
แก้ไขข้อความเมื่อ 1 ชั่วโมงที่แล้ว

  วงกลม   
1 ชั่วโมงที่แล้ว
______________
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่