เคสแต่ละเคสใน My Ambulance รักฉุดใจนายฉุกเฉิน มีความเชื่อมโยงกันดีแฮะ

ชอบบทเรื่องนี้ตรง
ไม่ได้ใส่ความรู้ด้านการแพทย์มาแบบทิ้งๆขว้างๆอ่ะ 
แต่มีความเน้นย้ำความรู้ต่างๆที่เคยนำเสนอไปแล้ว ด้วยเคสใหม่ๆที่มีความต่อเนื่องกัน จนคนดูได้ความรู้ไปด้วย

เช่น

🚑 - เคสวาฬหัวใจหยุดเต้นใน EP. 2 เชื่อมโยงและเน้นย้ำวิธีการช่วยชีวิตด้วยเคสหมอเต่าใน EP.6 : การปั๊มหัวใจ กับ การดามคอไว้ขณะปั๊ม



ฉลาม EP. 2 : “ตอนไอ้วาฬมันล้ม คอมันอาจจะหักก็ได้ ถ้าพี่ปั๊มหัวใจแรง คอมันมีสิทธิขยับได้..ผมกลัวมันตื่นมาแล้วเป็นอัมพาต ...ผมจะรองหัวมันแบบนี้ พี่ปั๊มแรงๆเลย 1.. 2.. 3...”

วาฬ EP. 6 : "ทิวเขาอย่าปล่อยมือนะ ! ....ที่นายกำลังห้ามเลือดกับดามกระดูกคอไว้อยู่ มันสำคัญนะ"




🚑 - เคสน้องขิมใน EP. 2 เชื่อมโยงกับ หมอเป้งสอนฉลามใน EP. 5 และเคสทานตะวันใน EP. 6 : Tension Pneumothorax = ภาวะลมรั่วในปอดฉับพลัน และปริมาณมากจนกดเบียดหลอดเลือดดำใหญ่ ทำให้ความดันโลหิตต่ำลง มีความจำเป็นต้องใช้เข็มขนาดใหญ่เจาะระบายลมออก และใส่สายระบายทรวงอก เพื่อให้ลมได้ระบายออกไป 




หมอเป้งสอนฉลามใน EP. 5 : "ช่องกระดูกซี่โครงชิ้นที่5 เนื้อมันจะบางกว่า เจาะแล้วมีโอกาสสำเร็จสูงกว่า"

5th Intercostal space anterior to midaxillary line = ช่องซี่โครงที่ 5 บริเวณแนวหน้าต่อรักแร้
เป็นบริเวณที่ผนังทรวงอกบาง ช่องระหว่างกระดูกซี่โครงกว้าง และอยู่ห่างจากอวัยวะที่สำคัญ เป็นตำแหน่งที่ใช้ในการเจาะระบายลมในภาวะ Tension pneumothorax






🚑 -  เคสบะหมี่ใน EP. 1 เชื่อมโยงกับ เคสเล็กใน EP. 6 : Load IV = การให้สารน้ำปริมาณมากทางหลอดเลือดดำอย่างรวดเร็ว
เคสบะหมี่จำเป็นต้องเช็คว่าเลือดออกในสมองมั้ยโดยการเปิด IV = การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ และเช็คผล CT brain= เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง) เรามาเจอคำนี้อีกครั้งในเคสของเล็กที่บาดเจ็บเพราะโดดสะพาน







🚑 - เคสน้องมุกใน EP. 2 เชื่อมโยงกับเคสน้องมุกกับคุณพ่อใน EP. 8 : เป็นโรคหัวใจเพราะกรรมพันธุ์จากพ่อ หรือเป็นการเน้นย้ำว่า หากมีญาติผู้ใหญ่ในบ้านเป็นโรคหัวใจ เด็กก็ถือว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่จะเป็นเหมือนกัน






🚑 - เคสทิวเขาที่แพ้ควันใน EP. 4  กับการเน้นย้ำเรื่องอาการแพ้อีกครั้งใน EP. 6 (และอาจมีประเด็นอีกในอนาคต)



🚑 ความรู้จากเคสอื่นๆที่น่าจะถูกนำมาย้ำอีกครั้งในอนาคต🌻

- เคสหมอเป้งเด็ก EP. 3 : Dyspepsia = ภาวะอาการดีสเปปเซีย ภาวะนี้จะมีอาการปวดท้องหรือไม่สบายท้องที่สันนิษฐานว่าน่าจะมีสาเหตุจากความผิดปกติของกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้น จะมีอาการอึดอัด แน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ บริเวณลิ้นปี่หรือเหนือสะดือ หากมีอาการควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคต่อไป

- เคสหมอเป้งเด็ก EP. 3 : Ruptured Abdominal Aortic Aneurysm = ภาวะหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในช่องท้องแตก อาการของโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในช่องท้อง พบว่าส่วนมากคนไข้จะไม่มีอาการ แต่มักมาพบแพทย์ด้วยเรื่องคลาเจอก้อนเต้นได้ในช่องท้อง ในผู้ป่วยบางรายมีอาการปวดท้อง ปวดหลัง หรือปวดท้องร้าวไปถึงหลังร่วมด้วย กรณีนี้อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าหลอดเลือดนี้กาลังจะแตก หากไม่ได้รับการรักษาจะส่งผลให้หลอดเลือดแตกและเสียชีวิตในที่สุด

- เคสอาม่า EP.5 : MI (Myocardial infarction) = ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เป็นภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจตาย จากการที่เลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจส่วนนั้นไม่เพียงพอ

- เคสทานตะวัน EP. 6 : Maintain Airways = ดูแลระบบทางเดินหายใจเป็นพื้นฐานเบื้องต้นที่สำคัญในการช่วยการหายใจของผู้ป่วย เพราะถ้าเปิดทางเดินหายใจได้ช้าหรือช่วยหายใจไม่ได้ ทำให้สมองขาดออกซิเจน ก็จะมีผลเสียต่อสมองแบบถาวร หรือทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้

เม่าอ่าน
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่