ล่าสุดทางสำนักพิมพ์ผู้จัดการ - MGR Online ได้ออกมาวิเคราะห์แล้วว่า ทำไมเอกชนผู้ชนะการประมูล หรือ ซีพี ทำไมถึงต้องยื้อการลงนามโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จนผ่านมาเกือบจะครบปีแล้ว และทำไมถึงยังไม่สามารถลงนามสัญญากันได้
มีประเด็นปัญหาที่สำคัญ และน่าสนใจหลายเรื่อง ที่ทางการรถไฟฯ เอง ไม่เคยออกมาพูดถึงเลย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ที่อยู่ตามแนวเส้นทาง ทั้งบนดิน และใต้ดิน เช่น
• ท่อส่งน้ำมัน ขนาดใหญ่ยาวเกือบ 100 กม.
• ท่อส่งก๊าซ
• อุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่ ของกทม. คาดว่าน่าจะเป็น ... อุโมงค์ปริศนา ... "อุโมงค์ระบายน้ำบางซื่อ"
• ท่อส่งน้ำประปาขนาดใหญ่
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ถ้าใครจำเหตุการณ์ช่วงปี 2556 ได้ ที่
ท่อประปาขนาดใหญ่แยกราชปรารภแตก ทำให้น้ำทะลักออกมาท่วมบ้านเรือนประชาชนและถนนสูงปริ่มฟุตบาท ส่งผลต่อการจราจรอย่างหนัก สาเหตุจากคนงานวางท่อร้อยสายไฟฟ้าไปกระทบกับท่อประปา
จนทำให้มีการล้อเลียนท่อประปาแตกที่ราชปรารภกันอย่างสนุกสนาน ลองหาคำว่า "ล้อเลียนท่อน้ำแตกที่ราชปรารภ"
• สายส่งไฟฟ้าแรงสูงขนาด500KV (500,000
กิโลโวลต์) ในขณะที่แรงดันไฟฟ้าที่ใช้ตามบ้านเรือนของไทยอยู่ที่ 220 V. เท่านั้นเอง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ในปัจจุบันระบบส่งไฟฟ้าแรงสูงของ กฟผ. ใช้ระดับแรงดันไฟฟ้า คือ 69 กิโลโวลต์ (ปัจจุบันใช้อยู่น้อยมาก) 115 กิโลโวลต์ 230 กิโลโวลต์ และ 500 กิโลโวลต์ ซึ่งถือเป็นไฟฟ้าแรงสูงทั้งหมด และในอนาคต หากมีความต้องการพลังงานไฟฟ้ามากขึ้นและต้องส่งพลังงานไฟฟ้าในระยะไกลมากขึ้น อาจจะมีระดับแรงดันไฟฟ้าที่มากกว่า 500 กิโลโวลต์
โดยเสาส่งไฟฟ้าที่ใช้งานอยู่ 3 ชนิด คือ เสาคอนกรีต เสาโครงเหล็ก และเสาชนิด Monopole ซึ่งจะใช้เสาประเภทใดนั้น ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและความเหมาะสมของสภาพพื้นที่ที่ตั้งเสาไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้า และจำนวนสายที่ใช้ในระบบของ กฟผ.
กระแสไฟฟ้าสามารถกระโดดจากสายไฟฟ้าข้ามผ่านอากาศได้ โดยไม่จำเป็นต้องสัมผัสถูกสายไฟฟ้า แค่เพียงเข้าใกล้สายไฟฟ้าก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ การใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตระบบโครงข่ายไฟฟ้าจะต้องควบคุมดูแลและจำกัดการทำงานต่างๆ อย่างระมัดระวังและให้มีความปลอดภัยสูงสุด โดยไม่ควรเข้าใกล้สายส่งไฟฟ้าแรงสูงในรัศมี 4 เมตร
• MissingLink ช่วงพญาไทถึงสถานีจิตรลดาที่จะมาบรรจบกันของรถไฟ 3 ระบบ คือ รถไฟสายสีแดง, รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และรถไฟของรฟท.
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แทบจะเรียกได้ว่า เสาตอม่อโครงการโฮปเวลล์ กลายเป็นเรื่องเล็กไปเลยเมื่อเทียบกับปัญหาต่างๆ ที่โดนขุดคุ้ยขึ้นมา
ทำให้ยิ่งไม่น่าแปลกใจเลยว่า "ทำไมซีพีถึงไม่ยอมลงนามสัญญา" สักที
ก็ได้แต่หวังว่า โครงการนี้จะไม่เป็น ... โครงการโฮปเวลล์ 2 ...
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้กลุ่มซีพี พร้อมเซ็นสัญญาไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน ตามที่ 'อนุทิน' กำหนด ชี้ 'ยักษ์ใหญ่' หนุนโครงการนี้ต้องเกิด วงในระบุ ซีพี ล่าช้า เพราะสำรวจพบวิกฤตในพื้นที่ก่อสร้าง ทั้งท่อน้ำมัน อุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่ สายไฟแรงสูงขนาด 500 KV ถ้าเปลี่ยน Root ต้องใช้เวลา 1-2 ปีจึงจะเดินงานได้ ยันตอม่อโฮปเวลล์ ไร้ปัญหา ซีพีจ่ายเอง ส่วนท่อส่งน้ำมัน ท่อส่งก๊าซ Block Station และ Block Valve ระยะทางถึง 70 กม.ยังไร้คำตอบ เสนอรัฐขอใช้ NTP เมื่อเห็นชัดว่าโครงการนี้จะแล้วเสร็จใน 5 ปี ขณะที่ 'อนุทิน' สั่ง ร.ฟ.ท.ต้องยอมเพื่อให้ไฮสปีดเทรนเกิดได้!
โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ที่กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่ม CPH) เป็นผู้ชนะการประมูล พร้อมแล้วที่จะลงนามทำสัญญาเพื่อดำเนินการตามที่กำหนดไว้ และคาดว่าการลงนามจะเกิดขึ้นตามที่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีรับผิดชอบกระทรวงคมนาคม ได้กำหนดไว้ในวันที่ 15 ตุลาคมนี้
ว่าไปแล้วโครงการนี้ในสมัยรัฐบาลบิ๊กตู่ 1 ที่มีรองนายกฯ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นผู้กำกับดูแล ก็มีความพยายามที่จะให้เซ็นสัญญาให้แล้วเสร็จก่อนมีการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มี.ค. ที่ผ่านมา แต่ด้วยปัญหาต่างๆ ทำให้การเจรจาไม่สามารถหาข้อยุติได้ ขณะที่สังคมรวมไปถึงนักพัฒนาที่ดิน ก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า ซีพี จะเข้ามาตักตวงผลประโยชน์จากภาครัฐและต้องการที่ดินมักกะสัน 150 ไร่ ซึ่งเป็นที่ดินทำเลทองใจกลางเมือง ที่มีราคาซื้อขายสูงถึงตารางวาละ 1.5 ล้านบาท เมื่อพัฒนาเป็นคอมเพล็กซ์ขนาดใหญ่ จะมีราคาต่อตารางเมตรละ 120,000-150,000 บาท ซึ่งตามเงื่อนไขต้องมีพื้นที่อาคารรวม 850,000 ตร.ม. และหากพัฒนาได้มากกว่า 850,000 ตร.ม. ก็ยิ่งสร้างมูลค่าให้ซีพีมากขึ้น
น้ำลดตอผุด "เสาโฮปเวลล์" ไม่ใช่ปัญหาใหญ่ที่รฟท.ซุกไว้ใต้พรม
มีประเด็นปัญหาที่สำคัญ และน่าสนใจหลายเรื่อง ที่ทางการรถไฟฯ เอง ไม่เคยออกมาพูดถึงเลย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ที่อยู่ตามแนวเส้นทาง ทั้งบนดิน และใต้ดิน เช่น
• ท่อส่งน้ำมัน ขนาดใหญ่ยาวเกือบ 100 กม.
• ท่อส่งก๊าซ
• อุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่ ของกทม. คาดว่าน่าจะเป็น ... อุโมงค์ปริศนา ... "อุโมงค์ระบายน้ำบางซื่อ"
• ท่อส่งน้ำประปาขนาดใหญ่
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
• สายส่งไฟฟ้าแรงสูงขนาด500KV (500,000
กิโลโวลต์) ในขณะที่แรงดันไฟฟ้าที่ใช้ตามบ้านเรือนของไทยอยู่ที่ 220 V. เท่านั้นเอง[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
• MissingLink ช่วงพญาไทถึงสถานีจิตรลดาที่จะมาบรรจบกันของรถไฟ 3 ระบบ คือ รถไฟสายสีแดง, รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และรถไฟของรฟท.
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้