EEC - รถไฟความเร็วสูงกำหนดเดดไลน์ "ร.ฟ.ท. - ซีพี" ก.ย. นี้

“บิ๊กตู่” เดดไลน์เซ็นสัญญาไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ปีดดีล 2.24 แสนล้าน ก.ย.นี้ วงในหวั่นหลุดเป้า ร.ฟ.ท.เคลียร์พื้นที่เวนคืน ผู้บุกรุก รื้อย้ายสาธารณูปโภคยังไม่ลงตัว คาดส่งมอบพื้นที่ 4,421 ไร่ได้หมดใช้เวลา 2-3 ปี “ซี.พี.” สั่งอิตาเลียนไทยฯ รื้อแบบใหม่ บีบค่าก่อสร้างอยู่ในกรอบและกำหนดเวลา 5 ปี หลังเงินลงทุนส่อเค้าบานมากกว่า 1 พันล้าน “เปรมชัย” เปิดใจยอมรับโครงการก่อสร้างยาก คาดเริ่มตอกเข็มต้นปี”63 
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ

จะเห็นได้ว่า ทางฝ่ายของการถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ติดปัญหาใหญ่ในเรื่องของการส่งมอบพื้นที่ให้กับเอกชน เพราะ
• ปัญหาเรื่องของผู้บุกรุกพื้นที่ ที่ยังไม่สามารถเคลียร์ให้ออกจากพื้นที่ส่งมอบได้ทั้งหมด 100%
• ปัญหาเรื่องของระบบสาธารณูปโภคตามแนวเส้นทาง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ ท่อส่งน้ำมัน ท่อส่งก๊าซ ท่อสายไฟฟ้าแรงสูง ท่อประปาแรงดันสูง และอื่นๆ แถมทางรฟท. เองก็ไม่มีข้อมูลแนววางท่อที่ชัดเจน

ส่วนฝ่ายเอกชน (ซีพี) ก็ติดปัญหาใหญ่เช่นเดียวกัน เพราะ
• ทางรฟท.จะขยายเวลาส่งมอบรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินให้ แต่ก็ต้องไม่ลืมว่า ดอกเบี้ยที่เอกชนไปกู้ยืมมาเพื่อก่อสร้างไม่ได้หยุดไปด้วย ทำให้ทางซีพีจะมีต้นทุนในการก่อสร้างโครงการฯ ที่สูงขึ้นกว่าที่กำหนดไว้
• การปรับการก่อสร้างให้หลีกเลี่ยงเส้นทางที่มีสิ่งกีดขวางทั้งบนดิน และใต้ดิน ทำให้ต้องมีการออกแบบและปรับแบบใหม่ให้เหมาะสม ซึ่งแน่นอนว่า การปรับเปลี่ยนแบบก็ย่อมจะทำให้ต้นทุนสูงขึ้นกว่าที่กำหนดไว้อีก
• การต่อต้านจากทั้งสหภาพการรถไฟแห่งประเทศไทย และชุมชนที่ต่อต้านผังเมืองอีอีซี ที่รัฐบาลไม่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำผังเมือง

ส่วนคนที่กำลังรอรถไฟฯ สายนี้ ก็อาจจะต้องรอกันต่อไปว่า
จะได้นั่งในรัฐบาลนี้ หรือรัฐบาลหน้า หรือคนไทยจะไม่มีวันได้นั่งเลย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่