ความฝันที่จะเห็นสายไฟ สายเคเบิ้ล สายโทรศัพท์ ในกรุงเทพปริมณฑลอยู่ใต้ดินเพื่อความสวยงาม ตามมติคณะรัฐมนตรี อาจจะไม่ง่ายในทางปฏิบัติ ที่เห็นพาดอยู่บนเสาไฟฟ้าจำนวนมากดำเนินการเองโดยไม่ได้ขออนุญาต ถ้าจะตัดทิ้งไปก็ไม่หน่วยงานใดกล้ารับผิดชอบ
ถนนสุขุมวิทเป็น 1 ในแผนงานของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ที่ต้องนำสายไฟฟ้าลงใต้ดินให้แล้วเสร็จภายในปลายปีนี้ จากการตรวจสอบของทีมข่าวไทยพีบีเอส พบว่า กฟน.ได้นำสายไฟฟ้าแรงสูงและสายไฟฟ้าแรงต่ำ ซึ่งอยู่ส่วนบนและส่วนกลางของเสาไฟฟ้าออกทั้งหมดแล้ว เหลือเพียงสายสื่อสาร เช่น สายเคเบิ้ลทีวี สายอินเทอร์เน็ตและสายโทรศัพท์ ซึ่งห้อยระโยงระยางพาดบนเสาไฟฟ้าจำนวนมาก เป็นเหตุให้ กฟน.ไม่สามารถถอนเสาไฟฟ้าออกจากพื้นที่ได้
เสาไฟฟ้าแต่ละต้นจะมีสายไฟประกอบด้วย ด้านบนสุดเป็นสายไฟฟ้าแรงสูง มีกำลังไฟฟ้าตั้งแต่ 12,000-24,000 โวลต์ ส่วนสายที่อยู่ถัดลงมาตรงกลาง คือ สายไฟฟ้าแรงต่ำมีกำลังไฟฟ้าประมาณ 230 - 400 โวลต์ และสายที่อยู่บริเวณล่างสุด ประกอบด้วยหลายสายทั้งสายเคเบิ้ล สายโทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต และสายอื่นๆ
ตามแผนงานสายไฟฟ้าทั้งหมดที่พาดอยู่บนเสาไฟฟ้าต้องนำลงใต้ดินทั้งหมด แต่ขณะนี้ กฟน.ดำเนินการได้เพียงนำสายไฟฟ้าแรงสูงและแรงต่ำลงใต้ดินเท่านั้น ยังเหลือสายสื่อสารต่างๆ ที่ปัจจุบันมีผู้ประกอบการมากกว่า 20 รายเป็นเจ้าของ
สำหรับการวางระบบใต้ดินต้องขุดลึกลงไปไม่ต่ำกว่า 60 เซนติเมตร เพื่อนำท่อร้อยสายลงไปฝังใต้ดิน ซึ่งต้องใช้ต้นทุนสูงกว่าระบบปกติ 10-20 เท่า และต้องดำเนินการเฉพาะเวลากลางคืน เพราะส่งผลกระทบจราจร แต่ละโครงการจึงใช้เวลานาน สาเหตุที่ยังไม่สามารถนำสายสื่อสารลงท่อร้อยสายลงดินได้เป็นเพราะการมีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ รวมถึงค่าใช้จ่ายในการดำเนินการซึ่งตกลงกันไม่ได้ว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมไฟฟ้าจึงเสนอให้รัฐบาลผลักดันเรื่องนี้เป็นวาระแห่งชาติเพื่อเกิดความคล่องตัวในการแก้ปัญหาเรื่องสายสื่อสาร
สำหรับพื้นที่กรุงเทพมหานคร การไฟฟ้านครหลวงได้นำสายไฟฟ้าลงดินมานานร่วม 20 ปี ขณะนี้ดำเนินการแล้วเสร็จทั้งหมด 35 กิโลเมตร ในพื้นที่สีลม ปทุมวัน จิตรลดา พหลโยธิน พญาไท และสุขุมวิทบางส่วน ใช้เงินลงทุนรวม 2,200 ล้านบาท และอยู่ระหว่างดำเนินการรวม 53.3 กิโลเมตร อย่างพื้นที่พระราม 3 นนทรี รัชดาภิเษก ใช้เงินลงทุน 15,000 ล้านบาท โดยตั้งเป้าแล้วเสร็จภายในปี 2563 รวมถึงเพิ่มเติมอีก 39 โครงการ ระยะทาง 127 กิโลเมตร ด้วยงบประมาณ 48,000 ล้านบาท รองรับการขยายทางรถไฟฟ้าย่านธุรกิจ อย่างถนนอังรีดูนังต์ ถนนชิดลม ถนนวิทยุ ถนนดินแดง และถนนสาทร เพื่อปรับภาพลักษณ์เมืองกรุง
ล่าสุดคณะรัฐมนตรีเห็นชอบแผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าลงดินของการไฟฟ้านครหลวงภายใต้งบประมาณ 143,092 ล้านบาท ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ รวมระยะทาง 144.6 กิโลเมตร เพื่อปรับภูมิทัศน์บ้านเมืองให้สวยงาม เพิ่มความปลอดภัย และขีดความสามารถต่อระบบจ่ายไฟฟ้าให้มีเสถียรภาพมากขึ้น รองรับการเป็นมหานครอาเซียน
ที่มา :
http://news.thaipbs.or.th/content/
ปล. หากมองไปบนเสาไฟฟ้า คิดว่ามีสายไฟฟ้าของการไฟฟ้าซักกี่ %
สายไฟฟ้าลงใต้ดินมีอุปสรรค ความฝันกรุงเทพฯ เมืองไร้สายไฟ
ถนนสุขุมวิทเป็น 1 ในแผนงานของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ที่ต้องนำสายไฟฟ้าลงใต้ดินให้แล้วเสร็จภายในปลายปีนี้ จากการตรวจสอบของทีมข่าวไทยพีบีเอส พบว่า กฟน.ได้นำสายไฟฟ้าแรงสูงและสายไฟฟ้าแรงต่ำ ซึ่งอยู่ส่วนบนและส่วนกลางของเสาไฟฟ้าออกทั้งหมดแล้ว เหลือเพียงสายสื่อสาร เช่น สายเคเบิ้ลทีวี สายอินเทอร์เน็ตและสายโทรศัพท์ ซึ่งห้อยระโยงระยางพาดบนเสาไฟฟ้าจำนวนมาก เป็นเหตุให้ กฟน.ไม่สามารถถอนเสาไฟฟ้าออกจากพื้นที่ได้
เสาไฟฟ้าแต่ละต้นจะมีสายไฟประกอบด้วย ด้านบนสุดเป็นสายไฟฟ้าแรงสูง มีกำลังไฟฟ้าตั้งแต่ 12,000-24,000 โวลต์ ส่วนสายที่อยู่ถัดลงมาตรงกลาง คือ สายไฟฟ้าแรงต่ำมีกำลังไฟฟ้าประมาณ 230 - 400 โวลต์ และสายที่อยู่บริเวณล่างสุด ประกอบด้วยหลายสายทั้งสายเคเบิ้ล สายโทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต และสายอื่นๆ
ตามแผนงานสายไฟฟ้าทั้งหมดที่พาดอยู่บนเสาไฟฟ้าต้องนำลงใต้ดินทั้งหมด แต่ขณะนี้ กฟน.ดำเนินการได้เพียงนำสายไฟฟ้าแรงสูงและแรงต่ำลงใต้ดินเท่านั้น ยังเหลือสายสื่อสารต่างๆ ที่ปัจจุบันมีผู้ประกอบการมากกว่า 20 รายเป็นเจ้าของ
สำหรับการวางระบบใต้ดินต้องขุดลึกลงไปไม่ต่ำกว่า 60 เซนติเมตร เพื่อนำท่อร้อยสายลงไปฝังใต้ดิน ซึ่งต้องใช้ต้นทุนสูงกว่าระบบปกติ 10-20 เท่า และต้องดำเนินการเฉพาะเวลากลางคืน เพราะส่งผลกระทบจราจร แต่ละโครงการจึงใช้เวลานาน สาเหตุที่ยังไม่สามารถนำสายสื่อสารลงท่อร้อยสายลงดินได้เป็นเพราะการมีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ รวมถึงค่าใช้จ่ายในการดำเนินการซึ่งตกลงกันไม่ได้ว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมไฟฟ้าจึงเสนอให้รัฐบาลผลักดันเรื่องนี้เป็นวาระแห่งชาติเพื่อเกิดความคล่องตัวในการแก้ปัญหาเรื่องสายสื่อสาร
สำหรับพื้นที่กรุงเทพมหานคร การไฟฟ้านครหลวงได้นำสายไฟฟ้าลงดินมานานร่วม 20 ปี ขณะนี้ดำเนินการแล้วเสร็จทั้งหมด 35 กิโลเมตร ในพื้นที่สีลม ปทุมวัน จิตรลดา พหลโยธิน พญาไท และสุขุมวิทบางส่วน ใช้เงินลงทุนรวม 2,200 ล้านบาท และอยู่ระหว่างดำเนินการรวม 53.3 กิโลเมตร อย่างพื้นที่พระราม 3 นนทรี รัชดาภิเษก ใช้เงินลงทุน 15,000 ล้านบาท โดยตั้งเป้าแล้วเสร็จภายในปี 2563 รวมถึงเพิ่มเติมอีก 39 โครงการ ระยะทาง 127 กิโลเมตร ด้วยงบประมาณ 48,000 ล้านบาท รองรับการขยายทางรถไฟฟ้าย่านธุรกิจ อย่างถนนอังรีดูนังต์ ถนนชิดลม ถนนวิทยุ ถนนดินแดง และถนนสาทร เพื่อปรับภาพลักษณ์เมืองกรุง
ล่าสุดคณะรัฐมนตรีเห็นชอบแผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าลงดินของการไฟฟ้านครหลวงภายใต้งบประมาณ 143,092 ล้านบาท ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ รวมระยะทาง 144.6 กิโลเมตร เพื่อปรับภูมิทัศน์บ้านเมืองให้สวยงาม เพิ่มความปลอดภัย และขีดความสามารถต่อระบบจ่ายไฟฟ้าให้มีเสถียรภาพมากขึ้น รองรับการเป็นมหานครอาเซียน
ที่มา : http://news.thaipbs.or.th/content/
ปล. หากมองไปบนเสาไฟฟ้า คิดว่ามีสายไฟฟ้าของการไฟฟ้าซักกี่ %