เมื่อตอม่อโฮปเวลล์ + ชุมชนที่รุกล้ำทางรถไฟ กับปัญหาใหญ่ที่ซีพีต้องเจอ !!!
การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) พร้อมเจรจาแผนส่งมอบพื้นที่ให้กับเอกชนผู้ชนะการประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินช่วงบางซื่อ - สนามบินดอนเมือง พบว่ามีผู้บุกรุก และเสาตอม่อโฮปเวลล์อีกนับร้อยต้น
นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการแทนผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยถึงโครงการ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน "ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา" ระยะทาง 220 กม. มูลค่า 224,544 ล้านบาท ว่า
"
ตามเงื่อนไข ซีพี จะเป็นผู้รับผิดชอบค่ารื้อย้ายสาธารณูปโภค ส่วนรฟท.จะรับผิดชอบเรื่องผู้บุกรุก รวมถึงการรื้อย้ายเสาตอม่อโฮปเวลล์ด้วย ซึ่งมีหลายจุดที่ติดปัญหา ทั้งผู้บุกรุก ติดปัญหาสัญญาเช่า ซึ่งต้องใช้เวลาในการจัดการ ประเด็นคือต้องรู้ว่าซีพีจะเข้าพื้นที่จุดใด ช่วงเวลาใด แต่หากซีพียืนยันต้องเข้าพื้นที่ที่ยังติดปัญหาให้ได้ตามที่วางแผนไว้ ก็ต้องถามถึงเหตุผลให้ชัดเจนเป็นเรื่องที่ต้องเจรจา ที่ผ่านมาเจรจามา 2 ครั้งแล้ว เพื่อมีโรดแมปการส่งมอบและแผนการเข้าพื้นที่เดียวกัน และรฟท.จะได้มีเวลาในการแก้ปัญหาและจัดการพื้นที่สำหรับส่งมอบได้"
รวมทั้งจุดที่มีปัญหามากที่สุด คือ ช่วงดอนเมือง-บางซื่อ ซึ่งมีการทับซ้อนกันกับโครงการรถไฟไทย-จีน รวมถึงรถไฟทางไกล และรถไฟไทย-ญี่ปุ่นในอนาคต และบริเวณสถานีจิตรลดา ซึ่งแนวเส้นทางของรถไฟความเร็วเชื่อม 3 สนามบินจะทับซ้อนกับโครงการรถไฟสายสีแดงอ่อน (Missing Link) ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ซึ่งทางซีพี จะต้องก่อสร้างโครงสร้างเผื่อสายสีแดงไปก่อนอีกด้วย
ดังนั้น คงจะต้องเจรจากับทางซีพีว่า
"ซีพีจะเข้าพื้นที่จุดใด ช่วงเวลาใด แต่หากซีพียืนยันต้องเข้าพื้นที่ที่ยังติดปัญหาให้ได้ตามที่วางแผนไว้ ก็ต้องถามถึงเหตุผลให้ชัดเจนเป็นเรื่องที่ต้องเจรจา ที่ผ่านมาเจรจามา 2 ครั้งแล้ว เพื่อมีโรดแมปการส่งมอบและแผนการเข้าพื้นที่เดียวกัน และรฟท.จะได้มีเวลาในการแก้ปัญหาและจัดการพื้นที่สำหรับส่งมอบได้"
สำหรับพื้นที่การเวนคืนส่วนใหญ่บริเวณพื้นที่กรุงเทพฯ สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง จะมีการเวนคืนที่ดินเพิ่มประมาณ 850 ไร่ โดยมีสิ่งปลูกสร้างจำนวน 245 หลัง คาดว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยจะต้องชดเชยประมาณ 3,570 ล้านบาท
ส่วนเสาตอม่อโฮปเวลล์กว่า 300 ต้นต้องหารือรายละเอียดแผนการก่อสร้างกับทางซีพีอีกครั้งเพื่อตรวจเช็คตำแหน่งเสาในแนวก่อสร้าง และที่ทับซ้อนกับรถไฟไทย-จีน เพื่อสรุปงบประมาณ และจำนวนเสาตอม่อโฮปเวลล์ว่าต้องทุบกี่ต้น
ที่มา : นัดซีพีถกแผนมอบพื้นที่“ไฮสปีดเทรน3สนามบิน”เจอปมตอม่อโฮปเวลล์
อัพเดท : 11 มิย. 62
เสาของโครงการโฮปเวลล์ ที่เริ่มต้นเมื่อโครงการล้มไป พบว่ามีเสาอยู่กว่า 1,000 ต้น แล้วคงจำได้ในช่วงที่มีการก่อสร้างรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง ช่วงรังสิต-บางซื่อ มีการทุบเสาที่ไม่สามารถนำมาใช้งานได้ จำนวน 790 ต้น แล้วในขณะนี้ก็พบว่าการดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน ก็มีเสาโฮปเวลล์ จำนวน 288 ต้น ที่กีดขวาง และต้องทุบทิ้ง คาดว่าจะใช้งบประมาณกว่า 175 ล้านบาท
EEC - รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เหมือนจะจบ ... แต่ไม่จบ !!!
นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการแทนผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยถึงโครงการ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน "ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา" ระยะทาง 220 กม. มูลค่า 224,544 ล้านบาท ว่า
"ตามเงื่อนไข ซีพี จะเป็นผู้รับผิดชอบค่ารื้อย้ายสาธารณูปโภค ส่วนรฟท.จะรับผิดชอบเรื่องผู้บุกรุก รวมถึงการรื้อย้ายเสาตอม่อโฮปเวลล์ด้วย ซึ่งมีหลายจุดที่ติดปัญหา ทั้งผู้บุกรุก ติดปัญหาสัญญาเช่า ซึ่งต้องใช้เวลาในการจัดการ ประเด็นคือต้องรู้ว่าซีพีจะเข้าพื้นที่จุดใด ช่วงเวลาใด แต่หากซีพียืนยันต้องเข้าพื้นที่ที่ยังติดปัญหาให้ได้ตามที่วางแผนไว้ ก็ต้องถามถึงเหตุผลให้ชัดเจนเป็นเรื่องที่ต้องเจรจา ที่ผ่านมาเจรจามา 2 ครั้งแล้ว เพื่อมีโรดแมปการส่งมอบและแผนการเข้าพื้นที่เดียวกัน และรฟท.จะได้มีเวลาในการแก้ปัญหาและจัดการพื้นที่สำหรับส่งมอบได้"
ดังนั้น คงจะต้องเจรจากับทางซีพีว่า "ซีพีจะเข้าพื้นที่จุดใด ช่วงเวลาใด แต่หากซีพียืนยันต้องเข้าพื้นที่ที่ยังติดปัญหาให้ได้ตามที่วางแผนไว้ ก็ต้องถามถึงเหตุผลให้ชัดเจนเป็นเรื่องที่ต้องเจรจา ที่ผ่านมาเจรจามา 2 ครั้งแล้ว เพื่อมีโรดแมปการส่งมอบและแผนการเข้าพื้นที่เดียวกัน และรฟท.จะได้มีเวลาในการแก้ปัญหาและจัดการพื้นที่สำหรับส่งมอบได้"
สำหรับพื้นที่การเวนคืนส่วนใหญ่บริเวณพื้นที่กรุงเทพฯ สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง จะมีการเวนคืนที่ดินเพิ่มประมาณ 850 ไร่ โดยมีสิ่งปลูกสร้างจำนวน 245 หลัง คาดว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยจะต้องชดเชยประมาณ 3,570 ล้านบาท
ส่วนเสาตอม่อโฮปเวลล์กว่า 300 ต้นต้องหารือรายละเอียดแผนการก่อสร้างกับทางซีพีอีกครั้งเพื่อตรวจเช็คตำแหน่งเสาในแนวก่อสร้าง และที่ทับซ้อนกับรถไฟไทย-จีน เพื่อสรุปงบประมาณ และจำนวนเสาตอม่อโฮปเวลล์ว่าต้องทุบกี่ต้น
ที่มา : นัดซีพีถกแผนมอบพื้นที่“ไฮสปีดเทรน3สนามบิน”เจอปมตอม่อโฮปเวลล์
อัพเดท : 11 มิย. 62เสาของโครงการโฮปเวลล์ ที่เริ่มต้นเมื่อโครงการล้มไป พบว่ามีเสาอยู่กว่า 1,000 ต้น แล้วคงจำได้ในช่วงที่มีการก่อสร้างรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง ช่วงรังสิต-บางซื่อ มีการทุบเสาที่ไม่สามารถนำมาใช้งานได้ จำนวน 790 ต้น แล้วในขณะนี้ก็พบว่าการดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน ก็มีเสาโฮปเวลล์ จำนวน 288 ต้น ที่กีดขวาง และต้องทุบทิ้ง คาดว่าจะใช้งบประมาณกว่า 175 ล้านบาท