๖๖๖๖๖ ขณิกสมาธิ ต้องดูติดต่อกัน จึงเป็นวิปัสสนา เพราะดูสิ่งที่กำลังเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ๖๖๖๖๖

               สมาธิในวิปัสสนานี้มีกำลังเทียบเท่า อุปจารสมาธิ

                คือ สมาธิใกล้จะแนบแน่นของสมถภาวนา จึงสามารถข่มนิวรณ์ทั้ง ๕ ได้

            แต่สมาธิดังกล่าวเรียกว่า ขณิกสมาธิ หรือ สมาธิชั่วขณะ

           เพราะหมายถึง มีอารมณ์กรรมฐานที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา  ในแต่ละปัจจุบันขณะ

           กล่าวคือรูปนามที่ผู้ปฏิบัติกำหนดรู้อยู่เป็นสภาวะใหม่ อยู่เสมอ

ดังข้อความในคัมภีร์อรรถกถา (วิสุทธิ. ๒.๓๐๔, ปฏิสํ. อ. ๑.๒๗๕) ว่า

         นิจฺจนวาว หุตฺวา สงฺขารา อุปฏฺฐหนฺติ.
         สังขารทั้งหลายเป็นของใหม่อยู่เสมอย่อมปรากฏ

.

          ดังนั้น แม้ขณิกสมาธิจะมีกำลังเทียบเท่าอุปจารสมาธิ
          เพราะสามารถข่มนิวรณ์ได้เหมือนอุปจารสมาธิ

           ก็มีชื่อเฉพาะว่า “ขณิกสมาธิ” ด้วยเหตุที่กล่าวมานี้ หาใช่เพราะเป็นสมาธิที่เกิดเพียงชั่วขณะไม่ แต่เป็นสมาธิที่มีอารมณ์เพียงชั่วขณะดังที่กล่าวมาแล้ว
.
.
       วิปัสสนาภาวนาที่ประกอบด้วยขณิกสมาธิ

        ย่อมสามารถละกิเลสได้ชั่วขณะ เรียกว่า ตทังคปหาน

                      คือการละได้ชั่วขณะในเวลาที่กำหนดรู้อยู่

                       และสมาธิที่เกิดขึ้นในขณะนั้นได้ทำหน้าที่ข่มกิเลสเป็น วิกขัมภนปหาน คือ
                       การละด้วยการข่มไว้ การละกิเลสทั้งสองอย่างนั้น
                       เหมือนการตัดกิ่งก้านและลำต้นของต้นไม้ทำให้ต้นไม้อ่อนกำลังไม่มั่นคง

                       ส่วนขณะที่เกิดมรรคปัญญาที่ละกิเลสโดยเด็ดขาดซึ่งเรียกว่า สมุจเฉทปหาน เหมือนการตัดรากเหง้าของต้นไม้

                 ดังนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมจึงต้องเจริญวิปัสสนาภาวนาอยู่เสมอเพื่อสั่งสมอุปนิสัยปัจจัยอันจะทำให้เกิดมรรคปัญญาในโอกาสต่อไป


๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
จากหนังสือประกายส่องใจ
โดย…พระคันธสาราภิวงศ์

ใครว่าขณิกสมาธิเกิดเพียงชั่วขณะไม่ตั้งมั่น
https://tananglaenang.wordpress.com/2014/07/24/105/
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่