(หลวงพ่อพระราชพรหมยาน)ประโยคที่ท่านสอนว่าเราจริงๆคือจิตหรืออทิสมานกายต้องมีทิพจักขุจึงเห็นได้มีอยู่ในหนังสือเล่มไหนบ้างฯ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้สวัสดีค่ะ ^_^
เท่าที่ทราบก็มี
อทิสมานกาย คือ เรา เราจริงๆ นี่ไม่ใช่เนื้อไม่ใช่หนัง เนื้อหนังมันเป็นที่อาศัยของเรา เราคือจิต ที่เรียกกันตามภาษาหนังสือ ความจริงเรียกอย่างนี้มันไม่ตรง เพราะจิตมีสภาพคิด ถ้าจะว่ากันแล้วเราจริงๆ ต้องเรียกกันว่าอทิสมานกาย จะไปเรียกว่ากายทิพย์ก็ไม่ถูก
ถ้าคนใจชั่ว กายไม่เป็นทิพย์หรอก กายเป็นกายของอบายภูมิ ถ้าหากกายข้างในจะเป็นทิพย์จริงๆ จะต้องเป็นใจที่เป็นกุศล อารมณ์ใจดี ใจดี วาจาดี กายดี
คำว่ากายดี กายไม่ทำชั่ว วาจาไม่พูดชั่ว ใจคิดดีไม่คิดชั่ว นี่กายภายในจึงเรียกว่ากายทิพย์ เราเรียกกันเป็นส่วนกลาง ก็เรียกว่าอทิสมานกาย
คำว่าอทิสมานกายแปลว่ากายอันหนึ่ง ที่เราไม่สามารถจะเห็นด้วยกายเนื้อ และ กายนี้ถ้าหากว่าเราไม่มีฌานสมาบัติพิเศษ ถ้ามีฌานสมาบัติตั้งแต่ฌานที่๑ ถึงฌานที่๔ในรูปฌาน แล้วก็มีอรูปฌานอีก๔ ที่เรียกว่าสมาบัติ๘
ถ้าเราไม่ฝึกทิพจักขุญาน เราก็ไม่สามารถเห็นได้ ไม่ได้ว่าคนได้ฌาน๔ หรือฌาน๘ แล้วจะมีจิตเป็นทิพย์เสมอกันอันนี้ไม่ใช่
ในวิสุทธิมรรคท่านบอกว่าพระพุทธโฆษาจารย์ท่านรจนาไว้ว่า
"คนที่ได้ฌาน๔ พันคน จะได้ ทิพจักขุญานสักหนึ่งคนก็แสนยาก ไม่ใช่คนได้ฌาน๔ พันคนแล้วได้ทิพจักขุญานหนึ่งคน "
ท่านบอกว่าคนที่ได้ฌาน๔ พันคน จะได้ทิพจักขุญานสักหนึ่งคนก็แสนยาก
ตอนนี้มาพูดกันด้านอภิญญา แต่ไม่ใช่อภิญญา ๖ เอาแค่ อภิญญา ๑ คือ มโนมยิทธิ เป็นหนึ่งของอภิญญา ๖ ท่านก็บอกว่าคนที่ได้ฌาน ๔ หมื่นคนจะได้ มโนมยิทธิสักหนึ่งคนก็แสนยาก นี่เขาฝึกกันได้ตั้งเยอะ นี่อย่าลืมนะว่าคนในประเทศไทยเรามีเท่าไหร่ และเวลานี้ท่านที่ได้ มโนมยิทธิ นะมีเท่าไหร่ ถ้าวัดกันตามจำนวนเปอร์เซนต์รู้สึกจะน้อยเกินไป
ถ้าถามว่ากลุ่มนี้ทำไมถึงฝึกได้ง่าย ก็ต้องถามวิธี ต้องถามคนถามว่าก่อนเกิดมาเคยฝึกแล้าหรือยัง คนที่เขาจะฝึกได้ง่ายจริงๆนี่ เขาได้มาแล้วหลายชาติ ไม่ใช่มาได้ในชาตินี้(สำหรับคนที่ฝึกได้ง่าย)
จากหนังสือ ธัมมวิโมกข์ ปีที่ ๓๕ ฉบับที่ ๓๙๑ เดือน ตุลาคม พศ ๒๕๕๖
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้อันนี้อยู่ในหนังสือเล่มไหนบ้างคะ
วิธีฝึกทิพจักขุญาณ
วิธีการฝึกในพระพุทธศาสนามีหลายแบบ แต่ละแบบมีสาระสำคัญที่ตรงกันคือ ต้องกำหนดภาพในใจ เรื่องกำหนดภาพนี้จะเว้นไม่ได้ เพราะเป็นเครื่องพยุงจิต ให้เข้าสู่ระดับสมาธิ จะแนะนำแบบง่ายๆที่คนส่วนใหญ่ทำได้และใช้เวลาไม่นาน
1. ตัดความยุ่งในอารมณ์ออกเสียในขณะที่ฝึก ควรใช้เวลาไม่นานเกินไป ในระยะแรก อย่างมากไม่เกิน 5 นาที ในขณะนั้น ตัด กังวล ให้หมด ไม่ว่าเรื่องของความรัก เรื่องที่ไม่พอใจ อารมณ์อื่นทั้งหลาย ความง่วงและความสงสัย ระงับให้หมด คิดอย่างเดียวคือ คาถาภาวนา และลมหายใจเข้าออก
2. ก่อนภาวนา กำหนดรูปพระหรือลูกแก้ว อย่างใดอย่างหนึ่ง รูปพระที่เห็นนั้น จะเป็นพระสงฆ์หรือพระพุทธรูปก็ได้ กำหนดเอาตามใจชอบ ถ้าจิตไปสนใจอารมณ์อื่น ต้องรีบระงับก่อน ลืมตาดูรูปพระหรือลูกแก้วเสียให้จำได้ เมื่อหลับตาก็กำหนดจิต จำพระที่จำได้นั้นตลอดไป ถ้า เห็นว่าจิตจะเลอะเลือนก็ลืมตาดูใหม่ ทำอย่างนี้ตลอดไป จนกว่าจิตจะมีอารมณ์ ชิน ไม่ว่าเวลาใด กำหนดจิตเห็นภาพพระนั้น แจ่มใส ไม่หายไปจากจิต อยู่ได้นานพอสมควร
3. ก่อนภาวนาหรือขณะภาวนา ต้อง กำหนดรู้ลม 3 ฐาน โดยสม่ำเสมอกัน คือหายใจเข้าลมกระทบจมูก แล้วมากระทบอก กระทบเหนือสะดือนิดหน่อย ลมหายใจออกกระทบศูนย์อก และริมฝีปากบน ใครกำหนดรู้ได้ 3 ฐาน อารมณ์จิตเป็นฌาน ถ้ารู้ 3 ฐานไม่ได้ แม้ทำมาแล้วตั้งหลายแสนปี ก็ชื่อว่ายังเป็นปุถุชน คนที่อยู่นอกวงการของฌาน ถ้ากำหนดลมได้ครบ 3 ฐานท่านเรียกว่า กัลยาณชน หรือสาธุชน คือคนงามหรือคนดี ได้แก่คนที่มีอารมณ์ว่างจากนิวรณ์ ในบางคราว ไม่ใช่ตลอดวัน เรื่อง ฐานลมนี้ ขอลดหย่อนผ่อนคลายไม่ได้ แต่ในระยะแรกจะกำหนด 3 ฐานไม่ได้ เพราะจิตยังไม่ชิน ให้เริ่มจับฐานใดฐานหนึ่งตามถนัดก่อน ต่อเมื่อสมาธิสูงขึ้น มันจะกำหนดรู้ของมันเองทั้ง 3 ฐานโดยไม่ต้องบังคับ
4. รักษา ศีล ให้บริสุทธิ์ เอาศีล 5 พอแล้ว ไม่ต้องถึงศีลอุโบสถ เพราะจะลำบากเกินไป
5. มีเมตตาปรานี ทรงพรหมวิหาร 4 อยู่เป็นปกติ ใหม่ๆพรหมวิหาร 4 อดรั่วไหลไม่ได้ ต้องถือเป็นเรื่องธรรมดา ค่อยปรับปรุงค่อยๆควบคุม ไม่ช้า จิตจะทรงพรหมวิหาร 4 เป็นปกติ เมื่อทรงพรหมวิหาร 4 ได้แล้ว ศีลก็บริสุทธิ์เอง สมาธิก็ทรงฌานได้ตลอดเวลา แม้แต่ขณะคุยกับเพื่อนก็สามารถเข้าฌานได้โดยฉับพลัน
เรื่องอื่นนอกจากนี้ไม่มี คาถาภาวนาให้มาแล้วค่อยๆภาวนา(พุท-โธหรือ นะ มะ พะ ทะ) ทำเอาดี ไม่ใช่ทำเอาเวลา วันแรกๆไม่ต้องมาก เอาพอสบาย สบายนานก็นั่งนาน สบายไม่นานก็เลิกเร็ว กำหนดให้เห็นภาพ รู้ลมหายใจ รู้คาถาภาวนาพร้อมๆกันไป อย่าละอย่างใดอย่างหนึ่งป็นอันขาด อย่าเว้นแม้แต่ 1 วัน
วันไหนเหนื่อยมาก เพลียมาก ร่างกายไม่ดีไม่ต้องนั่ง นอนหรือเดินก็ได้ตามต้องการ แต่อารมณ์จิต คอยจับภาพ กำหนดลม รู้คำภานา ตลอดเวลาที่ปฏิบัติ ถ้าเห็นว่าอารมณ์จิตจะรับไม่ไหวก็เลิก ปล่อยให้คิดไปตามสบาย เมื่อเห็นว่า การกำหนดจับภาพนั้น มีอาการคล้ายภาพปรากฏแก่ใจอย่างผ่องใส ก็ลองใช้จิตให้เป็นประโยชน์ คือกำหนดรู้ทิพจักขุญาณ ไม่ใช่ตาทิพย์ คำว่าญาณแปลว่ารู้ ทิพจักขุญาณก็คือรู้ทางใจ คล้ายตาทิพย์ มันเป็นอารมณ์รู้เกิดที่ใจ ไม่ใช่ที่ลูกตา นักปฏิบัติมักจะเข้าใจพลาดตรงนี้
การปฏิบัติถ้าทำได้เท่านี้ ก็เหลือกินเหลือใช้แล้ว ข้อควรระวังก็คือ เมื่อเวลาภาวนา ถ้ามีภาพอื่นมาแทรก นอกจากภาพที่กำหนดแล้ว อย่าสนใจ จงสนใจแต่ภาพที่กำหนดไว้เดิมเท่านั้น เมื่อเราไม่สนใจ ภาพนั้นจะคงอยู่หรือหายไปก็ช่าง เราต้องการภาพที่กำหนดรู้เท่านั้น
(หลวงพ่อพระราชพรหมยาน)ประโยคที่ท่านสอนว่าเราจริงๆคือจิตหรืออทิสมานกายต้องมีทิพจักขุจึงเห็นได้มีอยู่ในหนังสือเล่มไหนบ้างฯ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้