มนัส
๒. มนัส (กลิษฏมโนวิญญาณ : 末那識) รับรู้อารมณ์ภายใน ทำหน้าที่ในการคิด พิจารณา การใช้เหตุผล การสร้างมโนทัศน์ของจิต ทำหน้าที่กำกับอารมณ์ที่รับรู้ให้เป็นไปตามที่ตนต้องการ เหมือนผู้กำกับการแสดงทำหน้าที่กำกับการฟ้อนรำให้เป็นไปตามที่ตนต้องการ
มนัสสัญจรไปมาในสองทิศทาง หรือทำหน้าที่ ๒ อย่าง ได้แก่การกำหนดหมายในอาลยวิญญาณ และทำอาลยวิญญาณให้เป็นอารมณ์ของตน หมายความว่า มนัสจะรับพีชะแห่งกิเลสและวาสนาจากอาลยวิญญาณ จากนั้นก็นำมาควบคุม กำกับ สั่งการให้เป็นไปตามที่ตนเองต้องการ
สรุปมี ๒ หน้าที่ คือ
๑) เป็นจิตวิญญาณที่มีหน้าที่เก็บพีชะต่างๆ อันได้แก่ กุศล อกุศล อัพยากฤต กรรม วิบากกรรม ผลกรรม เพราะคิดว่าสิ่งนั้นเป็นตน ของตน เรียกว่า อาตมทิฏฐิ (เห็นว่าเป็นตัวตน) อาตมเสฺน่หา (รักเยื่อใยในอัตตา) อัสมิมานะ (คิดว่าเป็นตัวเรา) และอวิทยา (ความหลงไม่รู้จริง)
๒) เป็นจิตวิญญาณที่เชื่อมโยงอยู่ระหว่างมโนวิญญาณ (ความคิด) กับอาลยวิญญาณ อุปมาดั่งคนที่ยืนมองกระจกแล้วคิดว่าในกระจกเป็นคนอีกคนหนึ่งที่แยกจากตัวเอง การยึดถือของมนัสทำให้เกิดความคิดมีตัวมีตนขึ้นมา จึงพิจารณา ควบคุม กำกับการ สั่งการต่างๆ ให้เป็นไปตามที่ตนต้องการ
“มนัสยึดเอาอาลยวิญญาณเป็นอารมณ์ มีความกำหนดหมายว่ามีตัวตน ประกอบด้วยกิเลส ๔ อย่าง อาตมโมหะ (ความหลงว่าในตัวตน) อาตมทฤษฎี (ความเชื่อว่ามีตัวตน) อาตมเสฺนหะ (ความรักใคร่ในตัวตน) และอาตมมานะ (ความกำหนดหมายในตัวตน) เหล่านี้คือสิ่งที่เรียกว่าอุปกิเลสซึ่งเกิดขึ้นมาจากกิเลสละเอียดอ่อน (อาศรยะ/อนุศัย) ที่นอนเนื่องอยู่ในอาลยวิญญาณ และกิเลสเหล่านี้จะเข้าครอบงำมนัสให้ทำงานคิดปรุงแต่งแบบมีทวิภาวะหรือมีตัวฉัน-ของฉัน (คราหยะ-คราหกะ) "ฉันทำ (อหังการ) มานะว่าฉันเป็น (อัสมิมานะ)” มนัสยึดเอาอาลยวิญญาณเป็นอารมณ์ มีความกำหนดหมายว่ามีตัวตน (มนฺยนาตมก)
มโนวิญญาณจะขาดตอนเมื่อเข้าอสัญญีภพ อสัญญีสมาบัติ สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ หรือคนที่หลับสนิทไม่ฝันและคนสลบ แต่มนัสจะขาดเมื่อบรรลุอรหัตตผล หรือเข้าสู่สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเท่านั้น
^_^ ..._/\_... ^_^
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต
"มนัส" ตัวจิตพิจารณา จิตสั่งการ
๒. มนัส (กลิษฏมโนวิญญาณ : 末那識) รับรู้อารมณ์ภายใน ทำหน้าที่ในการคิด พิจารณา การใช้เหตุผล การสร้างมโนทัศน์ของจิต ทำหน้าที่กำกับอารมณ์ที่รับรู้ให้เป็นไปตามที่ตนต้องการ เหมือนผู้กำกับการแสดงทำหน้าที่กำกับการฟ้อนรำให้เป็นไปตามที่ตนต้องการ
มนัสสัญจรไปมาในสองทิศทาง หรือทำหน้าที่ ๒ อย่าง ได้แก่การกำหนดหมายในอาลยวิญญาณ และทำอาลยวิญญาณให้เป็นอารมณ์ของตน หมายความว่า มนัสจะรับพีชะแห่งกิเลสและวาสนาจากอาลยวิญญาณ จากนั้นก็นำมาควบคุม กำกับ สั่งการให้เป็นไปตามที่ตนเองต้องการ
สรุปมี ๒ หน้าที่ คือ
๑) เป็นจิตวิญญาณที่มีหน้าที่เก็บพีชะต่างๆ อันได้แก่ กุศล อกุศล อัพยากฤต กรรม วิบากกรรม ผลกรรม เพราะคิดว่าสิ่งนั้นเป็นตน ของตน เรียกว่า อาตมทิฏฐิ (เห็นว่าเป็นตัวตน) อาตมเสฺน่หา (รักเยื่อใยในอัตตา) อัสมิมานะ (คิดว่าเป็นตัวเรา) และอวิทยา (ความหลงไม่รู้จริง)
๒) เป็นจิตวิญญาณที่เชื่อมโยงอยู่ระหว่างมโนวิญญาณ (ความคิด) กับอาลยวิญญาณ อุปมาดั่งคนที่ยืนมองกระจกแล้วคิดว่าในกระจกเป็นคนอีกคนหนึ่งที่แยกจากตัวเอง การยึดถือของมนัสทำให้เกิดความคิดมีตัวมีตนขึ้นมา จึงพิจารณา ควบคุม กำกับการ สั่งการต่างๆ ให้เป็นไปตามที่ตนต้องการ
“มนัสยึดเอาอาลยวิญญาณเป็นอารมณ์ มีความกำหนดหมายว่ามีตัวตน ประกอบด้วยกิเลส ๔ อย่าง อาตมโมหะ (ความหลงว่าในตัวตน) อาตมทฤษฎี (ความเชื่อว่ามีตัวตน) อาตมเสฺนหะ (ความรักใคร่ในตัวตน) และอาตมมานะ (ความกำหนดหมายในตัวตน) เหล่านี้คือสิ่งที่เรียกว่าอุปกิเลสซึ่งเกิดขึ้นมาจากกิเลสละเอียดอ่อน (อาศรยะ/อนุศัย) ที่นอนเนื่องอยู่ในอาลยวิญญาณ และกิเลสเหล่านี้จะเข้าครอบงำมนัสให้ทำงานคิดปรุงแต่งแบบมีทวิภาวะหรือมีตัวฉัน-ของฉัน (คราหยะ-คราหกะ) "ฉันทำ (อหังการ) มานะว่าฉันเป็น (อัสมิมานะ)” มนัสยึดเอาอาลยวิญญาณเป็นอารมณ์ มีความกำหนดหมายว่ามีตัวตน (มนฺยนาตมก)
มโนวิญญาณจะขาดตอนเมื่อเข้าอสัญญีภพ อสัญญีสมาบัติ สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ หรือคนที่หลับสนิทไม่ฝันและคนสลบ แต่มนัสจะขาดเมื่อบรรลุอรหัตตผล หรือเข้าสู่สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเท่านั้น
^_^ ..._/\_... ^_^
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต