อาลยวิญญาณ
๑. จิต, อาลยวิญญาณ (阿賴耶識) ของเรารับรู้อารมณ์ต่างๆ เปรียบเสมือนกับนักฟ้อนรำ ก็จะฟ้อนรำเปลี่ยนท่าทางไปเรื่อยๆ ก็เหมือนกับจิตของเรามีการเกิดดับ แปรเปลี่ยนอารมณ์ไปเรื่อยๆ คือ เกิดอารมณ์ขึ้นมาแล้วอารมณ์นั้นก็ดับไป
จิตเป็นอัพยากฤต (กลางๆ) อยู่เป็นนิตย์
หน้าที่หลักของอาลยวิญญาณ
๑. รู้เก็บ คือสามารถเก็บรอยประทับต่างๆ ของกรรม อุปมาเหมือนยุ้งฉางเก็บข้าวเปลือก
๒. รู้ก่อ คือสร้างอัตตาให้เกิดขึ้นกับตัวเองเกิดเป็นอารมณ์ต่างๆ แบบทวิภาวะ มีผู้มองกับสิ่งที่ถูกมอง การที่อาลยวิชญาณมองตัวเองและแยกตัวเองออกมาทำหน้าที่รับรู้ตัวเอง ทำให้ดูเหมือนแยกตัวเองออกมาเป็นวิญญาณตัวใหม่ จึงมีชื่อเรียกตัวใหม่ว่า มนัส (กลิษฎมโนวิญญาณ) และ
๓. รู้ปรุง คือปรุงแต่งอารมณ์ตามเหตุปัจจัยอันเอื้อให้เกิดการทำกรรมใหม่ตามรอยประทับที่มีอยู่ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามีกุศลพีชะอยู่มากก็ทำให้จิตใจที่อยากจะทำดีมากยิ่งๆ ขึ้นไป
อาลยวิชญาณที่ทำหน้าที่ปรุงแต่งอารมณ์มีอยู่ ๖ สาย คือ ทางจักขุ(ตา) ทางโสตะ (หู) ทางฆานะ (จมูก) ทางชิวหา (ลิ้น) ทางกายะ (กาย) และทางมโน (ใจ) ทั้งหมดนี้เป็นวิญญาณเฉพาะทาง มีหน้าที่ในการสร้างโลกและความรู้ทั้งหลาย
^_^ ..._/\_... ^_^
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต
อาลยวิญญาณ
๑. จิต, อาลยวิญญาณ (阿賴耶識) ของเรารับรู้อารมณ์ต่างๆ เปรียบเสมือนกับนักฟ้อนรำ ก็จะฟ้อนรำเปลี่ยนท่าทางไปเรื่อยๆ ก็เหมือนกับจิตของเรามีการเกิดดับ แปรเปลี่ยนอารมณ์ไปเรื่อยๆ คือ เกิดอารมณ์ขึ้นมาแล้วอารมณ์นั้นก็ดับไป
จิตเป็นอัพยากฤต (กลางๆ) อยู่เป็นนิตย์
หน้าที่หลักของอาลยวิญญาณ
๑. รู้เก็บ คือสามารถเก็บรอยประทับต่างๆ ของกรรม อุปมาเหมือนยุ้งฉางเก็บข้าวเปลือก
๒. รู้ก่อ คือสร้างอัตตาให้เกิดขึ้นกับตัวเองเกิดเป็นอารมณ์ต่างๆ แบบทวิภาวะ มีผู้มองกับสิ่งที่ถูกมอง การที่อาลยวิชญาณมองตัวเองและแยกตัวเองออกมาทำหน้าที่รับรู้ตัวเอง ทำให้ดูเหมือนแยกตัวเองออกมาเป็นวิญญาณตัวใหม่ จึงมีชื่อเรียกตัวใหม่ว่า มนัส (กลิษฎมโนวิญญาณ) และ
๓. รู้ปรุง คือปรุงแต่งอารมณ์ตามเหตุปัจจัยอันเอื้อให้เกิดการทำกรรมใหม่ตามรอยประทับที่มีอยู่ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามีกุศลพีชะอยู่มากก็ทำให้จิตใจที่อยากจะทำดีมากยิ่งๆ ขึ้นไป
อาลยวิชญาณที่ทำหน้าที่ปรุงแต่งอารมณ์มีอยู่ ๖ สาย คือ ทางจักขุ(ตา) ทางโสตะ (หู) ทางฆานะ (จมูก) ทางชิวหา (ลิ้น) ทางกายะ (กาย) และทางมโน (ใจ) ทั้งหมดนี้เป็นวิญญาณเฉพาะทาง มีหน้าที่ในการสร้างโลกและความรู้ทั้งหลาย
^_^ ..._/\_... ^_^
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต