เพื่อให้การศึกษามีมาตรฐานขั้นต่ำใกล้เคียงกัน ทำไมไม่ทำแผนการสอน จาก Best Practice หรือครูแต่ละวิชาร่วมกันทำ เก็บเป็นคลังออนไลน์ แล้วดาวน์โหลดไปใช้ทุกโรงเรียน โดยครูสามารถแก้ไขเสริมอื่นๆที่นอกเหนือจากนั้นได้
ทั้งนี้ผมเข้าใจความแตกต่างแต่ละบุคคลนะครับ เป็นความสวยงาม เป็นความสร้างสรรค์ เพียงแต่หน้าที่การเลือกเป็นตัวของตัวเองนั้นเป็นสิทธิ์ของผู้เรียน แต่โรงเรียนมีหน้าที่จัดทำการเรียนการสอนให้มาตรฐาน และแต่ละวิชาผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ
จริงๆการศึกษาไทยควรจัดระดับการศึกษาเป็น 2 ระดับ คือ
- ระดับพื้นฐาน
: คือใช้มาตรฐานขั้นต่ำเป็นตัวกำหนด ทุกคนเรียนเหมือนกัน ใช้แผนการสอนเหมือนกัน เนื้อหาเหมือนกัน
- ระดับเชี่ยวชาญเฉพาะ
: คือสื่งที่นอกเหนือจากระดับพื้นฐาน เช่นวิชาท้องถิ่น วิชาเฉพาะที่นักเรียนเลือกเรียนเอง วิชาที่เกี่ยวเนื่องกับอาชีพในอนาคต เป็นวิชาเลือกต่างๆ อันนี้แล้วแต่โรงเรียนจะมีบุคลากร หรือศักยภาพในการจัดเสริมให้ เป็นการส่งเสริมความหลากหลาย ตามความชอบของแต่ละบุคคล
คำถามของผมคือ ในระดับพื้นฐาน ทำไมไม่ทำแผนการสอนเดียวกันทั้งประเทศ ทำไมต้องทำส่ง ผอ.ตรวจทุกๆเทอม ทั้งๆที่ ผอ.เองก็ ไม่ได้เชี่ยวชาญทุกสาขาวิชา แทนที่จะให้กลุ่มครูสาขานั้นๆ หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเป็นคนตรวจสอบแผน
"แผนการสอน" เมื่อต้องการให้คุณภาพการศึกษามีมาตรฐานที่ดี
ทั้งนี้ผมเข้าใจความแตกต่างแต่ละบุคคลนะครับ เป็นความสวยงาม เป็นความสร้างสรรค์ เพียงแต่หน้าที่การเลือกเป็นตัวของตัวเองนั้นเป็นสิทธิ์ของผู้เรียน แต่โรงเรียนมีหน้าที่จัดทำการเรียนการสอนให้มาตรฐาน และแต่ละวิชาผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ
จริงๆการศึกษาไทยควรจัดระดับการศึกษาเป็น 2 ระดับ คือ
- ระดับพื้นฐาน
: คือใช้มาตรฐานขั้นต่ำเป็นตัวกำหนด ทุกคนเรียนเหมือนกัน ใช้แผนการสอนเหมือนกัน เนื้อหาเหมือนกัน
- ระดับเชี่ยวชาญเฉพาะ
: คือสื่งที่นอกเหนือจากระดับพื้นฐาน เช่นวิชาท้องถิ่น วิชาเฉพาะที่นักเรียนเลือกเรียนเอง วิชาที่เกี่ยวเนื่องกับอาชีพในอนาคต เป็นวิชาเลือกต่างๆ อันนี้แล้วแต่โรงเรียนจะมีบุคลากร หรือศักยภาพในการจัดเสริมให้ เป็นการส่งเสริมความหลากหลาย ตามความชอบของแต่ละบุคคล
คำถามของผมคือ ในระดับพื้นฐาน ทำไมไม่ทำแผนการสอนเดียวกันทั้งประเทศ ทำไมต้องทำส่ง ผอ.ตรวจทุกๆเทอม ทั้งๆที่ ผอ.เองก็ ไม่ได้เชี่ยวชาญทุกสาขาวิชา แทนที่จะให้กลุ่มครูสาขานั้นๆ หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเป็นคนตรวจสอบแผน