เราสอบ O-NET V-NET I-NET B-NET N-NET สอบเทียบระดับฯ บริการการทดสอบ GAT/PAT วิชาสามัญ 9 วิชา ไปเพื่ออะไร

O-NET (Ordinary National Educational Test)
คือ การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน  เป็นการทดสอบเพื่อวัดความรู้และความคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประเมินตามมาตรฐานการเรียนรู้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จำนวน 51 มาตรฐานการเรียนรู้ ครอบคลุม 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่
ภาษาไทย
คณิตศาสตร์
วิทยาศาสตร์
สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
ภาษาอังกฤษ
วัตถุประสงค์ O-NET
เพื่อทดสอบความรู้และความคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
เพื่อนำผลการทดสอบไปใช้เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการจบการศึกษา  ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
เพื่อนำผลการทดสอบไปใช้ในการปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนของโรงเรียน
เพื่อนำผลการทดสอบไปใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนระดับชาติ
เพื่อนำผลการทดสอบไปใช้ในวัตถุประสงค์อื่น

V-NET
การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา (Vocational National Educational Test : V-NET)
V-NET คือ การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา เพื่อวัดความรู้และความคิดของนักเรียนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 (ปวช. 3)  และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงชั้นปีที่ 2 (ปวส. 2)

วัตถุประสงค์ของการสอบ V-NET
การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา(vocational National Educational Test:V-NET) มีวัตถุประสงค์ในการจัดสอบ ดังนี้
เพื่อทดสอบความรู้และความคิดของนักเรียนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2556 และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2546
เพื่อนำผลการสอบไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนของสถานศึกษา
เพื่อนำผลการสอบไปใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนระดับชาติ
เพื่อนำผลการสอบไปใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษา
เพื่อนำผลการสอบไปใช้ในวัตถุประสงค์อื่น

I-NET
วัตถุประสงค์ของการทดสอบ I-NET
เพื่อทดสอบความรู้และความคิดรวบยอดของนักเรียน ตามหลักสูตรอิสลามศึกษา พุทธศักราช 2546 และหลักสูตรอิสลามศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ครอบคลุม 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ 14 มาตรฐานการเรียนรู้
เพื่อนำผลการสอบไปใช้ในการปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนของสถานศึกษา
เพื่อนำผลการทดสอบไปใช้ในวัตถุประสงค์อื่น
หน่วยงานต้นสังกัดของนักเรียนที่สอบ I-NET
ในปีการศึกษา 2558 สทศ. จัดสอบ I-NET ให้กับนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในปีสุดท้ายของหลักสูตรอิสลามศึกษาตอนต้น ตอนกลาง และตอนปลาย ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามควบคู่วิชาสามัญ ศูนย์ตาดีกา และโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

หลักสูตร    สถานศึกษาในจังหวัด
อิสลามศึกษา พุทธศักราช 2546    กรุงเทพฯ นนทบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ กระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช พังงา พัทลุง ภูเก็ต ระนอง สงขลา สตูล สุราษฎร์ธานี ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
อิสลามศึกษาตามหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551    สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

B-NET
การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านพระพุทธศาสนา (Buddhism National Educational Test : B-NET)
หมายถึง การทดสอบเพื่อวัดความรู้และความคิดของนักเรียนตามหลักสูตรโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ตามหลักสูตรการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน พุทธศักราช 2544 และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขัน้ พื้นฐานพุทธศักราช 2551 ในวิชาภาษาบาลี ธรรม พุทธประวัติ และวิชาวินัย
วัตถุประสงค์ของการสอบ B-NET
1. เพื่อทดสอบความรู้และความคิดของนักเรียนตามหลักสูตรโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้น ฐาน พุทธศักราช 2544 และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในวิชาภาษาบาลี ธรรม พุทธประวัติ และวิชาวินัย
2. เพื่อนำผลการสอบไปใช้ในการปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนของสถานศึกษา
3. เพื่อนำผลการสอบไปใช้ประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนระดับชาติ
4. เพื่อนำผลการสอบไปใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษา
5. เพื่อนำผลการทดสอบไปใช้ในวัตถุประสงค์อื่น
หน่วยงานต้นสังกัดของนักเรียนที่สอบ B-NET
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

N-NET
การจัดสอบ N-NET
N-NET (Non-Formal National Education Test) หมายถึง การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ การศึกษานอกระบบโรงเรียน เป็นการทดสอบเพื่อวัดความรู้ให้แก่นักเรียนที่กำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ที่คาดว่าจะสำเร็จการศึกษาในภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 ของปีการศึกษา

วัตถุประสงค์ของการทดสอบN-NET
เพื่อทดสอบความรู้และความคิดของนักเรียนในระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ของหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
เพื่อนำผลการทดสอบไปใช้ในการปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนของโรงเรียน
เพื่อประกอบการสำเร็จการศึกษา
เพื่อนำผลการทดสอบไปใช้ในวัตถุประสงค์อื่น

สอบเทียบระดับ

การจัดสอบเทียบระดับการศึกษา ในระดับสูงสุดของการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สอบเทียบระดับฯ)
การสอบ N – NET (Non-formal National Education Test) N-NET (Non-Formal National Education Test) หมายถึง การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ การศึกษานอกระบบโรงเรียน เป็นการทดสอบเพื่อวัดความรู้ให้แก่นักเรียนที่กำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ที่คาดว่าจะสำเร็จการศึกษาในภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 ของปีการศึกษา

GAT/PAT
GAT เป็นการทดสอบวิชาความถนัดทั่วไป (General Aptitude Test) คือ การวัดศักยภาพในการเรียนในมหาวิทยาลัยให้ประสบความสำเร็จ มี 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 คือ ความสามารถในการอ่าน/การเขียน/การคิดเชิงวิเคราะห์/และการแก้โจทย์ปัญหา
ส่วนที่ 2 คือ ความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ประกอบด้วย
Speaking and Conversation
Vocabulary
Structure and Writing
Reading Comprehension
GAT เป็นการสอบที่ดูว่านักเรียนคนหนึ่งมีความพร้อมในการจะเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยมากน้อยแค่ไหน
PAT เป็นการทดสอบวิชาความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ (Professional and Academic Aptitude Test) คือ การวัดความรู้ที่เป็นพื้นฐาน กับศักยภาพที่จะเรียนในวิชาชีพนั้น ๆ ให้ประสบความสำเร็จมี 7 วิชา คือ

PAT 1 คือ ความถนัดทางคณิตศาสตร์
PAT 2 คือ ความถนัดทางวิทยาศาสตร์
PAT 3 คือ ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์
PAT 4 คือ ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
PAT 5 คือ ความถนัดทางวิชาชีพครู
PAT 6 คือ ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์
PAT 7 คือ ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ ประกอบด้วย
PAT 7.1 ความถนัดทางภาษาฝรั่งเศส
PAT 7.2 ความถนัดทางภาษาเยอรมัน
PAT 7.3 ความถนัดทางภาษาญี่ปุ่น
PAT 7.4 ความถนัดทางภาษาจีน
PAT 7.5 ความถนัดทางภาษาอาหรับ
PAT 7.6 ความถนัดทางภาษาบาลี
PAT เป็นการสอบที่จะดูว่านักเรียนคนหนึ่งมีแววจะเข้าสู่เส้นทางอาชีพในคณะที่เลือกไหม

9 วิชาสามัญ

ในปีการศึกษา  2555  ทปอ. ได้มีมติเห็นชอบให้มีการจัดการระบบรับตรงผ่านเคลียริ่งเฮาส์ (Clearing - house)  โดยยึดหลักการและวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1)  มหาวิทยาลัย/สถาบันอุดมศึกษา  ดำรงไว้ซึ่งเอกสิทธิ์ในการที่จะรับนักเรียนเข้าศึกษาตามแผนพัฒนาการศึกษาของมหาวิทยาลัย  และ 2) นักเรียนมีสิทธิ์ที่จะเลือกเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาที่ตนสนใจ  หรือมีความถนัด  ดังนั้น เพื่อเป็นการรองรับระบบการรับตรงผ่านเคลียริ่งเฮาส์ดังกล่าว  ทปอ. จึงได้มอบหมายให้  สทศ. จัดการทดสอบวิชาสามัญ  ใน 7 วิชา  คือ วิชาภาษาไทย  วิชาสังคมศึกษา  วิชาภาษาอังกฤษ  วิชาคณิตศาสตร์ วิชาฟิสิกส์  วิชาเคมี และวิชาชีววิทยา  เพื่อนำผลคะแนนไปใช้ในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาระบบรับตรง  รวมทั้งการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย  ต่อมา ทปอ. เห็นว่า ข้อสอบกลาง  ที่จัดสอบโดย สทศ. คือ วิชาสามัญ  7  วิชา  และ  GAT/PAT มีการพัฒนาและใช้ร่วมกันในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระบบรับตรงแต่รายวิชาดังกล่าว  ยังไม่ครอบคลุมเนื้อหาการทดสอบของนักเรียนสายศิลป์  จึงเห็นควรเพิ่มวิชาคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนสายศิลป์ และวิทยาศาสตร์ทั่วไป  สรุปในปีการศึกษา  2559  สทศ. จะจัดการทดสอบในรายวิชา ดังนี้

1. วิชาภาษาไทย    2. วิชาคณิตศาสตร์ 1    3. วิชาคณิตศาสตร์ 2
4. วิชาสังคมศึกษา    5. วิชาฟิสิกส์    6. วิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป
7. วิชาภาษาอังกฤษ    8. วิชาเคมี    9. วิชาชีววิทยา


ข้อมูลจาก #สทศ Niets
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่