พระอริยะบุคคลประเภทแรก โสดาบัน

โสดาบัน บุคคลคือ บุคคลประเภทใด

โสดาบัน (บาลี: Sotāpanna โสตาปนฺน) แปลว่า ผู้แรกถึงกระแสธรรม (แห่งพระนิพพาน) ถือเป็นอริยบุคคลระดับแรกใน 4 ระดับ คือ โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี อรหันต์

การละสังโยชน์

โสดาบัน ละสังโยชน์เบื้องต่ำ 3 ประการคือ

1 สักกายทิฏฐิ (กา-ยะ-) คือ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน ความเห็นเป็นเหตุถือตัวตนเป็นอัตตาทิฎฐิ เช่น เห็นรูปเป็นตน เห็นเวทนาเป็นตน

2 วิจิกิจฉา (กิด-) คือ ความสงสัยในพระรัตนตรัย และในกุศลธรรมทั้งหลาย

3 สีลัพพตปรามาส (ลับ-พะ-ตะ-ปะ-รา-มาด) คือ ความยึดมั่นในข้อปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ที่เข้าใจว่าเป็นข้อปฏิบัติที่บริสุทธิ์หลุดพ้น เป็นมิจฉาทิฏฐิ เช่น การประพฤติวัตรอย่างโค การนอนบนหนามของพวกโยคี ฤษี เป็นต้น

การบรรลุมรรคผลเป็นพระอริยบุคคลมิได้จำกัดอยู่เฉพาะเพศบรรพชิต (นักบวช) เท่านั้น แม้แต่คฤหัสถ์ก็สามารถบรรลุเป็นอริยบุคคลได้ ผู้บรรลุโสดาบันที่มีชื่อเสียงก็มีจำนวนมากได้แก่ นางวิสาขามหาอุบาสิกา อนาถบิณฑิกเศรษฐี พระเจ้าพิมพิสาร เป็นต้น

โสดาบัน แบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้

เอกพีชี (เอ-กะ-) ผู้มีพืชคืออัตตภาพอันเดียว ก็จะบรรลุเป็นอรหันต์

โกลังโกละ ผู้ไปจากสกุลสู่สกุล คือจะมาเกิดอีกเพียง 2-3 ชาติเท่านั้น แล้วจะได้สำเร็จเป็นอรหันต์สัตตัตตง

ปรมะ (ปะ-ระ-) ผู้มีเจ็ดครั้งเป็นอย่างยิ่ง คือจะต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏอีกไม่เกิน 7 ชาติ ก็จะได้บรรลุธรรมเป็นอรหันต์ ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป

การที่โสดาบันแบ่งเป็น 3 ประเภท ดังที่เพราะว่าอินทรีย์ 5 ได้แก่ ศรัทธา วิริยะ สมาธิ สติ และปัญญา แก่กล้าแตกต่างกัน ผู้ที่อินทรีย์ 5 ถึงความแก่รอบสม่ำเสมอ ก็สามารถบรรลุผลได้อย่างรวดเร็ว โสดาบันประเภทนี้เอกพีชีโสดาบัน

เป็นผู้มีดวงตาเห็นธรรมคือเห็น     ธรรมชาติความจริงเป็นสิ่งไม่เทืยงมี่การเกิดดับตลอดเวลา

ผู้แรกถึงกระแสธรรม (แห่งพระนิพพาน)  คือผู้ที่รู้เเละเข้าใจว่า  ขันธ์5เป็นของไม่เทืยง เข้าใจเหตุเเห่งการอุปทานขันธ์5

พิจจรณา ดูว่าทำไม สมัยพุทธกาล   พระพุทธเจ้าเทศสอนครั้งเดืยว ถึงได้บรรลุโสดาบันกันเเละมีมากมายในสมัยพุทธกาล  ทั้งนี้คงเข้าใจเเละได้รู้ความจริง ไม่ต้องคิดหลงเชือหรือมาให้ใครต้องมาทำนายผิดถูก เเต่ให้เราเข้าใจพิสูจรับรู้ได้ด้วยตัวเองตามคุณสมบัต  ทั้งหมดที่กล่าวมา
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่