บัญญัติที่คลาดเคลื่อนของสังโยชน์กับอริยบุคคล

เห็นชอบหยิบยกเรื่องสังโยชน์กับระดับความเป็นอริยบุคคลมากล่าว
บางครั้งผมอ่านผ่านๆไม่สนใจ  แต่บังเอิญได้ไปสนทนาในกระทู้ความเสื่อมถอยของสกิทาคา
ก็เลยทำให้รู้ว่า  มีหลายท่านที่ชอบกระทำตัวเป็นนกแก้วนกขุนทอง  เอาตำราในพระสูตรมาอ้างแบบขาดความเข้าใจ
เหตุนี้จึงทำให้พระสูตรถูกปรามาสและหยามเยียด   ซึ่งแท้จริงแล้วพระสูตรอาจจะบัญญัติธรรมไม่ครอบคลุม
จึงทำให้พวกที่ยังไร้ปัญญา เอาพระสูตรมาอ้างอิงแบบผิดๆมั่วๆ

ในระดับของสังโยชน์ที่ท่านกำหนดไว้๑๐อย่างนั้น   มีคนที่ไม่รู้เรื่องเอามาอ้างบอกว่า  
พระโสดาบันละสังโยชน์เบื้องต้นได้ ๓อย่าง .......นี่คือประเด็นที่มั่วจนน่าหัวร่อครับ

ตามที่เคยบอกคำว่า โสดาบัน  สกิทาคา อนาคา อรหันต์   ล้วนเป็นบัญญัติหรือชื่อที่ใช้เรียก  ขั้นของธรรม  เขาไม่ได้เจาะจงเรียกตัวบุคคล
การเจาะจงเรียกตัวบุคคลถือเป็นสักกายทิฐิ(กิเลส)

แท้จริงแล้วท่านแบ่งตัวบุคคลโดยลักษณะของความรู้กับไม่รู้ก็คือ  เสขะบุคคล คือผู้ยังต้องศึกษาและปฏิบัติ.....เพื่อเข้าถึงความเป็นนิพพาน
และ อีกอย่างก็คือ อเสขะ   ก็คือผู้ไม่ต้องศึกษาแล้ว  หมายความว่า  เข้าถึงจุดหมายแล้ว(นิพพาน)

ประเด็นสำคัญแห่งความเข้าใจมันอยู่ตรงนี้   ...การที่มาบอกว่า โสดาบันละสังโยชน์เบื้องต้นทั้ง๓ได้แล้ว  มันผิด
แท้ที่จริงแล้ว  ผู้ที่จะละสังโยชน์๓เบื้องต้นได้จะต้องเป็น พระอเสขะ(อรหันต์)เท่านั้น

การละสังโยชน์จะต้องละสังโยชน์ทั้ง๑๐ได้พร้อมกัน  ไม่ใช่มาละตัวใดตัวหนึ่ง  มันละตัวใดตัวหนึ่งไม่ได้
เพราะสังโยชน์ทั้ง๑๐มันมีความสัมพันธ์กัน   เป็นเหตุปัจจัยแก้กัน   สังโยชน์เบื้องต้นเป็นเหตุแห่งสังโยชน์เบื้องปลาย
การที่ยังมีสังโยชน์เบื้องปลายอยู่นั้นก็เพราะมันยังมียังโยชน์เบื้องต้นเป็นเหตุ.....ไม่ใช่มามั่วบอกว่า  "ละสังโยชน์เบื้องต้นได้แล้ว
กำลังละสังโยชน์เบื้องปลาย"  ....สังโยชน์เบื้องปลายมี  แสดงว่ายังมีสังโยชน์เบื้องต้นอยู่

ปล.จะละสังโยชน์ทั้ง๑๐  จะต้องละสังโยชน์ทั้ง๑๐นั้นพร้อมกัน   ไม่ใช่ละที่ละตัวสองตัว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่