มีอยู่ 2 พระสูตร
1.พยากรณ์ตนเอง อยู่ใน มหาปรินิพพานสูตร - หลักธรรมที่ชื่อว่าแว่นธรรม
2.พยากรณ์ผู้อื่น อยู่ใน ฉวิโสธนสูตร - ว่าด้วยหลักการตรวจสอบ ๖ ประการ
--------------------------------------------------------------------------------
1.พยากรณ์ตนเอง อยู่ใน มหาปรินิพพานสูตร - หลักธรรมที่ชื่อว่าแว่นธรรม
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=10&siri=3
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
[๓. มหาปรินิพพานสูตร]
หลักธรรมที่ชื่อว่าแว่นธรรม
[๑๕๘] อานนท์ ข้อที่บุคคลเกิดเป็นมนุษย์แล้วดับชีพนั้น ไม่ใช่เรื่องแปลก
แต่เมื่อผู้นั้นๆ ดับชีพแล้ว พวกเธอเข้ามาหาตถาคตถามเรื่องนั้น นั่นเป็นการรบกวนตถาคต
ฉะนั้น เราจะแสดงหลักธรรมที่ชื่อว่าแว่นธรรม เป็นเครื่องมือให้อริยสาวกมีไว้
เมื่อประสงค์ก็จะพึงพยากรณ์ตนได้ด้วยตนเองว่า ‘เราหมดสิ้นเหตุที่ให้ไปเกิดในนรก
หมดสิ้นเหตุที่ให้ไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หมดสิ้นเหตุที่ให้ไปเกิดในแดนเปรต
หมดสิ้นเหตุที่ให้ไปเกิดในอบาย ทุคติ และวินิบาตแล้ว เราเป็นพระโสดาบัน
ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’
[๑๕๙] หลักธรรมที่ชื่อว่าแว่นธรรม เป็นเครื่องมือให้อริยสาวกมีไว้
เมื่อประสงค์ ก็จะพึงพยากรณ์ตนได้ด้วยตนเองว่า ‘เราหมดสิ้นเหตุที่ให้ไปเกิดในนรก
หมดสิ้นเหตุที่ให้ไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หมดสิ้นเหตุที่ให้ไปเกิดในแดนเปรต
หมดสิ้นเหตุที่ให้ไปเกิดในอบาย ทุคติ และวินิบาตแล้ว เราเป็นพระโสดาบัน
ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า‘ คืออะไร
คือ พระอริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า
“แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์
ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค”
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า
“พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน”
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า
“พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง
ปฏิบัติถูกต้อง ปฏิบัติสมควร ได้แก่ อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย
ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี
เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก”
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย
เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหา และทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ
อานนท์ นี้แล คือหลักธรรมที่ชื่อว่าแว่นธรรม
เป็นเครื่องมือให้อริยสาวกมีไว้ เมื่อประสงค์ก็จะพึงพยากรณ์ตนได้ด้วยตนเองว่า
‘เราหมดสิ้นเหตุที่ให้ไปเกิดในนรกหมดสิ้นเหตุที่ให้ไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
หมดสิ้นเหตุที่ให้ไปเกิดในแดนเปรตหมดสิ้นเหตุที่ให้ไปเกิดในอบาย ทุคติ และวินิบาตแล้ว
เราเป็นพระโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’
(อ่านต่อตามลิ้งก์ที่ให้ไว้)-----------
อธิบายเพิ่ม..........
สีลัพพตปรามาส ให้ดูว่า
ขณะบรรลุธรรม ได้ดวงตาเห็นธรรม เห็นสภาวะอะไร ธรรมนั้นคืออะไร (จักขุงอุทะปาทิ .....วิชชาอุทะปาทิ)
"ทางนี้เท่านั้น ที่จะทำให้เข้าถึงความเป็นอย่างนี้ได้ ทางอื่นนอกจากนี้ไม่มีอีก"
ถ้าตอบได้ว่า
1. ทางนี้ คือทางไหน
2. ความเป็นอย่างนี้ คืออะไร
3. ทางอื่นนอกจากนี้ เช่นใดๆบ้าง
จึงชื่อว่า รู้ทางของจริง อยู่ในทาง ในกระแสแห่งนิพพาน
วิจิกิจฉาในพระรัตนไตร ดูให้ดีๆว่า
1. อะไรคือ พระพุทธเจ้าตัวจริง เห็นท่านไหม ตัวจริงท่านเป็นอย่างไร
(ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา)(แต่เทวดาและมนุษย์จะไม่เห็นพระพุทธเจ้า)
2. พระธรรมของจริง ที่ทำให้บรรลุธรรมนั้นคืออะไร (ข้อนี้จะลิ้งก์กับ สีลัพพตปรามาส)
3. พระอริยสงฆ์ ผู้บรรลุธรรม บรรลุได้อย่างไร อย่างไรจึงชื่อว่าผู้รู้ตาม (อนุพุทธ)
ตอบ 3 ข้อนี้ได้ จึงจะละวิจิกิจฉา ในพระรัตนไตรได้โดยสมบูรณ์
สักกายทิฏฐิ ดูลงไปให้เห็นว่า "ไม่มีใครได้เป็นอะไร"
คนก็เป็นไม่ได้ สัตว์ก็เป็นไม่ได้ สิ่งของก็เป็นไม่ได้
ไม่สามารถเป็นอะไรได้เลยในโลก ในจักรวาล ในทุก ๆ ภพภูมิ
และ "ไม่สามารถเป็นพระอริยะได้ด้วย"
ถ้ายังรู้สึกว่าได้เป็น แม้ความเป็นพระอริยะก็ตาม
ยังแปลว่า ยังมีความเป็นอยู่ สักกายทิฏฐิยังไม่ขาด
"เพราะไม่ได้เป็น จึงได้เป็น ตามสมมุติบัญญัติ ที่พระพุทธเจ้าตั้งชื่อไว้"
--------------------------------------------------------------------------------------------------
2.พยากรณ์ผู้อื่น อยู่ใน ฉวิโสธนสูตร - ว่าด้วยหลักการตรวจสอบ ๖ ประการ
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=14&siri=12
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
๒. ฉวิโสธนสูตร
ว่าด้วยหลักการตรวจสอบ ๖ ประการ
[๙๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล
พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมพยากรณ์อรหัตตผลว่า
‘ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป‘
เธอทั้งหลายไม่ควรยินดี ไม่ควรคัดค้านคำกล่าวของภิกษุรูปนั้น
ไม่ยินดี ไม่คัดค้านแล้ว พึงถามปัญหาว่า
‘ท่านผู้มีอายุ โวหาร ๔ประการนี้ที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้ชอบแล้ว’
โวหาร ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การกล่าวสิ่งที่ได้เห็นว่าได้เห็น
๒. การกล่าวสิ่งที่ได้ฟังว่าได้ฟัง
๓. การกล่าวสิ่งที่ได้ทราบว่าได้ทราบ
๔. การกล่าวสิ่งที่ได้รู้ว่าได้รู้
ท่านผู้มีอายุ โวหาร ๔ ประการนี้ ที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้ชอบแล้ว ก็จิตของท่านผู้มีอายุ
ผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างไร จึงหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ยึดมั่นในโวหาร ๔ ประการนี้ได้’
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตน โดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว
หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ จึงนับว่ามีธรรมสมควรพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า
‘ท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสอาศัยไม่ได้ อันกิเลสพัวพันไม่ได้
หลุดพ้นแล้ว พรากได้แล้วในสิ่งที่ตนเห็นแล้ว มีจิตที่ฝึกให้ปราศจากเขตแดน คือกิเลสได้แล้วอยู่
ข้าพเจ้าไม่ยินดี ... ในสิ่งที่ตนได้ฟังแล้ว ...
ข้าพเจ้าไม่ยินดี ... ในสิ่งที่ตนได้ทราบแล้ว ...
ข้าพเจ้าไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสอาศัยไม่ได้ อันกิเลสพัวพันไม่ได้
หลุดพ้นแล้ว พรากได้แล้วในสิ่งที่ตนได้รู้ มีจิตที่ฝึกให้ปราศจากเขตแดนคือกิเลส
ได้แล้วอยู่ จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะ
ไม่ยึดมั่นในโวหาร ๔ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย คำที่ภิกษุรูปนั้นกล่าว เธอทั้งหลายควรชื่นชมยินดีว่า ‘สาธุ’
แล้วพึงถามปัญหายิ่งขึ้นไปว่า......
(อ่านต่อตามลิ้งก์ที่ให้ไว้)
--------------------------------------------------------------------------------
ขอแปลตรงข้อ 2. เพิ่ม คือ ต้องตอบได้ว่า การได้ดวงตาเห็นธรรมนั้น
เห็นสภาวะธรรมอะไร... จิตนั้นแสดงธรรมอะไร...
ทราบหรือเข้าใจธรรมนั้นว่าอย่างไร... รู้แจ้งในธรรมนั้นว่าอย่างไร...
ในส่วนความไม่ยินดียินร้าย
ในสิ่งที่ตนได้เห็น ได้ฟัง ได้ทราบ ได้รู้...
ตรงนี้คือความต่างของพระอริยะแต่ละระดับ
ซึ่งผู้ตรวจสอบ ต้องมีภูมิธรรมเสมอกัน หรือสูงกว่า
ถึงจะรู้คำตอบที่แท้จริงในข้อนั้นๆ จึงจะตรวจสอบได้
ซึ่งถ้าผู้ตรวจสอบเป็นพระอริยะที่มีอภิญญา
ก็สามารถใช้อภิญญาตรวจสอบร่วมได้ด้วยว่า
จิตของผู้นั้น มีกระแสนิพพานอยู่หรือไม่ ก็จะรู้ได้ไม่ยาก
เพราะผู้ที่มีกระแสนิพพานอยู่ในดวงจิต มีแต่พระอริยะเท่านั้นที่มีได้
จิตที่สัมผัสพระนิพพานมาแล้วตอนบรรลุธรรม จะไม่เหมือนจิตปุถุชน
แต่จะเป็นพระอริยะระดับใด ก็ต้องพิจารณากันเพิ่มเติมต่อไป
เช่น ถ้าพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี...
เมื่อบรรลุธรรมแล้ว ก็ยังยึดติดธรรมในระดับนั้น ๆ ที่ตนได้อยู่
และมีกิเลสเหลือเป็นส่วน ๆ ตามระดับไป
พระโสดาบัน ยังมีมานะ ความยึดในธรรมที่ตนได้ ว่า ได้โสดาบันแล้ว
ละสังโยชน์ 3 ประการได้แล้ว ทั้งนี้ ยังมีความยินดียินร้าย
ในกามและปฏิฆะเท่าคนธรรมดา แต่จะไม่ทำผิดศีล 5 โดยจงใจ
พระสกิทาคามี ยังมีมานะ ความยึดในธรรมที่ตนได้ ว่า ได้สกิทาคามีแล้ว
ละสังโยชน์ 3 ประการได้แล้ว ทั้งนี้ กามและปฏิฆะ ที่แม้จะเบาบางลง แต่ยังมีส่วนเหลือ
ยังพอใจในกามเป็นพัก ๆ ยังมีความขัดเคืองใจได้เป็นบางคราว
50%+- โดยประมาณ แล้วแต่เรื่องที่มากระทบจิต+วาสนาส่วนบุคคล
พระอนาคามี ยังมีมานะ ความยึดในธรรมที่ตนได้ ว่า ได้อนาคามีแล้ว
จิตพ้นไปจากสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ประการโดยสมบูรณ์
แต่จิตยังไม่วางสังโยชน์เบื้องสูง 5 ประการ มีลักษณะประมาณนั้น
แต่..พระอรหันต์ เมื่อบรรลุแล้ว พระอรหันต์ ไม่ติดทั้งบุญและบาป
ไม่ติดทั้งดีและชั่ว ไม่ยินดียินร้าย ใด ๆ ในโลก (จิตพ้นโลก)
ลักษณะการตรวจสอบในเบื้องต้น มีประมาณนี้
หลักธรรมที่พระพุทธเจ้าให้ไว้เพื่อพยากรณ์ มรรค ผล ของตนเอง และพยากรณ์ มรรค ผล ของผู้อื่น
1.พยากรณ์ตนเอง อยู่ใน มหาปรินิพพานสูตร - หลักธรรมที่ชื่อว่าแว่นธรรม
2.พยากรณ์ผู้อื่น อยู่ใน ฉวิโสธนสูตร - ว่าด้วยหลักการตรวจสอบ ๖ ประการ
--------------------------------------------------------------------------------
1.พยากรณ์ตนเอง อยู่ใน มหาปรินิพพานสูตร - หลักธรรมที่ชื่อว่าแว่นธรรม
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=10&siri=3
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
[๓. มหาปรินิพพานสูตร]
หลักธรรมที่ชื่อว่าแว่นธรรม
[๑๕๘] อานนท์ ข้อที่บุคคลเกิดเป็นมนุษย์แล้วดับชีพนั้น ไม่ใช่เรื่องแปลก
แต่เมื่อผู้นั้นๆ ดับชีพแล้ว พวกเธอเข้ามาหาตถาคตถามเรื่องนั้น นั่นเป็นการรบกวนตถาคต
ฉะนั้น เราจะแสดงหลักธรรมที่ชื่อว่าแว่นธรรม เป็นเครื่องมือให้อริยสาวกมีไว้
เมื่อประสงค์ก็จะพึงพยากรณ์ตนได้ด้วยตนเองว่า ‘เราหมดสิ้นเหตุที่ให้ไปเกิดในนรก
หมดสิ้นเหตุที่ให้ไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หมดสิ้นเหตุที่ให้ไปเกิดในแดนเปรต
หมดสิ้นเหตุที่ให้ไปเกิดในอบาย ทุคติ และวินิบาตแล้ว เราเป็นพระโสดาบัน
ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’
[๑๕๙] หลักธรรมที่ชื่อว่าแว่นธรรม เป็นเครื่องมือให้อริยสาวกมีไว้
เมื่อประสงค์ ก็จะพึงพยากรณ์ตนได้ด้วยตนเองว่า ‘เราหมดสิ้นเหตุที่ให้ไปเกิดในนรก
หมดสิ้นเหตุที่ให้ไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หมดสิ้นเหตุที่ให้ไปเกิดในแดนเปรต
หมดสิ้นเหตุที่ให้ไปเกิดในอบาย ทุคติ และวินิบาตแล้ว เราเป็นพระโสดาบัน
ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า‘ คืออะไร
คือ พระอริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า
“แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์
ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค”
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า
“พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน”
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า
“พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง
ปฏิบัติถูกต้อง ปฏิบัติสมควร ได้แก่ อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย
ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี
เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก”
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย
เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหา และทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ
อานนท์ นี้แล คือหลักธรรมที่ชื่อว่าแว่นธรรม
เป็นเครื่องมือให้อริยสาวกมีไว้ เมื่อประสงค์ก็จะพึงพยากรณ์ตนได้ด้วยตนเองว่า
‘เราหมดสิ้นเหตุที่ให้ไปเกิดในนรกหมดสิ้นเหตุที่ให้ไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
หมดสิ้นเหตุที่ให้ไปเกิดในแดนเปรตหมดสิ้นเหตุที่ให้ไปเกิดในอบาย ทุคติ และวินิบาตแล้ว
เราเป็นพระโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’
(อ่านต่อตามลิ้งก์ที่ให้ไว้)-----------
อธิบายเพิ่ม..........
สีลัพพตปรามาส ให้ดูว่า
ขณะบรรลุธรรม ได้ดวงตาเห็นธรรม เห็นสภาวะอะไร ธรรมนั้นคืออะไร (จักขุงอุทะปาทิ .....วิชชาอุทะปาทิ)
"ทางนี้เท่านั้น ที่จะทำให้เข้าถึงความเป็นอย่างนี้ได้ ทางอื่นนอกจากนี้ไม่มีอีก"
ถ้าตอบได้ว่า
1. ทางนี้ คือทางไหน
2. ความเป็นอย่างนี้ คืออะไร
3. ทางอื่นนอกจากนี้ เช่นใดๆบ้าง
จึงชื่อว่า รู้ทางของจริง อยู่ในทาง ในกระแสแห่งนิพพาน
วิจิกิจฉาในพระรัตนไตร ดูให้ดีๆว่า
1. อะไรคือ พระพุทธเจ้าตัวจริง เห็นท่านไหม ตัวจริงท่านเป็นอย่างไร
(ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา)(แต่เทวดาและมนุษย์จะไม่เห็นพระพุทธเจ้า)
2. พระธรรมของจริง ที่ทำให้บรรลุธรรมนั้นคืออะไร (ข้อนี้จะลิ้งก์กับ สีลัพพตปรามาส)
3. พระอริยสงฆ์ ผู้บรรลุธรรม บรรลุได้อย่างไร อย่างไรจึงชื่อว่าผู้รู้ตาม (อนุพุทธ)
ตอบ 3 ข้อนี้ได้ จึงจะละวิจิกิจฉา ในพระรัตนไตรได้โดยสมบูรณ์
สักกายทิฏฐิ ดูลงไปให้เห็นว่า "ไม่มีใครได้เป็นอะไร"
คนก็เป็นไม่ได้ สัตว์ก็เป็นไม่ได้ สิ่งของก็เป็นไม่ได้
ไม่สามารถเป็นอะไรได้เลยในโลก ในจักรวาล ในทุก ๆ ภพภูมิ
และ "ไม่สามารถเป็นพระอริยะได้ด้วย"
ถ้ายังรู้สึกว่าได้เป็น แม้ความเป็นพระอริยะก็ตาม
ยังแปลว่า ยังมีความเป็นอยู่ สักกายทิฏฐิยังไม่ขาด
"เพราะไม่ได้เป็น จึงได้เป็น ตามสมมุติบัญญัติ ที่พระพุทธเจ้าตั้งชื่อไว้"
--------------------------------------------------------------------------------------------------
2.พยากรณ์ผู้อื่น อยู่ใน ฉวิโสธนสูตร - ว่าด้วยหลักการตรวจสอบ ๖ ประการ
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=14&siri=12
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
๒. ฉวิโสธนสูตร
ว่าด้วยหลักการตรวจสอบ ๖ ประการ
[๙๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล
พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมพยากรณ์อรหัตตผลว่า
‘ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป‘
เธอทั้งหลายไม่ควรยินดี ไม่ควรคัดค้านคำกล่าวของภิกษุรูปนั้น
ไม่ยินดี ไม่คัดค้านแล้ว พึงถามปัญหาว่า
‘ท่านผู้มีอายุ โวหาร ๔ประการนี้ที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้ชอบแล้ว’
โวหาร ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การกล่าวสิ่งที่ได้เห็นว่าได้เห็น
๒. การกล่าวสิ่งที่ได้ฟังว่าได้ฟัง
๓. การกล่าวสิ่งที่ได้ทราบว่าได้ทราบ
๔. การกล่าวสิ่งที่ได้รู้ว่าได้รู้
ท่านผู้มีอายุ โวหาร ๔ ประการนี้ ที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้ชอบแล้ว ก็จิตของท่านผู้มีอายุ
ผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างไร จึงหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ยึดมั่นในโวหาร ๔ ประการนี้ได้’
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตน โดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว
หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ จึงนับว่ามีธรรมสมควรพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า
‘ท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสอาศัยไม่ได้ อันกิเลสพัวพันไม่ได้
หลุดพ้นแล้ว พรากได้แล้วในสิ่งที่ตนเห็นแล้ว มีจิตที่ฝึกให้ปราศจากเขตแดน คือกิเลสได้แล้วอยู่
ข้าพเจ้าไม่ยินดี ... ในสิ่งที่ตนได้ฟังแล้ว ...
ข้าพเจ้าไม่ยินดี ... ในสิ่งที่ตนได้ทราบแล้ว ...
ข้าพเจ้าไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสอาศัยไม่ได้ อันกิเลสพัวพันไม่ได้
หลุดพ้นแล้ว พรากได้แล้วในสิ่งที่ตนได้รู้ มีจิตที่ฝึกให้ปราศจากเขตแดนคือกิเลส
ได้แล้วอยู่ จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะ
ไม่ยึดมั่นในโวหาร ๔ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย คำที่ภิกษุรูปนั้นกล่าว เธอทั้งหลายควรชื่นชมยินดีว่า ‘สาธุ’
แล้วพึงถามปัญหายิ่งขึ้นไปว่า......
(อ่านต่อตามลิ้งก์ที่ให้ไว้)
--------------------------------------------------------------------------------
ขอแปลตรงข้อ 2. เพิ่ม คือ ต้องตอบได้ว่า การได้ดวงตาเห็นธรรมนั้น
เห็นสภาวะธรรมอะไร... จิตนั้นแสดงธรรมอะไร...
ทราบหรือเข้าใจธรรมนั้นว่าอย่างไร... รู้แจ้งในธรรมนั้นว่าอย่างไร...
ในส่วนความไม่ยินดียินร้าย
ในสิ่งที่ตนได้เห็น ได้ฟัง ได้ทราบ ได้รู้...
ตรงนี้คือความต่างของพระอริยะแต่ละระดับ
ซึ่งผู้ตรวจสอบ ต้องมีภูมิธรรมเสมอกัน หรือสูงกว่า
ถึงจะรู้คำตอบที่แท้จริงในข้อนั้นๆ จึงจะตรวจสอบได้
ซึ่งถ้าผู้ตรวจสอบเป็นพระอริยะที่มีอภิญญา
ก็สามารถใช้อภิญญาตรวจสอบร่วมได้ด้วยว่า
จิตของผู้นั้น มีกระแสนิพพานอยู่หรือไม่ ก็จะรู้ได้ไม่ยาก
เพราะผู้ที่มีกระแสนิพพานอยู่ในดวงจิต มีแต่พระอริยะเท่านั้นที่มีได้
จิตที่สัมผัสพระนิพพานมาแล้วตอนบรรลุธรรม จะไม่เหมือนจิตปุถุชน
แต่จะเป็นพระอริยะระดับใด ก็ต้องพิจารณากันเพิ่มเติมต่อไป
เช่น ถ้าพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี...
เมื่อบรรลุธรรมแล้ว ก็ยังยึดติดธรรมในระดับนั้น ๆ ที่ตนได้อยู่
และมีกิเลสเหลือเป็นส่วน ๆ ตามระดับไป
พระโสดาบัน ยังมีมานะ ความยึดในธรรมที่ตนได้ ว่า ได้โสดาบันแล้ว
ละสังโยชน์ 3 ประการได้แล้ว ทั้งนี้ ยังมีความยินดียินร้าย
ในกามและปฏิฆะเท่าคนธรรมดา แต่จะไม่ทำผิดศีล 5 โดยจงใจ
พระสกิทาคามี ยังมีมานะ ความยึดในธรรมที่ตนได้ ว่า ได้สกิทาคามีแล้ว
ละสังโยชน์ 3 ประการได้แล้ว ทั้งนี้ กามและปฏิฆะ ที่แม้จะเบาบางลง แต่ยังมีส่วนเหลือ
ยังพอใจในกามเป็นพัก ๆ ยังมีความขัดเคืองใจได้เป็นบางคราว
50%+- โดยประมาณ แล้วแต่เรื่องที่มากระทบจิต+วาสนาส่วนบุคคล
พระอนาคามี ยังมีมานะ ความยึดในธรรมที่ตนได้ ว่า ได้อนาคามีแล้ว
จิตพ้นไปจากสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ประการโดยสมบูรณ์
แต่จิตยังไม่วางสังโยชน์เบื้องสูง 5 ประการ มีลักษณะประมาณนั้น
แต่..พระอรหันต์ เมื่อบรรลุแล้ว พระอรหันต์ ไม่ติดทั้งบุญและบาป
ไม่ติดทั้งดีและชั่ว ไม่ยินดียินร้าย ใด ๆ ในโลก (จิตพ้นโลก)
ลักษณะการตรวจสอบในเบื้องต้น มีประมาณนี้