Look what the cat dragged in!!
หลายคนอาจกำลังใช้ ‘
ภาษาทังกฤษ’ อยู่!
ไม่ได้พิมพ์ผิดอะไร ผมกำลังพูดถึงภาษา ‘
ทังกฤษ’ อยู่จริง ๆ หรือที่มีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า "
Tinglish" (English + Thai = Tinglish)
ลองเช็คว่าเราใช้ภาษาอังกฤษแบบนี้หรือเปล่า?
-
ใช้คำศัพท์ตามภาษาไทย เช่น “
ปิดไฟ" พูดว่า "
Close the light" (แทนที่จะใช้ Turn off the light)
-
พูดซ้ำ ๆ กันในประโยค “
เหมือนกัน” พูดว่า "
Same same" (แทนที่จะใช้ It’s the same)
-
อ่านคำศัพท์โดยเน้นที่พยางค์สุดท้าย เช่น com-pu-‘
TER (แทนที่จะเป็น com-‘
PU-ter) หรือ mo-‘
THER (แทนที่ ‘
MO-ther) หรือ ta-‘
BLE (แทนที่ ‘
TA-ble)
-
ไม่ออกเสียงพยัญชนะท้าย เช่น Dog อ่านว่า ‘
ด้อก' แทนที่จะอ่านว่า ‘
ด้อกฺ’ (ออกเสียงคล้าย ๆ ด้อก-
เกอะ หรือ ด้อก-
กึ) / ออกเสียง Call ว่า ‘คอ' แทนที่ ‘โค
ลฺ/คอ
ลฺ’
-
แทนเสียง 'L' ด้วย 'N' เช่น "
ทูน" (tool) หรือ "
สะกูน" (school)
-
ออกเสียงสระผสมในภาษาอังกฤษเป็นสระเดี่ยว เช่น Go ที่ควรออกเสียงว่า ‘
โก้ว’ (โดยมีเสียง ‘w' หรือ ‘ว’ ปิดท้ายด้วย) แต่เราก็อ่านแค่ ‘โก’ แบบเนิ่บ ๆ
ถ้าเป็นแบบที่กล่าวมา แสดงว่าคุณกำลังใช้ "
ภาษาทังกฤษ" หรือ "
ทิงลิช" อยู่ ไม่ใช่ English!
______________
คำถามที่สำคัญคือ การใช้ "Tinglish" แบบนี้เป็นเรื่องที่ดีหรือไม่?
ถ้าถามฝรั่ง แน่นอนว่ามันไม่ดี เพราะฟังไม่ค่อยรู้เรื่อง
แต่สำหรับคนไทยด้วยกัน ก็จะบอกว่าฟังง่ายถ่าย(ทอดออกมาเป็นคำพูด)คล่องเลย
แต่ถ้าใช้ Tinglish ไปเรื่อย ๆ แบบนี้ แน่นอนว่า
สกิลด้าน pronunciation จะไม่พัฒนา!
นักภาษาศาสตร์มองว่าการใช้ภาษาอังกฤษแบบนี้เป็นเรื่องที่ดี (อ้าวเฮ้ย!) เพราะมันทำให้เราเห็น ‘
การเปลี่ยนแปลงหรือวิวัฒนาการของภาษา’ จากภาษาแม่ไปภาษาที่สองได้อย่างชัดเจน
สิ่งที่นักภาษาศาสตร์สนใจคือ "
เมื่อภาษาที่สอง (หมายถึงภาษาอังกฤษ) มาเจอภาษาแม่ (ภาษาไทย) มันจะเกิดปฎิกริยาอะไรขึ้นบ้างกับผู้ใช้ (คนไทย) บ้าง"
_______________
มาดูว่านอกจากเรื่องที่กล่าวไปข้างบน Tinglish ยังมี
feature หรือ
ลักษณะเด่นอย่างไรอีก และ(หากต้องการ)เราจะสามารถแก้ไขให้มันกลับมาเป็น English ได้อย่างไร
Features (ลักษณะเด่น) หรือ Characteristics (คุณลักษณะ) ของ ‘ภาษาทังกฤษ’ มีดังนี้
1.
ใช้ "already" ใน present tense
เช่น “I
do my homework
already.”
“I
already call him this morning.” etc.
แบบนี้ผิดเพราะ
already ต้องใช้กับ past tense พูดถึงเรื่องที่ทำไป ‘เรียบร้อยแล้ว’
ควรแก้เป็น “I
already did my homework.” “I
already called him this morning.”
_____
2.
ละ articles (a, an) หน้าคำนามนับได้ และ
ไม่เติม -s หรือ -es ให้กับคำนามที่เป็นพหูพจน์
- ละ articles เช่น
“I want
new computer.” (ควรเป็น a new computer)
“I want to go
to toilet.” (ควรเป็น a toilet)
- ลืมเติม -s เช่น
“I need to buy
a lot of thing.” (ควรเป็น a lot of things)
“
How many book do you have?” (ควรเป็น How many books...)
วิธีคิดคือ "ทุกครั้งที่คำนามเป็นนามนับได้ (idea, horse, dog, shop, book etc.)
เราต้องระบุจำนวนเสมอ
ดังนั้นเราจึงมีสองทางเลือกคือ
เติม a, an, the หรือ
เติม -e, -es ให้กับคำนาม"
_____
3.
เพิ่มเสียงสระให้กับตัว S ในคำว่า star, start, sky etc.
เวลาคนไทยออกเสียงคำเหล่านี้มักพูดว่า
สะ-ตา (
Sah-tar), สะ-ต้าท (sa-tart), สะ-กาย (sah-ky)
การออกเสียงแบบนี้ผิด! เพราะตัว s ที่ขึ้นต้นคำเหล่านี้นี้มันเป็น "
cluster" หรือ พยัญชนะควบกล้ำ ‘st-’ (เป็นเสียง สฺตฺ)
ดังนั้นเราจึงไม่ควรไปเพิ่มสระ a (สะ) ให้มัน ให้เสียงเป็น s (สฺ) ก็พอ
เช่น
สฺตา (s-tar ไม่ใช่ sah-tar) /
สฺต้าท (s-tart) /
สฺกาย (s-ky)
รวมไปถึงคำอื่น ๆ ทุกคำเลยนะ
_____
4.
ย้ายตัว s ที่ควรอยู่กับ verb ไปอยู่กับประธาน
เช่น
She’s like to drink. (ควรบอกว่า She
likes to drink.)
He’s know a lot. (ควรบอกว่า He
knows a lot.)
แกรมมาร์เรื่องนี้คือ Subject-Verb agreement ที่บอกว่า
"หากประธานเป็น
, she, it ใน present tense ให้เราเติม -s ให้กับกริยาด้วย (He loves, she talks, it runs etc.)"
เราอาจเติมถูกแล้วเวลาเขียน แต่บางทีเผลอออกเสียงสลับที่กันในตอนพูด ต้องไปฝึกให้แม่น ๆ
_____
5. จบประโยคด้วย krub, kha, na etc. (Thai final particles)
เช่น I told you yesterday
ngai. / I don’t know
na. / Thank you
krub.
บางทีอาจเผลอลืมตัวไป ฝรั่งที่ไม่รู้จักภาษาไทยอาจจะงงได้
_____
6. ใช้ very หน้ากริยา
เช่น "I
very love you."
"She
very like the gift."
หากจะใช้ very กับกริยา ต้องเปลี่ยนเป็น "
really" หรือ "
very much" (หากใช้ very much ต้องเอาไปไว้ท้ายประโยค)
ข้างบนจึงควรแก้เป็น
"I
love you
very much."
"She
really liked the gift."
_______________
ที่กล่าวมาข้างบนจะเป็นสิ่งที่ผมเจออยู่บ่อย ๆ ไม่อยากยกตัวอย่างเยอะละ เชื่อว่าหลาย ๆ คนน่าจะคุ้นเคยกันอยู่
ขอยกคำนิยามภาษาอังกฤษง่าย ๆ มาให้ว่าฝรั่งเขาพูดถึง Tinglish ว่ามี "ลักษณะเด่น" อย่างไรบ้าง
-
zero copula
(“การละ verb 'to be’” เช่น He handsome. (แทน He is handsome.))
-
use of present tense + already, in contrast to past tense of Standard English
(อ่านข้อ 1)
-
non-standard use or omissions of articles, declension, prepositions, and conjugation
(ไม่เติม articles (a, an, the) / ไม่ใช้ declension (การเติม apostrophe s แสดงความเป็นเจ้าของ เช่น John’s car) / และไม่มี conjugation (การผันกริยาตาม tense) เช่น Go - went - gone แต่ Tinglish ใช้เป็น Go-goed-goed)
-
addition of Thai final particles such as "I don’t know na"
(อ่านข้อ 5)
-
‘any’ and ‘every’ are used interchangeably
(ใช้ any กับ every สลับกัน)
-
pronunciation of silent letters in a word
(ออกเสียงพยัญชนะที่ไม่ควรออกเช่น Knee (คะนี) / Knight (คไน้))
-
omission of the consonant at the end of words ending in a diphthong and a consonant, for instance Mickey Mouse pronounced “Mickey Mao”, white wine pronounced “why why”, and news pronounced “new”
(ไม่ออกเสียงพยัญชนะท้าย หรือไม่เสียงสระผสมแค่ครึ่งเสียง)
-
inserting vowel sounds into consonant clusters, for instance slow pronounced “sah-low”
(อ่านข้อ 3)
-
/ɹ/ pronounced as /l/
(ออกเสียง R เป็น L เช่น Right - Light / Problem - Ploblem etc.)
-
⟨th⟩ pronounced as /t/
(ออกเสียง TH เป็น T เช่น Think - Tink / Athena - Ateena etc.)
-
using "N" to replace an "L" sound at the end of the word, for instance "school" pronounced "sah-koon" or "football" pronounced “futbon”
(แทนเสียงตัว L (ลฺ) ด้วย N (น))
-
moving "S" on singular verbs to the subject, for instance "'s talk too much" instead of "He talks too much”
(อ่านข้อ 4)
-
omission of prepositions, for instance "I wait you" instead of "I'll wait for you" or "I listen him" for "I listened to him”
(ไม่เติม Preposition ให้กับ verb ที่ควรมีเช่น Wait ที่ต้องมี for ด้วยหากจะบอกว่า ‘รอใคร’)
-
"very" and "very much" are used interchangeably, for instance "I very love my daughter" and "She beautiful very much”
(อ่านข้อ 6)
_______________
เด็กเอกอิ้งต้องได้เรียนเรื่องนี้แน่ ๆ เราเรียกมันว่า "
Phonological process" หรือ "
กระบวนการออกเสียง" ที่เกิดขึ้นเมื่อคนไทยพูดภาษาอังกฤษนี่เอง
น่าเสียดายที่มาสอนทีก็มหา’ลัยเลย น่าจะสอนตั้งแต่อนุบาลละ ยังไงเพื่อน ๆ ก็อย่าลืมเอาไปปรับใช้ให้ภาษาอังกฤษของเรามันเป็น ‘English’ มากขึ้นด้วยนะ
ทั้งนี้ไม่ได้บอกว่า "ภาษาทังกฤษ" หรือ Tinglish ของเรามันแย่นะเว้ยเฮ้ย
ไม่ต้องไปต่อว่าหรือตำหนิหรือแม้กระทั่งดูถูกคนที่เขาใช้ภาษาอังกฤษแบบนี้ ผมเห็นมาเยอะละ ไม่ใช่นิสัยที่น่ารักเลย จำไว้ว่าภาษาอังกฤษ
หากคุยกันรู้เรื่องก็โอเคแล้ว ไม่จำเป็นต้องสำเนียงเป๊ะ!
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าถ้าเราสำเนียงไม่ดีแล้วต้องใช้
Tinglish ตลอดไปเหมือนกันนะ!
ศึกษาและฝึกฝนให้สม่ำเสมอ เดี๋ยวการออกเสียงของเราจะเริ่มกลายเป็น
English ขึ้นเรื่อย ๆ เอง!
"You can't know ALL, but damn right you can know MORE!"
Go know more at facebook page "
พ่อผมเป็นคนอังกฤษ" (
http://www.facebook.com/myfathersanenglishman)
Stay electric
JGC.
ทำความรู้จัก "Tinglish" ภาษาอังกฤษแบบไทย ๆ (พร้อมวิธีแก้!)
หลายคนอาจกำลังใช้ ‘ภาษาทังกฤษ’ อยู่!
ไม่ได้พิมพ์ผิดอะไร ผมกำลังพูดถึงภาษา ‘ทังกฤษ’ อยู่จริง ๆ หรือที่มีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า "Tinglish" (English + Thai = Tinglish)
ลองเช็คว่าเราใช้ภาษาอังกฤษแบบนี้หรือเปล่า?
- ใช้คำศัพท์ตามภาษาไทย เช่น “ปิดไฟ" พูดว่า "Close the light" (แทนที่จะใช้ Turn off the light)
- พูดซ้ำ ๆ กันในประโยค “เหมือนกัน” พูดว่า "Same same" (แทนที่จะใช้ It’s the same)
- อ่านคำศัพท์โดยเน้นที่พยางค์สุดท้าย เช่น com-pu-‘TER (แทนที่จะเป็น com-‘PU-ter) หรือ mo-‘THER (แทนที่ ‘MO-ther) หรือ ta-‘BLE (แทนที่ ‘TA-ble)
- ไม่ออกเสียงพยัญชนะท้าย เช่น Dog อ่านว่า ‘ด้อก' แทนที่จะอ่านว่า ‘ด้อกฺ’ (ออกเสียงคล้าย ๆ ด้อก-เกอะ หรือ ด้อก-กึ) / ออกเสียง Call ว่า ‘คอ' แทนที่ ‘โคลฺ/คอลฺ’
- แทนเสียง 'L' ด้วย 'N' เช่น "ทูน" (tool) หรือ "สะกูน" (school)
- ออกเสียงสระผสมในภาษาอังกฤษเป็นสระเดี่ยว เช่น Go ที่ควรออกเสียงว่า ‘โก้ว’ (โดยมีเสียง ‘w' หรือ ‘ว’ ปิดท้ายด้วย) แต่เราก็อ่านแค่ ‘โก’ แบบเนิ่บ ๆ
ถ้าเป็นแบบที่กล่าวมา แสดงว่าคุณกำลังใช้ "ภาษาทังกฤษ" หรือ "ทิงลิช" อยู่ ไม่ใช่ English!
______________
คำถามที่สำคัญคือ การใช้ "Tinglish" แบบนี้เป็นเรื่องที่ดีหรือไม่?
ถ้าถามฝรั่ง แน่นอนว่ามันไม่ดี เพราะฟังไม่ค่อยรู้เรื่อง
แต่สำหรับคนไทยด้วยกัน ก็จะบอกว่าฟังง่ายถ่าย(ทอดออกมาเป็นคำพูด)คล่องเลย
แต่ถ้าใช้ Tinglish ไปเรื่อย ๆ แบบนี้ แน่นอนว่าสกิลด้าน pronunciation จะไม่พัฒนา!
นักภาษาศาสตร์มองว่าการใช้ภาษาอังกฤษแบบนี้เป็นเรื่องที่ดี (อ้าวเฮ้ย!) เพราะมันทำให้เราเห็น ‘การเปลี่ยนแปลงหรือวิวัฒนาการของภาษา’ จากภาษาแม่ไปภาษาที่สองได้อย่างชัดเจน
สิ่งที่นักภาษาศาสตร์สนใจคือ "เมื่อภาษาที่สอง (หมายถึงภาษาอังกฤษ) มาเจอภาษาแม่ (ภาษาไทย) มันจะเกิดปฎิกริยาอะไรขึ้นบ้างกับผู้ใช้ (คนไทย) บ้าง"
_______________
มาดูว่านอกจากเรื่องที่กล่าวไปข้างบน Tinglish ยังมี feature หรือลักษณะเด่นอย่างไรอีก และ(หากต้องการ)เราจะสามารถแก้ไขให้มันกลับมาเป็น English ได้อย่างไร
Features (ลักษณะเด่น) หรือ Characteristics (คุณลักษณะ) ของ ‘ภาษาทังกฤษ’ มีดังนี้
1. ใช้ "already" ใน present tense
เช่น “I do my homework already.”
“I already call him this morning.” etc.
แบบนี้ผิดเพราะ already ต้องใช้กับ past tense พูดถึงเรื่องที่ทำไป ‘เรียบร้อยแล้ว’
ควรแก้เป็น “I already did my homework.” “I already called him this morning.”
_____
2. ละ articles (a, an) หน้าคำนามนับได้ และ ไม่เติม -s หรือ -es ให้กับคำนามที่เป็นพหูพจน์
- ละ articles เช่น
“I want new computer.” (ควรเป็น a new computer)
“I want to go to toilet.” (ควรเป็น a toilet)
- ลืมเติม -s เช่น
“I need to buy a lot of thing.” (ควรเป็น a lot of things)
“How many book do you have?” (ควรเป็น How many books...)
วิธีคิดคือ "ทุกครั้งที่คำนามเป็นนามนับได้ (idea, horse, dog, shop, book etc.) เราต้องระบุจำนวนเสมอ
ดังนั้นเราจึงมีสองทางเลือกคือ เติม a, an, the หรือเติม -e, -es ให้กับคำนาม"
_____
3. เพิ่มเสียงสระให้กับตัว S ในคำว่า star, start, sky etc.
เวลาคนไทยออกเสียงคำเหล่านี้มักพูดว่า สะ-ตา (Sah-tar), สะ-ต้าท (sa-tart), สะ-กาย (sah-ky)
การออกเสียงแบบนี้ผิด! เพราะตัว s ที่ขึ้นต้นคำเหล่านี้นี้มันเป็น "cluster" หรือ พยัญชนะควบกล้ำ ‘st-’ (เป็นเสียง สฺตฺ)
ดังนั้นเราจึงไม่ควรไปเพิ่มสระ a (สะ) ให้มัน ให้เสียงเป็น s (สฺ) ก็พอ
เช่น สฺตา (s-tar ไม่ใช่ sah-tar) / สฺต้าท (s-tart) / สฺกาย (s-ky)
รวมไปถึงคำอื่น ๆ ทุกคำเลยนะ
_____
4. ย้ายตัว s ที่ควรอยู่กับ verb ไปอยู่กับประธาน
เช่น She’s like to drink. (ควรบอกว่า She likes to drink.)
He’s know a lot. (ควรบอกว่า He knows a lot.)
แกรมมาร์เรื่องนี้คือ Subject-Verb agreement ที่บอกว่า
"หากประธานเป็น , she, it ใน present tense ให้เราเติม -s ให้กับกริยาด้วย (He loves, she talks, it runs etc.)"
เราอาจเติมถูกแล้วเวลาเขียน แต่บางทีเผลอออกเสียงสลับที่กันในตอนพูด ต้องไปฝึกให้แม่น ๆ
_____
5. จบประโยคด้วย krub, kha, na etc. (Thai final particles)
เช่น I told you yesterday ngai. / I don’t know na. / Thank you krub.
บางทีอาจเผลอลืมตัวไป ฝรั่งที่ไม่รู้จักภาษาไทยอาจจะงงได้
_____
6. ใช้ very หน้ากริยา
เช่น "I very love you."
"She very like the gift."
หากจะใช้ very กับกริยา ต้องเปลี่ยนเป็น "really" หรือ "very much" (หากใช้ very much ต้องเอาไปไว้ท้ายประโยค)
ข้างบนจึงควรแก้เป็น
"I love you very much."
"She really liked the gift."
_______________
ที่กล่าวมาข้างบนจะเป็นสิ่งที่ผมเจออยู่บ่อย ๆ ไม่อยากยกตัวอย่างเยอะละ เชื่อว่าหลาย ๆ คนน่าจะคุ้นเคยกันอยู่
ขอยกคำนิยามภาษาอังกฤษง่าย ๆ มาให้ว่าฝรั่งเขาพูดถึง Tinglish ว่ามี "ลักษณะเด่น" อย่างไรบ้าง
- zero copula
(“การละ verb 'to be’” เช่น He handsome. (แทน He is handsome.))
- use of present tense + already, in contrast to past tense of Standard English
(อ่านข้อ 1)
- non-standard use or omissions of articles, declension, prepositions, and conjugation
(ไม่เติม articles (a, an, the) / ไม่ใช้ declension (การเติม apostrophe s แสดงความเป็นเจ้าของ เช่น John’s car) / และไม่มี conjugation (การผันกริยาตาม tense) เช่น Go - went - gone แต่ Tinglish ใช้เป็น Go-goed-goed)
- addition of Thai final particles such as "I don’t know na"
(อ่านข้อ 5)
- ‘any’ and ‘every’ are used interchangeably
(ใช้ any กับ every สลับกัน)
- pronunciation of silent letters in a word
(ออกเสียงพยัญชนะที่ไม่ควรออกเช่น Knee (คะนี) / Knight (คไน้))
- omission of the consonant at the end of words ending in a diphthong and a consonant, for instance Mickey Mouse pronounced “Mickey Mao”, white wine pronounced “why why”, and news pronounced “new”
(ไม่ออกเสียงพยัญชนะท้าย หรือไม่เสียงสระผสมแค่ครึ่งเสียง)
- inserting vowel sounds into consonant clusters, for instance slow pronounced “sah-low”
(อ่านข้อ 3)
- /ɹ/ pronounced as /l/
(ออกเสียง R เป็น L เช่น Right - Light / Problem - Ploblem etc.)
- ⟨th⟩ pronounced as /t/
(ออกเสียง TH เป็น T เช่น Think - Tink / Athena - Ateena etc.)
- using "N" to replace an "L" sound at the end of the word, for instance "school" pronounced "sah-koon" or "football" pronounced “futbon”
(แทนเสียงตัว L (ลฺ) ด้วย N (น))
- moving "S" on singular verbs to the subject, for instance "'s talk too much" instead of "He talks too much”
(อ่านข้อ 4)
- omission of prepositions, for instance "I wait you" instead of "I'll wait for you" or "I listen him" for "I listened to him”
(ไม่เติม Preposition ให้กับ verb ที่ควรมีเช่น Wait ที่ต้องมี for ด้วยหากจะบอกว่า ‘รอใคร’)
- "very" and "very much" are used interchangeably, for instance "I very love my daughter" and "She beautiful very much”
(อ่านข้อ 6)
_______________
เด็กเอกอิ้งต้องได้เรียนเรื่องนี้แน่ ๆ เราเรียกมันว่า "Phonological process" หรือ "กระบวนการออกเสียง" ที่เกิดขึ้นเมื่อคนไทยพูดภาษาอังกฤษนี่เอง
น่าเสียดายที่มาสอนทีก็มหา’ลัยเลย น่าจะสอนตั้งแต่อนุบาลละ ยังไงเพื่อน ๆ ก็อย่าลืมเอาไปปรับใช้ให้ภาษาอังกฤษของเรามันเป็น ‘English’ มากขึ้นด้วยนะ
ทั้งนี้ไม่ได้บอกว่า "ภาษาทังกฤษ" หรือ Tinglish ของเรามันแย่นะเว้ยเฮ้ย ไม่ต้องไปต่อว่าหรือตำหนิหรือแม้กระทั่งดูถูกคนที่เขาใช้ภาษาอังกฤษแบบนี้ ผมเห็นมาเยอะละ ไม่ใช่นิสัยที่น่ารักเลย จำไว้ว่าภาษาอังกฤษหากคุยกันรู้เรื่องก็โอเคแล้ว ไม่จำเป็นต้องสำเนียงเป๊ะ!
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าถ้าเราสำเนียงไม่ดีแล้วต้องใช้ Tinglish ตลอดไปเหมือนกันนะ!
ศึกษาและฝึกฝนให้สม่ำเสมอ เดี๋ยวการออกเสียงของเราจะเริ่มกลายเป็น English ขึ้นเรื่อย ๆ เอง!
"You can't know ALL, but damn right you can know MORE!"
Go know more at facebook page "พ่อผมเป็นคนอังกฤษ" (http://www.facebook.com/myfathersanenglishman)
Stay electric
JGC.