●●มองไปข้างหน้า...ใครจะเป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร●●

          สถานการณ์การเมืองวันนี้ เป็นไปได้สูงมากที่ พท.จะเป็นฝ่ายค้าน
          แต่เมื่ออ่านรัฐธรรมนูญฯ มาตรา ๑๐๖ แล้ว  ตีความได้ว่าคุณสมบัติของผู้นำฝ่ายค้านต้องเป็นดังนี้...

          ๑. ต้องเป็นส.ส.

          ๒. ต้องเป็นหัวหน้าพรรคการเมือง

          ๓. พรรคการเมืองนั้นต้องมีจำนวนส.ส.มากที่สุด
               ซึ่งสมาขิกไม่ได้เป็น รมต. ประธานสภาฯ หรือ รองประธานสภาฯ
               ( ในที่นี้คือ พท. นั่นเอง )

           ...หมายความว่า พท.ต้องมีการเปลี่ยนตัวหัวหน้าพรรคใหม่เพื่อมารับตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านในเร็ววันนี้
              หลังจากจบศึกเลือกนายกรัฐมนตรี ซึ่งน่าจะรู้ผลคร่าวๆจากการประลองกำลังยกแรกในการเลือก
              ประธานสภาผู้แทนราษฎรช่วงเช้าวันนี้

           ...เจ้าของพรรคจะส่งใครมาเป็นหัวหน้าพรรค คงไม่ใช่สาระสำคัญนัก
              เพราะวันนี้เหลือแต่แถวหลังเป็นส่วนใหญ่แล้ว

~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช ๒๕๖๐

มาตรา ๑๐๖

ภายหลังที่คณะรัฐมนตรีเข้าบริหารราชการแผ่นดินแล้ว พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ผู้เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองในสภาผู้แทนราษฎรที่มีจํานวนสมาชิกมากที่สุด และสมาชิกมิได้ดํารงตําแหน่ง
รัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือรองประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้นําฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร

ในกรณีที่พรรคการเมืองตามวรรคหนึ่ง มีสมาชิกเท่ากัน ให้ใช้วิธีจับสลาก

ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งผู้นําฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร

ป.ล.  มีการแก้ไขการจัดเรียงบรรทัดใหม่
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่