เมื่อกลางวันได้ดู Live รายงานข่าวโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินของทางฐานเศรษฐกิจ ข้อมูลที่นำมาเสนอวันนี้น่าสนใจดี ดูเหมือนว่าเป็นข้อมูลเดียวกับที่ทางซีพีพยายามบอกมาตลอด แต่ไม่มีใครฟัง
สรุปคร่าว ๆ ได้ว่า การลงทุนในโครงการไฮสปีดเชื่อมสนามบินนี้น่าจะเป็นทุกขลาภของซีพี เพราะเมื่อดูจากตัวเลขการประเมินความคุ้มทุนของโครงการในด้านต่าง ๆ จะเห็นว่าอัตราผลตอบแทนทางการเงินต่ำมาก เรียกว่าไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ที่ต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยหนักหนาสาหัสมาก แม้พื้นที่มักกะสันและศรีราชาที่ใคร ๆ มองวาจะเป็นชิ้นปลามัน เมื่อดูจากตัวเลขการประเมินแล้ว ก็ใช่ว่าผลตอบแทนจากการลงทุนจะน่าพอใจ
โครงการนี้ใช้เงินลงทุน 224,544 ล้านบาท กลุ่มซีพีขอสนับสนุนจากรัฐได้ 117,227 ล้านบาท จึงต้องหาเงินมาลงทุนในส่วนที่เหลืออีก 107,317 ล้านบาท ซึ่งต้องจ่ายดอกเบี้ย 3-4% เท่ากับว่า ต้องแบกภาระดอกเบี้ยปีละ 3,219-4,292 ล้านบาท ในระยะเวลา 5 ปีแรก ซึ่งเป็นช่วงที่ไม่มีรายได้ มีแต่รายจ่าย
นอกจากนั้น ตามข้อกำหนดในปีที่ 5 ซีพีต้องเพิ่มทุน 4 หมื่นล้านบาท และต้องจ่ายค่าเดินรถให้แอร์พอร์ตเรลลิ้งอีกหมื่นกว่าล้านบาท ซึ่งถ้ารวมกับดอกเบี้ยที่ต้องแบกและต้องจ่ายให้ ARL ด้วยก็ยิ่งกระอักเลือด จึงเป็นที่มาว่าทำไมซีพีต้องเจรจาขอส่วนลดนั่นเอง
เมื่อดูภาพรวมทั้งโครงการ จะเห็นว่า มูลค่าปัจจุบัน (NPV) ติดลบ 7 หมื่นกว่าล้านบาท ผลตอบแทนเมื่อเทียบกับต้นทุน (B/C) เพียง 0.78 ในเวลา 50 ปี จึงเป็นทุกขลาภอย่างยิ่งของซีพี
มีการประเมินว่าปีที่ 50 กลุ่มซีพีถึงจะมีรายได้ 3 พันกว่าล้านบาทต่อเดือน ซึ่งปีที่ 50 ก็เป็นปีที่หมดสัญญาพอดี ดังนั้น แน่นอนว่าโครงการนี้ความคุ้มทุนมองไม่เห็น ไม่เรียกว่าทุกขลาภจะเรียกว่าอะไร
เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องใหญ่ ที่ต้องเห็นใจเอกชนที่มาลงทุน เพราะขาดทุนแน่นอน เมื่อรู้ว่าติดขัดปัญหา จึงต้องเจรจาขอส่วนลด เพื่อแบ่งเบาภาระ ซึ่งรัฐจะช่วยเอกชนอย่างไร ก็ต้องดูกันต่อไป
แหม่ เห็นตัวเลขแล้วก็เห็นใจเอกชนที่มาลงทุนจริง ๆ แฮะ ไม่ว่าใครจะมาลงทุน ก็อ่วมอรทัยกันทั้งนั้น จากนี้จะเลิกด่าละ ขอเอาใจช่วยดีกว่า
---------------------------------
ไฮสปีดเชื่อมสนามบิน หินที่ซีพีต้องแบก
สรุปคร่าว ๆ ได้ว่า การลงทุนในโครงการไฮสปีดเชื่อมสนามบินนี้น่าจะเป็นทุกขลาภของซีพี เพราะเมื่อดูจากตัวเลขการประเมินความคุ้มทุนของโครงการในด้านต่าง ๆ จะเห็นว่าอัตราผลตอบแทนทางการเงินต่ำมาก เรียกว่าไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ที่ต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยหนักหนาสาหัสมาก แม้พื้นที่มักกะสันและศรีราชาที่ใคร ๆ มองวาจะเป็นชิ้นปลามัน เมื่อดูจากตัวเลขการประเมินแล้ว ก็ใช่ว่าผลตอบแทนจากการลงทุนจะน่าพอใจ
โครงการนี้ใช้เงินลงทุน 224,544 ล้านบาท กลุ่มซีพีขอสนับสนุนจากรัฐได้ 117,227 ล้านบาท จึงต้องหาเงินมาลงทุนในส่วนที่เหลืออีก 107,317 ล้านบาท ซึ่งต้องจ่ายดอกเบี้ย 3-4% เท่ากับว่า ต้องแบกภาระดอกเบี้ยปีละ 3,219-4,292 ล้านบาท ในระยะเวลา 5 ปีแรก ซึ่งเป็นช่วงที่ไม่มีรายได้ มีแต่รายจ่าย
นอกจากนั้น ตามข้อกำหนดในปีที่ 5 ซีพีต้องเพิ่มทุน 4 หมื่นล้านบาท และต้องจ่ายค่าเดินรถให้แอร์พอร์ตเรลลิ้งอีกหมื่นกว่าล้านบาท ซึ่งถ้ารวมกับดอกเบี้ยที่ต้องแบกและต้องจ่ายให้ ARL ด้วยก็ยิ่งกระอักเลือด จึงเป็นที่มาว่าทำไมซีพีต้องเจรจาขอส่วนลดนั่นเอง
เมื่อดูภาพรวมทั้งโครงการ จะเห็นว่า มูลค่าปัจจุบัน (NPV) ติดลบ 7 หมื่นกว่าล้านบาท ผลตอบแทนเมื่อเทียบกับต้นทุน (B/C) เพียง 0.78 ในเวลา 50 ปี จึงเป็นทุกขลาภอย่างยิ่งของซีพี
มีการประเมินว่าปีที่ 50 กลุ่มซีพีถึงจะมีรายได้ 3 พันกว่าล้านบาทต่อเดือน ซึ่งปีที่ 50 ก็เป็นปีที่หมดสัญญาพอดี ดังนั้น แน่นอนว่าโครงการนี้ความคุ้มทุนมองไม่เห็น ไม่เรียกว่าทุกขลาภจะเรียกว่าอะไร
เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องใหญ่ ที่ต้องเห็นใจเอกชนที่มาลงทุน เพราะขาดทุนแน่นอน เมื่อรู้ว่าติดขัดปัญหา จึงต้องเจรจาขอส่วนลด เพื่อแบ่งเบาภาระ ซึ่งรัฐจะช่วยเอกชนอย่างไร ก็ต้องดูกันต่อไป
แหม่ เห็นตัวเลขแล้วก็เห็นใจเอกชนที่มาลงทุนจริง ๆ แฮะ ไม่ว่าใครจะมาลงทุน ก็อ่วมอรทัยกันทั้งนั้น จากนี้จะเลิกด่าละ ขอเอาใจช่วยดีกว่า
---------------------------------