นโยบายการดึงเอกชนเข้าเข้าร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ หรือ PPP ถือเป็นนโยบายที่รัฐบาลชุดนี้ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ มีการจัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายพีพีพีที่มี ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ เป็นประธานกำกับดูแลโดยตรง
ที่ผ่านมารัฐบาลได้พยายามผลักดันโครงการเมกะโปรเจ็กต์โครงการแล้ว โครงการเล่าเข้าสู่โครงการพีพีพีนี้ โดยเฉพาะโครงการของกระทรวงคมนาคม ไล่ดะมาตั้งแต่รถไฟฟ้าสายสีต่างๆ เช่น รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย หัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ, รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง 30.5 กม. 54,644 ล้านบาท, รถไฟฟ้าสายสีชมพูแคราย-มีนบุรี 34.5 กม. 56,725 ล้านบาท, สายสีส้มเฟส 1 ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี 110,116 ล้านบาท
ยังมีโครงการรถไฟความเร็วสูง “ไฮสปีดเทรน” 4 สายทาง ที่กระทรวงคมนาคมจะเปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนให้ได้ภายในปีนี้ก็เช่นกัน ประเดิมที่สายกรุงเทพ-ระยอง ระยะทางราว 200 กม. วงเงินลงทุน 154,000 ล้านบาท เส้นทางกรุงเทพ-หัวหิน 95,000 ล้านบาท ก็เช่นกัน
ไม่เพียงรถไฟฟ้าสายสีต่างๆ กระทรวงคมนาคม (คค.) ยังเตรียมนำเอาสนามบินดอนเมืองมาเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนพัฒนาและบริหารในรูปแบบพีพีพีด้วย ขณะที่กรมทางหลวงก็จ่อเจริญรอยตาม โดยเตรียมประเคนโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) 2 สาย คือ มอเตอร์เวย์ สายบางประอิน-แก่งคอย-โคราช ระยะทาง 250 กม. วงเงินลงทุน 76,000 ล้านบาท และบางใหญ่-กาญจนบุรี 96 กม. วงเงินลงทุน 43,700 ล้านบาท เปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนรับช่วงบริหารจัดการเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม หากทุกฝ่ายจะได้พิจารณาแนวทางการดึงเอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการของรัฐเหล่านี้ จะเห็นได้ว่าล้วนเป็นไปในรูปแบบของการให้สัมปทานลงทุน หรือร่วมลงทุนตามระยะเวลา 25-30 ปี บางโครงการที่อาจให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนควบคู่ไปกับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รอบสถานี อย่างโครงการรถไฟความเร็วสูงไฮสปีดเทรน และบางโครงการนั้น หน่วยงานของรัฐยังคงเป็นเจ้าของโครงการ แต่จะให้เอกชนเข้ามารับสัมปทานในรูปของสัญญาจ้างเหมาบริหารและซ่อมบำรุงอย่างรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนเหนือ-ใต้ของ กทม. เป็นต้น
ต่างจากแผนฟื้นฟูกิจการรัฐวิสาหกิจด้านสื่อสารของประเทศคือ บมจ.ทีโอที จำกัด (มหาชน) และ บมจ.กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ที่รัฐบาลและกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กำลังป้ำผีลุกปลุกผีนั่งอยู่ในเวลานี้ เพราะแนวทางที่รัฐบาลและกระทรวงไอซีทีดำเนินการอยู่ กลับต้องการให้สองบริษัทสื่อสารแยกหน่วยธุรกิจและทรัพย์สินออกไปร่วมกันจัดตั้งบริษัทลูกร่วมทุน เพื่อร่วมกันบริหารจัดการทรัพย์สินถึง 3 บริษัท แทนที่จะเป็นการดึงบริษัทเอกชนเข้ามาร่วมลงทุน หรือร่วมเป็นพันธมิตรธุรกิจเฉกเช่นโครงการของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจอื่นๆ
จึงไม่น่าแปลกใจที่สหภาพรัฐวิสาหกิจของทั้งสององค์กรจะออกโรงคัดง้างแนวทางฟื้นฟูองค์กรดังกล่าวอย่างหนักหน่วงถึงพริกถึงขิง เนื่องจากมองว่า การจัดตั้งบริษัทร่วมทุนดังกล่าวน่าจะมีสภาพไม่ต่างไปจากบริษัท “เตี้ยอุ้มค่อม” มากกว่า และไม่มีหลักประกันที่จะทำให้บริษัทลูกร่วมทุนที่ว่านั้นแข่งขันกับเอกชนได้
ขณะที่ยุทธศาสตร์การฟื้นฟูองค์กรที่ฝ่ายบริหารทีโอทีที่เคยนำเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (นคร.) และกระทรวงไอซีที โดยเฉพาะการดึงเอกชนเข้ามาเป็นพันธมิตรธุรกิจเพื่อร่วมพัฒนาสินทรัพย์ของทีโอที ที่นัยว่าจะทำให้องค์กรมีรายได้จากการให้เช่าโครงข่ายและอุปกรณ์ 3 จี 2100 และ 2 จี 900 ทันทีร่วม 10,000 ล้านบาท แม้จะเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับนโยบายพีพีพี แต่กลับถูกบอร์ดทีโอที “ดองเค็ม” เล่นเอาเถิดกับแผนดังกล่าวไว้เป็นปีไม่มีความคืบหน้า จนทำให้ทีโอทีสูญเสียโอกาสในการดำเนินธุรกิจไปอย่างน่าเสียดาย!
และทำให้องค์กรทีโอทีหืดจับชักหน้าไม่ถึงหลัง ล่าสุดก็นัยว่าถึงขั้นทำให้สถานะองค์กรทีโอทีเริ่มชักหน้าไม่ถึงหลัง จ่อจะต้องโละพนักงานร่วม 1,000 คนในปีนี้ และยังต้องวิ่งโร่เจรจาปรับโครงสร้างหนี้กว่า 14,000 ล้านบาท กับแบงก์เจ้าหนี้ที่ปล่อยกู้แก่ทีโอที
ก็ให้แปลกใจเหตุใดสหภาพรัฐวิสาหกิจทีโอที และ กสท โทรคมนาคม ถึงยังทนอดสูดูความตกต่ำขององค์กรอยู่ได้ โดยไม่คิดจะลุกขึ้นมา “แหกอก” บอร์ดและฝ่ายบริหารเจ้ากรรมเหล่านี้ !!!
PPP ความเหมือนและความต่าง!
ที่ผ่านมารัฐบาลได้พยายามผลักดันโครงการเมกะโปรเจ็กต์โครงการแล้ว โครงการเล่าเข้าสู่โครงการพีพีพีนี้ โดยเฉพาะโครงการของกระทรวงคมนาคม ไล่ดะมาตั้งแต่รถไฟฟ้าสายสีต่างๆ เช่น รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย หัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ, รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง 30.5 กม. 54,644 ล้านบาท, รถไฟฟ้าสายสีชมพูแคราย-มีนบุรี 34.5 กม. 56,725 ล้านบาท, สายสีส้มเฟส 1 ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี 110,116 ล้านบาท
ยังมีโครงการรถไฟความเร็วสูง “ไฮสปีดเทรน” 4 สายทาง ที่กระทรวงคมนาคมจะเปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนให้ได้ภายในปีนี้ก็เช่นกัน ประเดิมที่สายกรุงเทพ-ระยอง ระยะทางราว 200 กม. วงเงินลงทุน 154,000 ล้านบาท เส้นทางกรุงเทพ-หัวหิน 95,000 ล้านบาท ก็เช่นกัน
ไม่เพียงรถไฟฟ้าสายสีต่างๆ กระทรวงคมนาคม (คค.) ยังเตรียมนำเอาสนามบินดอนเมืองมาเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนพัฒนาและบริหารในรูปแบบพีพีพีด้วย ขณะที่กรมทางหลวงก็จ่อเจริญรอยตาม โดยเตรียมประเคนโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) 2 สาย คือ มอเตอร์เวย์ สายบางประอิน-แก่งคอย-โคราช ระยะทาง 250 กม. วงเงินลงทุน 76,000 ล้านบาท และบางใหญ่-กาญจนบุรี 96 กม. วงเงินลงทุน 43,700 ล้านบาท เปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนรับช่วงบริหารจัดการเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม หากทุกฝ่ายจะได้พิจารณาแนวทางการดึงเอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการของรัฐเหล่านี้ จะเห็นได้ว่าล้วนเป็นไปในรูปแบบของการให้สัมปทานลงทุน หรือร่วมลงทุนตามระยะเวลา 25-30 ปี บางโครงการที่อาจให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนควบคู่ไปกับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รอบสถานี อย่างโครงการรถไฟความเร็วสูงไฮสปีดเทรน และบางโครงการนั้น หน่วยงานของรัฐยังคงเป็นเจ้าของโครงการ แต่จะให้เอกชนเข้ามารับสัมปทานในรูปของสัญญาจ้างเหมาบริหารและซ่อมบำรุงอย่างรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนเหนือ-ใต้ของ กทม. เป็นต้น
ต่างจากแผนฟื้นฟูกิจการรัฐวิสาหกิจด้านสื่อสารของประเทศคือ บมจ.ทีโอที จำกัด (มหาชน) และ บมจ.กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ที่รัฐบาลและกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กำลังป้ำผีลุกปลุกผีนั่งอยู่ในเวลานี้ เพราะแนวทางที่รัฐบาลและกระทรวงไอซีทีดำเนินการอยู่ กลับต้องการให้สองบริษัทสื่อสารแยกหน่วยธุรกิจและทรัพย์สินออกไปร่วมกันจัดตั้งบริษัทลูกร่วมทุน เพื่อร่วมกันบริหารจัดการทรัพย์สินถึง 3 บริษัท แทนที่จะเป็นการดึงบริษัทเอกชนเข้ามาร่วมลงทุน หรือร่วมเป็นพันธมิตรธุรกิจเฉกเช่นโครงการของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจอื่นๆ
จึงไม่น่าแปลกใจที่สหภาพรัฐวิสาหกิจของทั้งสององค์กรจะออกโรงคัดง้างแนวทางฟื้นฟูองค์กรดังกล่าวอย่างหนักหน่วงถึงพริกถึงขิง เนื่องจากมองว่า การจัดตั้งบริษัทร่วมทุนดังกล่าวน่าจะมีสภาพไม่ต่างไปจากบริษัท “เตี้ยอุ้มค่อม” มากกว่า และไม่มีหลักประกันที่จะทำให้บริษัทลูกร่วมทุนที่ว่านั้นแข่งขันกับเอกชนได้
ขณะที่ยุทธศาสตร์การฟื้นฟูองค์กรที่ฝ่ายบริหารทีโอทีที่เคยนำเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (นคร.) และกระทรวงไอซีที โดยเฉพาะการดึงเอกชนเข้ามาเป็นพันธมิตรธุรกิจเพื่อร่วมพัฒนาสินทรัพย์ของทีโอที ที่นัยว่าจะทำให้องค์กรมีรายได้จากการให้เช่าโครงข่ายและอุปกรณ์ 3 จี 2100 และ 2 จี 900 ทันทีร่วม 10,000 ล้านบาท แม้จะเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับนโยบายพีพีพี แต่กลับถูกบอร์ดทีโอที “ดองเค็ม” เล่นเอาเถิดกับแผนดังกล่าวไว้เป็นปีไม่มีความคืบหน้า จนทำให้ทีโอทีสูญเสียโอกาสในการดำเนินธุรกิจไปอย่างน่าเสียดาย!
และทำให้องค์กรทีโอทีหืดจับชักหน้าไม่ถึงหลัง ล่าสุดก็นัยว่าถึงขั้นทำให้สถานะองค์กรทีโอทีเริ่มชักหน้าไม่ถึงหลัง จ่อจะต้องโละพนักงานร่วม 1,000 คนในปีนี้ และยังต้องวิ่งโร่เจรจาปรับโครงสร้างหนี้กว่า 14,000 ล้านบาท กับแบงก์เจ้าหนี้ที่ปล่อยกู้แก่ทีโอที
ก็ให้แปลกใจเหตุใดสหภาพรัฐวิสาหกิจทีโอที และ กสท โทรคมนาคม ถึงยังทนอดสูดูความตกต่ำขององค์กรอยู่ได้ โดยไม่คิดจะลุกขึ้นมา “แหกอก” บอร์ดและฝ่ายบริหารเจ้ากรรมเหล่านี้ !!!