คิดว่าค่าโดยสารจะเป็นยังไงครับ ถ้าให้เอกชนลงทุนเองทั้งหมดแบบนี้
สีส้มใต้ดิน ระยะทาง 16.4 กม แต่มูลค่าแพงกว่า สีชมพู + สีเหลือง
ขนาด BTS ลอดฟ้าอย่างเดียว เอกชนลงทุนหมด รถเดี๊ยวก็เสียๆ แต่ค่าโดยสารยังหยุดไม่อยู่
แล้วสีส้มแพงกว่าบนดินตั้งเกือบ 3 เท่าตัว จะเป็นยังไงกันครับ
กลับมาดูรูปแบบ รัฐลงทุน เอกชนเดินรถแบบ MRT ใต้ดินและสีม่วงดูมีคุณภาพกว่าหรือเปล่าครับ
ที่รู้สึกคือ ถ้าศึกษา แปลว่าจะทำ ไม่ได้แปลว่าดูความเหมาะสม ใช่หรือเปล่าครับ
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
จ่อปรับลงทุนสายสีส้มตะวันตก เปิดเอกชน 100% หวังลดภาระรัฐ
“อาคม” สั่ง รฟม.ศึกษาปรับรูปแบบลงทุนรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก (ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี) จ่อให้เอกชนลงทุน 100% ทั้งก่อสร้างโยธาและเดินรถตลอดสายตะวันออก-ตะวันตก หวังลดภาระภาครัฐ คาดสรุปใน 1-2 เดือนนี้ ชง ครม.เผยต้องศึกษาว่าเอกชนที่เข้ามาจะรับความเสี่ยงได้อย่างไร หากรัฐต้องอุดหนุนมากอาจไม่ต่างกับรัฐลงทุนโยธาเองเพราะคุมค่าโดยสารได้
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ด้านตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-ตลิ่งชัน ระยะทาง 16.4 กม. วงเงินลงทุน 109,342 ล้านบาท ว่า ขณะนี้กระทรวงคมนาคมได้มอบหมายให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องรูปแบบการลงทุน ตามข้อสังเกตของรัฐบาลที่ต้องการให้ลดภาระการลงทุนของภาครัฐ ซึ่งรูปแบบเดิมของสายสีส้มด้านตะวันตกนั้นรัฐจะลงทุนก่อสร้างงานโยธาเช่นเดียวกับสายสีส้ม ด้านตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ส่วนการเดินรถ จะให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนตลอดสาย ทั้งด้านตะวันออก-ตะวันตก
ทั้งนี้ ให้ รฟม.ศึกษาเพิ่มเติมในรูปแบบการให้เอกชนลงทุนก่อสร้างและเดินรถทั้ง 100% ซึ่ง รฟม.ได้จ้างบริษัทที่ปรึกษาศึกษารูปแบบการลงทุนระบบและเดินรถแบบ PPP อยู่แล้ว ดังนั้นให้เพิ่มเติมในเงื่อนไขก่อสร้างด้านตะวันตกและเดินรถทั้ง 100% นี้ว่ามีความเป็นไปได้หรือไม่อย่างไร โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปใน 1-2 เดือนนี้ จากนั้นจะนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขออนุมัติโครงการได้ ซึ่งไม่ถือว่าล่าช้าเนื่องจากการเสนอสายสีส้มด้านตะวันตกนั้นจะต้องนำเสนอพร้อมรูปแบบการเดินรถอยู่แล้ว ซึ่งจะรอรูปแบบการลงทุนที่ชัดเจนเพื่อเสนอไปพร้อมกัน
“คงต้องรอผลศึกษาก่อน โดยเฉพาะเรื่องผลตอบแทนกรณีให้เอกชนลงทุนก่อสร้างด้านตะวันตกและเดินรถตลอดสายว่าจะเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน เพราะงานโยธาสายสีส้มด้านตะวันตก รวมกับการเดินรถ มูลค่าการลงทุนกว่าแสนล้านบาท ถือว่าค่อนข้างสูง เพราะจะก่อสร้างเป็นระบบใต้ดิน ดังนั้นจะต้องศึกษาดูว่าเอกชนที่เข้ามาจะสามารถรับความเสี่ยงได้อย่างไร”
อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบกับการลงทุนในส่วนของ โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี 53,519.50 ล้านบาท และสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง วงเงิน 51,931.15 ล้านบาท ซึ่งเป็นสัญญาสัมปทาน (PPP-Net Cost) เอกชนมาลงทุน 100% ทั้งก่อสร้างและเดินรถเอกชนรับความเสี่ยง แต่รัฐบาลเข้าไปช่วยอุดหนุนส่วนหนึ่งด้วย ดังนั้น จะต้องศึกษาว่าการที่เอกชนลงทุน 100% แล้วรัฐต้องเข้าไปอุดหนุนด้วย กับการที่รัฐลงทุนโยธาเองแล้วเอกชนเดินรถรูปแบบไหนจะเหมาะสมกว่ากัน ซึ่งการที่รัฐบาลลงทุนงานโยธาเองจะมีผลดีในแง่การควบคุมค่าโดยสารได้ อีกทั้งสายชมพูและสีเหลืองเป็นระบบโมโนเรล ค่าก่อสร้างต่ำกว่าระบบรถไฟฟ้าขนาดหนัก (heavy rail) และงานโครงการกับตัวรถด้านเทคนิคจะต้องไปพร้อมๆ กัน จึงมีเหตุผลที่จะให้เอกชนลงทุน 100% ทั้งก่อสร้างและเดินรถ อย่างไรก็ตาม กระทรวงคมนาคมจะต้องพิจารณาเพื่อหาทางลดภาระของภาครัฐลงให้ได้มากที่สุด
ref 3w.manager.co.th/Business/ViewNews.aspx?NewsID=9600000082809
รถไฟฟ้าสีส้มถ้า รมต.อาคม ให้เอกชนลงทุนเองทั้งหมด ค่าโดยสารจะเป็นยังไงครับ
สีส้มใต้ดิน ระยะทาง 16.4 กม แต่มูลค่าแพงกว่า สีชมพู + สีเหลือง
ขนาด BTS ลอดฟ้าอย่างเดียว เอกชนลงทุนหมด รถเดี๊ยวก็เสียๆ แต่ค่าโดยสารยังหยุดไม่อยู่
แล้วสีส้มแพงกว่าบนดินตั้งเกือบ 3 เท่าตัว จะเป็นยังไงกันครับ
กลับมาดูรูปแบบ รัฐลงทุน เอกชนเดินรถแบบ MRT ใต้ดินและสีม่วงดูมีคุณภาพกว่าหรือเปล่าครับ
ที่รู้สึกคือ ถ้าศึกษา แปลว่าจะทำ ไม่ได้แปลว่าดูความเหมาะสม ใช่หรือเปล่าครับ
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
จ่อปรับลงทุนสายสีส้มตะวันตก เปิดเอกชน 100% หวังลดภาระรัฐ
“อาคม” สั่ง รฟม.ศึกษาปรับรูปแบบลงทุนรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก (ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี) จ่อให้เอกชนลงทุน 100% ทั้งก่อสร้างโยธาและเดินรถตลอดสายตะวันออก-ตะวันตก หวังลดภาระภาครัฐ คาดสรุปใน 1-2 เดือนนี้ ชง ครม.เผยต้องศึกษาว่าเอกชนที่เข้ามาจะรับความเสี่ยงได้อย่างไร หากรัฐต้องอุดหนุนมากอาจไม่ต่างกับรัฐลงทุนโยธาเองเพราะคุมค่าโดยสารได้
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ด้านตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-ตลิ่งชัน ระยะทาง 16.4 กม. วงเงินลงทุน 109,342 ล้านบาท ว่า ขณะนี้กระทรวงคมนาคมได้มอบหมายให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องรูปแบบการลงทุน ตามข้อสังเกตของรัฐบาลที่ต้องการให้ลดภาระการลงทุนของภาครัฐ ซึ่งรูปแบบเดิมของสายสีส้มด้านตะวันตกนั้นรัฐจะลงทุนก่อสร้างงานโยธาเช่นเดียวกับสายสีส้ม ด้านตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ส่วนการเดินรถ จะให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนตลอดสาย ทั้งด้านตะวันออก-ตะวันตก
ทั้งนี้ ให้ รฟม.ศึกษาเพิ่มเติมในรูปแบบการให้เอกชนลงทุนก่อสร้างและเดินรถทั้ง 100% ซึ่ง รฟม.ได้จ้างบริษัทที่ปรึกษาศึกษารูปแบบการลงทุนระบบและเดินรถแบบ PPP อยู่แล้ว ดังนั้นให้เพิ่มเติมในเงื่อนไขก่อสร้างด้านตะวันตกและเดินรถทั้ง 100% นี้ว่ามีความเป็นไปได้หรือไม่อย่างไร โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปใน 1-2 เดือนนี้ จากนั้นจะนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขออนุมัติโครงการได้ ซึ่งไม่ถือว่าล่าช้าเนื่องจากการเสนอสายสีส้มด้านตะวันตกนั้นจะต้องนำเสนอพร้อมรูปแบบการเดินรถอยู่แล้ว ซึ่งจะรอรูปแบบการลงทุนที่ชัดเจนเพื่อเสนอไปพร้อมกัน
“คงต้องรอผลศึกษาก่อน โดยเฉพาะเรื่องผลตอบแทนกรณีให้เอกชนลงทุนก่อสร้างด้านตะวันตกและเดินรถตลอดสายว่าจะเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน เพราะงานโยธาสายสีส้มด้านตะวันตก รวมกับการเดินรถ มูลค่าการลงทุนกว่าแสนล้านบาท ถือว่าค่อนข้างสูง เพราะจะก่อสร้างเป็นระบบใต้ดิน ดังนั้นจะต้องศึกษาดูว่าเอกชนที่เข้ามาจะสามารถรับความเสี่ยงได้อย่างไร”
อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบกับการลงทุนในส่วนของ โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี 53,519.50 ล้านบาท และสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง วงเงิน 51,931.15 ล้านบาท ซึ่งเป็นสัญญาสัมปทาน (PPP-Net Cost) เอกชนมาลงทุน 100% ทั้งก่อสร้างและเดินรถเอกชนรับความเสี่ยง แต่รัฐบาลเข้าไปช่วยอุดหนุนส่วนหนึ่งด้วย ดังนั้น จะต้องศึกษาว่าการที่เอกชนลงทุน 100% แล้วรัฐต้องเข้าไปอุดหนุนด้วย กับการที่รัฐลงทุนโยธาเองแล้วเอกชนเดินรถรูปแบบไหนจะเหมาะสมกว่ากัน ซึ่งการที่รัฐบาลลงทุนงานโยธาเองจะมีผลดีในแง่การควบคุมค่าโดยสารได้ อีกทั้งสายชมพูและสีเหลืองเป็นระบบโมโนเรล ค่าก่อสร้างต่ำกว่าระบบรถไฟฟ้าขนาดหนัก (heavy rail) และงานโครงการกับตัวรถด้านเทคนิคจะต้องไปพร้อมๆ กัน จึงมีเหตุผลที่จะให้เอกชนลงทุน 100% ทั้งก่อสร้างและเดินรถ อย่างไรก็ตาม กระทรวงคมนาคมจะต้องพิจารณาเพื่อหาทางลดภาระของภาครัฐลงให้ได้มากที่สุด
ref 3w.manager.co.th/Business/ViewNews.aspx?NewsID=9600000082809