JJNY : ศิริกัญญาเชื่อมีนัยยะการเมือง│ศิริกัญญาชี้หมอชิต2 ตั้งงบปรับปรุงได้│คลังคาดปี67 จีดีพีโต3.2%│สหรัฐตั้งรับคลื่นแรง

ศิริกัญญา เชื่อมีนัยยะการเมือง ปมรัฐบาลส่ง ภูมิธรรม นั่งประธาน กมธ.งบ’67
https://www.matichon.co.th/politics/news_4353797
 
 
ศิริกัญญา เชื่อมีนัยยะการเมือง ปมรัฐบาลส่ง ภูมิธรรม นั่งประธาน กมธ.งบ’67
 
เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม ที่พรรคก้าวไกล น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวถึงกรณีที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติส่ง นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567
 
น.ส.ศิริกัญญา กล่าวว่า การที่ นายภูมิธรรม ลงมานั่งเป็นประธาน กมธ.งบ เองอาจจะมีการบัญชาการ หรือสั่งการอะไรอย่างเข้มข้นแน่นอน ทั้งที่เป็นรองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง ไม่ใช่รองนายกฯ ฝ่ายเศรษฐกิจ หากจะเป็น นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ คงจะไม่น่าแปลก
 
ส่วนจะมองว่า อาจเป็นเพราะนายกรัฐมนตรีไม่ไว้ใจคนอื่นหรือไม่นั้น ตนมองว่า อาจไม่ถึงขนาดนั้น แต่อาจเป็นวาระพิเศษที่ต้องส่ง นายภูมิธรรม มาควบคุมด้วยตัวเอง อาจเป็นนัยยะทางการเมือง ไม่ใช่นัยยะตามปกติ
 
น.ส.ศิริกัญญา ยังกล่าวอีกว่า โดยธรรมชาติ รัฐมนตรีจะไม่ได้มานั่งเป็นประธาน กมธ. ด้วยตัวเองอยู่แล้ว อย่างรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ นั้น นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ อดีต รมว.การคลัง นั่งเป็นประธาน ก็เจอหน้าน้อยมาก ส่วนใหญ่จะเจอ นายวราเทพ รัตนากร รองประธาน กมธ.งบ (ในขณะนั้น) เสียมากกว่า
ส่วนจะมีการพูดเรื่องนี้ในระหว่างการอภิปรายงบ หรือไม่นั้น ศิริกัญญา กล่าวว่า ใครจะเป็นประธาน กมธ.งบฯ ก็ต้องยอมรับ และไปโหวตอีกทีในชั้น กมธ. แต่ไม่ได้คิดว่าเป็นปัญหามากขนาดนั้น อาจจะต้อง “ทดลองใช้” ก่อน หากมีปัญหาอย่างไรจะเอามาเล่าให้ฟัง



ศิริกัญญา ชี้ หมอชิต2 ตั้งงบปรับปรุงได้ หากรัฐบาลใส่ใจ ไม่เกี่ยว บขส.เป็นรัฐวิสาหกิจหรือไม่
https://www.matichon.co.th/politics/news_4353799

‘ศิริกัญญา’ ชี้ บขส.เป็นหน่วยรับงบประมาณได้ เชื่อ หาก ‘รัฐบาล’ จะปรับปรุงสามารถตั้งงบได้ ไม่เกี่ยวเป็นรัฐวิสาหกิจหรือไม่
 
เมื่อวันที่ 30 ธ.ค. 2566 ที่พรรคก้าวไกล น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อและรองหัวหน้าพรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ถึงกรณี สถานีขนส่งหมอชิต 2 ที่เป็นรัฐวิสาหกิจดังนั้นจึงไม่ได้งบปรับปรุงจากรัฐบาล แต่ถ้ารัฐบาลอยากจะปรับปรุงจะสามารถดึงงบจากส่วนไหนได้ ว่า จริงๆ แล้วสถานะขนส่ง หรือ บขส. เป็นรัฐวิสาหกิจอยู่แล้ว คือ เป็นหน่วยรับงบประมาณได้ เพียงแต่ว่าที่ผ่านมาไม่เคยของบประมาณเท่านั้นเอง
 
น.ส.ศิริกัญญา กล่าวว่า ถ้าเรื่องนี้เป็นนโยบายของทางรัฐบาลที่จะเกิดการปรับปรุงขนานใหญ่ เพื่อที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของคนที่เข้ามาใช้บริการให้ดีขึ้น ก็สามารถทำได้เลย โดยการตั้งงบประมาณ
 
ปัญหาไม่ใช่ว่า สถานีขนส่งหมอชิต 2 เป็นรัฐวิสาหกิจหรือไม่ แต่ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐมากกว่า ว่าจะคำนึงหรือใส่ใจคุณภาพชีวิตของผู้โดยสาร หรือผู้มาใช้บริการ บขส.มากน้อยเพียงใด


 
คลังคาดปี 67 จีดีพีโต 3.2% แนะโฟกัส 7 เรื่องบริหารเศรษฐกิจ
https://www.thansettakij.com/business/economy/584659

คลังคาดเศรษฐกิจไทยปี 67 โต 3.2% “บริโภคเอกชน-ส่งออก-ท่องเที่ยว” ปัจจัยหนุน แนะโฟกัส 7 เรื่องบริหารเศรษฐกิจ ใช้นโยบายการเงินการคลังเหมาะสม
 
นายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการกองนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กล่าวถึงแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2567 ว่า ประเมินว่าจะขยายตัวเร่งขึ้นที่ 3.2% ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ 2.2-4.2%) โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน และภาคการส่งออก ประกอบกับภาคการท่องเที่ยวที่ยังฟื้นตัวต่อเนื่อง
 
โดยคาดว่าในปี 2567 จะมีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางเข้ามาในประเทศไทยจำนวน 34.5 ล้านคน ขยายตัว 24.6% ต่อปี ส่งผลดีต่อภาคการท่องเที่ยวและธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้อง เกิดการจ้างงานและเพิ่มรายได้ประชาชน โดยคาดว่าการบริโภคภาคเอกชนจะขยายตัวได้ต่อเนื่องที่ 3.1% ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.1 ถึง 4.1)
 
ขณะที่การส่งออกสินค้ามีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องตามอุปสงค์ในตลาดโลกและเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า คาดว่าการส่งออกจะขยายตัวที่ 4.4% ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ 3.4-5.4%) ส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจ ทำให้คาดว่าการลงทุนภาคเอกชนจะขยายตัวที่ 3.5% ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ 2.5-4.5%)
อย่างไรก็ดี การประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2567 ในครั้งนี้ ยังไม่ได้รวมผลกระทบของมาตรการเศรษฐกิจที่อยู่ระหว่างการพิจารณาดำเนินการโดยเฉพาะนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet
 
ทั้งนี้ มองว่าการบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในปี 2567 ควรให้ความสำคัญกับ 7 เรื่องหลัก ได้แก่
 
1) การดำเนินนโยบายการเงินการคลังอย่างเหมาะสมสอดคล้องกับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ เช่น เพิ่มพื้นที่ในการดำเนินนโยบาย (Policy space) ให้มีความเพียงพอเพื่อรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในระยะต่อไป
 
2) การเตรียมมาตการเพื่อรองรับผลกระทบจากสถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ เช่น เตรียมมาตรการรองรับผลกระทบจากความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางในปัจจุบันที่อาจส่งผลต่อเศรษฐกิจในด้านต่าง ๆ ที่สำคัญ ทั้งด้านแรงงาน ความผันผวนของราคาพลังงานและราคาสินค้าโภคภัณฑ์และต้นทุนภาคเกษตร
 
3) การขับเคลื่อนภาคการส่งออกสินค้า เช่น เร่งรัดการส่งออกสินค้าไปยังตลาดที่ยังมีแนวโน้มขยายตัวดีและการสร้างตลาดใหม่ ใช้ประโยชน์จากกรอบความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค
 
4) การสร้างความเชื่อมั่นและสนับสนุนการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชน เช่น ส่งเสริมการลงทุนเชิงรุกผ่านยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุน 5 ปี (2566 – 2570) ส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) รวมทั้งการขับเคลื่อนพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษในแต่ละภูมิภาค
 
5) การสนับสนุนการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวและบริการเกี่ยวเนื่อง เช่น จัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวและสร้างการรับรู้ต่อมาตรการ Long – term resident visa (LTR) เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ
 
6) การดูแลการผลิตภาคเกษตรและรายได้เกษตรกร เช่น ป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยแล้ง เพิ่มส่วนแบ่งให้เกษตรกรมีรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตขั้นสุดท้าย
 
7) การรักษาแรงขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ เช่น เร่งรัดเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายเหลื่อมปี และงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ ในช่วงที่พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ยังไม่มีผลบังคับใช้ และติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่