ศิริกัญญา กาง 4 เหตุผล ตัดลดงบเงินดิจิทัล ซัดเกินไปมากเอาค่าน้ำ-ไฟ รวมเป็นรายจ่ายลงทุน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4710547
‘ศิริกัญญา’ กาง 4 เหตุผลตัด ‘งบดิจิทัลวอลเล็ต’ เหลือหมื่นล้านบาท เหน็บ จะเล่นแร่แปรธาตุอย่างไรก็ตาม แต่ดอกเบี้ยไม่หลอกใคร จวก เกินเลยไปมากเอาค่าน้ำค่าไฟรวมเป็นรายจ่ายลงทุน อัด ตัวเลขโครงการเปลี่ยนไปมา สรุปไม่รู้ใช้ตัวเลขไหนกันแน่
เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม เวลา 10.30 น. ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มี นายปดิพัทธ์ สันดิภาดา รองประธานสภา คนที่ 1 เป็นประธานการประชุม หลังเปิดให้สมาชิกหารือปัญหาความเดือดร้อนแล้ว เข้าสู่การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 จำนวนเงิน 1.22 แสนล้านบาท วาระที่ 2 และวาระที่ 3 ตามที่คณะกรรมาธิการ พิจารณาเสร็จแล้ว โดย กมธ.ไม่ได้มีการแก้ไข
จากนั้นเวลา 12.50 น. น.ส.
ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) ในฐานะผู้แปรญัตติ อภิปรายว่า ตนขอตัดลดงบในส่วนนี้เหลือ 1 หมื่นล้านบาท ด้วย 4 เหตุผลคือ 1.เราไม่ควรกู้เงินเพิ่มอีกแล้ว เพราะด้วยฐานะทางการคลังของประเทศวันนี้ยังอยู่ในกรอบวินัยการเงินการคลัง แต่ยังปริ่มเพดาน ไต่ขอบไต่เส้น และหนี้สาธารณะท่านจะเล่นแร่แปรธาตุอย่างไรก็ตาม แต่ดอกเบี้ยไม่หลอกใคร ทั้งนี้ เราทราบดีอยู่แล้วว่าในปีงบ 2567 และปี 2568 มีการตั้งงบชำระดอกเบี้ยไม่พอที่ตั้งไว้ ขณะที่ปี 2569 ก็มีการตั้งเฉพาะดอกเบี้ยไว้ที่ 3.7 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 12 เปอร์เซ็นต์ของรายได้รัฐบาล หากถึงปี 2571 ก็จะขึ้นไปเกือบ 5 แสนล้านบาท เราไม่ต้องทำอะไรแล้วหากรายได้ได้เท่าไหร่ หรือเก็บภาษีได้เท่าไหร่ก็เอาไปจ่ายเป็นดอกเบี้ยหมด ซึ่งหากรวมเงินต้นด้วยก็จะขึ้นไป 20 เปอร์เซ็นต์ นี่จึงเป็นปัญหาที่จะผูกพันเราไปอีกในอนาคต
“
ดิฉันจึงเสนอว่าไม่ควรกู้เพิ่มอีกแล้ว แถมยังเป็นการกู้ที่สุดเพดานไม่เผื่อเหลือเผื่อขาดว่าจะจัดเก็บรายได้ไม่เข้าเป้า กรรมาธิการได้สอบถามบ้างหรือไม่ว่าประมาณการรายได้ของปี 2567 ได้ประมาณการใหม่ไว้หรือไม่ เราจะจัดเก็บพลาดเป้าเดิมจากที่สภาฯ เคยอนุมัติไว้เมื่อต้นปีที่เท่าไหร่ แม้จะมีการสอบถามแค่ตัวแทนจากกระทรวงการคลังก็บอกว่าได้มีการประมาณการรายได้ใหม่ไว้แล้ว แต่ไม่บอกว่าเท่าไหร่ ไม่แค่ขอให้เชื่อมั่นและมั่นใจว่าสุดท้ายแล้วว่าสุดท้ายจะไม่มีปัญหา ซึ่งกรมสรรพสามิตก็เคยออกมาแถลงแล้วว่าจัดเก็บพลาดเป้าไปเกือบ 6 หมื่นล้านบาท แต่เราก็ยังจะมากู้เพิ่มจนสุดเพดาน ซึ่งถือเป็นการสร้างความเสี่ยงที่ไม่จำเป็นกับระบบการคลัง ยืนยันว่าจะให้งบเพิ่มเติมได้เท่าที่หารายได้อื่นมาเพิ่มได้คือ 1 หมื่นล้านบาท” น.ส.
ศิริกัญญากล่าว
น.ส.
ศิริกัญญากล่าวต่อว่า 2.แม้จะกู้ได้ แต่ก็ต้องใช้ในปีงบประมาณตามกฎหมาย ซึ่งไม่มีกฎหมายข้อไหนที่บอกว่าการลงทะเบียนจะเข้านิยามของหนี้ตามมาตรา 4 ยกเว้นจากการอื่นใด แต่การจะเป็นหนี้ได้ต้องมีระเบียบมารองรับต่อไป และจะเป็นการสร้างบรรทัดฐานที่ผิดต่อไป กรรมาธิการได้มีการสอบถามหน่วยงานที่มาชี้แจงหรือไม่ว่าเป็นหนี้หรือสัญญาประเภทใด ซึ่งตนอยู่ในห้องนั้นก็เห็นว่าไม่มีหน่วยงานใดที่จะตอบได้ว่าเป็นสัญญาเอกเทศประเภทใด ทั้งนี้ หากเป็นสัญญาให้ไม่ถือว่าเป็นการก่อหนี้ เพราะฟ้องร้องกันไม่ได้
น.ส.
ศิริกัญญากล่าวด้วยว่า 3.แม้จะกู้ได้ แต่ต้องทำสัดส่วนลงทุนรายจ่ายถูกต้อง ซึ่งท่านเคยชี้แจงในห้องกรรมาธิการงบประมาณว่าทำไมจึงคิดว่ารายจ่ายของดิจิทัลวอลเล็ตเป็นรายจ่ายลงทุนถึง 80 เปอร์เซ็นต์ แต่เมื่อมาชี้แจงในห้องคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) ก็มีการเปลี่ยนแปลงไม่มีแล้วว่า 80 เปอร์เซ็นต์เป็นรายจ่ายลงทุน แต่ใช้การวิเคราะห์ที่ทำให้เกิดดอกผลและไม่เกิดดอกผล รวมถึงบอกว่าการก่อให้เกิดดอกผลเป็นการลงทุน โดยในมาตรา 20 (1) ระบุว่าเราต้องมีรายจ่ายลงทุนมากกว่าที่กู้เพื่อชดเชยขาดดุล แต่การกู้ครั้งนี้ท่านกลับเอาค่าใช้จ่ายอุปโภคบริโภคตามปกติครัวเรือนมาบอกว่าเป็นค่าใช้จ่ายลงทุน
“
ดิฉันคิดว่าเกินเลยไปมาก ซึ่งท่านจะไม่ทำก็ได้แค่บอกกับสภาฯ ว่ารายจ่ายรอบนี้จะไม่ตรงกับที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย โดยมีเหตุผลที่เราจำเป็นที่จะต้องรักษาชื่อเสียงที่เราสั่งสมมานานเพื่อทำเรือธงของตัวเองให้ได้ ให้ท่านบอกเหตุผลกับสภาฯมา และเสียงข้างมากก็คงยอมให้ท่านทำได้ แต่ท่านกลับพยายามที่จะบิดกฎหมายที่ยังไงก็ได้ขอแค่ให้เป็นรายจ่ายลงทุนโดยที่ไม่ได้ ซึ่งจะถือว่าเป็นการสร้างบรรทัดฐานที่ผิดในอนาคตกับกฎหมายวินัยการเงินการคลังต่อไป” น.ส.ศิริกัญญากล่าว
น.ส.
ศิริกัญญากล่าวอีกว่า 4.แม้จะกู้ได้ แต่ก็ไม่คุ้มค่าที่จะทำ เพราะแหล่งที่มาของเงินเปลี่ยนไปแล้ว จากเดิมที่จะมีการเติมเงินเข้ามาใหม่ในระบบ 3.5 แสนล้านบาท จากการกู้ 3 แหล่งคือ กู้ชดเชยขาดดุล 2567, กู้ชดเชยขาดดุล 2568 และกู้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) ตอนนี้เหลือเพียงแค่ 2 แสนกว่าล้านบาทเท่านั้น ดังนั้น จากที่เคยประเมินเอาไว้ว่าจะโต 1.2-1.8 เปอร์เซ็นต์ ตัวเลขตอนนี้จะไม่เท่าเดิมอีกต่อไป แต่สำนักงานเศรษฐกิจการคลังเขาก็บอกว่าประเมินให้ใหม่แล้วเพราะแหล่งที่มาของเงินลดลงแล้วก็จะเหลืออยู่ที่ 0.9 เปอร์เซ็นต์ แต่พอแถลงข่าวรัฐมนตรีช่วยกระทรวงการคลังก็กลับไปใช้ตัวเลข 1.2-1.8% ขอใช้ตัวเลขสูงไว้ก่อน
“
ยิ่งสะท้อนว่าโครงการนี้ไม่ได้มีการประเมินความคุ้มค่าไว้ล่วงหน้า ท่านอาจจะบอกว่าโครงการนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในโลกนี้ เลยไม่รู้ว่าจะประมาณการอย่างไร แต่เราสามารถจะประเมินขั้นต่ำขั้นสูงกันได้อยู่แล้ว ถ้าโครงการนี้มันมีการประเมินอย่างรอบคอบ รอบด้าน แต่เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาแบบนี้ สรุปว่าไม่รู้จะใช้ตัวเลขไหนกันแน่ และเอกสารงบประมาณก็ไม่ได้มีการระบุตัวเลขไว้อย่างชัดเจน ดิฉันจึงไม่สามารถที่จะเห็นด้วยกับกรรมาธิการเสียงข้างมาก” น.ส.
ศิริกัญญากล่าว
วีระ ซัดรบ.จัดทำงบแบบรวมห่อ แนะถอนคันเร่ง โครงการดิจิทัลวอลเล็ต
https://www.matichon.co.th/politics/news_4710397
‘วีระ’ นักวิชาการ ซัดรบ.จัดทำงบแบบรวมห่อ แนะถอนคันเร่ง โครงการดิจิทัลวอลเล็ต หวั่นสร้างวิกฤตเศรษฐกิจรอบใหม่ เชื่อมีคนยื่นองค์กรอิสระตีความแน่
เวลา 10.30 น.วันที่ 31 กรกฎาคม ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีนาย
ปดิพัทธ์ สันดิภาดา รองประธานสภาฯ คนที่ 1 เป็นประธานการประชุม หลังเปิดให้สมาชิกหารือปัญหาความเดือดร้อนแล้ว เข้าสู่การพิจารณาร่างระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 จำนวนเงิน 1.22 แสนล้านบาท วาระที่ 2 และวาระที่ 3 ตามที่คณะกรรมาธิการฯ พิจารณาเสร็จแล้ว โดยกมธ.ไม่ได้มีการแก้ไข
นาย
วีระ ธีระภัทรานนท์ นักวิชาการ ในฐานะกมธ.เสียงข้างน้อยที่สงวนความเห็น อภิปรายว่า แท้ที่จริงแล้วเราต้องมองภาพรวมของโครงการดิจิทัลวอลเล็ตทั้งหมดที่ใช้เงินรวมกัน 4.5 แสนล้านบาท แม้จะมีการลดวงเงินจากเดิม 5 แสนล้านบาท ว่ามีความเชื่อมโยงกับแหล่งที่มาของเงินที่จะใช้ในโครงการนี้นอกเหนือจากงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมปี 67 จะเรียกว่าเป็นการจัดทำงบประมาณแบบรวมห่อ หรือเป็นแพ็กเก็ต ซึ่งเป็นการใช้เทคนิคการจัดทำงบประมาณที่ไม่ตรงไปตรงมา
ดังนั้นขอให้รัฐบาลถอนคัดเร่งในการใช้โครงการดิจิทัลวอลเล็ต เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะเห็นชัดเจนว่ามีปัญหาและอาจต้องส่งให้องค์กรอิสระตีความในอนาคต และขอให้รัฐบาลอย่ามองข้ามปัญหาเศรษฐกิจที่เคยเกิดขึ้นที่ประเทศกรีซ
นาย
วีระ กล่าวต่อว่า นอกจากนั้นในสถานการณ์ของงบประมาณ พบสัญญาณที่เป็นอันตรายคือ ส่วนรายจ่ายดอกเบี้ยที่สูงเกือบ 10% ของรายได้ที่หามาได้ โดยในการจัดทำงบปี68 พบว่ามีการตั้งงบเพื่อชดใช้หนี้จำนวน 4.1 แสนล้านบาท แบ่งเป็นเงินต้น 1.5 แสนล้านบาท และ ดอกเบี้ย 2.6 แสนล้านบาท เท่ากับ 9% นอกจากนั้นการทำงบขาดดุลสูงที่สุด ติดเพดานงบขาดดุลมากอย่างไม่เคยมีมาก่อน
ทั้งที่ขณะนี้มียอดขาดดุลรวม 8.05 แสนล้านบาท ซึ่งเพดานที่สูงสุดโดยไม่ผิดกฎหมาย คือ 8.15 แสนล้านบาท ดังนั้นจึงเหลือเงิน 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งในข้อกังวลคือวิกฤตการเงินการคลังที่จะเกิดขึ้นในอนาคตหากบริหารจัดการไม่ถูกต้องและไม่รอบคอบ
“
ขอตั้งข้อสังเกตในประเด็นการเมืองว่า เป็นนโยบายเรือธง ของพรรคเพื่อไทย ซึ่งได้นำเป้าหมายมาสร้างความชอบธรรมในวิธีการดังกล่าวที่อันตราย ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นนโยบายหาเสียงที่เป็นภาระต่องบประมาณและอาจเป็นตัวอย่างของการทำนโยบายที่เสี่ยงต่อการทำงบประมาณในอนาคต ดังนั้นขอให้สส.พิจารณาก่อนลงมติเห็นชอบร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว” นาย
วีระ กล่าว
‘ฐากร’ ตัดงบ ‘ดิจิทัลวอลเล็ต’ 100% ชี้ส่อขัดกม. 2 ฉบับ ซัด รบ.ขับมอ’ไซด์ปล่อยมือ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4710557
‘ฐากร’ ตัดงบ ‘ดิจิทัลวอลเล็ต’ 100% ชี้ส่อขัดกม. 2 ฉบับ ซัด รบ.ขับมอ’ไซด์ปล่อยมือ
เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม เวลา 10.30 น. ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มี นาย
ปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภา คนที่ 1 เป็นประธานการประชุม หลังเปิดให้สมาชิกหารือปัญหาความเดือดร้อนแล้ว เข้าสู่การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 จำนวนเงิน 1.22 แสนล้านบาท วาระที่ 2 และวาระที่ 3 ตามที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว โดย กมธ.ไม่ได้มีการแก้ไขนั้น
ต่อมานาย
ฐากร ตันฑสิทธิ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคไทยสร้างไทย (ทสท.) อภิปรายว่า ขอสงวนคำแปรญัตติปรับลดงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ 2567 ทั้งสิ้น 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะที่รัฐบาลกำลังทำส่อขัดกฎหมาย 2 ฉบับ คือ 1. มาตรา 21 ของพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) วินัยการเงินการคลัง ถ้าเปรียบกับการขับมอเตอร์ไซด์ เขาเรียกกันว่า ขับมอเตอร์ไซด์แบบปล่อยมือ ซึ่งเสี่ยงอันตราย และ 2. ขัดมาตรา 43 ของ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2561
นาย
ฐากรกล่าวต่อว่า โดยทั้ง 2 เงื่อนไขนี้จะทำได้ คือหน่วยรับงบประมาณได้ก่อหนี้ผูกพันไว้แล้ว และได้รับการกันเงินจากกระทรวงการคลังแล้ว โดยการเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนในวันที่ 1 สิงหาคม ตนยืนยันว่า ส่อไปในทางที่ไม่ใช่การก่อหนี้ผูกพัน เพราะต้องมีการลงนามในสัญญาให้ทันภายในวันที่ 30 กันยายนเท่านั้น
นาย
ฐากรกล่าวอีกว่า ซึ่งถ้าร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมฯ วงเงิน 1.22 แสนล้านบาท ไม่สามารถกันเงินเบิกจ่ายเหลื่อมปีได้ทันในวันที่ 30 กันยายนนี้ ตนขอเสนอทางออกว่า 1. เงินที่รัฐบาลกันไว้แล้วจากเงินงบกลาง 4.3 หมื่นล้านบาท และ 2. เงินงบเพิ่มเติมปี 2567 อีก 1.22 แสนล้านบาท รวมเป็น 1.65 แสนล้านบาท ขอให้รัฐบาลแจกเงินดังกล่าวผ่านแอพพ์เป๋าตัง หรือเป็นเงินสด ให้ประชาชน 16.5 ล้านคนในกลุ่มเปราะบางให้เสร็จก่อน วันที่ 30 กันยายนนี้ จะทำให้เงินดังกล่าว สามารถใช้ได้ถูกต้องตามระเบียบต่อไป.
ธปท. เผย เศรษฐกิจ มิ.ย. ชะลอตัว ตามท่องเที่ยว-ส่งออก ชี้ แจกเงินหมื่นดันจีดีพีโตสุด 0.9%
https://www.matichon.co.th/economy/news_4711194
ธปท. รับศก. มิ.ย. 67 ชะลอตัวลง ชี้แจกเงินหมื่นดันจีดีพีโตสุด 0.9%
เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม นางสาว
ชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายองค์กรสัมพันธ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจในเดือนมิถุนายน 2567 ชะลอตัวลงจากหลายหมวด ส่วนหนึ่งอาจเป็นผลจากการเร่งตัวขึ้นแล้วในช่วงเดือนที่ผ่านมา โดยแรงขับเคลื่อนหลักยังมาจากภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ต่อเนื่อง ส่งผลให้กิจกรรมในภาคบริการ การจ้างงาน และการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวจากไตรมาสก่อน ประกอบกับการส่งออกสินค้าที่ไม่รวมทองคำปรับเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับการผลิตภาคอุตสาหกรรมโดยรวมที่ดีขึ้น แต่ในบางอุตสาหกรรมยังถูกกดดันจากสินค้าคงคลัง ที่อยู่ในระดับสูง และปัจจัยเชิงโครงสร้างจากความสามารถในการแข่งขันที่ด้อยลง ด้านการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวจากด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ โดยพบว่
JJNY : 5in1 ศิริกัญญากาง 4 เหตุผล│วีระแนะถอนคันเร่ง│‘ฐากร’ชี้ส่อขัดกม.2ฉบับ│ธปท.ชี้ดันจีดีพีโตสุด0.9%│เมียนมาขยายฉุกเฉิน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4710547
‘ศิริกัญญา’ กาง 4 เหตุผลตัด ‘งบดิจิทัลวอลเล็ต’ เหลือหมื่นล้านบาท เหน็บ จะเล่นแร่แปรธาตุอย่างไรก็ตาม แต่ดอกเบี้ยไม่หลอกใคร จวก เกินเลยไปมากเอาค่าน้ำค่าไฟรวมเป็นรายจ่ายลงทุน อัด ตัวเลขโครงการเปลี่ยนไปมา สรุปไม่รู้ใช้ตัวเลขไหนกันแน่
เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม เวลา 10.30 น. ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มี นายปดิพัทธ์ สันดิภาดา รองประธานสภา คนที่ 1 เป็นประธานการประชุม หลังเปิดให้สมาชิกหารือปัญหาความเดือดร้อนแล้ว เข้าสู่การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 จำนวนเงิน 1.22 แสนล้านบาท วาระที่ 2 และวาระที่ 3 ตามที่คณะกรรมาธิการ พิจารณาเสร็จแล้ว โดย กมธ.ไม่ได้มีการแก้ไข
จากนั้นเวลา 12.50 น. น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) ในฐานะผู้แปรญัตติ อภิปรายว่า ตนขอตัดลดงบในส่วนนี้เหลือ 1 หมื่นล้านบาท ด้วย 4 เหตุผลคือ 1.เราไม่ควรกู้เงินเพิ่มอีกแล้ว เพราะด้วยฐานะทางการคลังของประเทศวันนี้ยังอยู่ในกรอบวินัยการเงินการคลัง แต่ยังปริ่มเพดาน ไต่ขอบไต่เส้น และหนี้สาธารณะท่านจะเล่นแร่แปรธาตุอย่างไรก็ตาม แต่ดอกเบี้ยไม่หลอกใคร ทั้งนี้ เราทราบดีอยู่แล้วว่าในปีงบ 2567 และปี 2568 มีการตั้งงบชำระดอกเบี้ยไม่พอที่ตั้งไว้ ขณะที่ปี 2569 ก็มีการตั้งเฉพาะดอกเบี้ยไว้ที่ 3.7 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 12 เปอร์เซ็นต์ของรายได้รัฐบาล หากถึงปี 2571 ก็จะขึ้นไปเกือบ 5 แสนล้านบาท เราไม่ต้องทำอะไรแล้วหากรายได้ได้เท่าไหร่ หรือเก็บภาษีได้เท่าไหร่ก็เอาไปจ่ายเป็นดอกเบี้ยหมด ซึ่งหากรวมเงินต้นด้วยก็จะขึ้นไป 20 เปอร์เซ็นต์ นี่จึงเป็นปัญหาที่จะผูกพันเราไปอีกในอนาคต
“ดิฉันจึงเสนอว่าไม่ควรกู้เพิ่มอีกแล้ว แถมยังเป็นการกู้ที่สุดเพดานไม่เผื่อเหลือเผื่อขาดว่าจะจัดเก็บรายได้ไม่เข้าเป้า กรรมาธิการได้สอบถามบ้างหรือไม่ว่าประมาณการรายได้ของปี 2567 ได้ประมาณการใหม่ไว้หรือไม่ เราจะจัดเก็บพลาดเป้าเดิมจากที่สภาฯ เคยอนุมัติไว้เมื่อต้นปีที่เท่าไหร่ แม้จะมีการสอบถามแค่ตัวแทนจากกระทรวงการคลังก็บอกว่าได้มีการประมาณการรายได้ใหม่ไว้แล้ว แต่ไม่บอกว่าเท่าไหร่ ไม่แค่ขอให้เชื่อมั่นและมั่นใจว่าสุดท้ายแล้วว่าสุดท้ายจะไม่มีปัญหา ซึ่งกรมสรรพสามิตก็เคยออกมาแถลงแล้วว่าจัดเก็บพลาดเป้าไปเกือบ 6 หมื่นล้านบาท แต่เราก็ยังจะมากู้เพิ่มจนสุดเพดาน ซึ่งถือเป็นการสร้างความเสี่ยงที่ไม่จำเป็นกับระบบการคลัง ยืนยันว่าจะให้งบเพิ่มเติมได้เท่าที่หารายได้อื่นมาเพิ่มได้คือ 1 หมื่นล้านบาท” น.ส.ศิริกัญญากล่าว
น.ส.ศิริกัญญากล่าวต่อว่า 2.แม้จะกู้ได้ แต่ก็ต้องใช้ในปีงบประมาณตามกฎหมาย ซึ่งไม่มีกฎหมายข้อไหนที่บอกว่าการลงทะเบียนจะเข้านิยามของหนี้ตามมาตรา 4 ยกเว้นจากการอื่นใด แต่การจะเป็นหนี้ได้ต้องมีระเบียบมารองรับต่อไป และจะเป็นการสร้างบรรทัดฐานที่ผิดต่อไป กรรมาธิการได้มีการสอบถามหน่วยงานที่มาชี้แจงหรือไม่ว่าเป็นหนี้หรือสัญญาประเภทใด ซึ่งตนอยู่ในห้องนั้นก็เห็นว่าไม่มีหน่วยงานใดที่จะตอบได้ว่าเป็นสัญญาเอกเทศประเภทใด ทั้งนี้ หากเป็นสัญญาให้ไม่ถือว่าเป็นการก่อหนี้ เพราะฟ้องร้องกันไม่ได้
น.ส.ศิริกัญญากล่าวด้วยว่า 3.แม้จะกู้ได้ แต่ต้องทำสัดส่วนลงทุนรายจ่ายถูกต้อง ซึ่งท่านเคยชี้แจงในห้องกรรมาธิการงบประมาณว่าทำไมจึงคิดว่ารายจ่ายของดิจิทัลวอลเล็ตเป็นรายจ่ายลงทุนถึง 80 เปอร์เซ็นต์ แต่เมื่อมาชี้แจงในห้องคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) ก็มีการเปลี่ยนแปลงไม่มีแล้วว่า 80 เปอร์เซ็นต์เป็นรายจ่ายลงทุน แต่ใช้การวิเคราะห์ที่ทำให้เกิดดอกผลและไม่เกิดดอกผล รวมถึงบอกว่าการก่อให้เกิดดอกผลเป็นการลงทุน โดยในมาตรา 20 (1) ระบุว่าเราต้องมีรายจ่ายลงทุนมากกว่าที่กู้เพื่อชดเชยขาดดุล แต่การกู้ครั้งนี้ท่านกลับเอาค่าใช้จ่ายอุปโภคบริโภคตามปกติครัวเรือนมาบอกว่าเป็นค่าใช้จ่ายลงทุน
“ดิฉันคิดว่าเกินเลยไปมาก ซึ่งท่านจะไม่ทำก็ได้แค่บอกกับสภาฯ ว่ารายจ่ายรอบนี้จะไม่ตรงกับที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย โดยมีเหตุผลที่เราจำเป็นที่จะต้องรักษาชื่อเสียงที่เราสั่งสมมานานเพื่อทำเรือธงของตัวเองให้ได้ ให้ท่านบอกเหตุผลกับสภาฯมา และเสียงข้างมากก็คงยอมให้ท่านทำได้ แต่ท่านกลับพยายามที่จะบิดกฎหมายที่ยังไงก็ได้ขอแค่ให้เป็นรายจ่ายลงทุนโดยที่ไม่ได้ ซึ่งจะถือว่าเป็นการสร้างบรรทัดฐานที่ผิดในอนาคตกับกฎหมายวินัยการเงินการคลังต่อไป” น.ส.ศิริกัญญากล่าว
น.ส.ศิริกัญญากล่าวอีกว่า 4.แม้จะกู้ได้ แต่ก็ไม่คุ้มค่าที่จะทำ เพราะแหล่งที่มาของเงินเปลี่ยนไปแล้ว จากเดิมที่จะมีการเติมเงินเข้ามาใหม่ในระบบ 3.5 แสนล้านบาท จากการกู้ 3 แหล่งคือ กู้ชดเชยขาดดุล 2567, กู้ชดเชยขาดดุล 2568 และกู้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) ตอนนี้เหลือเพียงแค่ 2 แสนกว่าล้านบาทเท่านั้น ดังนั้น จากที่เคยประเมินเอาไว้ว่าจะโต 1.2-1.8 เปอร์เซ็นต์ ตัวเลขตอนนี้จะไม่เท่าเดิมอีกต่อไป แต่สำนักงานเศรษฐกิจการคลังเขาก็บอกว่าประเมินให้ใหม่แล้วเพราะแหล่งที่มาของเงินลดลงแล้วก็จะเหลืออยู่ที่ 0.9 เปอร์เซ็นต์ แต่พอแถลงข่าวรัฐมนตรีช่วยกระทรวงการคลังก็กลับไปใช้ตัวเลข 1.2-1.8% ขอใช้ตัวเลขสูงไว้ก่อน
“ยิ่งสะท้อนว่าโครงการนี้ไม่ได้มีการประเมินความคุ้มค่าไว้ล่วงหน้า ท่านอาจจะบอกว่าโครงการนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในโลกนี้ เลยไม่รู้ว่าจะประมาณการอย่างไร แต่เราสามารถจะประเมินขั้นต่ำขั้นสูงกันได้อยู่แล้ว ถ้าโครงการนี้มันมีการประเมินอย่างรอบคอบ รอบด้าน แต่เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาแบบนี้ สรุปว่าไม่รู้จะใช้ตัวเลขไหนกันแน่ และเอกสารงบประมาณก็ไม่ได้มีการระบุตัวเลขไว้อย่างชัดเจน ดิฉันจึงไม่สามารถที่จะเห็นด้วยกับกรรมาธิการเสียงข้างมาก” น.ส.ศิริกัญญากล่าว
วีระ ซัดรบ.จัดทำงบแบบรวมห่อ แนะถอนคันเร่ง โครงการดิจิทัลวอลเล็ต
https://www.matichon.co.th/politics/news_4710397
‘วีระ’ นักวิชาการ ซัดรบ.จัดทำงบแบบรวมห่อ แนะถอนคันเร่ง โครงการดิจิทัลวอลเล็ต หวั่นสร้างวิกฤตเศรษฐกิจรอบใหม่ เชื่อมีคนยื่นองค์กรอิสระตีความแน่
เวลา 10.30 น.วันที่ 31 กรกฎาคม ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีนายปดิพัทธ์ สันดิภาดา รองประธานสภาฯ คนที่ 1 เป็นประธานการประชุม หลังเปิดให้สมาชิกหารือปัญหาความเดือดร้อนแล้ว เข้าสู่การพิจารณาร่างระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 จำนวนเงิน 1.22 แสนล้านบาท วาระที่ 2 และวาระที่ 3 ตามที่คณะกรรมาธิการฯ พิจารณาเสร็จแล้ว โดยกมธ.ไม่ได้มีการแก้ไข
นายวีระ ธีระภัทรานนท์ นักวิชาการ ในฐานะกมธ.เสียงข้างน้อยที่สงวนความเห็น อภิปรายว่า แท้ที่จริงแล้วเราต้องมองภาพรวมของโครงการดิจิทัลวอลเล็ตทั้งหมดที่ใช้เงินรวมกัน 4.5 แสนล้านบาท แม้จะมีการลดวงเงินจากเดิม 5 แสนล้านบาท ว่ามีความเชื่อมโยงกับแหล่งที่มาของเงินที่จะใช้ในโครงการนี้นอกเหนือจากงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมปี 67 จะเรียกว่าเป็นการจัดทำงบประมาณแบบรวมห่อ หรือเป็นแพ็กเก็ต ซึ่งเป็นการใช้เทคนิคการจัดทำงบประมาณที่ไม่ตรงไปตรงมา
ดังนั้นขอให้รัฐบาลถอนคัดเร่งในการใช้โครงการดิจิทัลวอลเล็ต เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะเห็นชัดเจนว่ามีปัญหาและอาจต้องส่งให้องค์กรอิสระตีความในอนาคต และขอให้รัฐบาลอย่ามองข้ามปัญหาเศรษฐกิจที่เคยเกิดขึ้นที่ประเทศกรีซ
นายวีระ กล่าวต่อว่า นอกจากนั้นในสถานการณ์ของงบประมาณ พบสัญญาณที่เป็นอันตรายคือ ส่วนรายจ่ายดอกเบี้ยที่สูงเกือบ 10% ของรายได้ที่หามาได้ โดยในการจัดทำงบปี68 พบว่ามีการตั้งงบเพื่อชดใช้หนี้จำนวน 4.1 แสนล้านบาท แบ่งเป็นเงินต้น 1.5 แสนล้านบาท และ ดอกเบี้ย 2.6 แสนล้านบาท เท่ากับ 9% นอกจากนั้นการทำงบขาดดุลสูงที่สุด ติดเพดานงบขาดดุลมากอย่างไม่เคยมีมาก่อน
ทั้งที่ขณะนี้มียอดขาดดุลรวม 8.05 แสนล้านบาท ซึ่งเพดานที่สูงสุดโดยไม่ผิดกฎหมาย คือ 8.15 แสนล้านบาท ดังนั้นจึงเหลือเงิน 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งในข้อกังวลคือวิกฤตการเงินการคลังที่จะเกิดขึ้นในอนาคตหากบริหารจัดการไม่ถูกต้องและไม่รอบคอบ
“ขอตั้งข้อสังเกตในประเด็นการเมืองว่า เป็นนโยบายเรือธง ของพรรคเพื่อไทย ซึ่งได้นำเป้าหมายมาสร้างความชอบธรรมในวิธีการดังกล่าวที่อันตราย ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นนโยบายหาเสียงที่เป็นภาระต่องบประมาณและอาจเป็นตัวอย่างของการทำนโยบายที่เสี่ยงต่อการทำงบประมาณในอนาคต ดังนั้นขอให้สส.พิจารณาก่อนลงมติเห็นชอบร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว” นายวีระ กล่าว
‘ฐากร’ ตัดงบ ‘ดิจิทัลวอลเล็ต’ 100% ชี้ส่อขัดกม. 2 ฉบับ ซัด รบ.ขับมอ’ไซด์ปล่อยมือ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4710557
‘ฐากร’ ตัดงบ ‘ดิจิทัลวอลเล็ต’ 100% ชี้ส่อขัดกม. 2 ฉบับ ซัด รบ.ขับมอ’ไซด์ปล่อยมือ
เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม เวลา 10.30 น. ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มี นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภา คนที่ 1 เป็นประธานการประชุม หลังเปิดให้สมาชิกหารือปัญหาความเดือดร้อนแล้ว เข้าสู่การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 จำนวนเงิน 1.22 แสนล้านบาท วาระที่ 2 และวาระที่ 3 ตามที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว โดย กมธ.ไม่ได้มีการแก้ไขนั้น
ต่อมานายฐากร ตันฑสิทธิ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคไทยสร้างไทย (ทสท.) อภิปรายว่า ขอสงวนคำแปรญัตติปรับลดงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ 2567 ทั้งสิ้น 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะที่รัฐบาลกำลังทำส่อขัดกฎหมาย 2 ฉบับ คือ 1. มาตรา 21 ของพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) วินัยการเงินการคลัง ถ้าเปรียบกับการขับมอเตอร์ไซด์ เขาเรียกกันว่า ขับมอเตอร์ไซด์แบบปล่อยมือ ซึ่งเสี่ยงอันตราย และ 2. ขัดมาตรา 43 ของ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2561
นายฐากรกล่าวต่อว่า โดยทั้ง 2 เงื่อนไขนี้จะทำได้ คือหน่วยรับงบประมาณได้ก่อหนี้ผูกพันไว้แล้ว และได้รับการกันเงินจากกระทรวงการคลังแล้ว โดยการเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนในวันที่ 1 สิงหาคม ตนยืนยันว่า ส่อไปในทางที่ไม่ใช่การก่อหนี้ผูกพัน เพราะต้องมีการลงนามในสัญญาให้ทันภายในวันที่ 30 กันยายนเท่านั้น
นายฐากรกล่าวอีกว่า ซึ่งถ้าร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมฯ วงเงิน 1.22 แสนล้านบาท ไม่สามารถกันเงินเบิกจ่ายเหลื่อมปีได้ทันในวันที่ 30 กันยายนนี้ ตนขอเสนอทางออกว่า 1. เงินที่รัฐบาลกันไว้แล้วจากเงินงบกลาง 4.3 หมื่นล้านบาท และ 2. เงินงบเพิ่มเติมปี 2567 อีก 1.22 แสนล้านบาท รวมเป็น 1.65 แสนล้านบาท ขอให้รัฐบาลแจกเงินดังกล่าวผ่านแอพพ์เป๋าตัง หรือเป็นเงินสด ให้ประชาชน 16.5 ล้านคนในกลุ่มเปราะบางให้เสร็จก่อน วันที่ 30 กันยายนนี้ จะทำให้เงินดังกล่าว สามารถใช้ได้ถูกต้องตามระเบียบต่อไป.
ธปท. เผย เศรษฐกิจ มิ.ย. ชะลอตัว ตามท่องเที่ยว-ส่งออก ชี้ แจกเงินหมื่นดันจีดีพีโตสุด 0.9%
https://www.matichon.co.th/economy/news_4711194
ธปท. รับศก. มิ.ย. 67 ชะลอตัวลง ชี้แจกเงินหมื่นดันจีดีพีโตสุด 0.9%
เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม นางสาวชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายองค์กรสัมพันธ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจในเดือนมิถุนายน 2567 ชะลอตัวลงจากหลายหมวด ส่วนหนึ่งอาจเป็นผลจากการเร่งตัวขึ้นแล้วในช่วงเดือนที่ผ่านมา โดยแรงขับเคลื่อนหลักยังมาจากภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ต่อเนื่อง ส่งผลให้กิจกรรมในภาคบริการ การจ้างงาน และการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวจากไตรมาสก่อน ประกอบกับการส่งออกสินค้าที่ไม่รวมทองคำปรับเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับการผลิตภาคอุตสาหกรรมโดยรวมที่ดีขึ้น แต่ในบางอุตสาหกรรมยังถูกกดดันจากสินค้าคงคลัง ที่อยู่ในระดับสูง และปัจจัยเชิงโครงสร้างจากความสามารถในการแข่งขันที่ด้อยลง ด้านการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวจากด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ โดยพบว่