การคำนวณสส.ปาร์ตี้ลิสต์ รู้สึกจะออกทะเลไปไกลแล้ว ขนาดที่ว่าอ้างเจตนารมณ์กันเลยทีเดียว



มันไม่ยุ่งหรอก ถ้าตีความกันตามรัฐธรรมนูญ จะมาอ้างว่าตั้งใจจะเขียนให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ หรือว่าเจตนารมณ์ต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ มันอ้างไม่ได้ เพราะไม่มีบัญญัติในรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 128 (5) เขียนไว้ชัดเจนว่า สส.พึงมีใน(5) จะตัองไม่มากกว่า (2) ก็ยังมีคนตะแบงว่าใน (2) ต้องผ่านขั้นตอน (5),(6),(7) ก่อนถึงจะวนกลับมาเป็น สส.พึงมีใน(2) อีกที ทำให้พรรคเล็กๆที่ได้ 3 หมื่นคะแนนได้สส.ด้วยเพราะผ่านขั้นตอนปรับเศษตาม (7) และวนย้อนกลับมาหา (2) อีกทีจึงทำให้สส.ที่ได้ไม่เกินสส.พึงมีใน(2)
      การคิดลักษณะเป็นการคิดที่วนลูป ไปตีความว่า (2)คือผลลัพท์สุดท้าย จริงๆแล้ว (2) คือข้อมูลดิบเบื้องต้น และผ่านขั้นตอน (3)~(7) ทำให้ได้ผลลัพท์ที่แท้จริงอยู่ที่ (4),(5),(6) และ (7) แล้วแต่ว่าขึ้นอยู่กับ condition ไหน สังเกตดูจากรูป คำจำกัดความของ (2) อยู่บนขีดสีแดงซึ่งเป็นความหมายของ สส.พึงมีเบื้องต้น ส่วนประโยคหลังที่ขีดด้วยเส้นสีฟ้าเป็นการนำเอาข้อมูลดิบจาก (2) ไปคำนวณต่อเพื่อให้เกิดผลลัพท์ใน (5),(6) และ (7) และโปรดสังเกตใน (3) ที่นำ (2) มาใช้ก็ยังมีคำว่าเบื้องต้นอยู่ ซึ่งการเลือกตั้งครั้งนี้เกิด condition (5) มา รัฐธรรมนูญกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่าต้องนำสส.ปาร์ตี้ลิสต์ไปจัดสรรให้กับพรรคการเมืองที่ได้สส.เขตต่ำกว่า(2) แต่ต้องไม่เกิน (2) ซึ่งยังเป็นข้อมูลดิบอยู่
      อยากถามคนที่คิดว่า (2) ต้องรอ (7) ก่อนถึงจะได้ผลลัพท์ที่แท้จริงของ(2) ถ้าต้องรออย่างนั้นขั้นตอน (3) มันจะเกิดขึ้นได้อย่างไร และถ้า(2)มีการเปลี่ยนเพราะ (7) แล้วอย่างนั้นมันต้องทำ (3) ใหม่หรือไม่ เพราะตัวเลขของ (2) เปลี่ยนไป จึงเป็นการคิดที่วนลูปไม่จบสิ้น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่