ตอนแรกผมไม่ได้สนใจดูกฎหมายเลือกตั้ง สส เพราะเห็นว่า รัฐธรรมนูญเขียนไว้ชัดแล้ว แต่พอไปดูกฎหมาย สส พบว่า เขียนแบบมีปัญหาจริงๆ ดังนี้
๑. ม.๑๒๘ (๒) ที่ไปบัญญัติคำเพิ่มเติมว่า มี สส พึงมีเบื้องต้น แล้วไปนำ (๕) (๖)(๗) มาอ้างว่า ต้องทำก่อนจึงจะมี สส พึงมี กลายเป็นงูกินหาง ทำให้ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ในการมี สส พึงมี ตาม รัฐธรรมนูญ ม.๙๑(๒)
๒. เอาข้อจำกัดเรื่อง ไม่ให้ เกิน สส พึงมี ไปไว้ ใน (๕) ซึ่งยังไม่จบกระบวนการจัดสรร ที่มีถึง (๗) ภายหลัง กระบวนการ ตาม (๕) ทำให้ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ รธน. ม.๙๑ (๔) ที่บัญญัติไว้ชัดเจนว่า การจัดสรร สส ส่วนเกิน ให้ จะไม่มีผลให้เกิน สส พึงมี ซึ่งเป็นคำสุดท้ายของการจัดสรร ดังนั้น ถ้าจะให้ถูก พรป.สส. จะต้องนำไปเขียนไว้ท้าย หลัง (๘) โดยกล่าวรวมว่า ที่ดำเนินการมาทั้งหมดนั้น จะต้องไม่เกิน สส พึงมี (๒) และ (๒) ตัองตัด การเพิ่มคำ สส พึงมีเบื้องต้นออกไป
แต่ไม่ว่าอย่างไร กฎหมายจะขัดหรือแย้งกฎหมายสูงสุดไม่ได้ เพราะฉะนั้น ต่อให้เมื่อดูตามเจตนารมณ์ของกฏหมายแล้วทำได้ ตีความตามตัวหนังสือก็ทำได้ แต่เมื่อไปเทียบกับกฎหมายรัฐธรรมนูญแล้ว ไม่ตรงตามรัฐธรรมนูญ ก็ใช้บังคับไม่ได้ ต้องยึดกฏหมายที่ศักดิ์สูงกว่า เป็นหลัก
อย่างกรณีนี้ จึงต้องตีความไม่ให้ขัดให้ได้ หากรู้ว่าขัด แล้วยังขืน เดินต่อก็ถือว่า ผิด
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้มาตรา ๑๒๘ ในกรณีที่มีการประกาศผลการเลือกตั้งครบทุกเขตเลือกตั้งแล้ว การคํานวณหา
จํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ
จะพึงได้รับ ให้คํานวณตามวิธีการดังต่อไปนี้ โดยในกรณีที่มีเศษให้ใช้ทศนิยมสี่ตําแหน่ง
(๑) นําคะแนนรวมทั้งประเทศที่พรรคการเมืองทุกพรรคที่ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อได้รับ
จากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งหารด้วยห้าร้อยอันเป็นจํานวนสมาชิกทั้งหมดของสภาผู้แทนราษฎร
(๒) นําผลลัพธ์ตาม (๑) ไปหารจํานวนคะแนนรวมทั้งประเทศของพรรคการเมืองแต่ละพรรค
ที่ได้รับจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งทุกเขต จํานวนที่ได้รับให้ถือเป็นจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ที่พรรคการเมืองนั้นจะพึงมีได้เบื้องต้น และเมื่อได้คํานวณตาม (๕) (๖) หรือ (๗) ถ้ามีแล้ว จึงให้ถือว่า
เป็นจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พรรคการเมืองนั้นจะพึงมีได้ (ไปเพิ่มข้อความทำให้เกิดปัญหางูกินหาง)
(๓) นําจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พรรคการเมืองจะพึงมีได้ตาม (๒) ลบด้วยจํานวน
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งทั้งหมดที่พรรคการเมืองนั้นได้รับเลือกตั้งในทุกเขตเลือกตั้ง
ผลลัพธ์คือจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองนั้นจะได้รับเบื้องต้น
(๔) ภายใต้บังคับ (๕) ให้จัดสรรจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมือง
จะได้รับให้ครบหนึ่งร้อยห้าสิบคน โดยจัดสรรให้พรรคการเมืองตามผลลัพธ์ตาม (๓) เป็นจํานวนเต็มก่อน
หากยังไม่ครบจํานวนหนึ่งร้อยห้าสิบคน ให้พรรคการเมืองที่มีเศษจากการคํานวณมากที่สุดได้รับการจัดสรร
จํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อเพิ่มอีกหนึ่งคนตามลําดับจนครบจํานวนหนึ่งร้อยห้าสิบคน
ในกรณีมีเศษเท่ากัน ให้ดําเนินการตาม (๖)
(๕) ถ้าพรรคการเมืองใดมีผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
เท่ากับหรือสูงกว่าจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรท่ีพรรคการเมืองนั้นจะพึงมีได้ตาม (๒) ให้พรรคการเมืองนั้น
มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามจํานวนที่ได้รับจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และไม่มีสิทธิได้รับ
การจัดสรรสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ และให้นําจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อทั้งหมดไปจัดสรรให้แก่พรรคการเมืองที่มีจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
ต่ํากว่าจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พรรคการเมืองนั้นจะพึงมีได้ตาม (๒) ตามอัตราส่วน แต่ต้อง
ไม่มีผลให้พรรคการเมืองใดดังกล่าวมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเกินจํานวนที่จะพึงมีได้ตาม (๒) (ข้อความนี้ ต้องนำไปไว้ตอนท้ายจึงจะถูฏตรงตาม รธน.ม.๙๑(๔) เพราะคำว่า ผล ในรัฐธรรมนูญคือสิ้นสุดกระบวนการ แต่พอมาในร่าง พรป. กลับยังมีกระบวนต่ออีก)
(๖) ในการจัดสรรตาม (๕) แล้วปรากฏว่ายังจัดสรรจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
ไม่ครบหนึ่งร้อยห้าสิบคน ให้พรรคการเมืองที่มีเศษจากการคํานวณมากที่สุดได้รับการจัดสรรจํานวนสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อเพิ่มอีกหนึ่งคนตามลําดับจนครบจํานวนหนึ่งร้อยห้าสิบคน กรณีที่เศษที่เหลือ
ของแต่ละพรรคการเมืองเท่ากันจนทําให้ไม่สามารถจัดสรรสมาชิกสภาผ้แทนราษฎรแบบบ ู ัญชีรายชื่อได้ครบจํานวน
หนึ่งร้อยห้าสิบคน ให้นําค่าเฉลี่ยคะแนนของแต่ละพรรคการเมืองต่อจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ที่พึงมีหนึ่งคนมาพิจารณา โดยหากพรรคการเมืองใดมีค่าเฉลี่ยคะแนนของพรรคการเมืองต่อจํานวน
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พึงมีหนึ่งคนมากกว่าพรรคการเมืองอื่น ให้พรรคการเมืองนั้นมีสิทธิได้รับ
การจัดสรรสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อเพิ่มอีกหนึ่งคน และหากยังมีจํานวนค่าเฉลี่ยดังกล่าว
เท่ากันอีก ให้ใช้วิธีจับสลาก
(๗) ในกรณีที่เมื่อคํานวณตาม (๕) แล้วปรากฏว่าพรรคการเมืองทุกพรรคได้รับจํานวน
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อรวมกันแล้วเกินหนึ่งร้อยห้าสิบคน ให้ดําเนินการคํานวณปรับ
จํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อใหม่โดยคํานวณตามอัตราส่วนที่ทุกพรรคจะได้รับการจัดสรร
จํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อซึ่งเมื่อรวมแล้วไม่เกินหนึ่งร้อยห้าสิบคน โดยให้นําจํานวน
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อที่แต่ละพรรคการเมืองจะได้รับคูณด้วยหนึ่งร้อยห้าสิบ หารด้วย
ผลบวกของหนึ่งร้อยห้าสิบกับจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อที่เกินจํานวนหนึ่งร้อยห้าสิบ
และให้นํา (๔) มาใช้ในการคํานวณด้วยโดยอนุโลม
(๘) เมื่อได้จํานวนผู้ได้รับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมืองแล้ว ให้ผู้สมัคร
ตามลําดับหมายเลขในบัญชีรายชื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองนั้น
เป็นผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ในกรณีที่ผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้งตายภายหลังวันปิดรับสมัครรับเลือกตั้งแต่ก่อนเวลาปิด
การลงคะแนนในวันเลือกตั้ง ให้นําคะแนนที่มีผู้ลงคะแนนให้ มาคํานวณตาม (๑) และ (๒) ด้วย
ทั้งนี้ การดําเนินการตาม (๑) ถึง (๘) ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกําหนด
พรป.เลือกตั้ง สส ไม่เขียนตามรัฐธรรมนูญ ทำให้เกิดปัญหา
๑. ม.๑๒๘ (๒) ที่ไปบัญญัติคำเพิ่มเติมว่า มี สส พึงมีเบื้องต้น แล้วไปนำ (๕) (๖)(๗) มาอ้างว่า ต้องทำก่อนจึงจะมี สส พึงมี กลายเป็นงูกินหาง ทำให้ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ในการมี สส พึงมี ตาม รัฐธรรมนูญ ม.๙๑(๒)
๒. เอาข้อจำกัดเรื่อง ไม่ให้ เกิน สส พึงมี ไปไว้ ใน (๕) ซึ่งยังไม่จบกระบวนการจัดสรร ที่มีถึง (๗) ภายหลัง กระบวนการ ตาม (๕) ทำให้ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ รธน. ม.๙๑ (๔) ที่บัญญัติไว้ชัดเจนว่า การจัดสรร สส ส่วนเกิน ให้ จะไม่มีผลให้เกิน สส พึงมี ซึ่งเป็นคำสุดท้ายของการจัดสรร ดังนั้น ถ้าจะให้ถูก พรป.สส. จะต้องนำไปเขียนไว้ท้าย หลัง (๘) โดยกล่าวรวมว่า ที่ดำเนินการมาทั้งหมดนั้น จะต้องไม่เกิน สส พึงมี (๒) และ (๒) ตัองตัด การเพิ่มคำ สส พึงมีเบื้องต้นออกไป
แต่ไม่ว่าอย่างไร กฎหมายจะขัดหรือแย้งกฎหมายสูงสุดไม่ได้ เพราะฉะนั้น ต่อให้เมื่อดูตามเจตนารมณ์ของกฏหมายแล้วทำได้ ตีความตามตัวหนังสือก็ทำได้ แต่เมื่อไปเทียบกับกฎหมายรัฐธรรมนูญแล้ว ไม่ตรงตามรัฐธรรมนูญ ก็ใช้บังคับไม่ได้ ต้องยึดกฏหมายที่ศักดิ์สูงกว่า เป็นหลัก
อย่างกรณีนี้ จึงต้องตีความไม่ให้ขัดให้ได้ หากรู้ว่าขัด แล้วยังขืน เดินต่อก็ถือว่า ผิด
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้