ประเมินท่าทีของคุณ มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ (ลุงมิ่ง) จากรายการ THE STANDARD
อันนี้คือความเห็นส่วนตัวนะ
การไม่เข้าร่วมแถลงข่าว ไม่ร่วมลงสัตยาบัน ไม่ระบุว่าจะเข้าฝ่ายไหน คือการเปิดช่องสำหรับการย้ายฝ่ายอย่างแน่นอน
การแทงกั๊กของลุงมิ่ง หลายคนมองว่ามีแต่เสียกับเสีย แต่จริงๆอาจจะไม่ใช่แบบนั้นก็ได้
และดูจากท่าทีของลุงมิ่งตอนนี้ หลายๆคนก็มองว่ามีความเป็นไปได้สูงที่จะไปเข้ากับ พปชร แต่ยังต่อรองกันอยู่
ประเมินจากการยืนยันจุดยืนของลุงมิ่งที่พูดในรายการ
- คำว่าฝ่ายประชาธิปไตยที่ลุงมิ่งพูดในรายการคือ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (พปชร ก็ใช้คำนี้)
- คำว่ารักษาคำพูดของลุง มีแนวโน้มว่าจะหมายถึงการเข้าไปแก้ปัญหาเศรษฐกิจ
การไปเข้ากับ พปชร ของลุงจะไม่ผิดคำพูดใดๆทั้งสิ้น นั่นคือ
- เป็นฝ่ายประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (ประชาธิปไตยของ พปชร เสียงของประชาชนทุกเสียงมีค่า)
- ยืนยันจุดยืนเดิม (การเข้าไปแก้ปัญหาเศรษฐกิจเพื่อประชาชน)
ทำไมมีโอกาศสูงที่ลุงจะเข้ากับ พปชร ?
- พปชร ณ ตอนนี้ต้องการคะแนนลุงมิ่งมากกว่า พท เพื่อให้รัฐบาลเดินหน้าได้ด้วยเสียงเกิน 251 (ดีลด้วยกระทรวงเศรษฐกิจ เงื่อนไขนี้น่าจะกำลังต่อรองกันอยู่ จากที่ลุงมิ่งพูดในรายการค่อนข้างชัดเจนว่าลุงมิ่งต้องการกระทรวงด้านเศรษฐกิจ)
- พท ตอนนี้ไม่ว่าจะได้คะแนนลุงมิ่งหรือไม่ ยังไงก็มีโอกาศน้อยมากที่จะจัดตั้งรัฐบาลได้เพราะคะแนนยังห่างไกล 376 (ต่อให้ดีลกระทรวงเศรษฐกิจให้ลุงมิ่ง แต่จริงๆแล้วคือไม่มีให้ หรือก็คือรักษาคำพูดไม่ได้ก็ไม่มีประโยชน์)
เข้ากับฝ่ายไหนได้ประโยชน์ยังไง ?
ถ้าเข้ากับ พท
- ได้ใจประชาชนที่เลือกลุงมิ่ง(ที่เข้าใจเอาเองว่าลุงต่อต้านการสืบทอดอำนาจ เพราะในรายการลุงมิ่งไม่ได้บอกว่าไม่เอาสืบทอดอำนาจ)
- ได้ภาพลักษณ์ต่อต้านการสืบทอดอำนาจ
- ในอนาคตลุงไม่น่าจะมีโอกาศโตได้มากกว่านี้แล้ว (ยืนฝั่งนี้สู้ พท กับ อนาคตใหม่ ไม่ได้ เพราะฝ่ายนี้มีภาพลักษณ์คือนักธุรกิจมืออาชีพและมีฐานเสียงที่เหนียวแน่น โดยเฉพาะอนาคตใหม่ )
- นอกจากภาพลักษณ์ที่ดีแล้วก็ไม่ได้อะไรเลย แถมยังมีโอกาศโดนกลืนในอนาคต
ถ้าเข้ากับ พปชร
- "
จำเป็นต้องทำเพื่อให้ประเทศเดินหน้าต่อไปได้"
- "
ความเป็นอยู่ของประชาชนต้องมาก่อน"
- มีโอกาศได้กระทรวงเศรษฐกิจ
- มีโอกาศเติบโตได้ในอนาคต
ดูยังไงการเข้ากับ พปชร ก็ดูจะได้ประโยชน์มากกว่า ต่อให้รัฐบาลจะอายุสั้นหรือไม่มีเสถียรภาพยังไง แต่นโยบายลุงมิ่งเป็นนโยบายที่ทำได้ในระยะสั้นอยู่แล้ว (อย่างเช่นลดราคาน้ำมัน หรือ ชะลอการขึ้นค่าแรง) ชะลอการขึ้นค่าแรงน่าจะเป็นเรื่องที่ทาง พปชร เองก็คงต้องการเหมือนกัน ตรงนี้น่าจะดีลกันได้ แต่กระทรวงเศรษฐกิจกับลดราคาน้ำมันจะดีลได้มั้ย ตรงนี้คิดว่ายังไม่แน่นอน แต่หลังจากที่ตั้งรัฐบาล พปชร ได้แล้ว 6-7 คะแนนลุงมิ่งจะยิ่งสำคัญมากขึ้นเพราะเป็นคะแนนชี้เป็นชี้ตายรัฐบาล
ส่วนถ้า พท ตั้งรัฐบาลได้จริง 6-7 คะแนนของลุงมิ่งมีผลน้อยมาก (อำนาจต่อรองน้อย เป็นไปได้ยากที่จะได้ด้านกระทรวงเศรษฐกิจ)
และมีอีกหลายพรรคที่มีคะแนนมากกว่าลุงมิ่งและพร้อมเข้าร่วมรัฐบาลกับฝ่ายใดก็ได้ (แน่นอนว่ากลุ่มนี้ก็อยากได้กระทรวงด้านเศรษฐกิจเหมือนกัน)
และยิ่งถ้านโยบายลุงมิ่งถูกนำไปปฏิบัติจริง ( ซึ่งน่าจะเป็นเงื่อนไขต่อรองขั้นต่ำในการเข้าร่วมรัฐบาลกับ พปชร )
ลุงมิ่งจะได้คะแนนเสียงจากคนที่เลือกเพราะนโยบายด้านเศรษฐกิจของลุงมิ่งไปเต็มๆ ( ตุนคะแนนสำหรับการเลือกตั้งครั้งหน้า เพราะแสดงท่าทีไปแบบนี้แล้ว ต่อให้ไม่เข้าร่วมรัฐบาลคะแนนจากคนที่เลือกบางส่วนก็ลดลงอย่างแน่นอนแล้ว แต่ถ้าเข้าร่วมรัฐบาลกับ พปชร แล้วผลักดันนโยบายได้มีแนวโน้มว่าจะได้คะแนนเพิ่มทั้งจากคนที่เลือกและไม่เลือก )
อ้าวแล้วไม่เสียคะแนนจากฝ่ายประชาธิปไตยเหรอ!!
เสียก็เสียไปสิ ตอนนี้มีฐานคะแนนใหม่ที่น่าสนใจกว่า นั่นก็คือกลุ่มคนที่เลือก พปชร
ในกรณีที่ลุงมิ่งย้ายฝ่าย ลุงจะได้ฐานคะแนนใหม่จากคนกลุ่มนี้แทน และลุงม่ิ่งสามารถโตได้มากกว่านี้ด้วยการประกาศเพิ่มนโยบายแอนตี้ พท
(หลังลุงตู่ไปแล้ว เสียงกลุ่มนี้ (ประมาณ 8 ล้าน) สามารถไปที่ไหนก็ได้ที่ไม่ใช่ พท เห็นได้ชัดจากกรณี พปชร กับ ปชป ว่าคนกลุ่มนี้ไม่ใช่ฐานเสียง ปชป แต่คือกลุ่มที่ไม่เอา พท )
นโยบายแอนตี้ พท จะทำให้ลุงมีภาพลักษณ์ที่ดูดีที่สุดในฝ่ายแอนตี้ พท ทันที (เช่น มุ่งไปที่โจมตีจุดอ่อนของนโยบายเศรษฐกิจฝ่าย พท เช่น ต่อต้านการขึ้นค่าแรงแต่แก้ปัญหาด้วยการนำเสนอวิธีการที่แตกต่างออกไปเช่นการลดค่าครองชีพ ทั้งสองอย่างคือการเพิ่มระดับคุณภาพชีวิตประชาชนเหมือนกันแต่คนละแนวทาง เพราะถ้าแนวทางไม่ต่างก็ไม่ถือว่าเป็นตัวเลือกใหม่ )
ด้วยภาพลักษณ์ที่เน้นไปด้านเศรษฐกิจ + สู้กันด้วยนโยบาย (ซึ่งเป็นจุดอ่อนของฝ่ายแอนตี้ พท เพราะที่ผ่านมาฝ่านแอนตี้ พท มักใช้วิธีลอกการบ้าน)
และด้วยการย้ายฝ่ายยังถูกใจกองเชียร์ฝั่งนี้ด้วย ทำให้มีโอกาศสูงที่การเลือกตั้งครั้งหน้าจะดูดคะแนนจากฐานเสียงกลุ่มนี้มาได้มาก อาจมากถึงขั้นเป็นขั้วการเมืองใหม่ได้ด้วยซ้ำ เพราะตอนนี้ พปชร กับ ปชป ยังเล่นการเมืองแบบเก่าอยู่
หลังย้ายฝ่ายถ้าไม่มีลุงตู่ คะแนนคนฝ่ายไม่เอา พท น่าจะถูกแบ่งระหว่างลุงมิ่ง กับ ปชป และ พปชร(ถ้ายังอยู่ต่อนะ) ซึ่งในระยะยาวถือว่ามีโอกาศเติบโตในอนาคตได้มากกว่า เพราะยังไงการดูดคะแนนจาก พปชร(ที่ในอนาคตไม่มีลุงตู่) กับ ปชป(ถ้ายังไม่เปลี่ยนแนวทาง) ที่มีคะแนนรวมกันประมาณ 12 ล้านง่ายกว่าการไปดูดคะแนนจาก พท + อนาคตใหม่ ที่มีคะแนนรวมกันประมาณ 12 - 15 ล้านมาก
และถ้าได้คะแนนเยอะมากๆก็มีแนวโน้มว่าสามารถไปจัดตั้งรัฐบาลกับอนาคตใหม่ได้ด้วย
ดังนั้นตอนนี้มีโอกาศสูงที่ลุงมิ่งจะแทงกั๊กไม่เลือกฝ่ายเลย ไปจนกว่าจะใกล้ถึงวันเลือกนายก (หรืออาจนิ่งไปจนเลือกนายกเลย)
อ้าว!! ในเมื่อได้ประโยชน์ขนาดนั้นแล้วจะยังกั๊กทำไมอีก
ในวันนั้นถ้า ปชป กับ ภูมิใจไทย และพรรคอื่นๆ มีท่าทีชัดเจนว่าจะไปลงฝั่ง พท หมด (ซึ่งเป็นไปได้ยากมากๆแต่ก็ยังมีโอกาศเกิดขึ้นได้ เพราะ ปชป เองตอนนี้เสียงยังแตกอยู่) 6-7 คะแนนของลุงมิ่งจะเป็นคะแนนที่มีผลมากที่สุดทันที เพราะเป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดว่าจะปิดสวิซส์ สว ได้หรือไม่ และถ้าปิดสวิซส์ สว ได้นั่นหมายถึงโอกาศจัดตั้งรัฐบาลของ พปชร จะจบสิ้นทันที
และถ้าไปถึงขั้นนั้นไม่ว่าจะฝ่ายไหนก็คงตกลงทุกดีลแล้ว เพราะจุดนั้นทั้งสองฝ่ายต่างต้องการคะแนนลุงมิ่งเป็นอย่างมาก
(ฝั่ง พท ให้ได้ถึงนายกเลยด้วยซ้ำ)
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น แผนทั้งหมดจะไม่มีความหมายทันทีถ้าการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นโมษะ
( ลุงมิ่งอาจไป กกต เพื่อยืนยันว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะเป็นโมษะหรือเปล่า ดูจากท่าทีของลุงมิ่งแล้ว กกต คงยืนยันว่าจะแถต่อจนกว่าจะยืนยันผลการเลือกตั้งครั้งนี้ได้ )
ถ้าการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นโมษะ เลือกใหม่รอบหน้าคะแนนลุงมิ่งน่าจะลดไปมากเพราะความไม่ชัดเจนในจุดยืน
(ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงว่าลุงมิ่งอาจต้องเลิกเล่นการเมือง)
=========================================
สุดท้าย ใครคิดยังไงบ้างมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันจ้า
==========================================
**************
Edit แปะลิงค์ข่าว
ประเมินท่าทีของคุณ มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ (ลุงมิ่ง) จากรายการ THE STANDARD (27 มีนาคม 2562)
อันนี้คือความเห็นส่วนตัวนะ
การไม่เข้าร่วมแถลงข่าว ไม่ร่วมลงสัตยาบัน ไม่ระบุว่าจะเข้าฝ่ายไหน คือการเปิดช่องสำหรับการย้ายฝ่ายอย่างแน่นอน
การแทงกั๊กของลุงมิ่ง หลายคนมองว่ามีแต่เสียกับเสีย แต่จริงๆอาจจะไม่ใช่แบบนั้นก็ได้
และดูจากท่าทีของลุงมิ่งตอนนี้ หลายๆคนก็มองว่ามีความเป็นไปได้สูงที่จะไปเข้ากับ พปชร แต่ยังต่อรองกันอยู่
ประเมินจากการยืนยันจุดยืนของลุงมิ่งที่พูดในรายการ
- คำว่าฝ่ายประชาธิปไตยที่ลุงมิ่งพูดในรายการคือ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (พปชร ก็ใช้คำนี้)
- คำว่ารักษาคำพูดของลุง มีแนวโน้มว่าจะหมายถึงการเข้าไปแก้ปัญหาเศรษฐกิจ
การไปเข้ากับ พปชร ของลุงจะไม่ผิดคำพูดใดๆทั้งสิ้น นั่นคือ
- เป็นฝ่ายประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (ประชาธิปไตยของ พปชร เสียงของประชาชนทุกเสียงมีค่า)
- ยืนยันจุดยืนเดิม (การเข้าไปแก้ปัญหาเศรษฐกิจเพื่อประชาชน)
ทำไมมีโอกาศสูงที่ลุงจะเข้ากับ พปชร ?
- พปชร ณ ตอนนี้ต้องการคะแนนลุงมิ่งมากกว่า พท เพื่อให้รัฐบาลเดินหน้าได้ด้วยเสียงเกิน 251 (ดีลด้วยกระทรวงเศรษฐกิจ เงื่อนไขนี้น่าจะกำลังต่อรองกันอยู่ จากที่ลุงมิ่งพูดในรายการค่อนข้างชัดเจนว่าลุงมิ่งต้องการกระทรวงด้านเศรษฐกิจ)
- พท ตอนนี้ไม่ว่าจะได้คะแนนลุงมิ่งหรือไม่ ยังไงก็มีโอกาศน้อยมากที่จะจัดตั้งรัฐบาลได้เพราะคะแนนยังห่างไกล 376 (ต่อให้ดีลกระทรวงเศรษฐกิจให้ลุงมิ่ง แต่จริงๆแล้วคือไม่มีให้ หรือก็คือรักษาคำพูดไม่ได้ก็ไม่มีประโยชน์)
เข้ากับฝ่ายไหนได้ประโยชน์ยังไง ?
ถ้าเข้ากับ พท
- ได้ใจประชาชนที่เลือกลุงมิ่ง(ที่เข้าใจเอาเองว่าลุงต่อต้านการสืบทอดอำนาจ เพราะในรายการลุงมิ่งไม่ได้บอกว่าไม่เอาสืบทอดอำนาจ)
- ได้ภาพลักษณ์ต่อต้านการสืบทอดอำนาจ
- ในอนาคตลุงไม่น่าจะมีโอกาศโตได้มากกว่านี้แล้ว (ยืนฝั่งนี้สู้ พท กับ อนาคตใหม่ ไม่ได้ เพราะฝ่ายนี้มีภาพลักษณ์คือนักธุรกิจมืออาชีพและมีฐานเสียงที่เหนียวแน่น โดยเฉพาะอนาคตใหม่ )
- นอกจากภาพลักษณ์ที่ดีแล้วก็ไม่ได้อะไรเลย แถมยังมีโอกาศโดนกลืนในอนาคต
ถ้าเข้ากับ พปชร
- "จำเป็นต้องทำเพื่อให้ประเทศเดินหน้าต่อไปได้"
- "ความเป็นอยู่ของประชาชนต้องมาก่อน"
- มีโอกาศได้กระทรวงเศรษฐกิจ
- มีโอกาศเติบโตได้ในอนาคต
ดูยังไงการเข้ากับ พปชร ก็ดูจะได้ประโยชน์มากกว่า ต่อให้รัฐบาลจะอายุสั้นหรือไม่มีเสถียรภาพยังไง แต่นโยบายลุงมิ่งเป็นนโยบายที่ทำได้ในระยะสั้นอยู่แล้ว (อย่างเช่นลดราคาน้ำมัน หรือ ชะลอการขึ้นค่าแรง) ชะลอการขึ้นค่าแรงน่าจะเป็นเรื่องที่ทาง พปชร เองก็คงต้องการเหมือนกัน ตรงนี้น่าจะดีลกันได้ แต่กระทรวงเศรษฐกิจกับลดราคาน้ำมันจะดีลได้มั้ย ตรงนี้คิดว่ายังไม่แน่นอน แต่หลังจากที่ตั้งรัฐบาล พปชร ได้แล้ว 6-7 คะแนนลุงมิ่งจะยิ่งสำคัญมากขึ้นเพราะเป็นคะแนนชี้เป็นชี้ตายรัฐบาล
ส่วนถ้า พท ตั้งรัฐบาลได้จริง 6-7 คะแนนของลุงมิ่งมีผลน้อยมาก (อำนาจต่อรองน้อย เป็นไปได้ยากที่จะได้ด้านกระทรวงเศรษฐกิจ)
และมีอีกหลายพรรคที่มีคะแนนมากกว่าลุงมิ่งและพร้อมเข้าร่วมรัฐบาลกับฝ่ายใดก็ได้ (แน่นอนว่ากลุ่มนี้ก็อยากได้กระทรวงด้านเศรษฐกิจเหมือนกัน)
และยิ่งถ้านโยบายลุงมิ่งถูกนำไปปฏิบัติจริง ( ซึ่งน่าจะเป็นเงื่อนไขต่อรองขั้นต่ำในการเข้าร่วมรัฐบาลกับ พปชร )
ลุงมิ่งจะได้คะแนนเสียงจากคนที่เลือกเพราะนโยบายด้านเศรษฐกิจของลุงมิ่งไปเต็มๆ ( ตุนคะแนนสำหรับการเลือกตั้งครั้งหน้า เพราะแสดงท่าทีไปแบบนี้แล้ว ต่อให้ไม่เข้าร่วมรัฐบาลคะแนนจากคนที่เลือกบางส่วนก็ลดลงอย่างแน่นอนแล้ว แต่ถ้าเข้าร่วมรัฐบาลกับ พปชร แล้วผลักดันนโยบายได้มีแนวโน้มว่าจะได้คะแนนเพิ่มทั้งจากคนที่เลือกและไม่เลือก )
อ้าวแล้วไม่เสียคะแนนจากฝ่ายประชาธิปไตยเหรอ!!
เสียก็เสียไปสิ ตอนนี้มีฐานคะแนนใหม่ที่น่าสนใจกว่า นั่นก็คือกลุ่มคนที่เลือก พปชร
ในกรณีที่ลุงมิ่งย้ายฝ่าย ลุงจะได้ฐานคะแนนใหม่จากคนกลุ่มนี้แทน และลุงม่ิ่งสามารถโตได้มากกว่านี้ด้วยการประกาศเพิ่มนโยบายแอนตี้ พท
(หลังลุงตู่ไปแล้ว เสียงกลุ่มนี้ (ประมาณ 8 ล้าน) สามารถไปที่ไหนก็ได้ที่ไม่ใช่ พท เห็นได้ชัดจากกรณี พปชร กับ ปชป ว่าคนกลุ่มนี้ไม่ใช่ฐานเสียง ปชป แต่คือกลุ่มที่ไม่เอา พท )
นโยบายแอนตี้ พท จะทำให้ลุงมีภาพลักษณ์ที่ดูดีที่สุดในฝ่ายแอนตี้ พท ทันที (เช่น มุ่งไปที่โจมตีจุดอ่อนของนโยบายเศรษฐกิจฝ่าย พท เช่น ต่อต้านการขึ้นค่าแรงแต่แก้ปัญหาด้วยการนำเสนอวิธีการที่แตกต่างออกไปเช่นการลดค่าครองชีพ ทั้งสองอย่างคือการเพิ่มระดับคุณภาพชีวิตประชาชนเหมือนกันแต่คนละแนวทาง เพราะถ้าแนวทางไม่ต่างก็ไม่ถือว่าเป็นตัวเลือกใหม่ )
ด้วยภาพลักษณ์ที่เน้นไปด้านเศรษฐกิจ + สู้กันด้วยนโยบาย (ซึ่งเป็นจุดอ่อนของฝ่ายแอนตี้ พท เพราะที่ผ่านมาฝ่านแอนตี้ พท มักใช้วิธีลอกการบ้าน)
และด้วยการย้ายฝ่ายยังถูกใจกองเชียร์ฝั่งนี้ด้วย ทำให้มีโอกาศสูงที่การเลือกตั้งครั้งหน้าจะดูดคะแนนจากฐานเสียงกลุ่มนี้มาได้มาก อาจมากถึงขั้นเป็นขั้วการเมืองใหม่ได้ด้วยซ้ำ เพราะตอนนี้ พปชร กับ ปชป ยังเล่นการเมืองแบบเก่าอยู่
หลังย้ายฝ่ายถ้าไม่มีลุงตู่ คะแนนคนฝ่ายไม่เอา พท น่าจะถูกแบ่งระหว่างลุงมิ่ง กับ ปชป และ พปชร(ถ้ายังอยู่ต่อนะ) ซึ่งในระยะยาวถือว่ามีโอกาศเติบโตในอนาคตได้มากกว่า เพราะยังไงการดูดคะแนนจาก พปชร(ที่ในอนาคตไม่มีลุงตู่) กับ ปชป(ถ้ายังไม่เปลี่ยนแนวทาง) ที่มีคะแนนรวมกันประมาณ 12 ล้านง่ายกว่าการไปดูดคะแนนจาก พท + อนาคตใหม่ ที่มีคะแนนรวมกันประมาณ 12 - 15 ล้านมาก
และถ้าได้คะแนนเยอะมากๆก็มีแนวโน้มว่าสามารถไปจัดตั้งรัฐบาลกับอนาคตใหม่ได้ด้วย
ดังนั้นตอนนี้มีโอกาศสูงที่ลุงมิ่งจะแทงกั๊กไม่เลือกฝ่ายเลย ไปจนกว่าจะใกล้ถึงวันเลือกนายก (หรืออาจนิ่งไปจนเลือกนายกเลย)
อ้าว!! ในเมื่อได้ประโยชน์ขนาดนั้นแล้วจะยังกั๊กทำไมอีก
ในวันนั้นถ้า ปชป กับ ภูมิใจไทย และพรรคอื่นๆ มีท่าทีชัดเจนว่าจะไปลงฝั่ง พท หมด (ซึ่งเป็นไปได้ยากมากๆแต่ก็ยังมีโอกาศเกิดขึ้นได้ เพราะ ปชป เองตอนนี้เสียงยังแตกอยู่) 6-7 คะแนนของลุงมิ่งจะเป็นคะแนนที่มีผลมากที่สุดทันที เพราะเป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดว่าจะปิดสวิซส์ สว ได้หรือไม่ และถ้าปิดสวิซส์ สว ได้นั่นหมายถึงโอกาศจัดตั้งรัฐบาลของ พปชร จะจบสิ้นทันที
และถ้าไปถึงขั้นนั้นไม่ว่าจะฝ่ายไหนก็คงตกลงทุกดีลแล้ว เพราะจุดนั้นทั้งสองฝ่ายต่างต้องการคะแนนลุงมิ่งเป็นอย่างมาก
(ฝั่ง พท ให้ได้ถึงนายกเลยด้วยซ้ำ)
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น แผนทั้งหมดจะไม่มีความหมายทันทีถ้าการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นโมษะ
( ลุงมิ่งอาจไป กกต เพื่อยืนยันว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะเป็นโมษะหรือเปล่า ดูจากท่าทีของลุงมิ่งแล้ว กกต คงยืนยันว่าจะแถต่อจนกว่าจะยืนยันผลการเลือกตั้งครั้งนี้ได้ )
ถ้าการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นโมษะ เลือกใหม่รอบหน้าคะแนนลุงมิ่งน่าจะลดไปมากเพราะความไม่ชัดเจนในจุดยืน
(ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงว่าลุงมิ่งอาจต้องเลิกเล่นการเมือง)
=========================================
สุดท้าย ใครคิดยังไงบ้างมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันจ้า
==========================================
**************
Edit แปะลิงค์ข่าว