...ปากกาหัก...ทำไมผลโพลเลือกตั้งแทบทุกสำนักถึงผิดพลาด?...
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ผู้อำนวยการหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตและวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต
สาขาวิชาการวิเคราะห์ธุรกิจและวิทยาการข้อมูล
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ )
เป็นที่น่าสังเกตว่าในการเลือกตั้งครั้งนี้ ผลโพลแทบทุกสำนักเมื่อนำมาพิจารณาเปรียบเทียบกับผลการเลือกตั้งที่ออกมาจริงคาดเคลื่อนมากและปราศจากความแม่นยำ เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้นจึงเป็นประเด็นที่น่าศึกษาและน่าวิเคราะห์วิจารณ์เพื่อให้เกิดการตั้งมาตรฐานในการทำโพลในประเทศไทยให้ดีขึ้นตามหลักวิชาการอันเป็นประโยชน์กับประเทศต่อไปในอนาคต
ประการแรก สำนักโพลทุกสำนักใช้วิธีการในการทำโพลแบบเดิม ๆ ที่ไม่สอดคล้องกติกาการเลือกตั้งและรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันซึ่งกำหนดให้การเลือกตั้งเป็นการเลือกตั้งแบบปันส่วนผสม
การเลือกตั้งแบบเป็นส่วนผสมนั้นแบ่งเป็นการเลือกตั้งแบบ ส.ส.เขตและ ส.ส. บัญชีรายชื่อ ทั้งนี้หาก ส.ส. เขตมีจำนวนมากเกินกว่าจำนวน ส.ส. ที่พึงได้ซึ่งคำนวณมาจากคะแนนเลือกตั้งที่พรรคการเมืองต่าง ๆ ได้มาจากทั้งประเทศหารด้วยจำนวนผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งที่หักออกด้วยจำนวนผู้ที่โหวตโนและบัตรเสีย แล้วจึงนำมาคำนวณจำนวน ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์หรือบัญชีรายชื่อ หากพรรคการเมืองใดได้จำนวน ส.ส. เขตมากกว่าจำนวน ส.ส. ที่พึงได้ก็จะไม่ได้รับตำแหน่ง ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์เลยแม้แต่คนเดียว ดังเช่นที่พรรคเพื่อไทยเผชิญอยู่
ในทางตรงกันข้ามหากพรรคการเมืองใดไม่สามารถชนะในเขตเลือกตั้งได้มากนัก แต่เมื่อนำคะแนนทั้งประเทศมาบวกกัน ไม่มีสักคะแนนที่ถูกทิ้งไป กติกาแบบนี้ทำให้พรรคการเมืองขนาดกลางใหญ่ขึ้น และพรรคการเมืองขนาดใหญ่เล็กลง เมื่อมีจำนวน ส.ส. เขตที่ได้มา แล้วนำจำนวน ส.ส. ที่พึงได้หักด้วยจำนวน ส.ส.เขตที่ได้มาก็จะได้จำนวน ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ หรือจำนวนส.ส. แบบบัญชีรายชื่อออกมา
ปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดจากการที่สำนักโพลทุกสำนักไม่ได้ใช้วิธีวิทยาการสำรวจ (Survey methodology) ในออกผลการเลือกตั้งเป็นรายเขตให้สอดคล้องกับกติกาแล้วจึงคำนวณ ส.ส. ที่พึงได้ และ ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ เนื่องจากการออกผลการเลือกตั้งเป็นรายเขตนั้น ต้องใช้ขนาดตัวอย่างใหญ่มาก ยกตัวอย่างเช่น ในการเลือกตั้งครั้งนี้มีจำนวนเขตเลือกตั้งเท่ากับ 350 เขต หากต้องการออกถนนเลือกตั้งเป็นรายเขตได้สำเร็จจำเป็นจะต้องมีกรอบการสุ่มตัวอย่างสำหรับแต่ละเขตเลือกตั้ง และต้องมีขนาดตัวอย่างที่มากพอที่จะออกผลเป็นรายเขตเลือกตั้งได้ เช่นต้องสุ่มตัวอย่างขึ้นมาเขตละ 500 ตัวอย่าง หากต้องสุ่มตัวอย่าง 500 ตัวอย่างต่อ 1 เขตเลือกตั้งการออกผลโพลเป็นรายเขตเลือกตั้งนั้นต้องใช้ขนาดประมาณขนาดตัวอย่างประมาณ 175,000 ตัวอย่าง ซึ่งเป็นขนาดตัวอย่างที่ใหญ่มาก ใช้เวลามาก และใช้ค่าใช้จ่ายมากเหลือเกิน และสำนักโพลต่าง ๆ ไม่มีกรอบการสุ่มตัวอย่าง (Sampling Frame) ที่ละเอียดพอที่จะสุ่มตัวอย่างและออกผลโพลเป็นเขตเลือกตั้งได้
หลังจากที่ออกผลโพลเป็นเขตเลือกตั้งได้แล้ว จึงนำคะแนนผลโพลจากการสุ่มตัวอย่างของทุกเขตเลือกตั้งมารวมกัน โดยต้องถ่วงน้ำหนักให้ได้สัดส่วนที่เป็นตัวแทนของประชาชนในแต่ละเขตนั้น ๆ และเป็นสัดส่วนประชากรของไทยด้วย เพื่อให้ได้เป็นคะแนนของแต่ละพรรคการเมืองทั้งประเทศแล้วจึงนำมาคำนวณจำนวนส.ส. ที่พึงได้ แล้วจึงคำนวณจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ อีกครั้งหนึ่ง จึงจะสอดคล้องกับความเป็นจริงตามกติกาของรัฐธรรมนูญที่ใช้การเลือกตั้งแบบปันส่วนผสม
การที่สำนักงานต่าง ๆ ทำโดยใช้วิธีการซึ่งง่ายเกินไป (oversimplified) กติกาการเลือกตั้งแบบปันส่วนผสมอันแสนจะยุ่งยากและซับซ้อน ย่อมทำให้การประมาณค่า (Estimation) ผลการเลือกตั้งเพี้ยนจากความเป็นจริงเนื่องจากวิธีการทำโพลไม่ได้สอดคล้องกับกติกาการเลือกตั้งเลย
โดยปกติสำนักโพลต่าง ๆ จะใช้ขนาดตัวอย่างไม่มากนักในการสำรวจแต่ละครั้ง เช่น 1,250 ตัวอย่าง ซึ่งในอดีตก็เพียงพอ เพราะมีบัตรเลือกตั้งสองใบและวิธีการคำนวณจำนวน ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ ไม่ได้ยุ่งยากเช่นนี้เลย และการออกผลการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลือกตั้งในอดีตก็ออกผลเป็นระดับประเทศมากกว่าที่จะออกผลเป็นระดับเขต เมื่อนำวิธีการทำโพลแบบเก่ามาใช้กับกติกาการเลือกตั้งใหม่จึงเป็นการลัดขั้นตอนและไม่สอดคล้องกับกติกาการเลือกตั้ง ไม่สมจริง ทำให้ผลโพลถูกหักปากกาแทบทุกสำนัก
การสำรวจของโพลการเมืองในการเลือกตั้งครั้งนี้จึงได้ผลผิดพลาดไปเป็นจำนวนมาก แม้กระทั่งสำนักโพลที่ใช้ขนาดตัวอย่างค่อนข้างใหญ่เกือบ 20,000 ตัวอย่าง ผลก็ยังแปลกตาและขาดความแม่นยำอยู่ดี เนื่องจากไม่ได้ออกแบบการสุ่มตัวอย่าง การสำรวจตลอดจนการวิเคราะห์และการประเมินผลให้สอดคล้องกับกติกาการเลือกตั้งแบบปันส่วนผสมแต่อย่างใด
ประการที่สอง กรอบการสุ่มตัวอย่างหรือ Sampling Frame ของแต่ละสำนักน่าจะคลาดเคลื่อนไม่ตรงกันกับสัดส่วนประชากรผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในครั้งนี้มากนัก โดยเฉพาะหลายสำนักใช้ Master Sample หรือกรอบการสุ่มตัวอย่างเดิมซึ่งใช้มาแล้วนับ 10 ปี แต่ในการเลือกตั้งครั้งนี้โครงสร้างประชากรของไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอันมาก มีจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งครั้งแรกหรือ first-time voter มากถึง 7,500,000 คน อันเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยยะสำคัญยิ่ง เนื่องจากคิดเป็นจำนวนเกือบร้อยละ 20 ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทั้งหมด นอกจากนี้การเข้าสู่ aging Society หรือสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทยทำให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่มีอายุสูงมากอันเป็นฐานเสียงของพรรคการเมืองบางพรรคนั้นก็ไม่ได้อยู่ในการสำรวจหรือการทำโพลแล้วเนื่องจากได้เสียชีวิตไปแล้วเป็นจำนวนมาก
ดังนั้นผลการสำรวจหรือโพลในครั้งนี้จึงค่อนข้างตกสำรวจผู้ที่มีสิทธิ์เลือกตั้งครั้งแรกไปเป็นจำนวนมากและมีการสำรวจผู้มีอายุในระหว่างวัยกลางคนค่อนข้างมากทำให้ผลโพลนั้นเกิดการคาดเคลื่อนซึ่งในทางวิชาการเรียกว่าเป็นอคติจากกรอบการสุ่มตัวอย่าง (Sampling frame bias) ซึ่งเรื่องเช่นนี้ก็เคยเกิดขึ้นมาแล้วในสหรัฐอเมริกาซึ่งในการทำโพลซึ่งพบว่าสำนักโพลแห่งหนึ่งเมื่อเกือบ 100 ปีก่อนใช้กรอบการสุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีทะเบียนรถและมีโทรศัพท์ที่บ้านซึ่งเป็นคนที่มีฐานะดีเท่านั้นทำให้ผลโพลออกมาเป็นว่าพรรครีพับลิกันชนะ ในขณะที่ความเป็นจริงแล้ว Roosevelt จากพรรคเดโมแครตเป็นผู้ชนะได้เป็นประธานาธิบดี
ประการที่สาม เกิดเหตุการณ์แทรกในระหว่างการสำรวจโพลและการเลือกตั้งค่อนข้างมาก เช่น การออกมาแถลงของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หน้าพรรคประชาธิปัตย์ว่าจะไม่สนับสนุนพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็น นายกรัฐมนตรีต่อไป นอกจากนี้ยังประกาศว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญลงสัตยาบันร่วมกับพรรคการเมืองอีก 5 พรรค ทั้งในระหว่างนั้นมีเหตุการณ์การแต่งงานของลูกสาวนักโทษชายหนีคดีทักษิณ ชินวัตรเกิดขึ้นด้วย
การมีเหตุการณ์แทรกเช่นนี้ทำให้เกิดผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่ยังไม่ชัดเจนก็ชัดเจนขึ้น หรือเปลี่ยนฝั่งไปเลือกอีกฝั่ง หรือเมื่อยังตัดสินใจไม่ได้ ก็ตัดสินใจได้มากขึ้นว่าเป็น Swing voter ในขณะที่บางคนเลือกที่จะลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเพื่อแสดงอารมณ์ความรู้สึกทางการเมือง (Political sentiment) ซึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วฉับพลัน ทำให้การพยากรณ์ผลการเลือกตั้งจากโพลนั้นทำได้ยากและปราศจากความแม่นยำ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยและมีผู้ที่ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในเชิงกลยุทธ์เรียกว่า strategies voter เป็นจำนวนมาก โดยไม่ได้เลือกพรรคการเมืองที่ชอบดังใจคิด แต่เลือกพรรคการเมืองที่จะไปเป็นตัวแทนในการต่อสู้พรรคการเมืองฝั่งตรงข้าม ซึ่งลักษณะเช่นนี้เกิดการแบ่งขั้วทางการเมืองหรือ political polarization อย่างชัดเจนในประเทศไทย
การทำโพลก่อนการเลือกตั้ง 7 วันก็ถูกห้ามทำโดยสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือกกต.เนื่องจากอาจจะเป็นการชี้นำให้เกิดการเฮไปเลือกคนที่น่าจะเป็นผู้ชนะได้ แต่การเว้นระยะเวลาดังกล่าวในรอบ 7 วันก่อนการเลือกตั้งก็ทำให้เกิดเหตุการณ์แทรกหรือการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มากมายมหาศาล ที่จะทำให้ผลการสำรวจความคิดเห็นหรือโพการเมืองนั้นปราศจากความแม่นยำได้
ในภาพรวมนั้นการทำโพลการเมืองจะไม่เป็นเรื่องที่ง่ายอีกต่อไป ต้องออกแบบระบบในการสำรวจ การสุ่มตัวอย่าง ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลให้สอดคล้องกันกับกติกาการเลือกตั้งและรัฐธรรมนูญ เช่น หากเป็นการเลือกตั้งแบบปันส่วนผสมดังที่เกิดขึ้นในปีนี้แล้วนั้น การทำโพลก็จะต้องให้ได้ใกล้เคียงกับกติกาการเลือกตั้งให้มากที่สุดเช่นกันจึงจะแม่นยำและไม่ถูกหักปากกา
ที่มา :
https://mgronline.com/daily/detail/9620000029942
...ปากกาหัก...ทำไมผลโพลเลือกตั้งแทบทุกสำนักถึงผิดพลาด?...
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ผู้อำนวยการหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตและวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต
สาขาวิชาการวิเคราะห์ธุรกิจและวิทยาการข้อมูล
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ )
เป็นที่น่าสังเกตว่าในการเลือกตั้งครั้งนี้ ผลโพลแทบทุกสำนักเมื่อนำมาพิจารณาเปรียบเทียบกับผลการเลือกตั้งที่ออกมาจริงคาดเคลื่อนมากและปราศจากความแม่นยำ เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้นจึงเป็นประเด็นที่น่าศึกษาและน่าวิเคราะห์วิจารณ์เพื่อให้เกิดการตั้งมาตรฐานในการทำโพลในประเทศไทยให้ดีขึ้นตามหลักวิชาการอันเป็นประโยชน์กับประเทศต่อไปในอนาคต
ประการแรก สำนักโพลทุกสำนักใช้วิธีการในการทำโพลแบบเดิม ๆ ที่ไม่สอดคล้องกติกาการเลือกตั้งและรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันซึ่งกำหนดให้การเลือกตั้งเป็นการเลือกตั้งแบบปันส่วนผสม
การเลือกตั้งแบบเป็นส่วนผสมนั้นแบ่งเป็นการเลือกตั้งแบบ ส.ส.เขตและ ส.ส. บัญชีรายชื่อ ทั้งนี้หาก ส.ส. เขตมีจำนวนมากเกินกว่าจำนวน ส.ส. ที่พึงได้ซึ่งคำนวณมาจากคะแนนเลือกตั้งที่พรรคการเมืองต่าง ๆ ได้มาจากทั้งประเทศหารด้วยจำนวนผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งที่หักออกด้วยจำนวนผู้ที่โหวตโนและบัตรเสีย แล้วจึงนำมาคำนวณจำนวน ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์หรือบัญชีรายชื่อ หากพรรคการเมืองใดได้จำนวน ส.ส. เขตมากกว่าจำนวน ส.ส. ที่พึงได้ก็จะไม่ได้รับตำแหน่ง ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์เลยแม้แต่คนเดียว ดังเช่นที่พรรคเพื่อไทยเผชิญอยู่
ในทางตรงกันข้ามหากพรรคการเมืองใดไม่สามารถชนะในเขตเลือกตั้งได้มากนัก แต่เมื่อนำคะแนนทั้งประเทศมาบวกกัน ไม่มีสักคะแนนที่ถูกทิ้งไป กติกาแบบนี้ทำให้พรรคการเมืองขนาดกลางใหญ่ขึ้น และพรรคการเมืองขนาดใหญ่เล็กลง เมื่อมีจำนวน ส.ส. เขตที่ได้มา แล้วนำจำนวน ส.ส. ที่พึงได้หักด้วยจำนวน ส.ส.เขตที่ได้มาก็จะได้จำนวน ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ หรือจำนวนส.ส. แบบบัญชีรายชื่อออกมา
ปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดจากการที่สำนักโพลทุกสำนักไม่ได้ใช้วิธีวิทยาการสำรวจ (Survey methodology) ในออกผลการเลือกตั้งเป็นรายเขตให้สอดคล้องกับกติกาแล้วจึงคำนวณ ส.ส. ที่พึงได้ และ ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ เนื่องจากการออกผลการเลือกตั้งเป็นรายเขตนั้น ต้องใช้ขนาดตัวอย่างใหญ่มาก ยกตัวอย่างเช่น ในการเลือกตั้งครั้งนี้มีจำนวนเขตเลือกตั้งเท่ากับ 350 เขต หากต้องการออกถนนเลือกตั้งเป็นรายเขตได้สำเร็จจำเป็นจะต้องมีกรอบการสุ่มตัวอย่างสำหรับแต่ละเขตเลือกตั้ง และต้องมีขนาดตัวอย่างที่มากพอที่จะออกผลเป็นรายเขตเลือกตั้งได้ เช่นต้องสุ่มตัวอย่างขึ้นมาเขตละ 500 ตัวอย่าง หากต้องสุ่มตัวอย่าง 500 ตัวอย่างต่อ 1 เขตเลือกตั้งการออกผลโพลเป็นรายเขตเลือกตั้งนั้นต้องใช้ขนาดประมาณขนาดตัวอย่างประมาณ 175,000 ตัวอย่าง ซึ่งเป็นขนาดตัวอย่างที่ใหญ่มาก ใช้เวลามาก และใช้ค่าใช้จ่ายมากเหลือเกิน และสำนักโพลต่าง ๆ ไม่มีกรอบการสุ่มตัวอย่าง (Sampling Frame) ที่ละเอียดพอที่จะสุ่มตัวอย่างและออกผลโพลเป็นเขตเลือกตั้งได้
หลังจากที่ออกผลโพลเป็นเขตเลือกตั้งได้แล้ว จึงนำคะแนนผลโพลจากการสุ่มตัวอย่างของทุกเขตเลือกตั้งมารวมกัน โดยต้องถ่วงน้ำหนักให้ได้สัดส่วนที่เป็นตัวแทนของประชาชนในแต่ละเขตนั้น ๆ และเป็นสัดส่วนประชากรของไทยด้วย เพื่อให้ได้เป็นคะแนนของแต่ละพรรคการเมืองทั้งประเทศแล้วจึงนำมาคำนวณจำนวนส.ส. ที่พึงได้ แล้วจึงคำนวณจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ อีกครั้งหนึ่ง จึงจะสอดคล้องกับความเป็นจริงตามกติกาของรัฐธรรมนูญที่ใช้การเลือกตั้งแบบปันส่วนผสม
การที่สำนักงานต่าง ๆ ทำโดยใช้วิธีการซึ่งง่ายเกินไป (oversimplified) กติกาการเลือกตั้งแบบปันส่วนผสมอันแสนจะยุ่งยากและซับซ้อน ย่อมทำให้การประมาณค่า (Estimation) ผลการเลือกตั้งเพี้ยนจากความเป็นจริงเนื่องจากวิธีการทำโพลไม่ได้สอดคล้องกับกติกาการเลือกตั้งเลย
โดยปกติสำนักโพลต่าง ๆ จะใช้ขนาดตัวอย่างไม่มากนักในการสำรวจแต่ละครั้ง เช่น 1,250 ตัวอย่าง ซึ่งในอดีตก็เพียงพอ เพราะมีบัตรเลือกตั้งสองใบและวิธีการคำนวณจำนวน ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ ไม่ได้ยุ่งยากเช่นนี้เลย และการออกผลการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลือกตั้งในอดีตก็ออกผลเป็นระดับประเทศมากกว่าที่จะออกผลเป็นระดับเขต เมื่อนำวิธีการทำโพลแบบเก่ามาใช้กับกติกาการเลือกตั้งใหม่จึงเป็นการลัดขั้นตอนและไม่สอดคล้องกับกติกาการเลือกตั้ง ไม่สมจริง ทำให้ผลโพลถูกหักปากกาแทบทุกสำนัก
การสำรวจของโพลการเมืองในการเลือกตั้งครั้งนี้จึงได้ผลผิดพลาดไปเป็นจำนวนมาก แม้กระทั่งสำนักโพลที่ใช้ขนาดตัวอย่างค่อนข้างใหญ่เกือบ 20,000 ตัวอย่าง ผลก็ยังแปลกตาและขาดความแม่นยำอยู่ดี เนื่องจากไม่ได้ออกแบบการสุ่มตัวอย่าง การสำรวจตลอดจนการวิเคราะห์และการประเมินผลให้สอดคล้องกับกติกาการเลือกตั้งแบบปันส่วนผสมแต่อย่างใด
ประการที่สอง กรอบการสุ่มตัวอย่างหรือ Sampling Frame ของแต่ละสำนักน่าจะคลาดเคลื่อนไม่ตรงกันกับสัดส่วนประชากรผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในครั้งนี้มากนัก โดยเฉพาะหลายสำนักใช้ Master Sample หรือกรอบการสุ่มตัวอย่างเดิมซึ่งใช้มาแล้วนับ 10 ปี แต่ในการเลือกตั้งครั้งนี้โครงสร้างประชากรของไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอันมาก มีจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งครั้งแรกหรือ first-time voter มากถึง 7,500,000 คน อันเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยยะสำคัญยิ่ง เนื่องจากคิดเป็นจำนวนเกือบร้อยละ 20 ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทั้งหมด นอกจากนี้การเข้าสู่ aging Society หรือสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทยทำให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่มีอายุสูงมากอันเป็นฐานเสียงของพรรคการเมืองบางพรรคนั้นก็ไม่ได้อยู่ในการสำรวจหรือการทำโพลแล้วเนื่องจากได้เสียชีวิตไปแล้วเป็นจำนวนมาก
ดังนั้นผลการสำรวจหรือโพลในครั้งนี้จึงค่อนข้างตกสำรวจผู้ที่มีสิทธิ์เลือกตั้งครั้งแรกไปเป็นจำนวนมากและมีการสำรวจผู้มีอายุในระหว่างวัยกลางคนค่อนข้างมากทำให้ผลโพลนั้นเกิดการคาดเคลื่อนซึ่งในทางวิชาการเรียกว่าเป็นอคติจากกรอบการสุ่มตัวอย่าง (Sampling frame bias) ซึ่งเรื่องเช่นนี้ก็เคยเกิดขึ้นมาแล้วในสหรัฐอเมริกาซึ่งในการทำโพลซึ่งพบว่าสำนักโพลแห่งหนึ่งเมื่อเกือบ 100 ปีก่อนใช้กรอบการสุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีทะเบียนรถและมีโทรศัพท์ที่บ้านซึ่งเป็นคนที่มีฐานะดีเท่านั้นทำให้ผลโพลออกมาเป็นว่าพรรครีพับลิกันชนะ ในขณะที่ความเป็นจริงแล้ว Roosevelt จากพรรคเดโมแครตเป็นผู้ชนะได้เป็นประธานาธิบดี
ประการที่สาม เกิดเหตุการณ์แทรกในระหว่างการสำรวจโพลและการเลือกตั้งค่อนข้างมาก เช่น การออกมาแถลงของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หน้าพรรคประชาธิปัตย์ว่าจะไม่สนับสนุนพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็น นายกรัฐมนตรีต่อไป นอกจากนี้ยังประกาศว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญลงสัตยาบันร่วมกับพรรคการเมืองอีก 5 พรรค ทั้งในระหว่างนั้นมีเหตุการณ์การแต่งงานของลูกสาวนักโทษชายหนีคดีทักษิณ ชินวัตรเกิดขึ้นด้วย
การมีเหตุการณ์แทรกเช่นนี้ทำให้เกิดผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่ยังไม่ชัดเจนก็ชัดเจนขึ้น หรือเปลี่ยนฝั่งไปเลือกอีกฝั่ง หรือเมื่อยังตัดสินใจไม่ได้ ก็ตัดสินใจได้มากขึ้นว่าเป็น Swing voter ในขณะที่บางคนเลือกที่จะลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเพื่อแสดงอารมณ์ความรู้สึกทางการเมือง (Political sentiment) ซึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วฉับพลัน ทำให้การพยากรณ์ผลการเลือกตั้งจากโพลนั้นทำได้ยากและปราศจากความแม่นยำ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยและมีผู้ที่ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในเชิงกลยุทธ์เรียกว่า strategies voter เป็นจำนวนมาก โดยไม่ได้เลือกพรรคการเมืองที่ชอบดังใจคิด แต่เลือกพรรคการเมืองที่จะไปเป็นตัวแทนในการต่อสู้พรรคการเมืองฝั่งตรงข้าม ซึ่งลักษณะเช่นนี้เกิดการแบ่งขั้วทางการเมืองหรือ political polarization อย่างชัดเจนในประเทศไทย
การทำโพลก่อนการเลือกตั้ง 7 วันก็ถูกห้ามทำโดยสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือกกต.เนื่องจากอาจจะเป็นการชี้นำให้เกิดการเฮไปเลือกคนที่น่าจะเป็นผู้ชนะได้ แต่การเว้นระยะเวลาดังกล่าวในรอบ 7 วันก่อนการเลือกตั้งก็ทำให้เกิดเหตุการณ์แทรกหรือการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มากมายมหาศาล ที่จะทำให้ผลการสำรวจความคิดเห็นหรือโพการเมืองนั้นปราศจากความแม่นยำได้
ในภาพรวมนั้นการทำโพลการเมืองจะไม่เป็นเรื่องที่ง่ายอีกต่อไป ต้องออกแบบระบบในการสำรวจ การสุ่มตัวอย่าง ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลให้สอดคล้องกันกับกติกาการเลือกตั้งและรัฐธรรมนูญ เช่น หากเป็นการเลือกตั้งแบบปันส่วนผสมดังที่เกิดขึ้นในปีนี้แล้วนั้น การทำโพลก็จะต้องให้ได้ใกล้เคียงกับกติกาการเลือกตั้งให้มากที่สุดเช่นกันจึงจะแม่นยำและไม่ถูกหักปากกา
ที่มา : https://mgronline.com/daily/detail/9620000029942