JJNY : โพล 3 จว.ใต้ ชี้คดีตากใบ│ดุสิตโพล’ สำรวจบทเรียน│EIC หวั่นนโยบาย‘ทรัมป์‘│"ฝุ่นพิษ" มาแล้ว!  PM2.5 เกิน 35 พื้นที่

โพล 3 จว.ใต้ ชี้คดีตากใบหมดอายุความส่งผลกระทบต่อ ‘เพื่อไทย’ แต่ไม่ส่งผลต่อการเลือกตั้ง
https://www.matichon.co.th/politics/news_4890941
 
 
นิด้าโพล สำรวจ 3 จังหวัดใต้ ชี้เพื่อไทย ได้รับผลกระทบจากคดีตากใบหมดอายุความ, ร้อยละ 51.17 ระบุว่าไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งครั้งต่อไป โดยจำแนกเป็น ร้อยละ 39.55 ระบุว่าไม่ส่งผล และร้อยละ 11.62 ระบุว่าไม่ค่อยส่งผล ส่วนร้อยละ 48.83 ระบุว่า ส่งผล จำแนกเป็นร้อยละ 25.21 ระบุว่าส่งผลมาก และร้อยละ 23.62 ระบุว่าค่อนข้างส่งผล
 
เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน 
เรื่อง “พรรคการเมืองใดเดือดร้อนจากกรณีตากใบ” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 5-8 พฤศจิกายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี และยะลา กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,067 หน่วยตัวอย่าง
 
จากการสำรวจเมื่อถามถึงพรรคการเมืองที่ได้รับผลกระทบในทางลบจากกรณีคดีตากใบที่หมดอายุความ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 55.20 ระบุว่า พรรคเพื่อไทย รองลงมา ร้อยละ 29.99 ระบุว่า ไม่ส่งผลกระทบต่อพรรคการเมืองใด ร้อยละ 4.69 ระบุว่า พรรคประชาชาติ ร้อยละ 1.97 ระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 2.16 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ พรรคพลังประชารัฐ พรรคประชาชน พรรคภูมิใจไทย พรรครวมไทยสร้างชาติ และร้อยละ 5.99 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
 
ด้านการส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลือกตั้งครั้งต่อไปของคน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้หลังจากกรณีคดีตากใบที่หมดอายุความ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 39.55 ระบุว่า ไม่ส่งผลเลย รองลงมา ร้อยละ 25.21 ระบุว่า ส่งผลมาก ร้อยละ 23.62 ระบุว่า ค่อนข้างส่งผล และร้อยละ 11.62 ระบุว่า ไม่ค่อยส่งผล
 
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงพรรคการเมืองที่คน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จะสนับสนุนในวันนี้ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 50.14 ระบุว่า ยังหาพรรคการเมืองที่เหมาะสมไม่ได้ รองลงมา ร้อยละ 18.85 ระบุว่า พรรคประชาชน ร้อยละ 13.68 ระบุว่า พรรคประชาชาติ ร้อยละ 5.44 ระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 4.69 ระบุว่า พรรคเพื่อไทย ร้อยละ 2.62 ระบุว่า พรรครวมไทยสร้างชาติ ร้อยละ 1.78 ระบุว่า พรรคพลังประชารัฐ และพรรคภูมิใจไทย ในสัดส่วนที่เท่ากัน ร้อยละ 0.65 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคไทยสร้างไทย พรรคเป็นธรรม พรรคเสรีรวมไทย พรรคความหวังใหม่ และร้อยละ 0.37 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
 


ผลกระทบ? ‘ดุสิตโพล’ สำรวจบทเรียนที่คนไทยได้จากเลือกตั้ง ปธน.สหรัฐฯ
https://www.dailynews.co.th/news/4062460/

สวนดุสิตโพล สำรวจ บทเรียนที่คนไทยได้จากเลือกตั้ง ประธานาธิบดีสหรัฐฯ 2024 และส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ผลิตและผู้ประกอบการไทยอย่างไร

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “บทเรียนที่คนไทยได้จากเลือกตั้ง ปธน.สหรัฐฯ 2024” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,118 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 6-8 พฤศจิกายน 2567 พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 53.13 รู้สึกเฉยๆที่ “โดนัลด์ ทรัมป์” ชนะการเลือกตั้ง โดยมองว่าการที่ “โดนัลด์ ทรัมป์” เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาครั้งนี้จะส่งผลต่อไทยในด้านการเปลี่ยนแปลงนโยบายการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับไทย ร้อยละ 62.82 และบทเรียนที่ได้จากการเลือกตั้งครั้งนี้ คือ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมทางการเมือง ร้อยละ 59.17 รองลงมาคือ ได้เห็นบทบาทและอิทธิพลของสื่อในการเลือกตั้ง ร้อยละ 56.12 และได้รับรู้ถึงความสำคัญของนโยบายต่างประเทศที่มีต่อโลก ร้อยละ 52.88
 
น.ส.พรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่า คนไทยมีท่าทีเป็นกลางต่อผลการเลือกตั้ง โดยสนใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงนโยบายการค้าระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ซึ่งอาจกระทบต่อเศรษฐกิจไทย การเลือกตั้ง ครั้งนี้ยังเป็นบทเรียนที่น่าสนใจไม่ว่าจะเป็นการยอมรับผลการเลือกตั้ง กระบวนการที่โปร่งใส และอิทธิพลของสื่อที่ขับเคลื่อนกระแสสังคม ทั้งนี้ ผลโพลที่สูสีตลอดช่วงเลือกตั้งยังสะท้อนว่า ความเห็นของผู้คนสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามปัจจัยแวดล้อมและช่วงเวลา ผลลัพธ์ที่คาดการณ์ทำได้ยากยิ่งขึ้น

บทเรียนประธานาธิบดี
 
รองศาสตราจารย์ ดร.รุ่งภพ คงฤทธิ์ระจัน รองคณบดีโรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต อธิบายว่าความรู้สึกร่วมของคนไทยต่อการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่ผลสำรวจออกมา 53.13% อาจมาจากสาเหตุในระยะ 4 ปีที่ผ่านมาบทบาทของสหรัฐฯ ต่อไทยไม่ได้ถูกนำเสนอมากจนทำให้คนไทยรู้สึกว่าสหรัฐฯ จะเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อไทยอย่างไร แต่ก็ได้มีการแสดงความเห็นว่าเมื่อโดนัล ทรัมป์ เข้ามาเป็นประธานาธิบดีครั้งนี้แล้ว ไทยคงต้องเผชิญกับภาวะทางเศรษฐกิจที่มาจากอิทธิพลของสหรัฐฯถึง 62.82%
 
ซึ่งคาดการณ์ว่าผลกระทบหลักคือ มาตรการภาษีการค้าระหว่างประเทศที่โดนัล ทรัมป์ ต้องการจะปกป้องอุตสาหกรรมหลักของประเทศตนเองเป็นอันดับแรก ซึ่งกระทบการส่งออกหลักของไทยไปสหรัฐฯ ประการ ที่สองคือ สินค้าจีนจะทะลักเข้าไทยมากขึ้น เนื่องจากถูกสหรัฐฯกีดกันทางการค้า ส่งผลให้ไทยกลายเป็นตลาดระบายสินค้าจีน



EIC หวั่นนโยบาย ‘ทรัมป์‘ ฉุดเศรษฐกิจไทยปีหน้าลดลง 0.5% จากประมาณการณ์เดิม
https://www.bangkokbiznews.com/finance/investment/1152832

EIC ชี้ นโยบาย Trump 2.0 กระทบต่อเศรษฐกิจโลกและไทย ชี้ผลศึกษาของ IMF คาดกระทบเศรษฐกิจโลกปีหน้าลดลง 0.8 % ขณะที่กระทบไทย 0.5%
 
ล่าสุด ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) เผยแพร่ผลวิจัย "Trump 2.0 : ผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและไทย"
 
โดนัลด์ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 47 และจะกลับเข้าทำเนียบขาวได้อีกครั้ง ตามการคาดการณ์ ของสำนักต่าง ๆ ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง นอกจากว่าทรัมป์จะชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีแบบขาดลอย
 
ได้คะแนนสูงกว่ารองประธานาธิบดีกมลา แฮร์ริส คู่แข่งจากพรรค Democrats แล้ว พรรค Republicans ของทรัมป์ก็ยังครองเสียงข้างมากทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาอีกด้วย (Republicans Sweep)
 
ทรัมป์มีแนวนโยบายกีดกันการค้าที่จะเร่งปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ และเน้นความมั่นคงด้านพลังงานมากกว่าช่วยลดโลกร้อน
นโยบายสำคัญที่ทรัมป์เคยกล่าวไว้ตอนหาเสียง เช่น
 
(1) ขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีนอีก 60 pp (percentage point) และสินค้าประเทศอื่น 10 pp.
(2) กีดกันคนต่างชาติอพยพเข้าสหรัฐฯ โดยจะห้ามและขับไล่ผู้ข้ามแดนผิดกฎหมาย จำกัดการข้ามแดนถูกกฎหมาย และชะลอการอนุมัติวีซ่าเข้าสหรัฐฯ
(3) ให้พันธมิตรสหรัฐฯ พึ่งพาตนเองด้านกำลังทหารมากขึ้น โดยจะลดเงินสนับสนุนของสหรัฐฯ ในการป้องกันประเทศของยูเครน ญี่ปุ่น ไต้หวัน และเกาหลีใต้
(4) เน้นความมั่นคงด้านพลังงานก่อนการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง โดยจะยังสนับสนุนการขุดเจาะน้ำมันต่อไป
(5) ลดภาษีเงินได้นิติบุคคลและผู้มีฐานะมั่งคั่ง ซึ่งจะทำให้รัฐบาลสหรัฐฯ ขาดดุลการคลังและต้องก่อหนี้มากขึ้น
ผลการเลือกตั้งที่ออกมาแบบ Republicans Sweep เช่นนี้ เอื้อให้ทรัมป์สามารถผลักดันนโยบายต่าง ๆ ได้เต็มที่
(แม้ในความเป็นจริง ทรัมป์อาจใช้นโยบายเหล่านี้เป็นเครื่องมือในการเจรจาต่อรองกับประเทศต่าง ๆ และอาจไม่ได้จะดำเนินนโยบายเหล่านี้ เต็มรูปแบบก็ตาม)
 
ซึ่งจะส่งผลลบต่อประเทศคู่ค้าสหรัฐฯ และสร้างความไม่แน่นอนต่อโลกมากขึ้น
SCB EIC ได้วิเคราะห์ผลกระทบของนโยบายทรัมป์ 2.0 ต่อเศรษฐกิจโลกและไทย โดยอาศัยสมมติฐานชุดนโยบายของสหรัฐฯ ตามการวิเคราะห์ล่าสุดของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ในรายงาน World Economic Outlook (WEO) รอบเดือน ต.ค. 2024 มาใช้ในการค านวณผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยผ่านช่องทางการค้าและการลงทุน เพื่อให้ผู้ที่สนใจ
สามารถเตรียมความพร้อมในการ วางแผนรับมือกับผลกระทบและความไม่แน่นอนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทันสถานการณ์
 
2. ผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก IMF (WEO Oct24) กำหนดสมมติฐานนโยบายทรัมป์ 2.0 และศึกษาผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก ผ่าน 5 ช่องทาง คือ
(1) นโยบายขึ้นภาษีน าเข้า : สหรัฐฯ ยุโรป และจีน เพิ่มภาษีนำเข้าระหว่างกัน 10 pp. และสหรัฐฯ เก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากประเทศอื่น 10 pp. โดยประเทศอื่นจะขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าตอบโต้กลับอีกด้วย สินค้าที่ได้รับผลกระทบครอบคลุม 25%ของมูลค่าการค้าโลก คิดเป็นสัดส่วนกว่า 6% ของมูลค่าเศรษฐกิจโลก โดยจะเริ่มส่งผลลบต่อเศรษฐกิจโลกตั้งแต่กลางปี 2025 ส่งผลให้อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกลดลงรวม 0.3 pp. ในช่วงปี 2025-2030
 
(2) ความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าโลก : นโยบายขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ และการตอบโต้ของประเทศต่าง ๆ จะทำให้เกิดความไม่แน่นอนของนโยบายการค้า ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการลงทุน โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม โดยการลงทุนในสหรัฐฯ และยุโรปจะลดลงราว 4% เทียบกับกรณีไม่มีนโยบายทรัมป์ชุดนี้ ขณะที่จีนและประเทศอื่น ๆ จะได้รับผลกระทบราวครึ่งหนึ่งของสหรัฐฯ สำหรับเศรษฐกิจโลกจะได้รับผลกระทบทางลบตั้งแต่กลางปี 2025 และผลจะทยอยหมดไปในปี 2027
 
(3) นโยบายลดภาษี : สหรัฐฯ ต่ออายุมาตรการลดหย่อนภาษีนิติบุคคล หรือ Tax Cuts and Jobs Act (TCJA) ไปอีก 10 ปี จนถึงปี 2034 หลังมาตรการเดิมจะหมดอายุในช่วงกลางปี 2025 ซึ่งจะทำให้ภาษีเงินได้จากธุรกิจสหรัฐฯ ลดลงรวม 4% ของ
GDP ในช่วงเวลาดังกล่าว ผลกระทบสุทธิต่อเศรษฐกิจโลกจะเป็นบวกรวม 0.1 pp. ในช่วงปี 2025-2030 ตามผลบวกต่อ
เศรษฐกิจสหรัฐฯ เป็นสำคัญ แม้เศรษฐกิจประเทศอื่นจะได้รับผลกระทบทางลบ เพราะสูญเสียความสามารถในการแย่งชิงเม็ดเงินลงทุนโดยเปรียบเทียบกับสหรัฐฯ
 
(4) นโยบายกีดกันผู้อพยพ : สหรัฐฯ และยุโรปมีแนวโน้มกีดกันผู้อพยพมากขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางปี 2025 ส่งผลให้ก าลัง
แรงงานสหรัฐฯ และยูโรโซนลดลง 1% และ 0.75% ภายในปี 2030 ตามลำดับ เนื่องจากผู้อพยพเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และยุโรปในช่วงที่ผ่านมา จึงส่งผลกระทบทางลบต่อเศรษฐกิจโลกรวม 0.2 pp. ในช่วงปี 2025-2030
 
(5) ภาวะการเงินโลกตึงตัวขึ้น : ภาวะการเงินโลกมีแนวโน้มตึงตัวขึ้น จากผลกระทบทางลบและความไม่แน่นอนต่อ
 
เศรษฐกิจและการค้าโลก อัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ จะปรับสูงขึ้นตามเงินเฟ้อและหนี้ภาครัฐของประเทศต่าง ๆ ที่สูงขึ้น
โดยเฉพาะในสหรัฐฯ ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืมตราสารหนี้ภาครัฐและภาคเอกชนประเทศต่าง ๆ สูงขึ้น โดย 

(1)Sovereign premiums ในตลาดเกิดใหม่ (ยกเว้นจีน) เพิ่มขึ้น 50 bps (basis point)
(2) Corporate premiums เพิ่มขึ้น 50 bps ในจีนและประเทศพัฒนาแล้ว และเพิ่มขึ้น 100 bps ในประเทศตลาดเกิดใหม่อื่น ๆ และ
(3) Term premiums เพิ่มขึ้น 40 bps ในสหรัฐฯ และ 25 bps ในยูโรโซน 

ทั้งนี้ผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกในภาพรวมจะเป็นลบแต่ผลเริ่มทยอยหมดไปในปี 2028

จากผลศึกษาของ IMF ข้างต้น เศรษฐกิจโลกจะเริ่มได้รับผลลบจากนโยบายทรัมป์ 2.0 ตั้งแต่ปี 2025 หลังทยอย ประกาศชุดนโยบาย เศรษฐกิจโลกในปีหน้าจะเติบโตลดลง 0.8 pp. สำหรับปี 2026 จะลดลง 0.4 pp.
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่