JJNY : ปชช.สนใจเลือกตั้งนายกอบจ. 67.8%│ความรุนแรงในคู่รักไม่ใช่เรื่องส่วนตัว│ค่าเงินบาทอ่อนค่า│จีนชี้จะไม่มีผู้ชนะสงคราม

ประชาชนให้ความสนใจเลือกตั้งนายกอบจ. 67.8%
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_807372/
 
 
ประชาชนให้ความสนใจเลือกตั้งนายกอบจ.67.8% เลือกผู้สมัครสังกัดพรรคการเมือง 42.8% รับไม่ได้มี ทุจริตคอร์รัปชั่น
 
นายวิเชียร พงศธร ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน(ประเทศไทย) และประธานกรรมการมูลนิธิ “เพื่อคนไทย” , รศ.ดร.ธนวรรน์ พลวิชัย อธิบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยและประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์พเศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย , รศ.ดร.เสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ ที่ปรึกษาประจำสภามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และ ดร.มานะ นิมิตรมงคล เลขาองค์กรต่อต้านคอรร์รัปชัน(ประเทศไทย) ร่วมกันแถลงผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนถต่อการเลือกนายกอบจ.
 
โดยผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน จำนวน 2,017 ตัวอย่างทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 1-11 ต.ค.2567 ภาคเหนือ 397 ตัวอย่าง ภาคตะออกเฉียงเหนือ 726 ตัวอย่าง ภาคกลาง 228 ตัวอย่าง ภาคตะวันออก 177 ตัวอย่าง ภาคใต้ 306 ตัวอย่าง ปริมณฑล 183 ตัวอย่าง
 
ส่วนผลสำรวจที่ประชาชนให้ความสำคัญกับการเลือกตั้งนายกอบจ. คิดเป็น 67.8% ให้ความสนใจปานกลาง 31.9% ให้ความสนใจมาก 0.3% ให้ความสนใจน้อย ซึ่งเลือกจากผู้สมัครที่มีสังกัดหรือไม่สังกัดพรรคการเมืองระดับประเทศหรือกลุ่มการเมืองเดียวกันหรือไม่นั้น 42.8% เลือกจากสังกัดพรรคการเมือง เพราะความชัดเจนของนโยบายทำได้จริง , ความน่าเชื่อถือ , ชื่นชอบในตัวบุคคล และ 57.2% เลือกแบบไม่สังกัดพรรคการเมือง เพราะ ทำงานเป็นอิสระ , คนท้องถิ่นไม่เลือกพรรคการเมือง , เข้าถึงง่าย เข้าใจประชาชน

โดยได้มีการถามความคิดเห็นจากประชาชนว่า หากอบจ.มีการทุจริตคอร์รัปชัน แต่มีผลงานและทำประโยชน์ให้พื้นที่ของตน เป็นเรื่องที่รับได้หรือไม่ ประชาชนชนส่วนใหญ่ 40.4% เห็นด้วย 32% ไม่แน่ใจ 27.6% ไม่เห็นด้วย ซึ่งถ้าผู้สมัครมีความคุ้นเคยกับคนในท้องถิ่น ส่วนใหญ่แล้วเป็นสาเหตุให้ประชาชนชนตัดสินใจเลือก 55.3%
 
หากการเลือกตั้งมีการซื้อเสียงผลสำรวจคาดว่ามีการซื้อเสียงในราคา 900/คน และสามารถจูงใจให้ประชาชนเลือกผู้สมัครที่ซื้อเสียง 58.7% ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ ยอมรับได้ถ้าหากมีการซื้อเสียงในการเลือกตั้งนายกอบจ. มองว่าเป็นเรื่องปกติในการเลือกตั้ง เป็นสินน้ำใจค่าเดินทาง แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้เลือกคนที่จ่ายเงินให้มองว่าต้อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน
 
ทั้งนี้สรุปผลการสำรวจปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประชาชนในการเลือกนายก.อบจ และสมาชิกอบจ. อาทิเช่น ผู้สมัครเป็นทายาทของนักการเมืองหรือตระกูลการเมืองในพื้นที่ , นโยบายการพัฒนาพื้นที่ , ความน่าสนใจตัวผู้สมัคร , ความสามารถ , ประวัติการทำงาน , ซื่อสัตย์สุจริตไม่โกงกิน เป็นต้น
 
รศ.ดร.ธนวรรน์ กล่าวว่า การสำรวจครั้งนี้ตนคิดว่าเป็นประเด็นสำคัญที่ได้ฉายถึงการเมืองที่ต้องมาพัฒนาร่วมกัน และเห็นได้ชัดว่าประชาชนรับรู้ว่ามีการคอร์รัปชั่น ซึ่งสุดท้ายแล้วประชาชนก็เลือกคนที่มาจากทายาทนักการเมือง แทนที่จะเลือกคนที่มีความซื่อสัตย์สุจริต ตนมองว่าต้องมีการปลูกฝังการเมืองระดับท้องถิ่น

ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับการเมืองระดับประเทศเราจะเห็นถึงโครงสร้างการเปลี่ยนแปลงที่คนต้องการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเราสามารถสังเกตุได้จากการเลือกตั้งพรรคการเมืองครั้งที่ผ่านมา นั้นคือพรรคก้าวไกลและพรรคอนาคตใหม่ ซึ่งมีการชูให้เห็นในเรื่องของความโปร่งใส จึงทำให้ได้คะแนนสูง แต่การเมืองท้องถิ่นถ้าถามว่าซื้อเสียงได้หรือไม่ ซื้อได้ แต่ถ้าถามว่าจะเลือกหรือไม่ ตอบไม่

ด้านดร.มานะ กล่าวว่า สุดท้ายแล้วประชาชนเห็นทุกอย่าง แต่สำนักงานกกต.และสำนักงานป.ป.ช. กลับไม่เห็น ถ้าเราไปสืบค้นดูเราจะเห็นว่าคนที่เป็นนายกอบจ. หรือผู้บริหารอบจ.ถูกฟ้องร้องคดีร่ำรวยผิดปกติ มีอยู่เพียงแค่ 2 ราย ที่โดนตัดสินแล้ว และอยู่ในระหว่างพิจารณาคดีอีก 2 ราย ตนมองว่า 10-20 ปีที่ผ่านมา มีเพียงเท่านี้จริงๆหรือ ซึ่งถ้าเราไปดูบัญชีทรัพย์สินของบุคคลเหล่านี้ มีทรัพย์สินถึงร้อยล้าน บางคนถึงพันล้าน ตนตั้งข้อสงสัยว่าเราจะพิสูจน์เรื่องแบบนี้ได้อย่างไร

การโกงของนายกอบจ.หรือผู้บริหารอบจ.มีคดีน้อยมาก ที่เราสืบค้นได้ตอนนี้มีเพียงแค่ 10 กว่าคดี ตนมองว่าเป็นไปไม่ได้เลยที่มีเท่านี้ เพราะฉะนั้นจากผลโพลกับข้อเท็จจริงที่ปรากฎขึ้นมา เป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องคอยดูกันต่อไปและเชิญชวนประชาชนมาช่วยกันเปิดโปงเพื่อความสุขและความก้าวหน้าของพื้นท้องถิ่นต่อไป
 

 
'เลิกรัก ไม่เลิกทำร้าย' ความรุนแรงในคู่รักไม่ใช่เรื่องส่วนตัว
https://prachatai.com/journal/2024/11/111497

หลังมีข่าวผู้ชายฉุดแฟนเก่าขึ้นรถมัดมือมัดเท้าเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ประชาไทสำรวจความรุนแรงในคู่รัก ปี 2566 มีสถิติคู่รักทำร้ายกันถึง 102 ข่าว และข่าวคู่รักฆาตกรรมกันอีก 64 ข่าว ผอ.มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ชี้ชายเป็นใหญ่รากสำคัญของปัญหาความรุนแรงในครอบครัว -  ความรุนแรงในคู่รัก ย้ำมีคนวัยทำงานต้องตายจากเรื่องนี้เพิ่มทุกปี เสนอแก้ไข พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวครอบคลุมไปถึงการใช้ความรุนแรงในคู่รักด้วย
 
26 พ.ย. 2567 เมื่อเลิกกันแล้ว ทำไมต้องทำร้ายกัน หลังปลายสัปดาห์ที่ผ่านมามีข่าวอดีตคู่รักฝ่ายชายจับฝ่ายหญิงมัดมือมัดท้าขึ้นรถกลายเป็นคลิปที่แชร์ในโซเชียลมีเดีย เมื่อฝ่ายหญิงพยายามเปิดประตูรถร้องขอความช่วยเหลือกลางถนน เหตุเกิดจากการเห็นฝ่ายหญิงอัพสตอรี่กับแฟนใหม่ ทำให้เกิดความหึงหวง

มูลนิธิหญิงชายก้าวไกลมีการเก็บรวบรวมข่าวความรุนแรงในครอบครัว ในปี 2566 เฉพาะข่าวการทำร้ายกันจำนวน 433 ข่าว พบว่า
• ข่าวการทำร้ายร่างกายระหว่างสามี-ภรรยา 152 ข่าว 
• พ่อ-แม่-ลูก ทำร้ายกันเอง 108 ข่าว (ลูกทำร้ายพ่อแม่ 63 ข่าว พ่อแม่ทำร้ายลูก 45 ข่าว)
• คู่รักทำร้ายกัน 102 ข่าว
• เครือญาติทำร้ายกัน 71 ข่าว
 
สาเหตุในการทำร้ายกันของคู่รักน่าสนใจว่าเกือบทั้งหมดมีสาเหตุมาจากการที่ผู้ชายเป็นฝ่ายทำร้ายร่างกายผู้หญิงก่อน อันดับ 1 คือความหึงหวง 54 ข่าว รองลงมาแฟนสาวไม่ยอมคืนดีด้วย 19 ข่าว, แค้นใจที่แฟนสาวแอบมีสัมพันธ์กับคนอื่นอีก 9 ข่าว, หวาดระแวงว่าแฟนสาวมีคนอื่น 7 ข่าว, แฟนสาวบอกเลิก 7 ข่าว และโกรธที่เพิ่งเลิกกันแล้วฝ่ายหญิงก็มีคนใหม่เลย 6 ข่าว ในขณะที่ฝ่ายหญิงเริ่มทำร้ายร่างกายผู้ชายก่อนพบเพียง 3 ข่าว จากสาเหตุที่แฟนสาวจับได้ว่าฝ่ายชายมีผู้หญิงคนใหม่
 
นอกจากนี้จากการสำรวจข่าวความรุนแรงครอบครัวในปี 2566 มีการฆาตกรรมอยู่กว่า 601 ข่าว แบ่งเป็นการฆ่ากัน 388 ข่าว ฆ่าตัวตาย 213 ข่าว เฉพาะในกรณีคู่รักแบบแฟนมีการใช้ความรุนแรงในลักษณะการเอาชีวิตกันอยู่ถึง 64 ข่าวในปี 2566 สาเหตุแทบทั้งหมดฝ่ายชายจะผู้เริ่มกระทำการฆาตกรรมก่อน มีเพียง 3 ข่าวที่ผู้หญิงเป็นฝ่ายลงมือฆ่า โดยมีเหตุผลมาจากการถูกทำร้ายร่างกายก่อนจนทนไม่ไหวและลงมือฆาตกรรมฝ่ายชาย
 
ชายเป็นใหญ่หยั่งราก วิกฤติเศรษฐกิจกระตุ้นความรุนแรง
 
จะเด็จ เชาวน์วิไล ผู้อำนวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ให้สัมภาษณ์กับประชาไทในการมองภาพรวมความเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์การใช้ความรุนแรงในคู่รักในสังคมไทยช่วง 5 – 10 ที่ผ่านมา ระบุว่า รากของปัญหาความรุนแรงในครอบครัวหรือความรุนแรงในคู่รักมาจากความคิดแบบชายเป็นใหญ่ในสังคมไทย ซึ่งมีความเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างช้า ในช่วงหลังชีวิตคู่ในสังคมไทยของคนรุ่นใหม่เริ่มเปลี่ยนจากการแต่งงานจดทะเบียนสมรสแบบเป็นทางการมาสู่การใช้ชีวิตคู่อยู่ด้วยกันอย่างไม่เป็นทางการมากขึ้น แต่ปัญหาความรุนแรงก็ไม่ได้ลดลง ผู้ชายถูกบ่มเพาะแบบเดิมทั้งจากครอบครัวว่าเขาต้องมีอำนาจ ต้องเป็นผู้นำ ต้องเหนือกว่าผู้หญิง มองว่าผู้หญิงเป็นสมบัติของตัวเอง จะเด็จย้ำว่าความคิดเช่นนี้ยังคงตอกย้ำอยู่ผ่านระบบครอบครัว ระบบการศึกษา ศาสนา หรือแม้แต่ละครก็ยังมีให้เห็นอยู่ ไม่ได้มีการถูกหักล้างออกไป

เมื่อผู้ชายมีความคิดว่าการมีชีวิตครอบครัวหรือชีวิตคู่เขาต้องควบคุมต้องมีอำนาจ ผลที่ตามมานำไปสู่ปัญหาการใช้ความรุนแรง ยิ่งในช่วงปี 2565 หลังโควิด-19 สถิติความรุนแรงโดดขึ้นมาจากเมื่อก่อนที่มีการรวบรวมข่าวความรุนแรงในครอบครัวได้ 500 – 600 ข่าวต่อปี แต่ในปี 2565 ข่าวความรุนแรงในครอบครัวขึ้นมาเป็น 1,200 ข่าว และในปี 2566 ก็ยังคงอยู่ที่หลักพัน
 
จะเด็ดมองว่า นอกจากรากของปัญหาชายเป็นใหญ่แล้ว วิกฤติเศรษฐกิจที่ไม่ฟื้นตัว ความเครียดจากมีปัญหาการเงินการงานก็เป็นเงื่อนไขสำคัญของปัญหาความรุนแรง รวมไปถึงปัจจัยกระตุ้นจากการดื่มแอลกอฮอล์และการใช้ยาเสพติดที่ก่อนหน้านี้อยู่ที่ประมาณ 19 หรือ 20 เปอร์เซ็นต์ แต่ตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นมา ปัจจัยกระตุ้นจากแอลกอฮอล์และยาเสพติดโดดขึ้นมาอยู่ที่ 30 เปอร์เซ็นต์ สะท้อนให้เห็นว่าปัญหาจากเรื่องวิกฤติเศรษฐกิจทำให้คนเกิดความเครียดมีสูงและหาทางออกด้วยการใช้แอลกอฮอล์กับยาเสพติด กระตุ้นทำให้ปัญหาความรุนแรงเพิ่มขึ้น ทั้งความรุนแรงในคู่รักและความรุนแรงในครอบครัว
 
จะเด็ดกล่าวว่า รัฐควรจะมองปัญหานี้อย่างจริงจัง เนื่องจากในแต่ละปีมีคนเสียชีวิตจากปัญหาความรุนแรงในครอบครัวเป็นจำนวนมาก ปี 2565 ราว 500 คน มีผู้ชายฆ่าผู้หญิง ผู้หญิงฆ่าผู้ชาย และคู่รักเพศอื่นๆ บางกรณีหาทางออกไม่ได้ก็มีการฆ่าตัวเองตาย ทั้งนี้ คนที่เสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในวัยกำลังแรงงานของประเทศ ทำให้รัฐสูญเสียแรงไปจำนวนไม่น้อยในแต่ละปี และการเสียชีวิตของคนหนึ่งคนยังเป็นเรื่องใหญ่ต่อครอบครัวเขา จะเด็ดย้ำว่าสังคมไทยไม่ควรชาชินกับเรื่องนี้
 
ความรุนแรงในครอบครัว - คู่รัก ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว

กลไกรัฐสามารถเข้ามาป้องกันปัญหาความรุนแรงในความรุนแรงในครอบครัวและความรุนแรงในคู่รักได้ จะเด็ดระบุว่า รัฐควรสร้างกลไกที่เข้มแข็งกว่านี้ในการบังคับใช้กฎหมาย เมื่อมีผู้เสียหายมาแจ้งความเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ควรใช้ช่องทางไกล่เกลี่ย แต่ควรรับแจ้งความและปล่อยตัวผู้กระทำอย่างมีเงื่อนไข เช่น ห้ามเข้าใกล้ผู้เสียหายอีก หรือห้ามใช้ความรุนแรงซ้ำ ฯลฯ ไม่ใช่ปล่อยตัวผู้กระทำความรุนแรงไปเฉยๆ
 
จะเด็ดพยายามผลักดันให้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวครอบคลุมไปถึงการใช้ความรุนแรงในคู่รักด้วย และปรับกลไกรัฐให้มีการบูรณาการมากขึ้นกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ที่เป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงในเรื่องนี้อาจจะร่วมมือกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติในเรื่องการแจ้งความร้องทุกข์และปล่อยตัวอย่างมีเงื่อนไข หรือร่วมกระทรวงสาธารณสุขในการให้เจ้าหน้าที่ อสม. ตรวจสอบในชุมชนว่ามีครอบครัวที่ต้องเฝ้าระวังเรื่องการใช้ความรุนแรงหรือไม่ และส่งเรื่องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือผู้นำในท้องถิ่นเฝ้าระวัง ความรุนแรงในครอบครัวและความรุนแรงในคู่รักเป็นเรื่องที่สามารถเฝ้าระวังได้ การมองว่าเป็นเรื่องส่วนตัวและปล่อยผ่านไปของเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือสังคมไม่ได้ช่วยในการแก้ปัญหา



ค่าเงินบาท 26 พ.ย. อ่อนค่า 34.76 บาท กังวลสงครามการค้าสหรัฐ-จีน
https://www.dailynews.co.th/news/4119897/

ค่าเงินบาทวันนี้ 26 พ.ย. เปิดตลาดแตะระดับ 34.76 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าลงตามทิศทางเงินหยวน และสกุลเงินส่วนใหญ่ในภูมิภาค หลังกังวลสงครามการค้าสหรัฐกับจีน จับตาปัจจัยสำคัญทิศทางเงินทุนต่างชาติ ราคาทองคำในตลาดโลก
 
วันที่ 26 พ.ย. น.ส.กาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้บริหารงานวิจัย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า เงินบาทปรับตัวอยู่ที่ระดับประมาณ 34.74-34.76 บาทต่อดอลลาร์ ในช่วงเช้าวันนี้ (09.56 น.) เทียบกับระดับปิดตลาดวานนี้ที่ 34.64 บาทต่อดอลลาร์.

โดยเงินบาทอ่อนค่าลงตามทิศทางเงินหยวนและสกุลเงินส่วนใหญ่ในภูมิภาค ท่ามกลางความกังวลต่อสถานการณ์ที่มีแนวโน้มตึงเครียดมากขึ้นระหว่างสหรัฐ และจีน หลังจากนายโดนัลด์ ทรัมป์ กล่าวถึงการเตรียมเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเพิ่มขึ้นอีก นอกจากนี้ แรงขายทองคำในตลาดโลกก็เพิ่มแรงกดดันทำให้เงินบาทอ่อนค่าลงด้วยเช่นกัน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่