เปิดนาทีรับเมลล์เลิกจ้าง ปลดนับร้อย ช่อง 3 ชดเชยสูงสุด 400 วัน ผู้ประกาศก็โดนด้วย
https://www.matichon.co.th/economy/news_4920422
เปิดนาทีรับเมลล์เลิกจ้าง ปลดนับร้อย ช่อง3 ชดเชยสูงสุด 400 วัน ผู้ประกาศก็โดนด้วย
เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้าของการปรับโครงสร้างของสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ที่มีแนวทางลดค่าใช้จ่าย และลดพนักงานให้ได้ 30 เปอร์เซ็นต์ในทุกระดับตามที่ มติชนออนไลน์ ได้นำเสนอไปก่อนหน้านี้
ล่าสุดผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่าอเวลาประมาณ 21.00 น. วันที่ 25 พฤศจิกายนที่ผ่านมา พนักงานที่ถูกประเมินว่าไม่ผ่านงานได้รับอีเมลล์เลิกจ้างทางบริษัท โดยเป็นการส่งเป็นการส่วนตัว โดยมีพนักงานทุกระดับที่เข้าเงื่อนไข เนื้อหาเป็นเรื่องของการบอกเลิกจ้าง และให้มาเซ็นรับทราบการเลิกจ้างดังกล่าว ในช่วงบ่ายวันที่ 26 และวันที่ 27 พฤศจิกายน
ทั้งนี้การชดเชยที่ทางช่อง 3 จ่ายให้พนักงานนั่น เบื้องต้นเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดดังนี้
1. อายุงานครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี ได้ค่าชดเชยไม่น้อยกว่า 30 วัน
2. อายุงานครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี ได้ค่าชดเชยไม่น้อยกว่า 90 วัน
3. อายุงานครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี ได้ค่าชดเชยไม่น้อยกว่า 180 วัน
4. อายุงานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี ได้ค่าชดเชยไม่น้อยกว่า 240 วัน
5. อายุงานครบ 10 ปี แต่ไม่ครบ 20 ปี ได้ค่าชดเชยไม่น้อยกว่า 300 วัน
6. อายุงานมากกว่า 20 ปีขึ้นไป ได้รับค่าชดเชยในอัตราไม่น้อยกว่า 400 วัน
ทั้งนี้จะให้มีผลหลังจากวันที่ 31 ธันวาคม 2567 อย่างไรก็ตามสามารถใช้วันลาหยุดที่คงเหลืออยู่ได้ แต่หากลาเกินกำหนดจะกระทบต่อเงินชดเชยที่จะได้รับด้วย ทั้งนี้พนักงานสามารถเลือกได้ว่าจะรับเงินชดเชยนี้ในรอบเดือนธ.ค.67 หรือเดือนม.ค.2568
รายงานข่าวแจ้งว่าสำหรับการเลย์ออฟ หรือเลิกจ้างครั้งนี้ ฝ่ายบริหารใช้วิธีประเมินโดยพิจารณาจากทุกระดับ ตั้งแต่บรรณาธิการ จนถึงพนักงานทั่วไป ซึ่งพบว่ามีกลุ่มพนักงานที่ถูกเลิกจ้างครั้งนี้เกือบ 300 ราย
ขณะที่ผู้ประกาศของช่อง ส่วนหนึ่งให้พ้นจากการเป็นพนักงานประจำ แต่ยังได้รับค่าอ่าน หรือค่าออกอากาศอยู่ ในกรณีที่ทำรายการให้ช่อง 3 ต่อไป ทั้งนี้อาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนงานและโครงสร้างให้เหมาะสมกับกำลังคนที่เหลืออยู่ต่อไป
ภาคประชาสังคมไม่เห็นด้วยปิดศูนย์การเรียนเด็กพม่า ทำเด็กหลุดระบบ-ผลักไปสู่ความเสี่ยง
https://prachatai.com/journal/2024/11/111491
เครือข่ายภาคประชาสังคมไม่เห็นด้วยปิดศูนย์การเรียนเด็กข้ามชาติ ทำเด็กพม่าลูกหลานแรงงานข้ามชาติเข้าไม่ถึงการศึกษา หวั่นผลกระทบเป็นลูกโซ่ เรียกร้องต้องมีพื้นที่ปลอดภัยให้กับกลุ่มเปราะบาง
25 พ.ย. 2567 10.00 น.-13.30 น. ณ สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ (FCCT) กรุงเทพฯ เนื่องจากวันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปีเป็นวันยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรีสากล เครือข่ายภาคประชาสังคมจัดเสวนาในหัวข้อ “เมื่อความรุนแรงต่อเด็กและสตรีทะลุมิติ สังคมไทยและอาเซียนจะทำอย่างไรเพื่อการปกป้อง ส่งเสริม พัฒนาและคุ้มครองสิทธิ”
ในเวทีมีการอภิปรายในหลายประเด็น ทั้งแนวทางการคุ้มครองลูกหลานแรงงานข้ามชาติเข้าในไทย จากสถานการณ์ผู้อพยพที่เพิ่มขึ้น ที่เป็นผลมาจากการสู้รบในพม่าและการประกาศกฎหมายเกณฑ์ทหาร, ผลกระทบเมื่อเด็กหญิงและผู้หญิงเข้าไม่ถึงระบบการศึกษาและขัดสนทางเศรษฐกิจ รวมถึงความรุนแรงเชิงโครงสร้างที่ซ้ำเติมเด็กกลุ่มเปราะบางให้หลุดออกจากระบบการศึกษา
ประชาไทสรุปประเด็นสำคัญมาไว้ด้านล่างนี้
ปิดศูนย์การเรียนเด็กพม่า ผลักเด็กสู่ความเสี่ยง
สมพงค์ สระแก้ว จากมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (Labour Protection Network: LPN) กล่าวถึงประเด็นเรื่องการจัดการศึกษาและพื้นที่ปลอดภัยแก่เด็กลูกหลานแรงงานข้ามชาติและเด็กหลบภัยสงครามว่า ช่วงที่ผ่านมานี้ ตนเองมีความกังวลในเรื่องสถานการณ์ผู้อพยพจากพม่าที่เพิ่มขึ้น ปัจจัยเร่งคือการสู้รบในพม่าและการประกาศใช้กฎหมายเกณฑ์ทหารส่งผลให้เกิดการอพยเข้ามาผ่านนายหน้าทั้งแบบที่ถูกกฎหมายและไม่ถูกกฎหมาย เราจึงเห็นลูกหลานแรงงานข้ามชาติ หรือที่ภาคประชาสังคมเรียกกันว่า “เด็กข้ามชาติ” ที่ติดตามผู้ปกครองมาเยอะขึ้นตามไปด้วย
สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือเยาวชนผู้ติดตามครอบครัวมามีแนวโน้มตกอยู่ในความเสี่ยง เนื่องจากสภาพแวดล้อมในการอยู่อาศัยที่ไม่เป็นมิตรต่อพวกเขา สมพงค์ยกตัวอย่าง 2 กรณี
กรณีแรก – ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร เจ้าหน้าที่เข้าไปควบคุมตัวเด็กขณะที่เดินทางไปเรียนหนังสือหรือขณะเดินตลาดในระหว่างวันหยุด พ่อแม่ของเขาก็โทรมาแจ้งที่มูลนิธิ LPN ทางพวกตนจึงต้องตอบไปว่าเด็กมีสิทธิที่จะอยู่กับพ่อแม่ได้ จะมาจับไม่ได้ ตนจึงมองว่าแนวปฏิบัติในเรื่องนี้ ควรเขียนให้เป็นลายลักษณ์อักษร
กรณีที่สอง – เด็กที่แม่ทำงานเป็นแม่บ้าน แต่เจ้านายของแม่ไม่ให้เด็กอยู่ในบ้าน เมื่อเป็นเช่นนี้เด็กจะไปอยู่ที่ไหน ซึ่งบ่อยครั้ง เด็กมักลงเอยด้วยการต้องไปทำงานในไซต์ก่อสร้างซึ่งก็เสี่ยงต่อชีวิตและร่างกายตัวเอง บ้างประสบอุบัติเหตุ ตกนั่งร้าน ไฟฟ้าชอร์ต ฯลฯ
เมื่อมีเด็กอพยพเข้ามามากขึ้นก็เกินกำลังที่สถานศึกษาภาครัฐจะรับไหว กลุ่มเครือข่ายแรงงานจึงได้ตั้งศูนย์การเรียนรู้ขึ้นมาเพื่อมาดูแลเด็กกลุ่มนี้เป็นการชั่วคราว
สมพงค์กล่าวต่อไปว่า เมื่อมีการประกาศปิดศูนย์การเรียนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งส่งผลให้เด็กลูกหลานแรงงานข้ามชาติในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีกว่า 2,000 คน ต้องหยุดเรียนกลางคัน สุดท้ายเด็กหลายคนต้องไปเป็นแรงงานในสวนยาง นอกจากนี้มันยังสร้างความกังวลต่อศูนย์การเรียนในพื้นที่อื่นนอกจังหวัดอีกด้วยที่กลัวว่าอาจถูกสั่งปิดเช่นกัน ซึ่งนี่คือบรรยากาศทางการเมืองที่ไม่ได้เป็นมิตรกับเด็กและเยาวชนเลย
ศูนย์การเรียนที่ถูกตั้งขึ้นมาลักษณะนี้ เกิดจากกลุ่มแรงงานอาสาลงแรงกันเอง โดยมากศูนย์การเรียนก็จะจัดให้เด็กได้เรียนภาษาไทยในวันอาทิตย์ เพราะถ้าอยู่ในเมืองไทยให้ปลอดภัยก็ต้องพูดภาษาไทยได้ แต่กลายเป็นการมาชี้ว่าเป็นศูนย์การเรียนที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะไม่ได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ ฉะนั้นจึงควรปิดศูนย์ มันไม่ได้เป็นประโยชน์กับเด็กเลย การส่งเสริมให้คนที่อพยพรู้ภาษาก็จะช่วยพวกเขาได้มากกว่า การปิดศูนย์การเรียนจึงไม่ใช่ทางออกที่ดี แต่ควรมองไปให้ไกลกว่านั้น ว่าจะมีโมเดลอย่างไรให้ภาครัฐกับภาคประชาสังคมทำงานร่วมกันได้
ช่วยเหลือยึดหลักมนุษยธรรม ไม่ให้ใครตกหล่น
ทางด้าน
ทิรันต์ ผลินกูล หัวหน้าโครงการศูนย์แบ่งต่อ มูลนิธิกระจกเงา กล่าวถึงวิกฤตโลกระบาดและภัยธรรมชาติในฐานะปัจจัยเร่งที่ส่งผลให้เด็กหลุดจากระบบการศึกษา
เด็กไทย 1.02 ล้านคน หลุดออกจากระบบการศึกษาในปีการศึกษา 2566 แต่ยังมีเด็กที่อยู่นอกระบบที่อาจตกสำรวจ เช่น เด็กพิการ ลูกหลานแรงงานข้ามชาติ ซึ่งก่อนเกิดภัยธรรมชาติ เด็กกลุ่มนี้ก็มีความเสี่ยงอยู่แล้ว แต่ภัยธรรมชาติเป็นตัวเร่งที่มาซ้ำเติม ยังไม่รวมปัจจัยเรื่องภาวะทางเศรษฐกิจ หรือความเจ็บป่วย
ทิรันต์เล่าว่างานของตนคือการส่งของไปช่วยเหลือคนที่เดือดร้อน โดยสามารถแบ่งลักษณะงานออกเป็น 4 ส่วน 1) ส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ 2) ป้องกัน 3) ช่วยเหลือและรักษา 4) ฟื้นฟูผู้ที่ได้รับผลกระทบ
จากการทำงานพบว่า ตนได้รับการขอความช่วยเหลือมาเยอะมากในเรื่องการขอชุดนักเรียน และเมื่อไปแจกชุดนักเรียน ทำให้รู้ว่าเด็กที่ไม่มีชุดนักเรียนก็จะไม่ไปโรงเรียน เพราะไม่อยากดูแปลกท่ามกลางเพื่อนๆ คนอื่นที่ต่างก็ใส่ชุดนักเรียนกันตามปกติ
อีกอย่างที่ตนได้พบคือ ช่วงหลังโควิด-19 ครอบครัวที่มีฐานะปานกลางเผชิญความยากจนเฉียบพลัน ซึ่งส่วนใหญ่เวลาหน่วยงานรัฐเข้าช่วยเหลือก็มักจะขอบัตรประชาชน ทำให้มีบางกลุ่มตกหล่นจากความช่วยเหลือ นั่นคือแรงงานข้ามชาติ หรือผู้ป่วยติดเตียงที่บัตรประชาชนหมดอายุหรือบัตรหาย การช่วยเหลือจึงควรเป็นไปตามหลักมนุษยธรรม
เด็กหญิง-ผู้หญิงถูกใช้เป็นสินค้า
ชลีรัตน์ แสงสุวรรณ มูลนิธิพิทักษ์สตรี (AAT) กล่าวถึงประเด็นที่เด็กถูกใช้เป็นสินค้าและเครื่องมือทางเศรษฐกิจ ผ่านกรณี “เจ้าสาววัยเด็ก” ซึ่งเกิดจากการที่ประเทศจีนเผชิญกับวิกฤตเด็กเกิดต่ำจนขาดแคลนประชากร ส่งผลให้เกิดการเคลื่อนย้ายเยาวชนผู้หญิงอายุ 14-18 ปี จากประเทศลาว พม่า จากกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีความขัดสนทางเศรษฐกิจ ซึ่งถูกซื้อตัวไปแต่งงานเพื่อให้ตั้งครรภ์ โดยมีทั้งการอพยพไปแบบสมัครใจไปและถูกบังคับ ส่วนในกรณีของผู้หญิงไทยก็มีทั้งการถูกซื้อตัวไปตั้งครรภ์ที่จีนหรือใช้เป็นวิธีการอุ้มบุญในประเทศไทย
ชลีรัตน์กล่าวต่อไปว่า เด็กผู้หญิงที่หลุดจากระบบการศึกษาแล้วจะไปอยู่ที่ไหน ส่วนใหญ่ 85% ที่มีปัญหาครอบครัวแตกแยกก็มีแนวโน้มเข้าสู่วงจรการขายบริการทางเพศทางออนไลน์ กรณีอายุต่ำสุดที่มูลนิธิเคยพบคือ 12 ปี ส่วนผู้ที่มาซื้อบริการทางเพศจากเด็กคือผู้ใหญ่อายุราวๆ 39 ปี น่าตกใจที่มีทั้งครู ข้าราชการ และอาชีพอื่นๆ
บางครั้งการละเมิดสิทธิก็เกิดจากตัวระบบ
นเรศ สงเคราะห์สุข นักวิชาการอิสระ กล่าวว่าจากประสบการณ์การทำงานกับเยาวชนนอกระบบการศึกษา อาทิ วัยรุ่นจากสามจังหวัดชายแดนใต้ คนจนเมือง ลูกหลานแรงงานข้ามชาติ เด็กในสถานพินิจ ทำให้ได้เห็นว่า “ความรุนแรงเชิงโครงสร้าง” มีอยู่จริง เด็กในครอบครัวยากจนและเปราะบางมีแนวโน้มหลุดจากระบบ ทว่าผู้คนในสังคมกลับไม่ค่อยตระหนักถึงเหตุปัจจัย และมองกลุ่มเด็กนอกระบบเป็นแค่เพียง “คนที่ไม่ได้เรียนหนังสือ”
แต่เดิมตนเองเคยทำงานเรื่องการแก้ไขปัญหายาเสพติด แต่ภายหลังพบว่า วิธีที่ผิดนอกจากจะไม่แก้ปัญหาแล้วกลับสร้างปัญหาที่ใหญ่กว่าเดิม อย่างเช่น ความพยายามจะทำให้ทุกที่เป็น “พื้นที่ปลอดยา” ก็อาจเปิดช่องให้มีการละเมิดสิทธิหรือการใช้ความรุนแรงในการดำเนินนโยบาย
นเรศยกตัวอย่างเด็กชาวลาหู่ที่ติดยาเสพติด เมื่อไปดูเงื่อนไขชีวิตของเด็กคนนี้ เขาต้องทำงานถึง 14 ชั่วโมงต่อวัน เพราะต้องหาเลี้ยงแม่ที่ติดฝิ่นและน้องสาวที่ขายบริการทางเพศแต่พลาดท้อง เด็กลาหู่คนนี้ไม่ได้มีทักษะอ่านเขียนหรือคิดคำนวณที่จะสามารถไปทำงานอื่นที่ค่าตอบแทนสูงกว่า ฉะนั้นเพื่อให้มีแรงทำงานมากกว่าครึ่งวันเขาจึงต้องเสพยา
นเรศตั้งข้อสังเกตทิ้งท้ายว่า สังคมไทยมีสิ่งที่เรียกว่า “ความเห็นอกเห็นใจร่วม” หรือเปล่า ซึ่งไม่ใช่ความสงสารส่วนตัวที่แก้ได้ด้วยการบริจาค มันเป็นปัญหาที่วิธีคิดของเราหรือเปล่า ระบบการศึกษาที่มีไม่รองรับความหลากหลาย แต่เราจินตนาการถึงการศึกษาแบบอื่นไม่ได้นอกเสียจากเข้าระบบ แต่พูดอย่างเบาที่สุด การละเมิดสิทธิก็อาจเกิดโดยรัฐนั่นแหละ ถ้าไม่มีพื้นที่ปลอดภัยให้เด็กก็จะไม่มีพื้นที่ที่เอื้อให้เกิดการเรียนรู้ใดๆ
‘อิสราเอล-ฮิซบอลเลาะห์’ ใกล้ปิดดีลหยุดยิง ครม.ยิวจ่อประชุมค่ำนี้
https://www.matichon.co.th/foreign/news_4920496
‘อิสราเอล-ฮิซบอลเลาะห์’ ใกล้ปิดดีลหยุดยิง ครม.ยิวจ่อประชุมค่ำนี้
สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า คณะรัฐมนตรีความมั่นคงของอิสราเอลจะมีการหารือกันในค่ำวันที่ 26 พฤศจิกายน ตามเวลาท้องถิ่น เพื่อพิจารณาว่าจะยอมรับข้อตกลงหยุดยิงกับกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในประเทศเลบานอนหรือไม่ โดยเจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวของสหรัฐเชื่อว่าทั้งสองฝ่ายใกล้จะบรรลุข้อตกลงหยุดยิงแล้ว
ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา สหรัฐ สหภาพยุโรป (อียู) และองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ผลักดันให้มีการยุติการสู้รบระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่มีอิหร่านหนุนหลัง ซึ่งลุกลามกลายเป็นการทำสงครามอย่างเต็มรูปแบบเมื่อช่วงปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา
สำนักข่าว Axios เคยรายงานว่า ทั้งอิสราเอลและฮิซบอลเลาะห์ใกล้ที่จะบรรลุข้อตกลงหยุดยิงเป็นเวลา 60 วัน ซึ่งในช่วงดังกล่าวกองทัพอิสราเอลจะต้องถอนกำลังออกจากพื้นที่ทางตอนใต้ของเลบานอน และกลุ่มฮิซบอลเลาะห์จะต้องไม่เข้ามาอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวเช่นกัน รวมถึงฮิซบอลเลาะห์จะต้องถอนอาวุธหนักออกจากพื้นที่ทางตอนเหนือของแม่น้ำลิทานี ส่วนกองทัพเลบานอนจะนำกำลังกลับมาประจำอยู่ที่พรม
JJNY : เปิดนาทีรับเมลล์เลิกจ้าง│ไม่เห็นด้วยปิดศูนย์การเรียนเด็กพม่า│‘อิสราเอล-ฮิซบอลเลาะห์’ ใกล้ปิดดีล│โสมเหนือขยายรง.
https://www.matichon.co.th/economy/news_4920422
เปิดนาทีรับเมลล์เลิกจ้าง ปลดนับร้อย ช่อง3 ชดเชยสูงสุด 400 วัน ผู้ประกาศก็โดนด้วย
เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้าของการปรับโครงสร้างของสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ที่มีแนวทางลดค่าใช้จ่าย และลดพนักงานให้ได้ 30 เปอร์เซ็นต์ในทุกระดับตามที่ มติชนออนไลน์ ได้นำเสนอไปก่อนหน้านี้
ล่าสุดผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่าอเวลาประมาณ 21.00 น. วันที่ 25 พฤศจิกายนที่ผ่านมา พนักงานที่ถูกประเมินว่าไม่ผ่านงานได้รับอีเมลล์เลิกจ้างทางบริษัท โดยเป็นการส่งเป็นการส่วนตัว โดยมีพนักงานทุกระดับที่เข้าเงื่อนไข เนื้อหาเป็นเรื่องของการบอกเลิกจ้าง และให้มาเซ็นรับทราบการเลิกจ้างดังกล่าว ในช่วงบ่ายวันที่ 26 และวันที่ 27 พฤศจิกายน
ทั้งนี้การชดเชยที่ทางช่อง 3 จ่ายให้พนักงานนั่น เบื้องต้นเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดดังนี้
1. อายุงานครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี ได้ค่าชดเชยไม่น้อยกว่า 30 วัน
2. อายุงานครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี ได้ค่าชดเชยไม่น้อยกว่า 90 วัน
3. อายุงานครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี ได้ค่าชดเชยไม่น้อยกว่า 180 วัน
4. อายุงานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี ได้ค่าชดเชยไม่น้อยกว่า 240 วัน
5. อายุงานครบ 10 ปี แต่ไม่ครบ 20 ปี ได้ค่าชดเชยไม่น้อยกว่า 300 วัน
6. อายุงานมากกว่า 20 ปีขึ้นไป ได้รับค่าชดเชยในอัตราไม่น้อยกว่า 400 วัน
ทั้งนี้จะให้มีผลหลังจากวันที่ 31 ธันวาคม 2567 อย่างไรก็ตามสามารถใช้วันลาหยุดที่คงเหลืออยู่ได้ แต่หากลาเกินกำหนดจะกระทบต่อเงินชดเชยที่จะได้รับด้วย ทั้งนี้พนักงานสามารถเลือกได้ว่าจะรับเงินชดเชยนี้ในรอบเดือนธ.ค.67 หรือเดือนม.ค.2568
รายงานข่าวแจ้งว่าสำหรับการเลย์ออฟ หรือเลิกจ้างครั้งนี้ ฝ่ายบริหารใช้วิธีประเมินโดยพิจารณาจากทุกระดับ ตั้งแต่บรรณาธิการ จนถึงพนักงานทั่วไป ซึ่งพบว่ามีกลุ่มพนักงานที่ถูกเลิกจ้างครั้งนี้เกือบ 300 ราย
ขณะที่ผู้ประกาศของช่อง ส่วนหนึ่งให้พ้นจากการเป็นพนักงานประจำ แต่ยังได้รับค่าอ่าน หรือค่าออกอากาศอยู่ ในกรณีที่ทำรายการให้ช่อง 3 ต่อไป ทั้งนี้อาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนงานและโครงสร้างให้เหมาะสมกับกำลังคนที่เหลืออยู่ต่อไป
ภาคประชาสังคมไม่เห็นด้วยปิดศูนย์การเรียนเด็กพม่า ทำเด็กหลุดระบบ-ผลักไปสู่ความเสี่ยง
https://prachatai.com/journal/2024/11/111491
เครือข่ายภาคประชาสังคมไม่เห็นด้วยปิดศูนย์การเรียนเด็กข้ามชาติ ทำเด็กพม่าลูกหลานแรงงานข้ามชาติเข้าไม่ถึงการศึกษา หวั่นผลกระทบเป็นลูกโซ่ เรียกร้องต้องมีพื้นที่ปลอดภัยให้กับกลุ่มเปราะบาง
25 พ.ย. 2567 10.00 น.-13.30 น. ณ สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ (FCCT) กรุงเทพฯ เนื่องจากวันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปีเป็นวันยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรีสากล เครือข่ายภาคประชาสังคมจัดเสวนาในหัวข้อ “เมื่อความรุนแรงต่อเด็กและสตรีทะลุมิติ สังคมไทยและอาเซียนจะทำอย่างไรเพื่อการปกป้อง ส่งเสริม พัฒนาและคุ้มครองสิทธิ”
ในเวทีมีการอภิปรายในหลายประเด็น ทั้งแนวทางการคุ้มครองลูกหลานแรงงานข้ามชาติเข้าในไทย จากสถานการณ์ผู้อพยพที่เพิ่มขึ้น ที่เป็นผลมาจากการสู้รบในพม่าและการประกาศกฎหมายเกณฑ์ทหาร, ผลกระทบเมื่อเด็กหญิงและผู้หญิงเข้าไม่ถึงระบบการศึกษาและขัดสนทางเศรษฐกิจ รวมถึงความรุนแรงเชิงโครงสร้างที่ซ้ำเติมเด็กกลุ่มเปราะบางให้หลุดออกจากระบบการศึกษา
ประชาไทสรุปประเด็นสำคัญมาไว้ด้านล่างนี้
ปิดศูนย์การเรียนเด็กพม่า ผลักเด็กสู่ความเสี่ยง
สมพงค์ สระแก้ว จากมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (Labour Protection Network: LPN) กล่าวถึงประเด็นเรื่องการจัดการศึกษาและพื้นที่ปลอดภัยแก่เด็กลูกหลานแรงงานข้ามชาติและเด็กหลบภัยสงครามว่า ช่วงที่ผ่านมานี้ ตนเองมีความกังวลในเรื่องสถานการณ์ผู้อพยพจากพม่าที่เพิ่มขึ้น ปัจจัยเร่งคือการสู้รบในพม่าและการประกาศใช้กฎหมายเกณฑ์ทหารส่งผลให้เกิดการอพยเข้ามาผ่านนายหน้าทั้งแบบที่ถูกกฎหมายและไม่ถูกกฎหมาย เราจึงเห็นลูกหลานแรงงานข้ามชาติ หรือที่ภาคประชาสังคมเรียกกันว่า “เด็กข้ามชาติ” ที่ติดตามผู้ปกครองมาเยอะขึ้นตามไปด้วย
สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือเยาวชนผู้ติดตามครอบครัวมามีแนวโน้มตกอยู่ในความเสี่ยง เนื่องจากสภาพแวดล้อมในการอยู่อาศัยที่ไม่เป็นมิตรต่อพวกเขา สมพงค์ยกตัวอย่าง 2 กรณี
กรณีแรก – ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร เจ้าหน้าที่เข้าไปควบคุมตัวเด็กขณะที่เดินทางไปเรียนหนังสือหรือขณะเดินตลาดในระหว่างวันหยุด พ่อแม่ของเขาก็โทรมาแจ้งที่มูลนิธิ LPN ทางพวกตนจึงต้องตอบไปว่าเด็กมีสิทธิที่จะอยู่กับพ่อแม่ได้ จะมาจับไม่ได้ ตนจึงมองว่าแนวปฏิบัติในเรื่องนี้ ควรเขียนให้เป็นลายลักษณ์อักษร
กรณีที่สอง – เด็กที่แม่ทำงานเป็นแม่บ้าน แต่เจ้านายของแม่ไม่ให้เด็กอยู่ในบ้าน เมื่อเป็นเช่นนี้เด็กจะไปอยู่ที่ไหน ซึ่งบ่อยครั้ง เด็กมักลงเอยด้วยการต้องไปทำงานในไซต์ก่อสร้างซึ่งก็เสี่ยงต่อชีวิตและร่างกายตัวเอง บ้างประสบอุบัติเหตุ ตกนั่งร้าน ไฟฟ้าชอร์ต ฯลฯ
เมื่อมีเด็กอพยพเข้ามามากขึ้นก็เกินกำลังที่สถานศึกษาภาครัฐจะรับไหว กลุ่มเครือข่ายแรงงานจึงได้ตั้งศูนย์การเรียนรู้ขึ้นมาเพื่อมาดูแลเด็กกลุ่มนี้เป็นการชั่วคราว
สมพงค์กล่าวต่อไปว่า เมื่อมีการประกาศปิดศูนย์การเรียนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งส่งผลให้เด็กลูกหลานแรงงานข้ามชาติในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีกว่า 2,000 คน ต้องหยุดเรียนกลางคัน สุดท้ายเด็กหลายคนต้องไปเป็นแรงงานในสวนยาง นอกจากนี้มันยังสร้างความกังวลต่อศูนย์การเรียนในพื้นที่อื่นนอกจังหวัดอีกด้วยที่กลัวว่าอาจถูกสั่งปิดเช่นกัน ซึ่งนี่คือบรรยากาศทางการเมืองที่ไม่ได้เป็นมิตรกับเด็กและเยาวชนเลย
ศูนย์การเรียนที่ถูกตั้งขึ้นมาลักษณะนี้ เกิดจากกลุ่มแรงงานอาสาลงแรงกันเอง โดยมากศูนย์การเรียนก็จะจัดให้เด็กได้เรียนภาษาไทยในวันอาทิตย์ เพราะถ้าอยู่ในเมืองไทยให้ปลอดภัยก็ต้องพูดภาษาไทยได้ แต่กลายเป็นการมาชี้ว่าเป็นศูนย์การเรียนที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะไม่ได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ ฉะนั้นจึงควรปิดศูนย์ มันไม่ได้เป็นประโยชน์กับเด็กเลย การส่งเสริมให้คนที่อพยพรู้ภาษาก็จะช่วยพวกเขาได้มากกว่า การปิดศูนย์การเรียนจึงไม่ใช่ทางออกที่ดี แต่ควรมองไปให้ไกลกว่านั้น ว่าจะมีโมเดลอย่างไรให้ภาครัฐกับภาคประชาสังคมทำงานร่วมกันได้
ช่วยเหลือยึดหลักมนุษยธรรม ไม่ให้ใครตกหล่น
ทางด้าน ทิรันต์ ผลินกูล หัวหน้าโครงการศูนย์แบ่งต่อ มูลนิธิกระจกเงา กล่าวถึงวิกฤตโลกระบาดและภัยธรรมชาติในฐานะปัจจัยเร่งที่ส่งผลให้เด็กหลุดจากระบบการศึกษา
เด็กไทย 1.02 ล้านคน หลุดออกจากระบบการศึกษาในปีการศึกษา 2566 แต่ยังมีเด็กที่อยู่นอกระบบที่อาจตกสำรวจ เช่น เด็กพิการ ลูกหลานแรงงานข้ามชาติ ซึ่งก่อนเกิดภัยธรรมชาติ เด็กกลุ่มนี้ก็มีความเสี่ยงอยู่แล้ว แต่ภัยธรรมชาติเป็นตัวเร่งที่มาซ้ำเติม ยังไม่รวมปัจจัยเรื่องภาวะทางเศรษฐกิจ หรือความเจ็บป่วย
ทิรันต์เล่าว่างานของตนคือการส่งของไปช่วยเหลือคนที่เดือดร้อน โดยสามารถแบ่งลักษณะงานออกเป็น 4 ส่วน 1) ส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ 2) ป้องกัน 3) ช่วยเหลือและรักษา 4) ฟื้นฟูผู้ที่ได้รับผลกระทบ
จากการทำงานพบว่า ตนได้รับการขอความช่วยเหลือมาเยอะมากในเรื่องการขอชุดนักเรียน และเมื่อไปแจกชุดนักเรียน ทำให้รู้ว่าเด็กที่ไม่มีชุดนักเรียนก็จะไม่ไปโรงเรียน เพราะไม่อยากดูแปลกท่ามกลางเพื่อนๆ คนอื่นที่ต่างก็ใส่ชุดนักเรียนกันตามปกติ
อีกอย่างที่ตนได้พบคือ ช่วงหลังโควิด-19 ครอบครัวที่มีฐานะปานกลางเผชิญความยากจนเฉียบพลัน ซึ่งส่วนใหญ่เวลาหน่วยงานรัฐเข้าช่วยเหลือก็มักจะขอบัตรประชาชน ทำให้มีบางกลุ่มตกหล่นจากความช่วยเหลือ นั่นคือแรงงานข้ามชาติ หรือผู้ป่วยติดเตียงที่บัตรประชาชนหมดอายุหรือบัตรหาย การช่วยเหลือจึงควรเป็นไปตามหลักมนุษยธรรม
เด็กหญิง-ผู้หญิงถูกใช้เป็นสินค้า
ชลีรัตน์ แสงสุวรรณ มูลนิธิพิทักษ์สตรี (AAT) กล่าวถึงประเด็นที่เด็กถูกใช้เป็นสินค้าและเครื่องมือทางเศรษฐกิจ ผ่านกรณี “เจ้าสาววัยเด็ก” ซึ่งเกิดจากการที่ประเทศจีนเผชิญกับวิกฤตเด็กเกิดต่ำจนขาดแคลนประชากร ส่งผลให้เกิดการเคลื่อนย้ายเยาวชนผู้หญิงอายุ 14-18 ปี จากประเทศลาว พม่า จากกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีความขัดสนทางเศรษฐกิจ ซึ่งถูกซื้อตัวไปแต่งงานเพื่อให้ตั้งครรภ์ โดยมีทั้งการอพยพไปแบบสมัครใจไปและถูกบังคับ ส่วนในกรณีของผู้หญิงไทยก็มีทั้งการถูกซื้อตัวไปตั้งครรภ์ที่จีนหรือใช้เป็นวิธีการอุ้มบุญในประเทศไทย
ชลีรัตน์กล่าวต่อไปว่า เด็กผู้หญิงที่หลุดจากระบบการศึกษาแล้วจะไปอยู่ที่ไหน ส่วนใหญ่ 85% ที่มีปัญหาครอบครัวแตกแยกก็มีแนวโน้มเข้าสู่วงจรการขายบริการทางเพศทางออนไลน์ กรณีอายุต่ำสุดที่มูลนิธิเคยพบคือ 12 ปี ส่วนผู้ที่มาซื้อบริการทางเพศจากเด็กคือผู้ใหญ่อายุราวๆ 39 ปี น่าตกใจที่มีทั้งครู ข้าราชการ และอาชีพอื่นๆ
บางครั้งการละเมิดสิทธิก็เกิดจากตัวระบบ
นเรศ สงเคราะห์สุข นักวิชาการอิสระ กล่าวว่าจากประสบการณ์การทำงานกับเยาวชนนอกระบบการศึกษา อาทิ วัยรุ่นจากสามจังหวัดชายแดนใต้ คนจนเมือง ลูกหลานแรงงานข้ามชาติ เด็กในสถานพินิจ ทำให้ได้เห็นว่า “ความรุนแรงเชิงโครงสร้าง” มีอยู่จริง เด็กในครอบครัวยากจนและเปราะบางมีแนวโน้มหลุดจากระบบ ทว่าผู้คนในสังคมกลับไม่ค่อยตระหนักถึงเหตุปัจจัย และมองกลุ่มเด็กนอกระบบเป็นแค่เพียง “คนที่ไม่ได้เรียนหนังสือ”
แต่เดิมตนเองเคยทำงานเรื่องการแก้ไขปัญหายาเสพติด แต่ภายหลังพบว่า วิธีที่ผิดนอกจากจะไม่แก้ปัญหาแล้วกลับสร้างปัญหาที่ใหญ่กว่าเดิม อย่างเช่น ความพยายามจะทำให้ทุกที่เป็น “พื้นที่ปลอดยา” ก็อาจเปิดช่องให้มีการละเมิดสิทธิหรือการใช้ความรุนแรงในการดำเนินนโยบาย
นเรศยกตัวอย่างเด็กชาวลาหู่ที่ติดยาเสพติด เมื่อไปดูเงื่อนไขชีวิตของเด็กคนนี้ เขาต้องทำงานถึง 14 ชั่วโมงต่อวัน เพราะต้องหาเลี้ยงแม่ที่ติดฝิ่นและน้องสาวที่ขายบริการทางเพศแต่พลาดท้อง เด็กลาหู่คนนี้ไม่ได้มีทักษะอ่านเขียนหรือคิดคำนวณที่จะสามารถไปทำงานอื่นที่ค่าตอบแทนสูงกว่า ฉะนั้นเพื่อให้มีแรงทำงานมากกว่าครึ่งวันเขาจึงต้องเสพยา
นเรศตั้งข้อสังเกตทิ้งท้ายว่า สังคมไทยมีสิ่งที่เรียกว่า “ความเห็นอกเห็นใจร่วม” หรือเปล่า ซึ่งไม่ใช่ความสงสารส่วนตัวที่แก้ได้ด้วยการบริจาค มันเป็นปัญหาที่วิธีคิดของเราหรือเปล่า ระบบการศึกษาที่มีไม่รองรับความหลากหลาย แต่เราจินตนาการถึงการศึกษาแบบอื่นไม่ได้นอกเสียจากเข้าระบบ แต่พูดอย่างเบาที่สุด การละเมิดสิทธิก็อาจเกิดโดยรัฐนั่นแหละ ถ้าไม่มีพื้นที่ปลอดภัยให้เด็กก็จะไม่มีพื้นที่ที่เอื้อให้เกิดการเรียนรู้ใดๆ
‘อิสราเอล-ฮิซบอลเลาะห์’ ใกล้ปิดดีลหยุดยิง ครม.ยิวจ่อประชุมค่ำนี้
https://www.matichon.co.th/foreign/news_4920496
‘อิสราเอล-ฮิซบอลเลาะห์’ ใกล้ปิดดีลหยุดยิง ครม.ยิวจ่อประชุมค่ำนี้
สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า คณะรัฐมนตรีความมั่นคงของอิสราเอลจะมีการหารือกันในค่ำวันที่ 26 พฤศจิกายน ตามเวลาท้องถิ่น เพื่อพิจารณาว่าจะยอมรับข้อตกลงหยุดยิงกับกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในประเทศเลบานอนหรือไม่ โดยเจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวของสหรัฐเชื่อว่าทั้งสองฝ่ายใกล้จะบรรลุข้อตกลงหยุดยิงแล้ว
ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา สหรัฐ สหภาพยุโรป (อียู) และองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ผลักดันให้มีการยุติการสู้รบระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่มีอิหร่านหนุนหลัง ซึ่งลุกลามกลายเป็นการทำสงครามอย่างเต็มรูปแบบเมื่อช่วงปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา
สำนักข่าว Axios เคยรายงานว่า ทั้งอิสราเอลและฮิซบอลเลาะห์ใกล้ที่จะบรรลุข้อตกลงหยุดยิงเป็นเวลา 60 วัน ซึ่งในช่วงดังกล่าวกองทัพอิสราเอลจะต้องถอนกำลังออกจากพื้นที่ทางตอนใต้ของเลบานอน และกลุ่มฮิซบอลเลาะห์จะต้องไม่เข้ามาอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวเช่นกัน รวมถึงฮิซบอลเลาะห์จะต้องถอนอาวุธหนักออกจากพื้นที่ทางตอนเหนือของแม่น้ำลิทานี ส่วนกองทัพเลบานอนจะนำกำลังกลับมาประจำอยู่ที่พรม