สวัสดีผู้อ่านทุกท่านครับ กระทู้นี้ขอใช้สิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอณาจักรไทย 2560
และกระทู้นี้ทำตามกฏกติกาที่ pantip ตั้งไว้ WM โปรดพิจารณาให้กระทู้นี้ได้คงอยู่
การเลือกสมาชิกสถาผู้แทนราษฎร ตามกติกาใหม่ล่าสุดนี้จะแบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบแบ่งเขต และแบบบัญชีรายชื่อ โดยมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิม จากสัดส่วน 375+125 เป็น 350+150 เท่ากับว่าเราจะมี ส.ส. ทั้ง 2 ระบบรวมกัน 500 ที่นั่ง
วันนี้เราจะลองมาคิดเล่นๆ กับกติกาใหม่ของการหา ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อ หรือปาร์ตี้ลิสต์กันดูครับ
การใช้ระบบเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม (mixed member apportionment system หรือ MMA) จะทำให้ทุกเสียงมีความหมายจริงหรือไม่ ?
หรือจะส่งผลให้พรรคการเมืองอ่อนแอ เกิดรัฐบาลผสมที่ไร้เสถียรภาพ มีโอกาสที่จะซื้อเสียงมากขึ้น และไม่สะท้อนเจตนารมณ์ของผู้ออกเสียง ?
กติกาการลงคะแนนในครั้งนี้กาครั้งเดียว ได้ทั้งคนได้ทั้งพรรค หรือบีบให้คนเลือกทั้งคนและพรรคไปในครั้งเดียวพร้อมๆกัน จากเดิมที่มีสองช่องให้กา เลือกตัว ส.ส. ในเขตของตัวเอง และกาช่องเลือกพรรคที่ตัวเองชอบในช่องเลือกพรรคเพื่อนำคะแนนไปคิดหาจำนวน ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อ คิดว่าหลายคนคงเคยได้ยินคำนี้ "เลือกคนที่รัก เลือกพรรคที่ชอบ" แต่ปัจจุบันจะกลายมาเป็นว่า ถ้ารักคนนี้จะต้องชอบพรรคนี้ด้วย ประมาณสำนวน Love Me Love My Dog
จาก iLAW
https://ilaw.or.th/node/4079
วิธีการนับจำนวนที่นั่ง ส.ส.ที่แต่พรรคการเมืองจะได้
(1) นำคะแนนรวมทั้งประเทศที่พรรคการเมืองทุกพรรคได้รับจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตหารด้วย 500 ซึ่งเป็นจำนวนทั้งหมดของ ส.ส.ทั้งสภา
จากรูป ทุกพรรคการเมืองมีคะแนนรวมกัน 40 ล้านเสียง ก็ให้นำมาหารด้วย 500 จะเท่ากับ 80,000
(2) นำผลลัพธ์ตาม (1) คือ 80,000 ไปหารจำนวนคะแนนรวมทั้งประเทศของแต่ละพรรคการเมืองที่ได้รับจากการเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตทุกเขต จำนวนที่ได้รับจะเป็นจำนวน ส.ส.ที่พรรคการเมืองจะมีได้
จากรูป พรรค ก ได้คะแนน 18 ล้านเสียง เมื่อนำ 80,000 ไปหาร ก็จะได้จำนวน ส.ส.ที่พรรคจะมีได้คือ จำนวน 225 คน
(3) นำจำนวน ส.ส.ที่พรรคการเมืองจะมีได้ ลบด้วยจำนวน ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งทั้งหมดที่พรรคการเมืองนั้นได้รับ ผลลัพธ์คือจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองนั้นจะได้รับ
จากรูป พรรค ก ได้ ส.ส.ทั้งหมด จำนวน 225 คน เมื่อลบกับ ส.ส.แบบแบ่งเขตที่มีจำนวน 200 คน พรรค ก จะได้ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่ออีก 25 คน
(4) ถ้าพรรคการเมืองใดได้ ส.ส.แบบแบ่งเขต เท่ากับหรือสูงกว่าจำนวน ส.ส.ที่พรรคการเมืองนั้นจะมีได้ ให้พรรคนั้นมี ส.ส.ตามจำนวนที่ได้รับจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต และไม่มีสิทธิได้รับการจัดสรร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ และให้นำจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ทั้งหมดไปจัดสรรให้แก่พรรคการเมืองที่มีจำนวน ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งต่ำกว่าจำนวน ส.ส.ที่พรรคการเมืองนั้นจะมีได้ตามอัตราส่วน แต่ต้องไม่มีผลให้พรรคการเมืองใดมี ส.ส.เกินจำนวนที่จะมีได้
สมมติว่า พรรค ช ได้ ส.ส.แบบแบ่งเขต 102 คน แต่พรรค ช มีจำนวน ส.ส.ที่ควรจะได้ 100 คน ซึ่งจำนวน ส.ส. แบบแบ่งเขตมากกว่าจำนวน ส.ส. ที่ควรจะได้ ดังนั้น พรรค ช จึงไม่มีสิทธิได้ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ
แล้วจะทำให้ทุกเสียงมีความหมายจริงหรือไม่ หรือว่าจะทำให้เสียงของคนที่ต้องการเลือกพรรคที่ชอบต้องหมดความหมายลงไปแทน หรือว่าผ่านการวิเคราะห์เชิงตัวเลขมาก่อนหน้านี้เพื่อสร้างความได้เปรียบให้กับขั้วการเมืองใดขั้วหนึ่ง ?
เราจะลองมาพิสูจน์สมมุติฐานนี้ดู จขกท จะลองยกตัวอย่างผลการเลือกตั้งมาสักปี เพื่อหาจำนวน ส.ส. ตามกติกา MMA นี้
ขออนุญาตยกตัวอย่างผลการเลือกตั้งของ ปี 2548 มาลองเข้าสูตรการหา ส.ส. ครั้งนี้ ว่าหากใช้หลักเกณฑ์ ส.ส. ที่พึงจะมีได้มาคิด จะมีผลต่างมากน้อยเพียงใด
ภาพผลการเลือกตั้งจากปี 2548 ตอนนั้นยังใช้แบบ 400+100 = 500 ที่นั่งอยู่ โดยมีการเลือกตั้งทั้งในระบบแบ่งเขต และบัญชีรายชื่อ
ตารางแสดงผลการเลือกตั้งปี 2548 ทั้ง 2 ระบบ
ตารางแสดงผลคะแนนที่แต่ละพรรคได้รับ
* หมายเหตุ&ข้อสังเกต จากกติกาเดิมเมื่อปี 2548 หากพรรคใดได้คะแนนปาร์ตี้ลิสต์ไม่ถึง 5% ของคะแนนเสียงรวมทั้งหมดจะไม่ถูกนำมาคิดในระบบ ส.ส.บัญชีรายชื่อ
เราลองมาอนุมานตาม รธน 2560 ว่ากาครั้งเดียว ได้ทั้งคนได้ทั้งพรรค แล้วลองมาแทนค่าคำนวณหากันดูครับ
จากตารางแสดงผลคะแนนที่แต่ละพรรคได้รับ
เรามาลองคิดพรรคแรกดูก่อน คือพรรคไทยรักไทย ที่ได้คะแนนมา 18,993,073 คะแนน (ท่านผู้อ่านลองกดเครื่องคิดเลขตามได้ครับ)
ทุกพรรคการเมืองมีคะแนนรวมกัน 31,048,223 ล้านเสียง ก็ให้นำมาหารด้วย 500 จะได้ตัวเลขที่เป็นค่าสัมประสิทธิ์เท่ากับ 62,096.45
นำ 62,096.45 และ คะแนนที่พรรคได้เป็นตัวตั้ง จะได้ ส.ส. ที่พึงจะมีได้ เท่ากับ 18,993,073/62,096.45 = 305.86 หรือประมาณ 306 คน
แต่ ส.ส. เขต ที่พรรคไทยรักไทยได้รับการคัดเลือกเข้ามาแล้วตามตารางแสดงผลการเลือกตั้งปี 2548 ทั้ง 2 ระบบ คือได้แบบแบ่งเขตมาแล้ว 310 ที่นั่ง มากกว่า ส.ส. ที่พึงจะมีได้คือ 306 ที่นั่ง จากกติกานี้ จะทำให้พรรคไทยรักไทย ณ ขณะนั้น ไม่ได้ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อแม้แต่ที่นั่งเดียว หัวหน้าพรรคพร้อมลูกพรรคเบอร์บัญชีต้นๆจะสอบตกกราวรูด หากไม่มาลงใน ส.ส. แบบแบ่งเขต ทั้งที่มีคะแนนเกือบสิบเก้าล้านเสียง ซึ่งดูจะขัดแย้งกับเจตนาที่บอกว่าทุกคะแนนเสียงมีความหมาย
ลองมาสุ่มตัวอย่างพรรคที่ 2 อย่างพรรคประชาธิปัตย์ดูบ้างครับ จากตารางได้คะแนนมา 7,210,742 คะแนน
7,210,742/62,096.45 จะได้ ส.ส. ที่พึงจะมีได้ 116 คน พรรคประชาธิปัตย์ชนะแบบแบ่งเขตมาแล้ว 70 เขต เพราะฉะนั้นจะได้ ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อทั้งหมด 116-70 = 46 คน
ขออนุญาตสุ่มตัวอย่างมาอีกสักพรรคคือพรรคอันดับ 3 พรรคชาติไทยได้ 2,061,559 คะแนน
2,061,559/62,096.45 จะได้ ส.ส. ที่พึงจะมีได้ 33 คน พรรคชาติไทยชนะแบบแบ่งเขตมาแล้ว 18 เขต เพราะฉะนั้นจะได้ ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อทั้งหมด 33-18 = 15 คน
ส่วนพรรคมหาชนแต้มอยู่ที่ 1,346,631/62,096.45 จะได้ ส.ส. ที่พึงจะมีได้จำนวน 22 คน ก็จะได้จำนวน ส.ส. ระบบบัญชีชายชื่อเท่ากับ 22 คน แม้ไม่ได้รับเลือกใน ส.ส. ระบบแบ่งเขตแม้แต่ที่นั่งเดียวก็ตาม
และพรรคอันดับ 4,5,6... หากมีคะแนนรวมจาก ส.ส. ทุกเขตเกิน 62,096 คะแนน ก็จะมีสิทธิ์ที่จะได้ที่นั่งในระบบบัญชีรายชื่อ แม้ว่าจะแพ้การเลือกตั้งในทุกเขตก็ตาม
สิ่งนี้หรือไม่ที่คือที่มาของทุกคะแนนเสียงมีความหมายของกติกานี้ แต่ดูๆไปก็เหมือนจะทิ้งคะแนนของผู้ที่ต้องการเลือกคนที่รักเลือกพรรคที่ชอบลงไปอีกเกือบครึ่งเช่นกัน ดูๆไปแล้วน่าจะไม่ได้มีความหมายในทุกคะแนนเสียงมากกว่าครับ
ในปี 2551 เราเปลี่ยนจากระบบแบ่งเขต-บัญชีรายชื่อ มาเป็นแบบ แบ่งเขต-สัดส่วน(8 บัญชี ลงสมัครใน 8 กลุ่มจังหวัด บัญชีละไม่เกิน 10 คน) คิดเป็น ส.ส.แบบแบ่งเขต 400 คน แบบสัดส่วน 80 คน รวมเป็น 480 คน แต่การนำมาคิดหา ส.ส. แบบสัดส่วน ยังใกล้เคียงกับส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อปี 2548 เปลี่ยนแปลงตรงที่นำคะแนนที่ไม่ถึงร้อยละ 5 ของคะแนนรวมทั้งหมดมาคิดด้วย ทุกพรรคจึงมีสิทธิ์เข้าเกณฑ์ในการร่วมคำนวณหาที่นั่ง
ในปี 2554 กลับมาใช้ระบบแบ่งเขตและบัญชีรายชื่อตามเดิม แต่เปลี่ยนเป็นจำนวน ส.ส. 2 ระบบรวมกัน 500 ที่นั่ง ในอัตราส่วน 375:125 เราลองมาพิสูจน์สมมุติฐานกันดูว่า หากนำกติกาใหม่มาใช้ในครั้งนั้น ผลจะเป็นอย่างไร
ตารางแสดงผลการเลือกตั้ง 2554
ขออนุญาตสุ่มเลือกจากลำดับต้นเรียงลงมา
เราต้องหาค่าสัมประสิทธิ์ที่นำมาคิดคะแนนก่อนเหมือนเดิม ด้วยการนำคะแนนรวมทั้งประเทศที่พรรคการเมืองทุกพรรคได้รับจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตหารด้วย 500 ซึ่งเป็นจำนวนทั้งหมดของ ส.ส.ทั้งสภา
จากตารางคะแนนรวมทั้งประเทศคือ 32,525,504 นำมาหาร 500 = 32,525,504/500 = 65,051
ขออนุญาตคิดรวมเลยทีเดียว โดยนำข้อมูลจากตารางมาคิด
พรรคเพื่อไทย 15,744,190/65,051 = ส.ส. ที่พึงจะมีได้คือ 242 ที่นั่ง หักลบ ส.ส.แบบแบ่งเขตจำนวน 204 ที่นั่ง แล้วเหลือ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อที่ได้ 38 ที่นั่ง (รวมคะแนน 2 ระบบน้อยกว่ากติกาแบบเดิมที่ได้ 265 ที่นั่งอยู่ 23 ที่นั่ง)
พรรคประชาธิปัตย์ 11,433,762/65,051 = ส.ส. ที่พึงจะมีได้คือ 175 ที่นั่ง หักลบ ส.ส.แบบแบ่งเขตจำนวน 115 ที่นั่ง แล้วเหลือ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อที่ได้ 60 ที่นั่ง (รวมคะแนน 2 ระบบมากกว่ากติกาแบบเดิมที่ได้ 159 ที่นั่งอยู่ 16 ที่นั่ง)
พรรคภูมิใจไทย 1,281,577/65,051 = ส.ส. ที่พึงจะมีได้คือ 20 ที่นั่ง แต่ ส.ส.แบบแบ่งเขตมีแล้วจำนวน 29 ที่นั่ง ทำให้ไม่ได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ (รวมคะแนน 2 ระบบน้อยกว่ากติกาแบบเดิมที่ได้ 34 ที่นั่งอยู่ 5 ที่นั่ง)
ชาติไทยพัฒนา 906,656/65,051 = ส.ส. ที่พึงจะมีได้คือ 14 ที่นั่ง แต่ ส.ส.แบบแบ่งเขตจำนวน 15 ที่นั่ง ทำให้ไม่ได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ (รวมคะแนน 2 ระบบน้อยกว่ากติกาแบบเดิมที่ได้ 19 ที่นั่งอยู่ 4 ที่นั่ง)
ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 494,894/65,051 = ส.ส. ที่พึงจะมีได้คือ 7 ที่นั่ง หักลบ ส.ส.แบบแบ่งเขตจำนวน 5 ที่นั่ง แล้วเหลือ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อที่ได้ 3 ที่นั่ง (รวมคะแนน 2 ระบบมากกว่ากติกาแบบเดิม 2 ที่นั่ง)
จากตาราง ไล่คำนวณคร่าวๆลงมา
พรรคพลังชล ไม่ได้ ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อ
พรรครักประเทศไทย ได้ 15 ที่นั่ง
พรรคมาตุภูมิ ได้ 3 ที่นั่ง
พรรครักษ์สันติได้ 4 ที่นั่ง
พรรคมหาชนได้ 2 ที่นั่ง
ประชาธิปไตยใหม่ 1 ที่นั่ง
ข้อสังเกตจากกติกานี้ จะต้องเกิดพรรคการเมืองลำดับ 4 5 6 7 ++ ขึ้นมาเพื่อดึงคะแนน ส.ส. จากเขตต่างๆเข้ามารวมให้ได้มากที่สุด โดยคะแนนรวมจากการเลือก ส.ส. ของพรรคทั่วประเทศ หากคะแนนถึง 65,051 คะแนน ก็มีสิทธิ์ที่จะได้ที่นั่งในสภา แต่ในขณะเดียวกันคะแนนอีกหลายล้านคะแนนก็จะถูกปล่อยผ่านด้วยกติกา ส.ส. ที่พึงจะมีได้
พรรคการเมืองสไตล์พรรครักประเทศไทยของคุณชูวิทย์ หรือพรรครักษ์สันติ ของ ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ที่เคยได้คะแนนจาก "เลือกคนที่รัก เลือกพรรคที่ชอบ" จะหมดไป และจะกลายเป็นพรรครับดับกลางๆลงมาที่มีปัจจัยพอที่จะส่งผู้สมัครลงแข่งขันตามเขตต่างๆให้ได้มากที่สุด ยกตัวอย่างเช่น พรรครวมพลังประชาชาติไทย ของคุณสุเทพ เทือกสุบรรณ หรือ พรรคประชาชนปฏิรูป ของคุณไพบูลย์ นิติตะวัน เป็นต้น หรือแม้กระทั่งพรรคทางเลือกอันดับ 3 4 5 อย่าง พรรคภูมิใจไทย ชาติไทยพัฒนา ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ที่มีปัจจัยเพียงพอที่จะส่งผู้สมัครลงแข่งขันในจำนวนเขตที่เพิ่มขึ้น โดยเป้าหมายคือเพื่อดึงคะแนนรวมเข้ามาให้ได้มากที่สุดเพื่อให้ได้ ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อให้ได้มากกว่าเดิม และตามกติกาใหม่นี้สัดส่วนของระบบบัญชีรายชื่อจะมีเพิ่มขึ้นจากเดิมเป็น 350:150
ย้อนกลับไปที่คำถามว่าตามกติกานี้จะทำให้ทุกเสียงมีความหมายจริงหรือไม่? คำตอบคือมีทั้งจริงและไม่จริง จริงคือแม้แพ้เลือกตั้งมาทุกเขตแต่พรรคลงสมัครหลายเขตก็มีสิทธิ์ที่จะได้ที่นั่ง ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์หลายที่นั่งได้ ในทางกลับกันยกตัวอย่างเช่นพรรคที่ได้คะแนนรวมจากทั่วประเทศเป็นอันดับหนึ่งนั้นกลับไม่ได้จำนวนปาร์ตี้ลิสต์มากเท่าที่ควรจะเป็น ที่หนักสุดก็พรรคไทยรักไทยของคุณทักษิณ ถ้าเจอกติกานี้ตั้งแต่ตอนนั้น คุณทักษิณอาจสอบตกไปเลยก็ได้หากไม่ยอมไปลง ส.ส.เขต กติกานี้กลายเป็นว่าพรรคที่ได้ประโยชน์สูงสุดคือพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคตัวเลือกอันดับ 4 5 6 ++
พื้นที่เต็ม พบกันใหม่กระทู้หน้าครับ
The Mario 2 มิ.ย. 2561
กติกาเลือกตั้ง ส.ส. (mixed member apportionment system หรือ MMA) จะทำให้ทุกเสียงมีความหมายจริงหรือไม่? by The Mario
และกระทู้นี้ทำตามกฏกติกาที่ pantip ตั้งไว้ WM โปรดพิจารณาให้กระทู้นี้ได้คงอยู่
การเลือกสมาชิกสถาผู้แทนราษฎร ตามกติกาใหม่ล่าสุดนี้จะแบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบแบ่งเขต และแบบบัญชีรายชื่อ โดยมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิม จากสัดส่วน 375+125 เป็น 350+150 เท่ากับว่าเราจะมี ส.ส. ทั้ง 2 ระบบรวมกัน 500 ที่นั่ง
วันนี้เราจะลองมาคิดเล่นๆ กับกติกาใหม่ของการหา ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อ หรือปาร์ตี้ลิสต์กันดูครับ
การใช้ระบบเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม (mixed member apportionment system หรือ MMA) จะทำให้ทุกเสียงมีความหมายจริงหรือไม่ ?
หรือจะส่งผลให้พรรคการเมืองอ่อนแอ เกิดรัฐบาลผสมที่ไร้เสถียรภาพ มีโอกาสที่จะซื้อเสียงมากขึ้น และไม่สะท้อนเจตนารมณ์ของผู้ออกเสียง ?
กติกาการลงคะแนนในครั้งนี้กาครั้งเดียว ได้ทั้งคนได้ทั้งพรรค หรือบีบให้คนเลือกทั้งคนและพรรคไปในครั้งเดียวพร้อมๆกัน จากเดิมที่มีสองช่องให้กา เลือกตัว ส.ส. ในเขตของตัวเอง และกาช่องเลือกพรรคที่ตัวเองชอบในช่องเลือกพรรคเพื่อนำคะแนนไปคิดหาจำนวน ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อ คิดว่าหลายคนคงเคยได้ยินคำนี้ "เลือกคนที่รัก เลือกพรรคที่ชอบ" แต่ปัจจุบันจะกลายมาเป็นว่า ถ้ารักคนนี้จะต้องชอบพรรคนี้ด้วย ประมาณสำนวน Love Me Love My Dog
จาก iLAW https://ilaw.or.th/node/4079
วิธีการนับจำนวนที่นั่ง ส.ส.ที่แต่พรรคการเมืองจะได้
(1) นำคะแนนรวมทั้งประเทศที่พรรคการเมืองทุกพรรคได้รับจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตหารด้วย 500 ซึ่งเป็นจำนวนทั้งหมดของ ส.ส.ทั้งสภา
จากรูป ทุกพรรคการเมืองมีคะแนนรวมกัน 40 ล้านเสียง ก็ให้นำมาหารด้วย 500 จะเท่ากับ 80,000
(2) นำผลลัพธ์ตาม (1) คือ 80,000 ไปหารจำนวนคะแนนรวมทั้งประเทศของแต่ละพรรคการเมืองที่ได้รับจากการเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตทุกเขต จำนวนที่ได้รับจะเป็นจำนวน ส.ส.ที่พรรคการเมืองจะมีได้
จากรูป พรรค ก ได้คะแนน 18 ล้านเสียง เมื่อนำ 80,000 ไปหาร ก็จะได้จำนวน ส.ส.ที่พรรคจะมีได้คือ จำนวน 225 คน
(3) นำจำนวน ส.ส.ที่พรรคการเมืองจะมีได้ ลบด้วยจำนวน ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งทั้งหมดที่พรรคการเมืองนั้นได้รับ ผลลัพธ์คือจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองนั้นจะได้รับ
จากรูป พรรค ก ได้ ส.ส.ทั้งหมด จำนวน 225 คน เมื่อลบกับ ส.ส.แบบแบ่งเขตที่มีจำนวน 200 คน พรรค ก จะได้ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่ออีก 25 คน
(4) ถ้าพรรคการเมืองใดได้ ส.ส.แบบแบ่งเขต เท่ากับหรือสูงกว่าจำนวน ส.ส.ที่พรรคการเมืองนั้นจะมีได้ ให้พรรคนั้นมี ส.ส.ตามจำนวนที่ได้รับจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต และไม่มีสิทธิได้รับการจัดสรร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ และให้นำจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ทั้งหมดไปจัดสรรให้แก่พรรคการเมืองที่มีจำนวน ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งต่ำกว่าจำนวน ส.ส.ที่พรรคการเมืองนั้นจะมีได้ตามอัตราส่วน แต่ต้องไม่มีผลให้พรรคการเมืองใดมี ส.ส.เกินจำนวนที่จะมีได้
สมมติว่า พรรค ช ได้ ส.ส.แบบแบ่งเขต 102 คน แต่พรรค ช มีจำนวน ส.ส.ที่ควรจะได้ 100 คน ซึ่งจำนวน ส.ส. แบบแบ่งเขตมากกว่าจำนวน ส.ส. ที่ควรจะได้ ดังนั้น พรรค ช จึงไม่มีสิทธิได้ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ
แล้วจะทำให้ทุกเสียงมีความหมายจริงหรือไม่ หรือว่าจะทำให้เสียงของคนที่ต้องการเลือกพรรคที่ชอบต้องหมดความหมายลงไปแทน หรือว่าผ่านการวิเคราะห์เชิงตัวเลขมาก่อนหน้านี้เพื่อสร้างความได้เปรียบให้กับขั้วการเมืองใดขั้วหนึ่ง ?
เราจะลองมาพิสูจน์สมมุติฐานนี้ดู จขกท จะลองยกตัวอย่างผลการเลือกตั้งมาสักปี เพื่อหาจำนวน ส.ส. ตามกติกา MMA นี้
ขออนุญาตยกตัวอย่างผลการเลือกตั้งของ ปี 2548 มาลองเข้าสูตรการหา ส.ส. ครั้งนี้ ว่าหากใช้หลักเกณฑ์ ส.ส. ที่พึงจะมีได้มาคิด จะมีผลต่างมากน้อยเพียงใด
ภาพผลการเลือกตั้งจากปี 2548 ตอนนั้นยังใช้แบบ 400+100 = 500 ที่นั่งอยู่ โดยมีการเลือกตั้งทั้งในระบบแบ่งเขต และบัญชีรายชื่อ
ตารางแสดงผลการเลือกตั้งปี 2548 ทั้ง 2 ระบบ
ตารางแสดงผลคะแนนที่แต่ละพรรคได้รับ
* หมายเหตุ&ข้อสังเกต จากกติกาเดิมเมื่อปี 2548 หากพรรคใดได้คะแนนปาร์ตี้ลิสต์ไม่ถึง 5% ของคะแนนเสียงรวมทั้งหมดจะไม่ถูกนำมาคิดในระบบ ส.ส.บัญชีรายชื่อ
เราลองมาอนุมานตาม รธน 2560 ว่ากาครั้งเดียว ได้ทั้งคนได้ทั้งพรรค แล้วลองมาแทนค่าคำนวณหากันดูครับ
จากตารางแสดงผลคะแนนที่แต่ละพรรคได้รับ
เรามาลองคิดพรรคแรกดูก่อน คือพรรคไทยรักไทย ที่ได้คะแนนมา 18,993,073 คะแนน (ท่านผู้อ่านลองกดเครื่องคิดเลขตามได้ครับ)
ทุกพรรคการเมืองมีคะแนนรวมกัน 31,048,223 ล้านเสียง ก็ให้นำมาหารด้วย 500 จะได้ตัวเลขที่เป็นค่าสัมประสิทธิ์เท่ากับ 62,096.45
นำ 62,096.45 และ คะแนนที่พรรคได้เป็นตัวตั้ง จะได้ ส.ส. ที่พึงจะมีได้ เท่ากับ 18,993,073/62,096.45 = 305.86 หรือประมาณ 306 คน
แต่ ส.ส. เขต ที่พรรคไทยรักไทยได้รับการคัดเลือกเข้ามาแล้วตามตารางแสดงผลการเลือกตั้งปี 2548 ทั้ง 2 ระบบ คือได้แบบแบ่งเขตมาแล้ว 310 ที่นั่ง มากกว่า ส.ส. ที่พึงจะมีได้คือ 306 ที่นั่ง จากกติกานี้ จะทำให้พรรคไทยรักไทย ณ ขณะนั้น ไม่ได้ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อแม้แต่ที่นั่งเดียว หัวหน้าพรรคพร้อมลูกพรรคเบอร์บัญชีต้นๆจะสอบตกกราวรูด หากไม่มาลงใน ส.ส. แบบแบ่งเขต ทั้งที่มีคะแนนเกือบสิบเก้าล้านเสียง ซึ่งดูจะขัดแย้งกับเจตนาที่บอกว่าทุกคะแนนเสียงมีความหมาย
ลองมาสุ่มตัวอย่างพรรคที่ 2 อย่างพรรคประชาธิปัตย์ดูบ้างครับ จากตารางได้คะแนนมา 7,210,742 คะแนน
7,210,742/62,096.45 จะได้ ส.ส. ที่พึงจะมีได้ 116 คน พรรคประชาธิปัตย์ชนะแบบแบ่งเขตมาแล้ว 70 เขต เพราะฉะนั้นจะได้ ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อทั้งหมด 116-70 = 46 คน
ขออนุญาตสุ่มตัวอย่างมาอีกสักพรรคคือพรรคอันดับ 3 พรรคชาติไทยได้ 2,061,559 คะแนน
2,061,559/62,096.45 จะได้ ส.ส. ที่พึงจะมีได้ 33 คน พรรคชาติไทยชนะแบบแบ่งเขตมาแล้ว 18 เขต เพราะฉะนั้นจะได้ ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อทั้งหมด 33-18 = 15 คน
ส่วนพรรคมหาชนแต้มอยู่ที่ 1,346,631/62,096.45 จะได้ ส.ส. ที่พึงจะมีได้จำนวน 22 คน ก็จะได้จำนวน ส.ส. ระบบบัญชีชายชื่อเท่ากับ 22 คน แม้ไม่ได้รับเลือกใน ส.ส. ระบบแบ่งเขตแม้แต่ที่นั่งเดียวก็ตาม
และพรรคอันดับ 4,5,6... หากมีคะแนนรวมจาก ส.ส. ทุกเขตเกิน 62,096 คะแนน ก็จะมีสิทธิ์ที่จะได้ที่นั่งในระบบบัญชีรายชื่อ แม้ว่าจะแพ้การเลือกตั้งในทุกเขตก็ตาม
สิ่งนี้หรือไม่ที่คือที่มาของทุกคะแนนเสียงมีความหมายของกติกานี้ แต่ดูๆไปก็เหมือนจะทิ้งคะแนนของผู้ที่ต้องการเลือกคนที่รักเลือกพรรคที่ชอบลงไปอีกเกือบครึ่งเช่นกัน ดูๆไปแล้วน่าจะไม่ได้มีความหมายในทุกคะแนนเสียงมากกว่าครับ
ในปี 2551 เราเปลี่ยนจากระบบแบ่งเขต-บัญชีรายชื่อ มาเป็นแบบ แบ่งเขต-สัดส่วน(8 บัญชี ลงสมัครใน 8 กลุ่มจังหวัด บัญชีละไม่เกิน 10 คน) คิดเป็น ส.ส.แบบแบ่งเขต 400 คน แบบสัดส่วน 80 คน รวมเป็น 480 คน แต่การนำมาคิดหา ส.ส. แบบสัดส่วน ยังใกล้เคียงกับส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อปี 2548 เปลี่ยนแปลงตรงที่นำคะแนนที่ไม่ถึงร้อยละ 5 ของคะแนนรวมทั้งหมดมาคิดด้วย ทุกพรรคจึงมีสิทธิ์เข้าเกณฑ์ในการร่วมคำนวณหาที่นั่ง
ในปี 2554 กลับมาใช้ระบบแบ่งเขตและบัญชีรายชื่อตามเดิม แต่เปลี่ยนเป็นจำนวน ส.ส. 2 ระบบรวมกัน 500 ที่นั่ง ในอัตราส่วน 375:125 เราลองมาพิสูจน์สมมุติฐานกันดูว่า หากนำกติกาใหม่มาใช้ในครั้งนั้น ผลจะเป็นอย่างไร
ตารางแสดงผลการเลือกตั้ง 2554
ขออนุญาตสุ่มเลือกจากลำดับต้นเรียงลงมา
เราต้องหาค่าสัมประสิทธิ์ที่นำมาคิดคะแนนก่อนเหมือนเดิม ด้วยการนำคะแนนรวมทั้งประเทศที่พรรคการเมืองทุกพรรคได้รับจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตหารด้วย 500 ซึ่งเป็นจำนวนทั้งหมดของ ส.ส.ทั้งสภา
จากตารางคะแนนรวมทั้งประเทศคือ 32,525,504 นำมาหาร 500 = 32,525,504/500 = 65,051
ขออนุญาตคิดรวมเลยทีเดียว โดยนำข้อมูลจากตารางมาคิด
พรรคเพื่อไทย 15,744,190/65,051 = ส.ส. ที่พึงจะมีได้คือ 242 ที่นั่ง หักลบ ส.ส.แบบแบ่งเขตจำนวน 204 ที่นั่ง แล้วเหลือ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อที่ได้ 38 ที่นั่ง (รวมคะแนน 2 ระบบน้อยกว่ากติกาแบบเดิมที่ได้ 265 ที่นั่งอยู่ 23 ที่นั่ง)
พรรคประชาธิปัตย์ 11,433,762/65,051 = ส.ส. ที่พึงจะมีได้คือ 175 ที่นั่ง หักลบ ส.ส.แบบแบ่งเขตจำนวน 115 ที่นั่ง แล้วเหลือ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อที่ได้ 60 ที่นั่ง (รวมคะแนน 2 ระบบมากกว่ากติกาแบบเดิมที่ได้ 159 ที่นั่งอยู่ 16 ที่นั่ง)
พรรคภูมิใจไทย 1,281,577/65,051 = ส.ส. ที่พึงจะมีได้คือ 20 ที่นั่ง แต่ ส.ส.แบบแบ่งเขตมีแล้วจำนวน 29 ที่นั่ง ทำให้ไม่ได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ (รวมคะแนน 2 ระบบน้อยกว่ากติกาแบบเดิมที่ได้ 34 ที่นั่งอยู่ 5 ที่นั่ง)
ชาติไทยพัฒนา 906,656/65,051 = ส.ส. ที่พึงจะมีได้คือ 14 ที่นั่ง แต่ ส.ส.แบบแบ่งเขตจำนวน 15 ที่นั่ง ทำให้ไม่ได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ (รวมคะแนน 2 ระบบน้อยกว่ากติกาแบบเดิมที่ได้ 19 ที่นั่งอยู่ 4 ที่นั่ง)
ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 494,894/65,051 = ส.ส. ที่พึงจะมีได้คือ 7 ที่นั่ง หักลบ ส.ส.แบบแบ่งเขตจำนวน 5 ที่นั่ง แล้วเหลือ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อที่ได้ 3 ที่นั่ง (รวมคะแนน 2 ระบบมากกว่ากติกาแบบเดิม 2 ที่นั่ง)
จากตาราง ไล่คำนวณคร่าวๆลงมา
พรรคพลังชล ไม่ได้ ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อ
พรรครักประเทศไทย ได้ 15 ที่นั่ง
พรรคมาตุภูมิ ได้ 3 ที่นั่ง
พรรครักษ์สันติได้ 4 ที่นั่ง
พรรคมหาชนได้ 2 ที่นั่ง
ประชาธิปไตยใหม่ 1 ที่นั่ง
ข้อสังเกตจากกติกานี้ จะต้องเกิดพรรคการเมืองลำดับ 4 5 6 7 ++ ขึ้นมาเพื่อดึงคะแนน ส.ส. จากเขตต่างๆเข้ามารวมให้ได้มากที่สุด โดยคะแนนรวมจากการเลือก ส.ส. ของพรรคทั่วประเทศ หากคะแนนถึง 65,051 คะแนน ก็มีสิทธิ์ที่จะได้ที่นั่งในสภา แต่ในขณะเดียวกันคะแนนอีกหลายล้านคะแนนก็จะถูกปล่อยผ่านด้วยกติกา ส.ส. ที่พึงจะมีได้
พรรคการเมืองสไตล์พรรครักประเทศไทยของคุณชูวิทย์ หรือพรรครักษ์สันติ ของ ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ที่เคยได้คะแนนจาก "เลือกคนที่รัก เลือกพรรคที่ชอบ" จะหมดไป และจะกลายเป็นพรรครับดับกลางๆลงมาที่มีปัจจัยพอที่จะส่งผู้สมัครลงแข่งขันตามเขตต่างๆให้ได้มากที่สุด ยกตัวอย่างเช่น พรรครวมพลังประชาชาติไทย ของคุณสุเทพ เทือกสุบรรณ หรือ พรรคประชาชนปฏิรูป ของคุณไพบูลย์ นิติตะวัน เป็นต้น หรือแม้กระทั่งพรรคทางเลือกอันดับ 3 4 5 อย่าง พรรคภูมิใจไทย ชาติไทยพัฒนา ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ที่มีปัจจัยเพียงพอที่จะส่งผู้สมัครลงแข่งขันในจำนวนเขตที่เพิ่มขึ้น โดยเป้าหมายคือเพื่อดึงคะแนนรวมเข้ามาให้ได้มากที่สุดเพื่อให้ได้ ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อให้ได้มากกว่าเดิม และตามกติกาใหม่นี้สัดส่วนของระบบบัญชีรายชื่อจะมีเพิ่มขึ้นจากเดิมเป็น 350:150
ย้อนกลับไปที่คำถามว่าตามกติกานี้จะทำให้ทุกเสียงมีความหมายจริงหรือไม่? คำตอบคือมีทั้งจริงและไม่จริง จริงคือแม้แพ้เลือกตั้งมาทุกเขตแต่พรรคลงสมัครหลายเขตก็มีสิทธิ์ที่จะได้ที่นั่ง ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์หลายที่นั่งได้ ในทางกลับกันยกตัวอย่างเช่นพรรคที่ได้คะแนนรวมจากทั่วประเทศเป็นอันดับหนึ่งนั้นกลับไม่ได้จำนวนปาร์ตี้ลิสต์มากเท่าที่ควรจะเป็น ที่หนักสุดก็พรรคไทยรักไทยของคุณทักษิณ ถ้าเจอกติกานี้ตั้งแต่ตอนนั้น คุณทักษิณอาจสอบตกไปเลยก็ได้หากไม่ยอมไปลง ส.ส.เขต กติกานี้กลายเป็นว่าพรรคที่ได้ประโยชน์สูงสุดคือพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคตัวเลือกอันดับ 4 5 6 ++
พื้นที่เต็ม พบกันใหม่กระทู้หน้าครับ
The Mario 2 มิ.ย. 2561