การโน้มน้อมจิต คือทำอย่างไร
ผมเคยอ่าน กระทู้เก่าๆ น่าสนใจเลยทีเดียว เลยอยากนำมารีวิวใหม่
ก่อนอื่นผมขอเสนอความคิดเห็นของผมก่อน ถึงแม้ว่าจะเป็นความคิดเห็นที่ไม่เลิศสักเท่าไหร่ อย่างน้อยก็นำร่องให้คนมาตรวจทานได้ ผิดถูกก็เสวนากันได้เต็มที่
ผมเคยสงสัยว่าทำไม คนที่ทำฌานได้นอกศาสนาจึงไม่บรรลุ ก็เพราะ จุดเลี้ยวคือการ โน้มน้อมจิต นั้นเอง
ลองมาอ่านพระสูตรนี้ดู เมื่อภิกษุ ทำฌานได้ แล้ว ก็โน้มน้อมจิต เพื่อให้เกิด อาสวักขยญาณ ตรงนี้คือจุดเลี้ยว ที่พวกนักพรตนอกศาสนา ไม่ได้ทำเพราะไม่เข้าใจอริยสัจจ์สี่
"[๑๓๘] ภิกษุนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อม
โน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ
ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้
อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อม
หลุดพ้นแม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณว่า
หลุดพ้นแล้ว. รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี."
การโน้มน้อมจิต คืออะไร
ถ้าเรามาศึกษาเรื่องจิต ในกลุ่มคนดูจิต จะเห็นชัดเจนเรื่องที่จิตคิดเองได้ อย่างอัตโนมัติ
คำว่า ตน และขันธ์ห้าเกี่ยวข้องกันอย่างไร
“ ข. อาวุโส อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว คือ รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ
วิญญาณูปาทานขันธ์ ผมไม่พิจารณาเห็นอะไรๆ ในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ นี้ว่า เป็นตน หรือว่ามี
ในตน.”
จิต ก็อยู่ในขันธ์ห้า จิตมิได้เป็นตน และว่ามีจิตในตน แล้ว คำว่าตนมีหรือเปล่าละ ก็มีสิครับ มีทั้งตน และขันธ์ห้า เพียงแต่ ตนไม่ใช่จิต และจิตไม่ใช่ตน
จิตสามารถ ทำงานได้สองอย่าง คือ ทำตามที่ตนบังคับ และทำได้โดยที่ตนไม่บังคับ
ยกตัวอย่าง เช่น การใจลอย ขณะจิตโกรธ เราก็จะเห็นจิตทำงานเป็นอัตโนมัติ ตื่นตอนเช้า อย่าพึ่งลุกจากที่นอน ท่านจะเห็นจิตมันคิดของมันเรื่อยเปื่อย ที่เราเรียกใจลอย นั้นแหละ
ส่วนจิตทำงานตามคำสั่งตน เช่น การบังคับจิตให้ มีสติอยู่กับลมหายใจเป็นต้น การตั้งใจทำงานต่างๆก็ล้วนที่ตนบังคับจิตทำทั้งสิ้น
ในหนังสือ วิสุทธิมรรค ท่านอุปมาเรื่องการทำสมาธิด้วยอานาปานสติว่า จิตอุปมาเหมือน วัวที่ถูกล่ามกับหลัก คือลมหายใจ ตอนแรกๆ วัว มันเคยมีอิสระเที่ยวไปเรื่อยเปื่อย พอถูกล่ามก็จะดิ้นรนต่อสู้กับหลัก สักพักก็จะนิ่งถ้าบังคับได้สำเร็จ
การโน้มน้อมจิต ก็คือผู้น้อมก็คือตน นั้นเอง จิตไม่สามารถทำงานอัตโนมัติของมันได้หรอก
การโน้มน้อมจิตให้ เกิดอาสวักขยญาณ
อาสวักขยญาณ คือการเห็นด้วยญาณ ดังนั้น สิ่งที่เกิดขึ้น ตัวญาณต้องเกิดด้วย ถ้ายังไม่เกิดญาณ ก็จะน้อมได้อย่างไร ดังนั้นการภาวนา ต้องภาวนาให้เกิดญาณด้วย
ญาณคืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร
ถ้าภาวนาด้วยอานาปานสติ มีสติ ที่ต่อเนื่อง ก็จะกลายเป็นสมาธิ
สัมปชัญญะที่ต่อเนื่อง ก็จะกลายไปเป็นญาณ ดังนั้นถ้าภาวนาจนจิตเป็นสมาธิ ตัวญาณก็เกิดตามเพราะ ทุกครั้งที่มีสติ ต้องตามด้วยสัมปชัญญะเสมอ แต่ถ้าภาวนาด้วยมีสติล้วน เช่นการเพ่งกสิณ จะไม่มี ญาณเกิดเลย เพราะไม่ได้ทำให้สัมปชัญญะเกิดตาม
ตน, นิพพานธาตุ ก็คือสิ่งเดียวกัน สัมปชัญญะ และญาณ ก็คือกริยาของ นิพพานธาตุนั้นเอง
เมือเกิดญาณ ก็โน้มน้อมจิต คือให้จิตคิด ให้ญาณรู้ คือป้อนข้อมูลให้ญาณรู้ ตรงนี้แหละผมคิดว่านะอาจไม่ถูกก็ได้ จิตจะใคร่ครวญ เกี่ยวกับ อริยสัจจ์สี่ กลับไปกลับมาให้ตัวญาณเพื่อให้ญาณรู้ตามที่จิตป้อนให้ฟัง
เมือเกิดอสวักขยญาณ ก็เรียกว่าตรัสรู้ธรรม
เมือตนรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกิเลส
เมื่อหลุดพ้นแล้ว มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว
จะเห็นว่า สิ่งที่หลุดพ้นก็คือตน นั้นเอง จิตหลุดพ้นกิเลส ไปโดยอัตโนมัติ
เหมือน ลูกน้องเมื่อขาดเจ้าพ่อเป็นแบคอับ ก็ไม่กล้ากร่างต่อไป ประมาณนั้น
การโน้มน้อมจิต ก็คือการคิดครวญถึงข้อมูลที่จะป้อนให้กับตัว ญาณ นั้นเอง ซึ่งการคิดนี้ ตนเป็นผู้บังคับให้จิตคิด
ถ้าเราไม่สามารถทำฌานได้ ถ้าเราภาวนา ให้เกิดสมาธิอ่อนๆ พร้อมกับมี สัมปชัญญะที่ต่อเนื่องพอควร การน้อมโน้มจิต ตามพระสูตร ผมคิดว่า อาจได้ผลก็ได้ ถ้าไม่ลองไม่รู้
สุดท้ายถึงผมจะบอกว่า ตนกับนิพพานธาตุเป็นสิ่งเดียวกัน ผมไม่เกี่ยวกับธรรมกายนะครับ นิพพานธาตุก็เป็น อนัตตานั้นแหละ คำว่าตน ผมยืมมาเรียกเท่านั้น
การโน้มน้อมจิต คือทำอย่างไร
ผมเคยอ่าน กระทู้เก่าๆ น่าสนใจเลยทีเดียว เลยอยากนำมารีวิวใหม่
ก่อนอื่นผมขอเสนอความคิดเห็นของผมก่อน ถึงแม้ว่าจะเป็นความคิดเห็นที่ไม่เลิศสักเท่าไหร่ อย่างน้อยก็นำร่องให้คนมาตรวจทานได้ ผิดถูกก็เสวนากันได้เต็มที่
ผมเคยสงสัยว่าทำไม คนที่ทำฌานได้นอกศาสนาจึงไม่บรรลุ ก็เพราะ จุดเลี้ยวคือการ โน้มน้อมจิต นั้นเอง
ลองมาอ่านพระสูตรนี้ดู เมื่อภิกษุ ทำฌานได้ แล้ว ก็โน้มน้อมจิต เพื่อให้เกิด อาสวักขยญาณ ตรงนี้คือจุดเลี้ยว ที่พวกนักพรตนอกศาสนา ไม่ได้ทำเพราะไม่เข้าใจอริยสัจจ์สี่
"[๑๓๘] ภิกษุนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ
ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้
อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อม
หลุดพ้นแม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณว่า
หลุดพ้นแล้ว. รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี."
การโน้มน้อมจิต คืออะไร
ถ้าเรามาศึกษาเรื่องจิต ในกลุ่มคนดูจิต จะเห็นชัดเจนเรื่องที่จิตคิดเองได้ อย่างอัตโนมัติ
คำว่า ตน และขันธ์ห้าเกี่ยวข้องกันอย่างไร
“ ข. อาวุโส อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว คือ รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ
วิญญาณูปาทานขันธ์ ผมไม่พิจารณาเห็นอะไรๆ ในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ นี้ว่า เป็นตน หรือว่ามี
ในตน.”
จิต ก็อยู่ในขันธ์ห้า จิตมิได้เป็นตน และว่ามีจิตในตน แล้ว คำว่าตนมีหรือเปล่าละ ก็มีสิครับ มีทั้งตน และขันธ์ห้า เพียงแต่ ตนไม่ใช่จิต และจิตไม่ใช่ตน
จิตสามารถ ทำงานได้สองอย่าง คือ ทำตามที่ตนบังคับ และทำได้โดยที่ตนไม่บังคับ
ยกตัวอย่าง เช่น การใจลอย ขณะจิตโกรธ เราก็จะเห็นจิตทำงานเป็นอัตโนมัติ ตื่นตอนเช้า อย่าพึ่งลุกจากที่นอน ท่านจะเห็นจิตมันคิดของมันเรื่อยเปื่อย ที่เราเรียกใจลอย นั้นแหละ
ส่วนจิตทำงานตามคำสั่งตน เช่น การบังคับจิตให้ มีสติอยู่กับลมหายใจเป็นต้น การตั้งใจทำงานต่างๆก็ล้วนที่ตนบังคับจิตทำทั้งสิ้น
ในหนังสือ วิสุทธิมรรค ท่านอุปมาเรื่องการทำสมาธิด้วยอานาปานสติว่า จิตอุปมาเหมือน วัวที่ถูกล่ามกับหลัก คือลมหายใจ ตอนแรกๆ วัว มันเคยมีอิสระเที่ยวไปเรื่อยเปื่อย พอถูกล่ามก็จะดิ้นรนต่อสู้กับหลัก สักพักก็จะนิ่งถ้าบังคับได้สำเร็จ
การโน้มน้อมจิต ก็คือผู้น้อมก็คือตน นั้นเอง จิตไม่สามารถทำงานอัตโนมัติของมันได้หรอก
การโน้มน้อมจิตให้ เกิดอาสวักขยญาณ
อาสวักขยญาณ คือการเห็นด้วยญาณ ดังนั้น สิ่งที่เกิดขึ้น ตัวญาณต้องเกิดด้วย ถ้ายังไม่เกิดญาณ ก็จะน้อมได้อย่างไร ดังนั้นการภาวนา ต้องภาวนาให้เกิดญาณด้วย
ญาณคืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร
ถ้าภาวนาด้วยอานาปานสติ มีสติ ที่ต่อเนื่อง ก็จะกลายเป็นสมาธิ
สัมปชัญญะที่ต่อเนื่อง ก็จะกลายไปเป็นญาณ ดังนั้นถ้าภาวนาจนจิตเป็นสมาธิ ตัวญาณก็เกิดตามเพราะ ทุกครั้งที่มีสติ ต้องตามด้วยสัมปชัญญะเสมอ แต่ถ้าภาวนาด้วยมีสติล้วน เช่นการเพ่งกสิณ จะไม่มี ญาณเกิดเลย เพราะไม่ได้ทำให้สัมปชัญญะเกิดตาม
ตน, นิพพานธาตุ ก็คือสิ่งเดียวกัน สัมปชัญญะ และญาณ ก็คือกริยาของ นิพพานธาตุนั้นเอง
เมือเกิดญาณ ก็โน้มน้อมจิต คือให้จิตคิด ให้ญาณรู้ คือป้อนข้อมูลให้ญาณรู้ ตรงนี้แหละผมคิดว่านะอาจไม่ถูกก็ได้ จิตจะใคร่ครวญ เกี่ยวกับ อริยสัจจ์สี่ กลับไปกลับมาให้ตัวญาณเพื่อให้ญาณรู้ตามที่จิตป้อนให้ฟัง
เมือเกิดอสวักขยญาณ ก็เรียกว่าตรัสรู้ธรรม
เมือตนรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกิเลส
เมื่อหลุดพ้นแล้ว มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว
จะเห็นว่า สิ่งที่หลุดพ้นก็คือตน นั้นเอง จิตหลุดพ้นกิเลส ไปโดยอัตโนมัติ
เหมือน ลูกน้องเมื่อขาดเจ้าพ่อเป็นแบคอับ ก็ไม่กล้ากร่างต่อไป ประมาณนั้น
การโน้มน้อมจิต ก็คือการคิดครวญถึงข้อมูลที่จะป้อนให้กับตัว ญาณ นั้นเอง ซึ่งการคิดนี้ ตนเป็นผู้บังคับให้จิตคิด
ถ้าเราไม่สามารถทำฌานได้ ถ้าเราภาวนา ให้เกิดสมาธิอ่อนๆ พร้อมกับมี สัมปชัญญะที่ต่อเนื่องพอควร การน้อมโน้มจิต ตามพระสูตร ผมคิดว่า อาจได้ผลก็ได้ ถ้าไม่ลองไม่รู้
สุดท้ายถึงผมจะบอกว่า ตนกับนิพพานธาตุเป็นสิ่งเดียวกัน ผมไม่เกี่ยวกับธรรมกายนะครับ นิพพานธาตุก็เป็น อนัตตานั้นแหละ คำว่าตน ผมยืมมาเรียกเท่านั้น