หน้าต่างผู้โดยสารของเครื่องบินนี่กัน UV มั้ยคะ

ช่วงนี้นั่งเครื่องบินค่อนข้างถี่ แถมยังต้องนั่งข้างหน้าต่างอีก เลยซึ้งกับความแรงของแดดจนแทบอยากสลายร่าง เลยอยากทราบว่าเครื่องบินเค้าติดฟิล์มกัน UV กันมั้ยคะ ทำไมมันดูบางใสจัง
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 14
เรื่องนี้เคยมีคนทำวิจัยมาแล้วครับ เกี่ยวกับความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งผิวหนัง (Malignant Melanoma) จากรังสีในเครื่องบินในอาชีพของนักบินและแอร์ ซึ่ง American Medical Association (JAMA) เป็นคนตีบทความนี้ลงลงในนิตยาสารในปี 2015 โดยเป็นการวิจัยจาก University of California ผลก็คือ เป็นความจริงที่ นักบินและแอร์ ซึ่งผลก็คือ ในกลุ่มนักบินนั้นมีอัตราเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งผิวหนังได้สูงกว่าถึง 2.22 เท่า ในขณะที่แอร์มีความเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วๆไปที่ 2.09 เท่า ส่วนอัตราการเสียชีวิตในอาชีพกลุ่มนี้ซึ่งเป็นผลจากมะเร็งผิวหนังนั้น ก็สูงกว่าคนทั่วๆไปถึง 42%

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
คราวนี้เรามาอธิบายเรื่องนี้ในด้านวิทยาศาสตร์กันครับว่า ทำไมผลถึงออกมาเป็นแบบนี้ ส่วนเกี่ยวกับ UV นี้ผมก๊อปมาพร้อมภาพจากเวป http://www.talkatalka.com ให้ก่อนนะครับ เพราะอธิบายไว้ง่ายดี

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

ส่วนแรกก็คือ เรื่องรังสี UV และ UV ตัวไหนที่ก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนัง


เราต้องแยกกันก่อนนะครับว่าในแสงอาทิตย์ ประกอบด้วย รังสี ultraviolet 3ชนิด คือ
1.ultraviolet A เรียกสั้นๆว่า UVA เป็นรังสีที่มีความยาวคลื่น 320 to 400 nm ในแสงแดดจะมี UVA มากถึง 95%
2. ultraviolet B เรียกสั้นๆว่า UVB เป็นรังสีที่มีความยาวคลื่น 290 to 320 nm มีประมาณ 5%
3. ultraviolet C เรียกสั้นๆว่า UVC เป็นรังสีที่มีความยาวคลื่น 100 to 290 nm รังสีชนิดนี้ ไม่ลงมายังผิวโลก

เพราะฉะนั้นปกติแล้วแสงแดดที่เราเจอบนพื้นโลกจะมีแค่ UVA และ UVB


อันตรายที่เกิดจาก รังสี UVA และ UVB

รังสี UVA เข้าสู่ผิวหนังชั้นลึกของเรา สามารถไปกดภูมิต้านทานของผิวหนัง อันส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถปกป้องผิวจากการเกิดและแพร่กระจายของมะเร็งผิวหนังได้ นอกจากนี้ UVA ยังส่งผลร้ายต่อผิว ทำให้ผิวแก่ก่อนวัย เหี่ยวย่น เกิดจุดด่างดำ
รังสี UVB แม้จะไม่สามารถทะลุสู่ชั้นผิวหนังที่ลึกได้เท่ากับรังสี UVA แต่ก็มีผลทำให้ผิวสูญเสียความชุ่มชื้น เกิดอาการแสบร้อน แดง และไหม้เกรียม (ภายใน 24 ชั่วโมงที่โดนแสงแดดจัดนานๆ) อย่างไรก็ตาม ทั้งรังสี UVA และรังสี UVB ก็ทำให้ผิวหนัง เหี่ยวย่นและก่อโรคมะเร็งผิวหนังได้พอกันทั้ง 2 ชนิด


คราวนี้มาอธิบายกันสั้นๆถึงเรื่องชั้นบรรยากาศเสียหน่อย ยิ่งสูงจากพื้นดินเท่าไหร่ ก็แน่นอนว่า เกราะกันธรรมชาติจากชั้นบรรยากาศนั้นก็ยิ่งน้อยลงเท่านั้น เรื่องนี้เราเรียนกันมาตั้งแต่เด็กแล้ว และนั่นก็หมายความว่า รังสีต่างๆที่มาจากแสงอาทิตย์ก็จะโดนกรองออกไปน้อยลงตามความสูงของชั้นอากาศ เพราะเราเข้าใกล้ชั้นโอโซนมากขึ้นเรื่อยๆ (โอโซนอยู่ที่ชั้นอากาศสูงจากพื้นดินประมาณ 10 กม ขึ้นไป) ให้เห็นภาพชัดๆ ก็ว่ากันได้คร่าวๆว่า ในวันที่ฟ้าใส พระอาทิตย์อยู่กลางๆ ในความสูง 10 กม จากพื้นดิน อัตรารังสี UV นั้นสูงกว่าที่พื้นดินประมาณ 2 เท่า

คราวนี้มาตอบคำถาม จขกท เกี่ยวกับกระจกเครื่องบินกันครับ กระจกของเครื่องบินนั้นส่วนใหญ่ทำมาจาก PC - Polycarbonat ซึ่งวัตถุนี้จริงๆแล้วใช้อยู่ในอุตสาหกรรมต่างๆอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะในรถยนต์หรือเครื่องบิน และ PC นี้ก็มีคุณสมบัติในการดูดซึม UV นะครับ และดูดซึมได้สูงถึงประมาณ 99% ทีเดียว แต่ดูดซึมแค่ UVB เป็นหลักครับ ในส่วนของ UVA นั้น แม้ PC จะดูดซึมส่วนนี้ไปบ้าง แต่ก็ปล่อยให้ผ่านเข้ามาถึงประมาณ 54% ทีเดียว และอย่าลืมว่า UVA จริงๆแล้วเข้าถึงผิวหนังคนเราได้ลึกกว่า UVB อีกนะครับ นอกจากนี้ยังมี factor เรื่องหิมะบนเขาต่างๆและเมฆเข้ามาด้วย เพราะทั้งสองสิ่งที่ว่ามานั้นก็สะท้อน UV ได้ถึงประมาณ 85%


อย่างไรก็แล้วแต่เพื่อความแน่ชัด ก็ควรจะต้องรองานวิจัยอื่นๆมาสนับสนุนด้วยนะครับ ไม่ต้องตกใจกันจนเกินไป เหมือนกับ % คนที่เป็นมะเร็งผิวหนังไม่เท่ากันทั้งๆที่ได้รับ UV เท่ากันนั่นแหละครับ มันก็คือโอกาสเสี่ยงที่แต่ละคนมีไม่เท่ากัน แต่จะให้ดีเวลาบินก็ควรจะทาครีมกันแดดทาไว้จริง อันนี้ไม่เสียหายแน่นอน เพราะเรื่อง UV ที่ผ่านกระจกแบบที่ผมอธิบายไปด้านบนนั้น เป็นเรื่องจริง อันนี้ไม่มีข้อสงสัยแน่นอน บังเอิญบริษัทผมใช้ PC ในการผลิตชิ้นส่วนด้วย เลยได้มีโอกาสวัด Transmission และ Absorption ของ PC เพื่อใช้ในงาน ผลก็ออกมาประมาณกราฟด้านบนจริงๆ หวังว่า จขกท จะได้คำตอบที่ถามนะครับ

*แก้ไข้คำผิด & ย่อรูป & ซ่อน Source ใน Spoil
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่