ย้อน "จอดฉุกเฉินปาฏิหาริย์" ทั้งบนรันเวย์และในน้ำ ไม่มีผู้โดยสารเสียชีวิตแม้แต่คนเดียว

โศกนาฏกรรมเจจูแอร์กับ 179 ชีวิตที่จากไป ก่อให้เกิดคำถามว่า การลงจอดฉุกเฉิน

มีโอกาสรอดแค่ไหน? ลงจอดในน้ำหรือบนรันเวย์
อันไหนปลอดภัยกว่า?



เราไปดูเหตุการณ์ลงจอดฉุกเฉินปาฏิหาริย์ทั้งสองแบบ ที่บันทึกในประวัติศาสตร์การบินโลกว่าเป็น การลงจอดฉุกเฉิน ระดับ "ปาฏิหาริย์" กัน 


---ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮัดสัน---

วันที่ 15 มกราคม ปี 2009 เครื่องบินสายการบินยูเอสแอร์เวย์ เที่ยวบิน 1549 จากนิวยอร์กไปซีแอตเทิล 

แต่หลังขึ้นบินไม่นาน เครื่องบินชนกับฝูงนก ทำให้เครื่องยนต์ทั้งสองข้างล้มเหลว 

แต่ด้วยเพดานบินที่ค่อนข้างต่ำ และไม่มีสนามบินใกล้มากพอจะลงจอด นักบินจึงตัดสินใจลงจอดในแม่น้ำฮัดสัน และก็ทำได้สำเร็จ ทำให้ผู้โดยสารและลูกเรือทั้ง 155 คน ไม่มีใครเสียชีวิต มีเพียงผู้บาดเจ็บ 78 คน



---ปาฏิหาริย์แห่งวอร์ซอ---

เครื่องบินเจจูแอร์ พยายามลงจอดฉุกเฉินด้วยท้องเครื่อง แต่ไม่สำเร็จ ไถลไปชนกับกำแพงปลายรันเวย์

แต่ย้อนไปเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2011 เครื่องบินสายการบินแอลโอทีโปลิช แอร์ไลน์ เที่ยวบิน 16 ได้ทำการลงจอดฉุกเฉินด้วยท้องเครื่องลักษณะคล้ายกัน 

เครื่องบินเจอปัญหาในระบบเครื่องยนต์ เพียง 30 นาทีหลังทะยานขึ้น นักบินตัดสินใจบินต่อไปยังเป้าหมายในกรุงวอร์ซอ เพื่อเผาผลาญเชื้อเพลิงให้มากที่สุด 

ระหว่างนั้น ทางสนามบินก็เตรียมความพร้อมอย่างเต็มที่

เมื่อไปถึง เครื่องบินลงจอดรอบแรกไม่สำเร็จ เพราะล้อไม่กาง จึงบินวนอีกรอบ ก่อนจะลงจอดด้วยท้องเครื่องสำเร็จ ผู้โดยสารและลูกเรือ 231 ชีวิตปลอดภัย และอพยพออกมาได้ภายใน 90 วินาที

---รันเวย์สั้นยาว เกี่ยวไหม---

นักวิชาการหลายคนชี้ว่า เครื่องบินเจจูแอร์ลงจอดไม่สำเร็จ เพราะรันเวย์สั้นเกินไป และมีกำแพงกั้นหลายรันเวย์

ข้อมูลที่น่าสนใจ ชี้ว่า รันเวย์สนามบินมูอันของเกาหลีใต้ ยาว 2,800 เมตร ส่วนของสนามบินวอร์ซอ ที่ลงจอดคล้ายกัน มีความยาวสูงสุด 3,800 เมตร

https://www.facebook.com/share/p/1Y3Bfp5HqU/
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่