--------------------- สปอยเน้อ ใครไม่ชอบสปอยจงดูมาก่อน ปอลอ ขอบคุณที่เตือนให้ตั้งสปอยนะคะ และขอโทษด้วยที่มาตั้งช้าค่า -----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
วันนี้ภาพยนต์เรื่อง Sully เข้าฉายเป็นวันแรกในประเทศไทย เหมือนล้อเลียนเป็นหนังตลกร้ายกับข่าวดราม่าแอร์โฮสเตสสายการบินเเอร์เอเชียก้มกราบ (เอาคีย์เวิร์ดแอร์ก้มกราบไปเสิร์ชในกูเกิ้ลจะพบผลลัพธ์เพียบเลยละ)
Sully สร้างจากเหตุการณ์จริงช่วงบ่ายสามวันที่ 15 มกราคม 2009 เมื่อเครื่องบินหมายเลข 1549 สายการบิน US Airways ได้บินขึ้นจากนิวยอร์ก มีลูกเรือทั้งสิ้น 5 คน และผู้โดยสารอีก 150 คน เครื่องบินได้เจอกับ Bird Strike (เหตุการณ์นกหรือค้างคาวชนเครื่องบิน) ทำให้เครื่องยนต์ทั้งสองตัวได้รับความเสียหายจนหยุดการทำงานไม่นานหลังบินขึ้น กัปตันมีทางเลือกจากกรมควบคุมสองทาง คือ กลับมาลงจอดรันเวย์ที่บินขึ้น หรือรันเวย์ข้างหน้าอีกเจ็ดไมล์ ซึ่งในเวลาไม่กี่วินาทีเเห่งความเป็นความตาย บนเครื่องบินที่ยังไม่ได้ระดับความสูงดีนักบนฟ้าเหนือมหานครนิวยอร์ก กัปตันใช้สมองมนุษย์ธรรมดาบวกประสบการณ์การบินกว่าสี่สิบปีตั้งแต่สมัยขับเครื่องบินพ่นยาฆ่าแมลง ขับเครื่องบินทิ้งระเบิด ตัดสินใจแลนดิ้งลงบนทางเรียบที่ยาวและกว้างที่ใกล้ที่สุด นั่นคือแม่น้ำฮัดสัน
208 วินาทีที่ใช้ตัดสินใจ ทุกคนบนโลกรู้ผลลัพธ์ของมันดีว่า ทุกคนบนเครื่องรอดตาย ทุกคนในโลกเรียกมันว่า Miracle on Hadson และกัปตันซัลลี่กลายเป็นวีรบุรุษ
กัปตันซัลลี่ทำถูกจริงหรือ?
หนังไม่ได้เล่าเรื่องราว 208 วินาทีบนเครื่อง ไม่ได้บอกเล่าความสัมพันธ์ภูมิหลังดราม่าของผู้โดยสารหรือลูกเรือ แต่หนังได้ขยายความเหตุการตณ์หลังจากนั้น อืม คุณรอดจากเหตุการณ์นั้นได้นะกัปตัน แต่คุณคิดหรือว่าจะได้รับการยกย่องและแห่เข้าห้องวีไอพีพร้อมนอนกอดเหริยญกล้าหาญ ไม่เลย มันคือการสอบสวน คำถาม และการจับผิด
คุณทำในสิ่งที่คนกลุ่มหนึ่งเรียกมันว่าปาฏิหาริย์ มีคนมากมายวิ่งเข้าสวมกอดคุณ แต่ในขณะเดียวกันบริษัทประกัน เจ้าของสายการบินตั้งคณะขึ้นมาสืบสวนว่า จริงหรือที่จะเอาเครื่องกลับไปลงสวยๆ ที่รันเวย์ปกติไม่ได้ ทั้งหมดนั่นทำเพื่อสร้างภาพให้ตัวเองหรือเปล่า การจำลองเหตุการณ์ด้วยคอมพิวเตอร์และด้วยนักบินจริงๆ ยิ่งตอกย้ำว่า การวนเครื่องกลับเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ แต่ทำไมกัปตันไม่ทำ หนังทำให้เราหวั่นไหวไปตลอดทั้งเรื่องว่าบางที วีรบุรุษคนนั้นอาจกลายเป็นแค่คนโง่ที่พาลูกเรือไปพบกับเหตุการณ์เสี่ยงที่สุดในทุกทางเลือกก็ได้
ทำไมการลงจอดบนน้ำถึงเสี่ยงละ?
ทิ่มหัวจมลงไปไง นี่เป็นประโยคเเรกที่ผุดขึ้นมาในหัวก่อนที่หนังจะฉายภาพเหตุการณ์นั้นให้ดู ตัวลุลลาเองก็ไม่รู้หรอกว่าการลงจอดแบบนั้นโดยไม่ปักดิ่งลงไปใต้น้ำเป็นความสามารถที่สุดยอดขนาดไหน แต่มันไม่จบแค่นั้น ความเป็นความตายไม่ใช่แค่ช่วงหลังจากนักบินพาเครื่องมาลอยอยู่บนผิวน้ำได้ แต่มันคือหลังจากนั้น
แอร์โฮสเตสรู้โดยที่กัปตันไม่ต้องบอกว่าเครื่องกำลังเจอกับ Bird Strike เป็นผู้ที่คอยเตือนสติผู้โดยสารอยู่ตลอดเวลา ควรลงประตูไหน ห้ามลงทางท้ายเครื่อง อย่าตื่นตระหนกกับน้ำที่เข้ามา มีผู้โดยสารที่เป็นเด็กทารกและคนสูงอายุที่แทบจะเดินเองไม่ได้ นั่นคือหน้าที่ของแอร์ที่ต้องเข้าไปช่วยเหลือ
ออกจากเครื่องให้เร็วที่สุด
อย่าลงไปในน้ำ ให้อยู่บนปีกเครื่องและแพฉุกเฉินไว้ ทำไม เพราะนั่นคือกลางเดือนมกราคม ผิวน้ำแทบจะกลายเป็นน้ำแข็งอยู่แล้ว รอดจากเครื่องบินตกแต่กลับแข็งตายแทนฟังดูน่าเศร้า
คน 155 คน กลางแม่น้ำฮัดสันที่กว้างกว่าแม่น้ำเจ้าพระยาไม่รู้กี่เท่า แล้วอย่างไร?
นั่นคือจุดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดเวลาเกือบสองชั่วโมงในโรงภาพยนต์ เมื่อเรือเฟอรี่ลำหนึ่งผ่านมาพบเหตุการณ์แล้วตรงเข้าช่วยเหลือทันที ระหว่างเปลี่ยนทิศเรือตรงมาหาเครื่องบินก็ได้โทรแจ้งศูนย์บังคับการ ไม่นานตำรวจน้ำก็มา และไม่นานผู้เชี่ยวชาญก็มากับเฮลิคอปเตอร์พร้อมชุดประดาน้ำ ทุกทีมรู้ว่าต้องทำอะไร แอร์โฮสเตสและกัปตันพร้อมผู้ช่วยรู้ว่าพวกเขาต้องรอจนผู้โดยสารคนสุดท้ายออกมาแล้ว กลับเข้าไปตรวจสอบภายในเครื่องอีกครั้งจึงจะออกมาได้ ทีมช่วยเหลือรู้ขอบเขตงานของตน ผู้โดยสารเองก็รู้ดีว่าจะต้องดึงทางออกฉุกเฉินออก ไม่เหยียบกัน ถึงแม้พลัดหลงกับญาติคุณก็ควรจะวางใจในตัวพนักงานไม่ใช่วิ่งสวนกระแสกลับไปตามหากันจนเกิดความวุ่นวาย
ทุกคนทำหน้าที่ของตนเอง
กัปตัน Chesley B. Sully Sullanberger ได้กล่าวไว้ว่า สิ่งที่ทำให้ทั้ง 155 ชีวิตรอดมาได้ ไม่ใช่ตัวเขาหรอก มันคือทีมต่างหาก
ตัดฉากมาที่ไทยแลนด์แดนยิ้มนะคะ ลุลลาสไลด์พันทิป เอ๊ะ แอร์ก้มกราบ อ๋อ มีเหตุการณ์แอร์โฮสเตสของสายการบินแอร์เอเชียเข้าไปสอบถามข้อมูลผู้โดยสารซึ่งเป็นออทิสติกที่โดยสารมากับคุณแม่ของเธอ (โดยไม่ได้แจ้งกับทางสายการบินล่วงหน้าว่ามีผู้โดยสารมีภาวะออทิซึ่ม) แล้วผ็โดยสารที่เป็นแม่นั้นออกมากล่าวหาว่าพนักงานได้ละเมิดสิทธิ ทำให้อับอาย เอาเรื่องกันจนแอร์ถูกบังคับให้กราบเท้าผู้โดยสารที่มีภาวะออทิซึ่มคนนั้นสามครั้งไม่แบมือ (กลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตายไปแล้วเฉย)
ก็นึกสงสัยว่า หากเกิดอุบัติเหตุที่ต้องลำเลียงผู้โดยสารออกจากเครื่อง แล้วแอร์ไม่ทราบว่ามีเด็กออทิสติกอยู่ตรงนี้ ไม่ได้เข้ามาช่วยเหลือ แม่ของเขาจะพาลูกออกมาได้ไหม จะโวยวายว่าหลบไปให้ลูกฉันออกก่อน แกมีภาวะผิดปกติหรือเปล่า สุดท้ายจะออกมาวี้ดใส่สายการบินว่าดูแลผู้โดยสารไม่เต็มที่ไหมนะ
ถ้า ถ้า ถ้า ทุกอย่างก็เป็น ถ้า ทั้งนั้นจนกว่ามันจะเกิด ทุกอย่างเป็นไปไม่ได้จนกระทั่งมีครั้งแรก
เชื่อว่าพนักงานคนนั้นทำตามหน้าที่ของตนอย่างเต็มที่แล้ว เพราะลูกเรือจำเป็นต้องทราบว่ามีใครในเครื่องบ้าง มีใครบ้างต้องการความช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษทั้งในเหตุการณ์ปกติและไม่ปกติ มันไม่ใช่การดูถูก แต่เป็นการช่วยเสริมเพื่อให้ผู้โดยสารปลอดภัยที่สุดหากมีอะไรขึ้นมา
เขาเลิกทาสกันไปหลายรัชกาลแล้ว อาชีพแอร์โฮสเตสไม่ใช่คนเสิร์ฟอาหาร ในความเป็นจริงพวกเขาถูกฝึกมาในฐานะ ทีมช่วยชีวิต ต่างหาก ซีรี่ย์ที่ถ่ายทอดศักดิ์ศรีของอาชีพนี้ได้ก็คงเป็นซีรี่ย์สัญชาติญี่ปุ่นเรื่อง Attention Please สาวซ่าส์มาเป็นแอร์
ไม่มีอาชีพไหนไม่มีเกียรติ ถ้าไม่มีเกียรติคงไม่จำเป็นต้องมีอาชีพนั้น ทุกกลไกในสังคมควรได้รับคำขอบคุณ เห็นความสำคัญในงานของตัวเอง ทำมันให้เต็มที่ก็จะสัมผัสได้ถึงศักดิ์ศรีเอง เศรษฐียิ่งใหญ่เป็นนักธุรกิจเท้าไม่แตะดินมาจากไหนก็ใช้ชีวิตสะดวกสบายไม่ได้ถ้าไม่มีแม่บ้าน
Sully ไม่ได้เทิดทูนนักบินหรอก
ทุกหน่วยช่วยชีวิตที่เข้ามาในเวลาไม่กี่นาทีนั่นเท่ขาดใจ กลบรัศมีนักบินไปหมด
Sully บอกเราว่า ปาฏิหาริย์เกิดขึ้นจากทีมงานที่ดี
-----------------------------------------
พอดีเข้าไปดูหนังซัลลี่ ออกมาอ่านกระทู้พันทิปแล้วรู้สึกตลกร้ายจังเลย
คนบนฟ้า [ปาฏิหาริย์แม่น้ำฮัดสันและลูกเรือแอร์เอเชีย]
วันนี้ภาพยนต์เรื่อง Sully เข้าฉายเป็นวันแรกในประเทศไทย เหมือนล้อเลียนเป็นหนังตลกร้ายกับข่าวดราม่าแอร์โฮสเตสสายการบินเเอร์เอเชียก้มกราบ (เอาคีย์เวิร์ดแอร์ก้มกราบไปเสิร์ชในกูเกิ้ลจะพบผลลัพธ์เพียบเลยละ)
Sully สร้างจากเหตุการณ์จริงช่วงบ่ายสามวันที่ 15 มกราคม 2009 เมื่อเครื่องบินหมายเลข 1549 สายการบิน US Airways ได้บินขึ้นจากนิวยอร์ก มีลูกเรือทั้งสิ้น 5 คน และผู้โดยสารอีก 150 คน เครื่องบินได้เจอกับ Bird Strike (เหตุการณ์นกหรือค้างคาวชนเครื่องบิน) ทำให้เครื่องยนต์ทั้งสองตัวได้รับความเสียหายจนหยุดการทำงานไม่นานหลังบินขึ้น กัปตันมีทางเลือกจากกรมควบคุมสองทาง คือ กลับมาลงจอดรันเวย์ที่บินขึ้น หรือรันเวย์ข้างหน้าอีกเจ็ดไมล์ ซึ่งในเวลาไม่กี่วินาทีเเห่งความเป็นความตาย บนเครื่องบินที่ยังไม่ได้ระดับความสูงดีนักบนฟ้าเหนือมหานครนิวยอร์ก กัปตันใช้สมองมนุษย์ธรรมดาบวกประสบการณ์การบินกว่าสี่สิบปีตั้งแต่สมัยขับเครื่องบินพ่นยาฆ่าแมลง ขับเครื่องบินทิ้งระเบิด ตัดสินใจแลนดิ้งลงบนทางเรียบที่ยาวและกว้างที่ใกล้ที่สุด นั่นคือแม่น้ำฮัดสัน
208 วินาทีที่ใช้ตัดสินใจ ทุกคนบนโลกรู้ผลลัพธ์ของมันดีว่า ทุกคนบนเครื่องรอดตาย ทุกคนในโลกเรียกมันว่า Miracle on Hadson และกัปตันซัลลี่กลายเป็นวีรบุรุษ
กัปตันซัลลี่ทำถูกจริงหรือ?
หนังไม่ได้เล่าเรื่องราว 208 วินาทีบนเครื่อง ไม่ได้บอกเล่าความสัมพันธ์ภูมิหลังดราม่าของผู้โดยสารหรือลูกเรือ แต่หนังได้ขยายความเหตุการตณ์หลังจากนั้น อืม คุณรอดจากเหตุการณ์นั้นได้นะกัปตัน แต่คุณคิดหรือว่าจะได้รับการยกย่องและแห่เข้าห้องวีไอพีพร้อมนอนกอดเหริยญกล้าหาญ ไม่เลย มันคือการสอบสวน คำถาม และการจับผิด
คุณทำในสิ่งที่คนกลุ่มหนึ่งเรียกมันว่าปาฏิหาริย์ มีคนมากมายวิ่งเข้าสวมกอดคุณ แต่ในขณะเดียวกันบริษัทประกัน เจ้าของสายการบินตั้งคณะขึ้นมาสืบสวนว่า จริงหรือที่จะเอาเครื่องกลับไปลงสวยๆ ที่รันเวย์ปกติไม่ได้ ทั้งหมดนั่นทำเพื่อสร้างภาพให้ตัวเองหรือเปล่า การจำลองเหตุการณ์ด้วยคอมพิวเตอร์และด้วยนักบินจริงๆ ยิ่งตอกย้ำว่า การวนเครื่องกลับเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ แต่ทำไมกัปตันไม่ทำ หนังทำให้เราหวั่นไหวไปตลอดทั้งเรื่องว่าบางที วีรบุรุษคนนั้นอาจกลายเป็นแค่คนโง่ที่พาลูกเรือไปพบกับเหตุการณ์เสี่ยงที่สุดในทุกทางเลือกก็ได้
ทำไมการลงจอดบนน้ำถึงเสี่ยงละ?
ทิ่มหัวจมลงไปไง นี่เป็นประโยคเเรกที่ผุดขึ้นมาในหัวก่อนที่หนังจะฉายภาพเหตุการณ์นั้นให้ดู ตัวลุลลาเองก็ไม่รู้หรอกว่าการลงจอดแบบนั้นโดยไม่ปักดิ่งลงไปใต้น้ำเป็นความสามารถที่สุดยอดขนาดไหน แต่มันไม่จบแค่นั้น ความเป็นความตายไม่ใช่แค่ช่วงหลังจากนักบินพาเครื่องมาลอยอยู่บนผิวน้ำได้ แต่มันคือหลังจากนั้น
แอร์โฮสเตสรู้โดยที่กัปตันไม่ต้องบอกว่าเครื่องกำลังเจอกับ Bird Strike เป็นผู้ที่คอยเตือนสติผู้โดยสารอยู่ตลอดเวลา ควรลงประตูไหน ห้ามลงทางท้ายเครื่อง อย่าตื่นตระหนกกับน้ำที่เข้ามา มีผู้โดยสารที่เป็นเด็กทารกและคนสูงอายุที่แทบจะเดินเองไม่ได้ นั่นคือหน้าที่ของแอร์ที่ต้องเข้าไปช่วยเหลือ
ออกจากเครื่องให้เร็วที่สุด
อย่าลงไปในน้ำ ให้อยู่บนปีกเครื่องและแพฉุกเฉินไว้ ทำไม เพราะนั่นคือกลางเดือนมกราคม ผิวน้ำแทบจะกลายเป็นน้ำแข็งอยู่แล้ว รอดจากเครื่องบินตกแต่กลับแข็งตายแทนฟังดูน่าเศร้า
คน 155 คน กลางแม่น้ำฮัดสันที่กว้างกว่าแม่น้ำเจ้าพระยาไม่รู้กี่เท่า แล้วอย่างไร?
นั่นคือจุดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดเวลาเกือบสองชั่วโมงในโรงภาพยนต์ เมื่อเรือเฟอรี่ลำหนึ่งผ่านมาพบเหตุการณ์แล้วตรงเข้าช่วยเหลือทันที ระหว่างเปลี่ยนทิศเรือตรงมาหาเครื่องบินก็ได้โทรแจ้งศูนย์บังคับการ ไม่นานตำรวจน้ำก็มา และไม่นานผู้เชี่ยวชาญก็มากับเฮลิคอปเตอร์พร้อมชุดประดาน้ำ ทุกทีมรู้ว่าต้องทำอะไร แอร์โฮสเตสและกัปตันพร้อมผู้ช่วยรู้ว่าพวกเขาต้องรอจนผู้โดยสารคนสุดท้ายออกมาแล้ว กลับเข้าไปตรวจสอบภายในเครื่องอีกครั้งจึงจะออกมาได้ ทีมช่วยเหลือรู้ขอบเขตงานของตน ผู้โดยสารเองก็รู้ดีว่าจะต้องดึงทางออกฉุกเฉินออก ไม่เหยียบกัน ถึงแม้พลัดหลงกับญาติคุณก็ควรจะวางใจในตัวพนักงานไม่ใช่วิ่งสวนกระแสกลับไปตามหากันจนเกิดความวุ่นวาย
ทุกคนทำหน้าที่ของตนเอง
กัปตัน Chesley B. Sully Sullanberger ได้กล่าวไว้ว่า สิ่งที่ทำให้ทั้ง 155 ชีวิตรอดมาได้ ไม่ใช่ตัวเขาหรอก มันคือทีมต่างหาก
ตัดฉากมาที่ไทยแลนด์แดนยิ้มนะคะ ลุลลาสไลด์พันทิป เอ๊ะ แอร์ก้มกราบ อ๋อ มีเหตุการณ์แอร์โฮสเตสของสายการบินแอร์เอเชียเข้าไปสอบถามข้อมูลผู้โดยสารซึ่งเป็นออทิสติกที่โดยสารมากับคุณแม่ของเธอ (โดยไม่ได้แจ้งกับทางสายการบินล่วงหน้าว่ามีผู้โดยสารมีภาวะออทิซึ่ม) แล้วผ็โดยสารที่เป็นแม่นั้นออกมากล่าวหาว่าพนักงานได้ละเมิดสิทธิ ทำให้อับอาย เอาเรื่องกันจนแอร์ถูกบังคับให้กราบเท้าผู้โดยสารที่มีภาวะออทิซึ่มคนนั้นสามครั้งไม่แบมือ (กลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตายไปแล้วเฉย)
ก็นึกสงสัยว่า หากเกิดอุบัติเหตุที่ต้องลำเลียงผู้โดยสารออกจากเครื่อง แล้วแอร์ไม่ทราบว่ามีเด็กออทิสติกอยู่ตรงนี้ ไม่ได้เข้ามาช่วยเหลือ แม่ของเขาจะพาลูกออกมาได้ไหม จะโวยวายว่าหลบไปให้ลูกฉันออกก่อน แกมีภาวะผิดปกติหรือเปล่า สุดท้ายจะออกมาวี้ดใส่สายการบินว่าดูแลผู้โดยสารไม่เต็มที่ไหมนะ
ถ้า ถ้า ถ้า ทุกอย่างก็เป็น ถ้า ทั้งนั้นจนกว่ามันจะเกิด ทุกอย่างเป็นไปไม่ได้จนกระทั่งมีครั้งแรก
เชื่อว่าพนักงานคนนั้นทำตามหน้าที่ของตนอย่างเต็มที่แล้ว เพราะลูกเรือจำเป็นต้องทราบว่ามีใครในเครื่องบ้าง มีใครบ้างต้องการความช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษทั้งในเหตุการณ์ปกติและไม่ปกติ มันไม่ใช่การดูถูก แต่เป็นการช่วยเสริมเพื่อให้ผู้โดยสารปลอดภัยที่สุดหากมีอะไรขึ้นมา
เขาเลิกทาสกันไปหลายรัชกาลแล้ว อาชีพแอร์โฮสเตสไม่ใช่คนเสิร์ฟอาหาร ในความเป็นจริงพวกเขาถูกฝึกมาในฐานะ ทีมช่วยชีวิต ต่างหาก ซีรี่ย์ที่ถ่ายทอดศักดิ์ศรีของอาชีพนี้ได้ก็คงเป็นซีรี่ย์สัญชาติญี่ปุ่นเรื่อง Attention Please สาวซ่าส์มาเป็นแอร์
ไม่มีอาชีพไหนไม่มีเกียรติ ถ้าไม่มีเกียรติคงไม่จำเป็นต้องมีอาชีพนั้น ทุกกลไกในสังคมควรได้รับคำขอบคุณ เห็นความสำคัญในงานของตัวเอง ทำมันให้เต็มที่ก็จะสัมผัสได้ถึงศักดิ์ศรีเอง เศรษฐียิ่งใหญ่เป็นนักธุรกิจเท้าไม่แตะดินมาจากไหนก็ใช้ชีวิตสะดวกสบายไม่ได้ถ้าไม่มีแม่บ้าน
Sully ไม่ได้เทิดทูนนักบินหรอก
ทุกหน่วยช่วยชีวิตที่เข้ามาในเวลาไม่กี่นาทีนั่นเท่ขาดใจ กลบรัศมีนักบินไปหมด
Sully บอกเราว่า ปาฏิหาริย์เกิดขึ้นจากทีมงานที่ดี
-----------------------------------------
พอดีเข้าไปดูหนังซัลลี่ ออกมาอ่านกระทู้พันทิปแล้วรู้สึกตลกร้ายจังเลย