เจอข้อความนึงมาครับ ว่าที่ระดับเครื่องบินนั้นยูวีแรงมาก
แต่ผมก็สงสัยว่ามันแรงขนาดทะลุทะลวงตัวเครื่องหรือหน้าต่างอะคริริกอย่างหนาได้จริงๆหรือ
ถามผู้รู้ช่วยชี้แจงด้วยครับ
รู้ทันมะเร็ง : มะเร็งผิวหนังกับรังสียูวี : นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ
http://www.komchadluek.net/mobile/detail/20140919/192288.html
" เมื่อเร็วๆ นี้มีข่าวการเผยแพร่ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารสมาคมแพทย์ผิวหนังของสหรัฐอเมริกา โดยรวบรวมเอาการศึกษาวิจัยจำนวน 19 งานวิจัย จากกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 266,000 ราย พบว่านักบินและพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนม่ามากกว่าคนปกติ 2 เท่า ทำเอาบรรดานักบินและพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินหนาวๆ ร้อนๆ ไปตามๆ กัน
สาเหตุจะเป็นจากอย่างอื่นไปไม่ได้เลย นอกจากการได้รับรังสียูวีหรือรังสีอัลตร้าไวโอเลตในความเข้มข้นสูงที่ระดับความสูง 9,000 เมตร หรือ 30,000 ฟุตเหนือระดับน้ำทะเลที่เครื่องบินพาณิชย์ส่วนใหญ่บินอยู่ตามปกติ ความเข้มข้นของรังสียูวีที่ระดับความสูงนั้นสูงกว่าคนที่อยู่ในระดับพื้นดินตามปกติได้รับถึง 2 เท่าตัว
โดยนักบินมีความเสี่ยงสูงกว่าคนปกติ 2.21-2.22 เท่า ในขณะที่สจ๊วตและแอร์โฮสเตสมีความเสี่ยงสูงกว่าคนปกติ 2.09 เท่า เป็นเพราะนักบินมีโอกาสได้รับรังสียูวีที่ผ่านทางหน้าต่างห้องนักบินมากกว่า โดยเฉพาะในขณะที่เครื่องบินบินผ่านกลุ่มเมฆหนา แสงแดดจะสะท้อนเข้ามาในตัวเครื่องบินได้เพิ่มมากขึ้นถึง 85 เปอร์เซ็นต์..."
ในเครื่องบิน มีรังสี UV แรงจริงหรือ (ทะลุทะลวงเครื่องได้)
แต่ผมก็สงสัยว่ามันแรงขนาดทะลุทะลวงตัวเครื่องหรือหน้าต่างอะคริริกอย่างหนาได้จริงๆหรือ
ถามผู้รู้ช่วยชี้แจงด้วยครับ
รู้ทันมะเร็ง : มะเร็งผิวหนังกับรังสียูวี : นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ
http://www.komchadluek.net/mobile/detail/20140919/192288.html
" เมื่อเร็วๆ นี้มีข่าวการเผยแพร่ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารสมาคมแพทย์ผิวหนังของสหรัฐอเมริกา โดยรวบรวมเอาการศึกษาวิจัยจำนวน 19 งานวิจัย จากกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 266,000 ราย พบว่านักบินและพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนม่ามากกว่าคนปกติ 2 เท่า ทำเอาบรรดานักบินและพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินหนาวๆ ร้อนๆ ไปตามๆ กัน
สาเหตุจะเป็นจากอย่างอื่นไปไม่ได้เลย นอกจากการได้รับรังสียูวีหรือรังสีอัลตร้าไวโอเลตในความเข้มข้นสูงที่ระดับความสูง 9,000 เมตร หรือ 30,000 ฟุตเหนือระดับน้ำทะเลที่เครื่องบินพาณิชย์ส่วนใหญ่บินอยู่ตามปกติ ความเข้มข้นของรังสียูวีที่ระดับความสูงนั้นสูงกว่าคนที่อยู่ในระดับพื้นดินตามปกติได้รับถึง 2 เท่าตัว โดยนักบินมีความเสี่ยงสูงกว่าคนปกติ 2.21-2.22 เท่า ในขณะที่สจ๊วตและแอร์โฮสเตสมีความเสี่ยงสูงกว่าคนปกติ 2.09 เท่า เป็นเพราะนักบินมีโอกาสได้รับรังสียูวีที่ผ่านทางหน้าต่างห้องนักบินมากกว่า โดยเฉพาะในขณะที่เครื่องบินบินผ่านกลุ่มเมฆหนา แสงแดดจะสะท้อนเข้ามาในตัวเครื่องบินได้เพิ่มมากขึ้นถึง 85 เปอร์เซ็นต์..."