คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
]นายจ้างของเราจะย้ายให้พนักงานภายในบริษัท ไปทำบริษัทในเครือ
บอกได้ไหมว่า "บริษัทในเครือ" เป็นนิติบุคคลเดียวกัน หรือคนละนิติบุคคล?
เนื่องจาก พรบ.คุ้มครองแรงงาน ๔๑ ม.๑๓ บัญญัติไว้ว่า "กรณีที่กิจการใดมีการเปลี่ยนแปลงตัวนายจ้าง เนื่องจากการโอน รับมรดก หรือด้วยประการอื่นใด หรือในกรณีนายจ้างเป็นนิติบุคคล และมีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง โอนหรือควบกับนิติบุคคลใด สิทธิต่างๆที่ลูกจ้างมีอยู่ต่อนายจ้างเดิมเช่นใด ให้ลูกจ้างมีสิทธิเช่นว่านั้นต่อไป และให้นายจ้างใหม่ รับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ อันเกี่ยวกับลูกจ้างนั้นทุกประการ..”
นอกจากนี้ ในคุ้มครองแรงงงาน ฉบับใหม่ล่าสุด ที่ผ่านสภาฯแล้วเมื่อวันที่ 13 ธค. 2561 ที่กำหนดเรื่องนี้ใหม่ว่า ลูกจ้างต้องให้การยินยอมด้วย (ในการโอน/ย้าย)ด้วย “ลูกจ้างไม่ยินยอม จะต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษให้กับลูกจ้าง แตกต่างจากเดิมที่ลูกจ้างต้องไปฟ้องศาลเพื่อเรียกร้องค่าชดเชยเอง" ..พยายามหา พรบ.ใหม่แล้ว ยังไม่เจอตัว กฎหมาย แต่มีลงในสื่อต่างๆมากมาย ส่วนมากจะเน้นไปที่เรื่องค่าชดเชย 400 วันฯ
กรณีที่นายจ้างดำเนินการอย่างถูกต้อง เขาจะต้องเจรจาให้นายจ้างใหม่ รับลูกจ้างเดิมไปตาม ม.13 (นายจ้างใหม่ยากที่จะหาลูกจ้างใหม่มาทำงานได้ทันที ทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน ก็มักจะรับลูกจ้างเก่าไปด้วย) ซึ่งทำกันหลายแห่ง แต่ก็มีบริษัทอีกมากที่หลีกเลี่ยงโดยอาศัย “ความไม่รู้” ของลูกจ้าง เช่นไม่รับทั้งหมด ให้ลาออกจากบริษัทเดิม ไปสมัครกับบริษัทใหม่ มีทั้งที่ให้เหมือนเดิม ไม่เท่าเดิม นับอายุงานใหม่....
ไม่ได้ให้กังวล สิทธิของลูกจ้าง กฏหมายคุ้มครองไว้ในระดับเป็นธรรม และพอสมควรแล้ว..
ส่วนนายจ้าง (รวมถึงลูกจ้าง-Hr.บางคน) ไม่ใช่คนดี....!!!
บอกได้ไหมว่า "บริษัทในเครือ" เป็นนิติบุคคลเดียวกัน หรือคนละนิติบุคคล?
เนื่องจาก พรบ.คุ้มครองแรงงาน ๔๑ ม.๑๓ บัญญัติไว้ว่า "กรณีที่กิจการใดมีการเปลี่ยนแปลงตัวนายจ้าง เนื่องจากการโอน รับมรดก หรือด้วยประการอื่นใด หรือในกรณีนายจ้างเป็นนิติบุคคล และมีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง โอนหรือควบกับนิติบุคคลใด สิทธิต่างๆที่ลูกจ้างมีอยู่ต่อนายจ้างเดิมเช่นใด ให้ลูกจ้างมีสิทธิเช่นว่านั้นต่อไป และให้นายจ้างใหม่ รับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ อันเกี่ยวกับลูกจ้างนั้นทุกประการ..”
นอกจากนี้ ในคุ้มครองแรงงงาน ฉบับใหม่ล่าสุด ที่ผ่านสภาฯแล้วเมื่อวันที่ 13 ธค. 2561 ที่กำหนดเรื่องนี้ใหม่ว่า ลูกจ้างต้องให้การยินยอมด้วย (ในการโอน/ย้าย)ด้วย “ลูกจ้างไม่ยินยอม จะต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษให้กับลูกจ้าง แตกต่างจากเดิมที่ลูกจ้างต้องไปฟ้องศาลเพื่อเรียกร้องค่าชดเชยเอง" ..พยายามหา พรบ.ใหม่แล้ว ยังไม่เจอตัว กฎหมาย แต่มีลงในสื่อต่างๆมากมาย ส่วนมากจะเน้นไปที่เรื่องค่าชดเชย 400 วันฯ
กรณีที่นายจ้างดำเนินการอย่างถูกต้อง เขาจะต้องเจรจาให้นายจ้างใหม่ รับลูกจ้างเดิมไปตาม ม.13 (นายจ้างใหม่ยากที่จะหาลูกจ้างใหม่มาทำงานได้ทันที ทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน ก็มักจะรับลูกจ้างเก่าไปด้วย) ซึ่งทำกันหลายแห่ง แต่ก็มีบริษัทอีกมากที่หลีกเลี่ยงโดยอาศัย “ความไม่รู้” ของลูกจ้าง เช่นไม่รับทั้งหมด ให้ลาออกจากบริษัทเดิม ไปสมัครกับบริษัทใหม่ มีทั้งที่ให้เหมือนเดิม ไม่เท่าเดิม นับอายุงานใหม่....
ไม่ได้ให้กังวล สิทธิของลูกจ้าง กฏหมายคุ้มครองไว้ในระดับเป็นธรรม และพอสมควรแล้ว..
ส่วนนายจ้าง (รวมถึงลูกจ้าง-Hr.บางคน) ไม่ใช่คนดี....!!!
แสดงความคิดเห็น
ถ้าเราโดนนายจ้างให้ย้ายไปทำงานบริษัทในเครือ เราสามารถต่อรองอะไรได้บ้างคะ ?